อาหารท้องถิ่น

✨ ขนมสายบัว ✨

“ขนมสายบัว หน้าตาเป็นอย่างไร? ไม่เคยกิน? ชื่อแปลกจัง” ถ้าเพื่อน ๆ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ มาค่ะ วันนี้แอดจะแนะนำขนมสายบัวให้ได้รู้จักกัน “ขนมสายบัว” เป็นขนมโบราณที่หารับประทานได้ยาก ไม่ค่อยมีขาย ส่วนมากเป็นการทำรับประทานกันเอง ขนมสายบัวมีหน้าตาและวิธีทำคล้ายกับขนมกล้วย ขนมฟักทอง เพียงแค่เปลี่ยนวัตถุดิบหลักเป็นสายบัวนั่นเอง ที่หารับประทานได้ยากก็เพราะ “สายบัว” ที่ใช้ เป็น “บัวสาย” ที่ขึ้นตามแหล่งน้ำดินเลนเป็นส่วนใหญ่ ขนมสายบัวไม่มีสูตรตายตัว สามารถปรับรสชาติได้ตามความชอบ บ้างก็ใช้บัวแดง บ้างก็ใช้บัวขาว บ้างก็นำมาผสมกัน ก็จะได้สีต่างกันไป รวมถึงวิธีการทำ บางคนจะนำสายบัวมาหั่น โขลกละเอียด ตากแห้งก่อนนำมาผสมเข้ากับวัตุดิบอื่น ๆ บ้างก็ตำเสร็จแล้วนำมาใช้ทันที ทำให้ได้เนื้อสัมผัสที่ต่างกัน แต่กลิ่นหอมและรสชาติอร่อยเหมือนกัน

✨ ขนมสายบัว ✨ อ่านเพิ่มเติม

เที่ยวผ่อนคลาย สบายใจ สบายตัว @ ตาก

พูดถึงจังหวัดตาก คนส่วนใหญ่คงนึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเขื่อนภูมิพล หรือไม่ก็น้ำตกใหญ่สวยอลังการอย่างน้ำตกทีลอซูแน่ ๆ แต่ทริปนี้ แอดจะพาเพื่อน ๆ ไปเที่ยวมุมอื่นบ้าง เป็นการเที่ยวแบบผ่อนคลายทั้งกายและใจ ได้สัมผัสทั้งธรรมชาติและบรรยากาศเรือนไม้เก่าที่สวยคลาสิค แต่หากเพื่อน ๆ ยังไม่สะดวกเดินทาง ไปเที่ยวทิพย์กับแอดก่อนได้เลย โปรแกรมเที่ยว วันที่ 1 ท่องเที่ยววิถีชุมชนชาวปกาเกอะญอ ที่บ้านป่าไร่เหนือ วันที่ 2 เวิร์คช้อปหัดสานปลาตะเพียนทางมะพร้าว เที่ยวในเมืองตาก ชมบ้านเก่าที่ตรอกบ้านจีน สักการะศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อร่อยกับอาหารว่างท้องถิ่น เมี่ยงจอมพล แวะชิมครัวซองต์ร้านดัง เถียงนา Coffee and Bakery Farm วันที่ 1 แอดจะพาเพื่อน ๆ ไปเที่ยวที่บ้านป่าไร่เหนือ อ.แม่ระมาด ที่นี่เป็นโฮมสเตย์ที่จัดการโดยชาวชุมชน เปิดกว้างให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสวิถีชุมชนที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมความเป็นอยู่ อาหารการกิน และอื่น ๆ ของชาวปกาเกอะญอไว้ บอกเลยว่าแอดตั้งตานับวันรอจะไปเที่ยว ตั้งแต่ตอนโทร.สอบถามและจองที่พักกับทางพี่อาร์ เจ้าของโฮมสเตย์ที่แอดจะไปพักแล้ว จาก อ.เมือง ขับรถไปทาง อ.แม่สอด ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงก็มาถึงชุมชนบ้านไร่เหนือ อันดับแรกเราตรงไปที่โฮมสเตย์ที่จองไว้กันก่อน ที่นี่มีบ้านพักหลายแบบให้นักท่องเที่ยวเลือกพักดังนี้ แบบส่วนตัวหลังใหญ่ (มี 1 หลัง) ราคาเริ่มต้นที่ 2,000/คืน/4 คน (ถ้าต้องการพักเพิ่ม คนละ 500 บาท พักได้สูงสุดไม่เกิน 8 คน) แบบส่วนตัวหลังเล็ก (มี 2 หลัง) ราคา 1,290/คืน พักได้ไม่เกิน 4 คน โฮมสเตย์แบบพักร่วมกับเจ้าของบ้าน สัมผัสวิถีชุมชน คืนละ 390/คน (มีอาหารเช้าให้ฟรี) หลังจากเก็บของเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาท่องเที่ยว ในชุมชนมีที่เที่ยวหลายจุดเลย เพื่อน ๆ สามารถเลือกได้ตามความสนใจ จุดแรก แอดขอแนะนำให้ไปที่ บ้านภูมิปัญญา สถานที่เรียนรู้ความเป็นมาของหมู่บ้าน วิถีชาวปกาเกอะญอ ความเป็นอยู่ ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และอื่น ๆ ที่นี่จะมีนักเล่าเรื่องชุมชนคอยให้ข้อมูล ทั้งแนะนำชุมชน และแนะนำจุดท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้เราได้รู้จักที่นี่มากขึ้น ที่สำคัญจุดนี้ยังมีของที่ระลึกงานฝีมือจากชาวชุมชนวางขาย เช่น ชุดพื้นเมือง ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ สมุดหุ้มผ้าพื้นเมือง พวงกุญแจ ฯลฯ ชุดน้ำชากับขนม ระหว่างฟังเรื่องเล่าจากนักเล่าเรื่องชุมชน เป็นชา “ควายหาว” รสชาติคล้ายน้ำที่ต้มกับข้าวโพด และขนม “เส็งเผ่” ที่คล้าย ๆ ขนมหม้อแกง จุดต่อไป เราจะนั่งรถอีต็อกไปที่ “ถ้ำซามูไร” กัน ถ้ำซามูไรเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของที่นี่ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นเคยใช้บ้านป่าไร่เหนือเป็นฐานบัญชาการเส้นทางเดินทัพไปสู่พม่า มีการเก็บอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ในถ้ำ ภายหลังเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม จึงมีการระเบิดปิดปากถ้ำนี้ไว้ ที่นี่ถือเป็นสถานที่ปริศนาที่ยังไม่มีใครได้เข้าไป เพราะชาวบ้านถือเป็นสถานที่หวงห้าม ห้ามขุดเจาะ ทำลาย หรือเข้าไปหาสมบัติของมีค่าภายใน หากฝ่าฝืนจะพบกับเรื่องไม่เป็นมงคล จุดต่อไปคือ วัดตีนธาตุ ซึ่งเป็นวัดไม่กี่แห่งในชุมชนที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ในการขึ้นไปกราบสักการะเจดีย์ เราต้องเดินขึ้นบันไดไป 200 กว่าขั้น ถ้าไม่ฟิต อาจมีหอบบ้าง เจดีย์นี้มีลักษณะคล้ายกับพระธาตุหริภุญไชย ครูบาแก้ว เจ้าอาวาสวัดสิทธาวาส จ.ลำพูน เป็นผู้สร้างไว้ ถือเป็นพระธาตุคู่ชุมชนและเป็นที่มาของชื่อ ต.พระธาตุ ที่ตั้งของบ้านป่าไร่เหนือแห่งนี้ ภายในบริเวณวัด มีต้นจามจุรีขนาดใหญ่ ประมาณ 10 -14 คนโอบ ชื่อว่า ต้นไม้ใหญ่จอมพลผิน โดยจอมพลผิน ชุณหะวันปลูกไว้ ในสมัยไปให้สัมปทานค้าไม้สัก ขณะดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร โดยใช้ที่นี่เป็นปางไม้ ก่อนลำเลียงไม้สักลงไปขายที่กรุงเทพ ฯ หน้าวัดมีแม่น้ำตะลอไหลผ่าน ตรงท่าน้ำบริเวณหน้าวัด ปลาชุมมาก เพื่อน ๆ สามารถให้อาหารปลาตรงนี้ได้ ซึ่งแม่น้ำตะลอนี้ เราจะเห็นได้ตลอดทางที่นั่งรถอีต๊อกเลยล่ะ นอกจากจะเป็นแม่น้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตในช่วงหน้าร้อนอีกด้วย จุดต่อไป คือ “ทิวไผ่งาม” ที่นี่สวยกว่าที่แอดคิดไว้เยอะเลย ถ่ายรูปได้สวยเก๋ไม่เหมือนใคร เอาไปอวดเพื่อน ๆ ในโซเชียลได้สบาย แต่หากรู้สึกปวดเมื่อย สามารถไปที่หมู่บ้านแม่กาษา เพื่อไปที่ “อโรคยาศาลโป่งคำราม (บ่อน้ำแร่โป่งคำราม)” ได้ ใช้เวลานั่งรถประมาณ 15 นาทีเท่านั้น โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 09 8335 3360 (บ่อน้ำแร่โป่งคำราม) วันที่ 2ก่อนอำลาบ้านป่าไร่เหนือในเช้านี้ แอดจะพาไปบ้านป้าตุ้ยโฮมสเตย์ ซึ่งนอกจากจะเป็นที่พักแล้ว ป้าตุ้ยยังสอนทำงานฝีมือด้วย มีทั้งเครื่องจักสานโดยใช้ทางมะพร้าวสานเป็นปลาตะเพียน ตั๊กแตน และทำพวงกุญแจจากวัสดุเหลือใช้จากงานทอผ้าในชุมชน เพื่อน ๆ สาย DIY น่าจะถูกใจ ทำเสร็จเอากลับไปเป็นของฝากได้สบายเลย ระหว่างสอน ป้าตุ้ยก็จะเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับชุมชนให้ฟังไปด้วย ถือเป็นกิจกรรมสุดท้ายของหมู่บ้านที่เพลิดเพลินมาก ค่าบริการเพิ่มเติม รถอีต๊อก ราคา 600 บาท/คัน นั่งได้ 6 คน ไกด์ชุมชน 300-500 บาท แล้วแต่สถานที่ท่องเที่ยวที่จะไป (ไม่จ้างก็ได้) อาหารสั่งได้จากที่พัก มีทั้งแบบตามสั่งและอาหารถิ่น (อาหารถิ่นจะเสิร์ฟเป็นชุด มี 5-6 อย่าง ราคา 120 บาท/มื้อ/คน) : 100/1 หมู่ 3 ตำบล พระธาตุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก 63140

เที่ยวผ่อนคลาย สบายใจ สบายตัว @ ตาก อ่านเพิ่มเติม

1 วัน…ที่หนองบัวลำภู

หนองบัวลำภูเป็นจังหวัดลำดับที่ 76 โดยแยกมาจากจังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ. 2536 หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักจังหวัดนี้เท่าไหร่ แต่แอดบอกได้ว่า หนองบัวลำภูมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าเที่ยวไม่แพ้จังหวัดไหนในอีสานเลย ครบถ้วนทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชุมชน แถมด้วยผู้คนที่น่ารัก อาหารอร่อย บรรยากาศไม่พลุกพล่าน เป็นเมืองรองที่น่าเที่ยวจริง ๆ สถานที่่ท่องเที่ยว 1. วัดป่าพรหมวิหาร 2. บ้านตาดไฮ 3. บ้านท่าลาด 4.จุดชมวิวช่องเขาขาด วัดป่าพรหมวิหาร เริ่มทริปกันที่วัดป่าพรหมวิหาร ซึ่งเป็นวัดป่าสายธรรมยุตินิกาย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยหลวงปู่สาย เขมธมฺโม พระเกจิชื่อดังสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ จุดเด่นที่ดึงดูดเหล่าผู้มีศรัทธาให้มาที่นี่ก็คือ “พรหมวิหารย์เจดีย์ (เขมธัมมาเถรานุสรณ์)” องค์เจดีย์สีทองงามสง่า ชั้นล่างตั้งหุ่นรูปเหมือนหลวงปู่สาย และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ส่วนชั้นบนเป็นที่เก็บอัฐิของพระเถระสำคัญ และพระบรมสารีริกธาตุ ให้ประชาชนได้เข้าไปสักการะบูชา และขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล แม้ที่นี่จะขึ้นชื่อว่าเป็นวัดป่า แต่เดินทางสะดวก สามารถขับรถไปถึงวัดได้เลย บริเวณวัดสงบร่มรื่น เหมาะกับการมาปฏิบัติธรรม จึงมีทั้งผู้ใหญ่สูงอายุ และคนหนุ่มสาวเข้ามานั่งสมาธิดับร้อนในใจกันมากมาย หากเพื่อน ๆ มาที่นี่ อย่าลืมแต่งกายให้เรียบร้อย และที่สำคัญ ใส่หน้ากากอนามัยและพกเจลล้างมือกันด้วยล่ะ : ตำบล โคกม่วง อำเภอ โนนสัง หนองบัวลำภู 39140 : เปิดทุกวัน เวลา 07:00 – 16:00 น. บ้านตาดไฮ จุดหมายต่อไปคือ บ้านตาดไฮ (ห่างจากวัดป่าพรหมวิหาร ประมาณ 4 กิโลเมตร) แอดจะพาไปชม “อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำบองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ก่อนจะเข้าหมู่บ้าน เพื่อน ๆ จะได้พบกับชิงช้าต้นตาล อยู่ริมทุ่งนา น่าถ่ายรูปมาก…งั้นก็จอดรถแวะถ่ายรูปละกัน…ฮ่าๆๆ หลังจากถ่ายรูปไปหลายแชะ แอดก็ขับรถเข้ามาในหมู่บ้าน (ประมาณ 1 กิโลเมตร) เพื่อไปชม“อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำบองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” และ “สะพานเชื่อมฮัก” สะพานแพไม้ไผ่ยาวกว่า 200 เมตร ที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน สร้างให้เป็นจุดเช็คอินของนักท่องเที่ยว นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว อ่างเก็บน้ำฯ นี้ยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ช่วยสนับสนุนการเกษตรกรรม และการอุปโภค-บริโภค เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์น้ำช่วยเสริมอาชีพของราษฎรให้มีรายได้จากการทำประมง ช่วยพื้นที่อุทยานฯ ให้เกิดความชุ่มชื้น เป็นแหล่งอาหารสัตว์ป่า และช่วยบรรเทาอุทกภัยอีกด้วย บริการนำเที่ยว 50 บาท/คน เหมาลำเที่ยวละ 200 บาท (นั่งได้ 8 คน) เหมาลำเที่ยวถ้ำ 300 บาท (นั่งได้ 8 คน) : ตำบล โคกม่วง อำเภอ โนนสัง หนองบัวลำภู 39140 : เปิดทุกวัน : 0 4281 2812 (ททท. สำนักงานเลย-หนองบัวลำภู) บ้านท่าลาด จากบ้านตาดไฮ ขับรถไปตามถนนสาย 3002 แอดจะพาไป “บ้านท่าลาด” ชมวิถีชีวิตชาวประมง และทิวทัศน์รอบเขื่อนอุบลรัตน์ พร้อมไปแวะชมการปรุงและแปรรูปปลาที่กลุ่มแปรรูปปลาบ้านท่าลาด มีทั้งปลาส้ม ปลาร้า ปลาวง ปลาพวง ฯลฯ มากมายสมกับฉายาคลังปลาแห่งที่ราบสูงเลยล่ะ ที่แอดว่าเด็ดสุดก็คือ “ปลาส้มสายดี่ยว” ที่ใช้ปลาน้ำจืดจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์มาปั้นเป็นก้อน พันด้วยใบตองฉีกเพื่อไม่ให้เนื้อปลาติดกัน เวลากินก็แค่นำไปทอด กินกับข้าวเหนียว แซ่บทีเดียว นอกจากชมการแปรรูปปลาแล้ว แอดจะพาเพื่อน ๆ นั่งเรือเข้าไปชมกลุ่มแพยอยักษ์ (ยอสะดุ้ง) จำนวนหลายร้อยลำ ที่ลอยจับปลาอยู่บนผิวน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ฝั่งโนนสัง วิวสวย ลมดีไม่แพ้ที่ไหน  ค่าบริการนั่งเรือ เหมาลำละ 500 บาท นั่งได้ 4 คน  ตำบล หนองเรือ อำเภอ โนนสัง หนองบัวลำภู 39140  เปิดทุกวัน  0 4281 2812 (ททท. สำนักงานเลย-หนองบัวลำภู) ถ้าเพื่อน ๆ ยังช้อปปิ้งผลิตภัณฑ์ปลาได้ไม่หนำใจ สามารถไปช้อปเพิ่มที่ “บ้านท่าศิลา” บนถนนสาย 2146 (โนนสัง-อุบลรัตน์) ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “ถนนสายปลา” ที่นี่มีจำหน่ายทั้งปลาสด และผลิตภัณฑ์ปลาแปรรูปให้เลือก จุดชมวิวช่องเขาขาด ที่สุดท้ายที่แอดจะพาเพื่อน ๆ มาก็คือ “จุดชมวิวช่องเขาขาด” นอกจากจะเป็นจุดที่สามารถชมวิวตอนเย็นของเขื่อนอุบลรัตน์ได้สวยสุด ๆ แล้ว ที่นี่เป็นจุดแบ่งเขตจังหวัด ระหว่างจังหวัดหนองบัวลำภูกับจังหวัดขอนแก่น และอยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำอีกด้วย ถ้าเพื่อน ๆ เป็นสายตั้งแคมป์ก็สามารถมากางเต็นท์ที่แหลมสำราญภายในอุทยานได้เลย โดยจะมีค่าบริการดังนี้ อัตราค่าบริการ คนไทยผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท ค่าบริการพาหนะ/คัน จักรยาน ฟรี จักรยานยนต์ 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ 30 บาท รถยนต์ 6 ล้อ 100 บาท รถยนต์ 6 ล้อขึ้นไป 200 บาท ค่าค้างคืนละ 30 บาท/คน วิวพระอาทิตย์ตกของช่องเขาขาด

1 วัน…ที่หนองบัวลำภู อ่านเพิ่มเติม

ยโสธรการเกษตร

คนยโสธรเป็นสายกรีนมาแต่กำเนิด พวกเขายึดถือการทำนาข้าวเป็นอาชีพเลี้ยงตัวมาแต่เก่าก่อน ผูกพันกับชีวิตชนิดแยกกันไม่ขาด ที่สำคัญคือต่อยอดเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์มาสักพักใหญ่แล้ว จากความร่วมมือของชาวนาชาวไร่ที่ผันตัวมาใช่วิธีดูแลพืชพรรณให้ปลอดภัยทั้งกับตัวเองและผู้บริโภค ขณะเดียวกันทางจังหวัดก็ส่งเสริมเต็มที่ เกิดเป็นตราบั้งไฟหลากสี แบ่งตามมาตรฐานอินทรีย์แต่ละขั้น เพื่อช่วยรับรองผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยเฉพาะ TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง ร่วมกับ The Cloud นำเสนอคอลัมน์ Take Me Out เที่ยวบ้านเพื่อนทริปนี้ เอาใจคนรักสุขภาพ พาไปเที่ยว 10 พื้นที่สีเขียววิถีเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่ลองดำนาปลูกข้าวหอมมะลิ เช็กอินที่นาบัวหวาน ฟาร์มปศุสัตว์หลากหลายแนว และคาเฟ่ออร์แกนิกสุดชิลล์มองวิวทุ่งนาและกินของดี เมื่อได้พูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรชาวยโสฯ พบว่าพวกเขาช่วยกันขับเคลื่อนสังคมเกษตรอินทรีย์กันอย่างคึกคัก สร้างช่องทางส่งขายอย่างเป็นระบบ รวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายมากมายในพื้นที่ ตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการปลูกพืชและปศุสัตว์ ทั้งยังมีตลาดให้จำหน่ายผลิตผลแทบทุกอำเภอ สับเปลี่ยนสถานที่ เวียนวันกันไปไม่ซ้ำในแต่ละอาทิตย์ คอลัมน์นี้จะพาไปสัมผัสสารพัดพื้นที่สีเขียวปลอดสารพิษของชาวยโสฯ สายกรีน มาดูกันว่ามีที่ไหนให้คนรักสุขภาพได้ปักหมุดท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยและรื่นรมย์กันในเที่ยวบ้านเพื่อนรอบนี้ 1 บัวหวานยโสธร นาบัวอินทรีย์ที่รักษาความหวานกรอบเหมือนเพิ่งเก็บจากบึง จากอาชีพทำนาข้าวและแม่ค้ารับบัวมาขายตามตลาด จันทร์-ธนพร จันทร์หอม ผันตัวเริ่มทำนาบัวด้วยตัวเองเพราะความหลงใหลในรสชาติ เลือกแนวทางอินทรีย์ในการปลูก โดยมีเหตุผลเพียงไม่อยากทำร้ายสัตว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลายเป็นเม็ดบัวที่มีคุณภาพดีตามไปด้วย เพราะระบบนิเวศสมบูรณ์ ทำให้เหล่าผึ้งและชันโรงที่อยู่กันอย่างสบายใจก็เป็นลูกมือช่วยผสมเกสร จึงได้หน้าบัวที่เต็ม กลมสวยไม่เว้าแหว่ง และขายได้ราคาดี เมื่อผลตอบรับดีจนไม่พอขาย จันทร์จึงเพิ่มบ่อบัวให้มากขึ้น วางแผนปลูกแต่ละบ่อให้บานไล่เลี่ยกันจะได้มีผลผลิตเก็บเกี่ยวทั้งปี นอกจากประคบประหงมด้วยความใส่ใจ บำรุงด้วยน้ำหมักสูตรพิเศษ และดูแลอย่างไร้สารเคมีแล้ว เคล็ดไม่ลับอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย คือการแช่น้ำแข็งทันทีตั้งแต่เก็บขึ้นจากบ่อ ทำให้หวานกรอบจนถึงมือลูกค้า และนอกจากเม็ดบัวสดที่คนนิยมกิน จันทร์มีเมนูแนะนำด้วย นั่นคือ ส้มตำเม็ดบัว อีกทางเลือกที่แซ่บหลายใช้ได้ไม่แพ้กัน หากสนใจอยากมาพิสูจน์ความหวาน เข้ามาอุดหนุนได้ทุกเมื่อ หรือถ้าอยากมาเที่ยวถ่ายรูปกับดอกบัวสีขาวเต็มบ่อ ลองติดต่อมาถามจันทร์ล่วงหน้าได้ว่าดอกบัวเริ่มบานแล้วหรือยัง จะได้มาแล้วไม่เสียเที่ยว ที่ตั้ง : ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร 35000 พิกัด : https://goo.gl/maps/m5QvKdZaf4s8jLXE8 วัน-เวลาทำการ : ติดต่อนัดหมายล่วงหน้า โทรศัพท์ : 06 2990 1395 Facebook : บัวอินทรีย์ บัวหวานยโสธร 2 บ้านไร่รุ้งตะวัน ฟาร์มเมล่อนญี่ปุ่น นาข้าวอินทรีย์ และคาเฟ่กลางทุ่งนา เอก-ธนิสร จิตตะมา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านไร่รุ้งตะวัน กลับมาอำเภอเลิงนกทาบ้านเกิดอีกครั้ง หลังจากทำงานในกรุงเทพฯ กว่า 20 ปี เขาเล็งเห็นว่าตำบลที่อาศัยอยู่มีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ สถานที่ท่องเที่ยวก็พอมีอยู่บ้าง น่าจะต่อยอดที่ดิน 20 กว่าไร่ของตนให้มีประโยชน์มากกว่าการปลูกข้าว หลังจากหาข้อมูลอยู่นานว่าจะปลูกพืชอะไร เอกก็พบว่าเมล่อนญี่ปุ่นเป็นพืชที่น่าสนใจ ปลูกได้ง่ายทั่วประเทศ เจริญเติบโตไวเพียง 3 เดือนก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ รวมถึงมีมูลค่าในท้องตลาดสูง จากคนไม่มีความรู้เรื่องเกษตร เขาทำการบ้านอย่างจริงจัง ลองผิดลองถูก หาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมตามที่ต่าง ๆ ลองปลูกทั้งสายพันธุ์ราคาแพงและถูกเพื่อเปรียบเทียบ ก่อนพบว่าคุณภาพต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งรูปร่างของลูกและรสชาติ เขาเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุด แม้ราคาสูงแต่ใครได้ลองลิ้มก็ติดใจ บางครั้งต้องรีบจองไว้ก่อนก็มี แถมเอกยังมองการณ์ไกลแชร์พื้นที่นาที่ไม่ได้ใช้ให้กับสมาชิกวิสาหกิจชุมชน โดยเขาช่วยจัดการ ให้คำปรึกษา และควบคุมวิธีการทำให้เป็นอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อนจะรวบรวมผลผลิตไปจำหน่ายให้ ภายใต้แบรนด์บ้านไร่รุ้งตะวัน ที่มีสารพัดใบรับรองอินทรีย์ทั้งภายในจังหวัดและเกรดส่งออกเป็นเครื่องการันตี หลังจากทำมาพักใหญ่ เพิ่มนู่นเติมนี่ในพื้นที่จนทุกอย่างเปลี่ยนไปแทบไม่เหลือเค้าเดิม เขาแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นคาเฟ่เล็กกลางท้องทุ่ง นอกจากจะมีเมล่อนคุณภาพดีรสชาติหวานไว้ชูโรง ยังมีไอศกรีมข้าวเม่าอินทรีย์ที่อยากให้ลอง รวมถึงเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่เอกอยากชวนให้นั่งลงมองนาข้าว พักเหนื่อยสักประเดี๋ยว แล้วค่อยออกเดินทางไปเที่ยวต่อ ที่ตั้ง : 203 หมู่ 5 ตำบลบุ่งค้า อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร 35120 พิกัด : https://goo.gl/maps/NhFqJ8bJ3iPN8ejg7 วัน-เวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00 – 20.00 น. โทรศัพท์ : 09 8232 8961 Facebook : บ้านไร่รุ้งตะวัน Baan Rai Rung Tawan 3 ดอกกระเจียวหวานอินทรีย์ บ้านโคกนาโก ฟาร์มดอกกระเจียวหวาน อีกสัญลักษณ์ใหม่ของเมืองบั้งไฟ หลายคนรู้จักดอกกระเจียวในฐานะพืชดอกสวยงามที่จะบานเต็มทุ่งในช่วงฤดูฝน แต่สำหรับชาวบ้านโคกนาโก อำเภอป่าติ้ว กลับให้นิยามต่างออกไป เพราะดอกกระเจียวคือพืชเศรษฐกิจที่นำเม็ดเงินเข้าสู่หมู่บ้านตลอดปี “เราผลักดันจนเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด เดี๋ยวนี้พูดถึงยโสธร คนไม่นึกถึงบุญบั้งไฟแล้ว นึกถึงดอกกระเจียว” โบ้-เมืองชัย ทองลา เล่าด้วยน้ำเสียงภูมิใจ ก่อนชวนเราย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน ตอนบัณฑิตด้านเกษตรตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่เดินทางสายงานประจำ แต่อยากมาทำสวนเกษตรตามความถนัดที่บ้านเกิด วันนั้นเขามองเห็นอรรถประโยชน์หลายอย่างของดอกกระเจียว พืชท้องถิ่นคู่วิถีชีวิตลูกอีสานมาตั้งแต่เด็ก จึงลองหยิบเอาพันธุ์จากป่ามาสู่เมือง นำมาปรับเข้ากับวิธีการสมัยใหม่ที่ได้เล่าเรียนมา ปลูกบนโคกควบคู่ไปกับนาข้าว วันนี้เขายังคงดูแลแบบปลอดสารเหมือนเดิม บำรุงด้วยปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ใช้ฟางข้าวมาคลุมดินเพื่อจัดการวัชพืช ทำให้ไม่ต้องพึ่งยาฆ่าหญ้า ด้วยความตั้งใจอยากควบคุมระบบการปลูกแบบอินทรีย์ จึงได้ผลผลิตออกมาดีและปลอดภัย เป็นที่สนใจของชาวบ้านทั้งในและนอกพื้นที่ ถึงขั้นซื้อพันธุ์และขอคำแนะนำลงใต้ไปปลูกถึงอำเภอเบตงเลยก็มี โบ้ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ดอกกระเจียวมีหลายพันธุ์ รสชาติแตกต่างกันออกไป ทั้งเผ็ดซ่าคล้ายหน่อข่าจนถึงหวานกรอบอร่อยกินง่าย สำหรับฟาร์มของโบ้เลือกปลูกพันธุ์อย่างหลัง หากใครถูกใจรสชาติหรืออยากลองปลูก ไม่ว่าจะแปลงเล็ก ๆ กินในครัวเรือน หรือทำเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ก็ขอคำแนะนำได้ถึงฟาร์ม หนุ่มบ้านโคกนาโกยินดีต้อนรับ ที่ตั้ง : บ้านโคกนาโก อำเภอโคกนาโก อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร 35150 พิกัด : https://goo.gl/maps/yR1Ls4ZQyXisDPCH7 วัน-เวลาทำการ : ติดต่อนัดหมายล่วงหน้า โทรศัพท์ : 09 5593 9010 Facebook : ดอกกระเจียวหวาน บ้านโคกนาโก 4 นัธรินทร์ฟาร์มปูนา ฟาร์มและศูนย์การเรียนรู้เรื่องปูนาแห่งแรกของยโสธร นัธรินทร์ฟาร์ม ศูนย์เรียนรู้เรื่องการเลี้ยงปูนาที่เกิดจากความชอบกิน ตั้งต้นจากการเลี้ยงไว้แค่พอกินในครอบครัว ก่อนต่อยอดเป็นธุรกิจเสริมเพาะปูขยายพันธุ์จนเกินกิน นัท-นัฐวุฒิ เงาฉาย

ยโสธรการเกษตร อ่านเพิ่มเติม

✨ ยโสฯ โซไซตี้ ✨

ยโสธรเป็นเมืองน่ารักมีเสน่ห์ ทั้งฟากสิ่งเก่าที่ชวนให้คิดถึงประเพณี วัฒนธรรม งานบุญต่าง ๆ และฝั่งของใหม่ ที่หากได้ผ่านไปช่วงหลังมานี้ จะพบว่ามีหลายสิ่งเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวของบ้านเมือง ตึกรามบ้านช่อง ผู้คนหน้าใหม่ที่เข้ามาเปิดกิจการ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นหลายรูปแบบ แปลงโฉมเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องงานบุญบั้งไฟนี้ให้ดูร่วมสมัยน่าสนใจ TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง ร่วมกับ The Cloud นำเสนอคอลัมน์ Take Me Out ขอพาเลาะเที่ยวชมประเพณีที่มีแค่ที่นี่ที่เดียว ชอปปิงหมอนขิดเจ้าต้นตำรับที่ดังไกลในระดับโลก คาเฟ่ไซส์มินิที่อยากเปิดเป็นคอมมูนิตี้ให้ชาวชุมชน ไปจนถึงร้านปังปิ้งและสโลว์บาร์ที่อยากชวนมาสัมผัสบรรยากาศท้องถิ่น 😊 ท่ามกลางกระแสการพัฒนา มวลความน่ารักเรียบง่ายของวิถีชีวิตคนรุ่นเก่า กลับไม่ได้รุดหน้ารวดเร็วตามไปด้วย ยังคงอัตลักษณ์ดั้งเดิมแบบค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ชาวยโสธรนิวเจนก็กำลังเริ่มขยับตัวทีละน้อย หลายคนเปิดกิจการร้านรวงเก๋ไก๋ บ้างก็กลับมาสร้างสรรค์กิจกรรมแปลกใหม่ให้บ้านเกิด เป็นความเคลื่อนไหวครั้งใหม่ของคนในพื้นที่ที่ร่วมด้วยช่วยกันแต่งแต้มให้จังหวัดเล็ก ๆ แห่งนี้มีสีสันยิ่งขึ้น  คอลัมน์ Take Me Out ชวนทำความรู้จักยโสฯ โซไซตี้ ให้มากกว่าเดิม ผ่าน 10 สถานที่ทั่วเมืองบั้งไฟโก้ ชิมเมนูเด็ดแบบคนยโสฯ ในเขตเมืองเก่า ชอปปิงหมอนขวานผ้าขิดฝีมือชาวบ้าน ตบท้ายด้วยชีวิตสุดฮิป ทั้งชมโบสถ์คริสต์ เลาะพิพิธภัณฑ์ แล้วตามฮอปปิงนานาคาเฟ่ที่ผสานวัฒนธรรมใหม่เก่าได้เข้ากั๊นเข้ากันอย่างไม่เคอะเขิน ถ้าพร้อมม่วนแท้ม่วนหลาย ก็ตามมาดูกันได้เลย! 1 ร้านหมวยก๋วยจั๊บญวน ✨ กวยจั๊บญวนสูตรต้นตำรับในอาคารสไตล์ชิโนยูโรเปียน จังหวัดเล็ก ๆ รูปพระจันทร์เสี้ยวแห่งนี้ก่อกำเนิดขึ้นจากชุมชนการค้าชื่อ ‘บ้านสิงห์ท่า’ แหล่งรวมผู้คนมากหน้าหลายตาที่เข้ามาค้าขายกันอย่างคึกคักเมื่อกว่าร้อยปีก่อน แม้ปัจจุบันบรรยากาศจอแจนั้นจะแปรสภาพเป็นความสงบเงียบ ที่แฝงตัวอยู่ในทุกอณูของอาคารเก่าแบบชิโน-ยูโรเปียน แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองก็ยังทาบทับสตัฟฟ์อยู่บนร้านรวงดั้งเดิมอยู่เช่นวันวาน เจ๊หมวย-สุวรรณ แสนพันธ์ คือผู้กุมสูตรลับกวยจั๊บญวนมาเป็นรุ่นที่ 3 ผ่านเวลากว่า 40 ปี นับตั้งแต่ชาวเวียดนามอพยพมาลงหลักปักฐานที่บ้านสิงห์ท่าแห่งนี้ ด้วยวิธีการทำอันเป็นเอกลักษณ์และแตกต่างจากกวยจั๊บญวนของเจ้าอื่น เคี่ยวน้ำซุปด้วยกระดูกหมูเป็นวัน ๆ ได้รสนัวแบบโบราณ ใส่เพียงแค่หมูยอ หมูสับ และไข่นกกระทาต้ม ไม่ปรุงแต่งสิ่งอื่นจนเกินงาม เป็นสูตรออริจินอลที่อาจไม่ค่อยเห็นกันบ่อยนัก เมื่อ East Meets West อาหารตะวันออกพบกับอาคารแบบตะวันตก ภายใต้ชายคาสถาปัตยกรรมเก่าอายุเกือบร้อยปี มีภาพถ่ายเก่าระบุ พ.ศ. 2474 เป็นเครื่องยืนยันถึงความโบราณและทรงคุณค่าของอาคารห้องนี้ พร้อมกับนั่งสังเกตการณ์วิถีชีวิตชาวเมืองเก่า เป็นบรรยากาศการกินที่ไม่ต้องพูดถึง นั่งซดน้ำซุปเข้มข้นกลมกล่อมของกวยจั๊บญวนหรือที่ในภาษาถิ่นเรียกกันว่า ‘ข้าวเปียก’ กินกับแหนมคลุก อีกเมนูเด็ดมรดกจากชาวเวียตที่ปรับปรุงสูตรให้ถูกปากคนไทย ใส่ใบมะกรูดและมะพร้าวขูด ซึ่งเจ๊หมวยรับรองว่าสูตรนี้มีที่เดียวในยโสธร ที่ตั้ง : 83 ถนนวิทยะธำรงค์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร 35000 พิกัด : https://goo.gl/maps/cHroMsKN8FNx1zxX7 วัน-เวลา : เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.30 – 18.00 น. โทรศัพท์ : 09 3384 8557 2 ข้าวปุ้นน้ำงัวยายนาง ✨ ร้านดั้งเดิมประจำถิ่นมีทั้งคาวและหวานแบบคนยโสธร ลัดเลาะเข้าซอยไปในชุมชนหลังวัดมหาธาตุ วัดสำคัญคู่บ้านใจกลางเมือง มีอีกสถานที่ฝากท้องของชาวยโสธรแท้ ๆ ที่ควรไปลองชิมสักครั้งหากได้มาเยือน นอกจากกวยจั๊บญวนแล้ว อีกหนึ่งของดีอร่อยปากที่ติดสอยตามมากับชาวเวียดนามพลัดถิ่น ผ่านการปรับปรุงผสมผสานกับอาหารอีสานจนลงตัว คือข้าวปุ้นน้ำงัว เมนูที่ปรุงอย่างใส่ใจโดย ยายนาง-ประนอม พรมชาติ ผู้เลื่อนตำแหน่งจากเคยเป็นลูกมือให้คุณแม่มารับช่วงกิจการต่อได้ 10 ปีแล้ว ว่ากันซื่อ ๆ ข้าวปุ้นน้ำงัว คือขนมจีนใส่น้ำซุปเนื้อวัวคล้ายก๋วยเตี๋ยว ตุ๋นเนื้อด้วยเตาถ่านกว่าค่อนวัน จนเนื้อนุ่มและน้ำซุปมีกลิ่นหอม แค่แตะจมูกก็ชวนน้ำลายสอ ใส่กะหล่ำซอยและสะระแหน่เป็นหน้าข้าวปุ้น โรยหอมเจียวปิดท้าย กินเคียงกับผักแพว ผักพื้นบ้านของชาวอีสาน รสชาติติดใจจนเคยมีนักชิมจากเมืองหลวง เอ่ยปากขอสูตรกลับไปทำกินเอง อีกเมนูควรลองคือหมี่กะทิ แนวกินตำรับอีสานให้ชิมร่วมด้วย แม้ชื่อจะเหมือนกัน แต่หน้าตาต่างจากของภาคกลางแบบคนละฝา เพราะทำจากเส้นเล็กราดด้วยน้ำแกงรสชาติออกหวาน เป็นเมนูท้องถิ่นที่แซ่บอีหลีสูสีตีคู่มาพร้อมกัน เมื่อกินอาหารคาวเสร็จสรรพ อย่าลืมต่อด้วยขนมหวานชื่อดังของจังหวัด ลอดช่องจากแป้งข้าวเจ้าที่บีบด้วยมือ ออกมาเป็นเส้นเล็กบ้างยาวบ้าง ให้สัมผัสเหนียวนุ่ม หอมกลิ่นกะทิ ซดหมดถ้วยก็ชื่นใจดับร้อนได้ชะงัด ผู้ใดสนใจอยากลองลิ้มรสชาติฉบับชาวยโสฯ ขอกำชับว่ารีบไปก่อนเที่ยง เพราะพอตะเว็นตรงหัว เพิงเล็ก ๆ ขนาด 4 โต๊ะม้าหินของยายนางจะคลาคล่ำไปด้วยขาประจำ ยังไม่ทันบ่าย 2 โมง อาหารก็ทยอยหมด เตรียมคว่ำหม้อเก็บร้านกลับบ้านแล้ว ที่ตั้ง : ใกล้วัดมหาธาตุ ถนนธาตุพิทักษ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร 35000 พิกัด : https://goo.gl/maps/QjHP5P4erU8AxYE99 วัน-เวลา : เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 14.00 น. ปิดวันเสาร์-อาทิตย์ โทรศัพท์ : 09 9026 0848 3 แม่แย้มหมอนขิด  ร้านของฝากจากหัตถกรรมประจำจังหวัดที่ดังไกลทั่วโลก หากนึกถึงของดีเมืองไทยที่โกอินเตอร์ไปยังต่างประเทศ หนึ่งสิ่งที่แวบเข้ามาในหัวของใครหลายคนคือหมอนขิดลายช้างอย่างไม่ต้องสงสัย แย้ม จันใด เจ้าของกิจการแม่แย้มหมอนขิดบอกว่า ต้นตำรับหมอนขิดที่เป็นเสมือนไอเท็มสามัญประจำบ้านทั่วไทยและดังไกลไปทั่วโลก แท้จริงอยู่ที่บ้านศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นผู้ฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านทำกันจนชินตา ถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นกิจกรรมยามว่างพักระหว่างรอหน้านาของชาวอีสาน จนปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจทำเงินเข้าหมู่บ้านเป็นกอบเป็นกำ แต่เดิมหมอนขิดจะใช้ผ้าฝ้ายทอยกดอกที่ทำกันเองภายในหมู่บ้าน เป็นของสูง นิยมนำไปถวายพระ งานมงคล หรือมอบกันเป็นของที่ระลึก เมื่อลูกค้าเพิ่มขึ้น มีออเดอร์เยอะจนผลิตไม่ทัน จึงให้โรงงานรับหน้าที่ทอต่อ แต่ยังคงลวดลายแบบเดิมไว้ คือลายดอกและลายช้าง รวมทั้งเพิ่มสีสันให้หลากหลายโดนใจผู้ซื้อ ส่วนไส้ของหมอนขิดก็ใช้ฟางข้าว ผลพลอยได้จากนาในท้องถิ่น  ความพิเศษอยู่ที่หมอนขวานรูปสามเหลี่ยม แม่แย้มบอกว่าทำได้เฉพาะในหมู่บ้านศรีฐาน แม้จะมีคนมาขอเรียนวิชาแต่ก็ไม่ชำนาญมือเท่าแม่ ๆ ของบ้านนี้ เพราะเป็นสกิลล์เฉพาะตัวที่ต้องสอยและขึ้นรูปด้วยมือ ที่นี่ใช่ว่ามีแต่หมอนขวาน หมอนขิดแบบเดิมที่เคยเห็น เพราะปัจจุบันสินค้าภูมิปัญญาชาวบ้านศรีฐานมีหลายขนาด หลากรูปทรง และมากด้วยฟังก์ชันการใช้งาน ทั้งเบาะรองนั่ง หมอนหนุน หมอนอิงรูปผลไม้ จนถึงหมอนเพื่อสุขภาพ ถ้าอยากได้หน้าตาที่ออกแบบเอง

✨ ยโสฯ โซไซตี้ ✨ อ่านเพิ่มเติม

เมด อิน สระแก้ว

เวลาพูดถึงสระแก้ว นอกจากสถานที่ที่พอเป็นที่รู้จักอย่างน้ำตก ปราสาท และตลาดโรงเกลือแล้ว หลายคนคงนึกไม่ออกว่าควรไปจับจ่ายใช้สอย ใช้เวลาที่ไหนดี อาจด้วยความเป็นจังหวัดเมืองรองที่ดูเงียบสงบ แต่จริง ๆ แล้ว จังหวัดติดเขตบูรพาของประเทศไทยนี้ยังมีสถานที่น่าแวะเวียนไปเยี่ยมชม ทานอาหาร พักผ่อน สำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่น ออกกำลังกาย พูดคุยกับชาวบ้านและผู้คนที่สร้างอาชีพจากสิ่งที่มีอยู่ ซึ่งแต่ละแห่งมีการปรับตัว เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง ร่วมกับ The Cloud นำเสนอคอลัมน์ Take Me Out จะพาไปเยี่ยมชม 10 สถานที่กิจการของคนหลากวัยเมืองสระแก้ว พร้อมเรื่องราวเบื้องหลังของกิจการและของชุมชนเหล่านั้น ซึ่งช่วยสร้างภาพจำมุมใหม่ของจังหวัดสระแก้วให้ชัดแจ๋วขึ้น สระแก้วไม่ได้มีแค่น้ำตกหรือปราสาท แต่เมืองเล็กแดนตะวันออกแห่งนี้ยังมีที่น่าแวะไปเช็กอินอีกเพียบ ถ้าอยากรู้แล้ว ก็ตามมากิน ช้อป เที่ยว ให้คึกคัก ผ่านสวนผลไม้สุดแปลกตา คาเฟ่ฟิวชันกลางทุ่งนา หรือปิกนิกและกางเต็นท์ที่อ่างเก็บน้ำชมวิวสุดสวยก็ได้ ไม่แน่นะว่าคุณอาจเห็นสระแก้วในมุมใหม่ จนอยากบึ่งรถไปเดี๋ยวนี้เลย ! ตรวจสอบมาตรการการเดินทางเข้าพื้นที่ได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว : https://www.facebook.com/sakaeo.moph 1 More Fin Gym & More Fin Cafe ฟิตเนสและร้านอาหารอิตาเลียนโฮมเมดของคนรักสุขภาพ สายรักสุขภาพต้องไม่พลาดร้านนี้ ที่เข้าใจความสำคัญของการรักษาสุขภาพเป็นอย่างดี ตู่-พิชัย แสงโรจน์เพิ่มสุข คืออดีตช่างภาพและเจ้าของสตูดิโอถ่ายภาพ ในช่วงที่กิจการถ่ายภาพพรีเวด ดิ้งกำลังเป็นที่นิยม แต่ตู่กลับพบปัญหาสุขภาพ จึงเริ่มหันมาดูแลตัวเองเพื่อฟื้นฟูร่างกาย ออกกำลัง วิ่งเพื่อลดน้ำหนัก แต่เมื่อวิ่งไปเรื่อย ๆ เขาฝึกซ้อมอย่างจริงจังจนกลายเป็นนักวิ่งมาแรงที่กวาดถ้วยรางวัลจากงานในภูมิภาคมากมายภายในเวลาไม่กี่ปี เมื่อคนรักการออกกำลังกายอย่างตู่เห็นว่าสระแก้วยังไม่มีฟิตเนสแบบที่ตัวเองต้องการ เขาจึงผันตัวมาเปิด ‘More Fin Gym’ ฟิตเนสและยิมแบบมืออาชีพแห่งแรกในจังหวัด และไปอบรบเพื่อเป็น Personal Trainer มืออาชีพ จนมีฉายาว่า ‘โค้ชตู่’ ของทุกคน หลังจากผู้คนให้ความสนใจในการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารเพื่อดูแลสุขภาพก็เข้ามามีบทบาท เริ่มแรกตู่เปิดเป็นคาเฟ่เล็ก ๆ ที่มีผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพวางขาย และศึกษาการทำอาหารโฮมเมดหลากหลายอย่างจริงจัง โดยใช้เวลาช่วงที่ฟิตเนสปิดจากสถานการณ์โควิด-19 ฝึกฝน สรรหาแหล่งวัตถุดิบ และพัฒนาฝีมือการทำอาหาร ต่อยอดเป็น ‘More Fin Cafe’ ร้านอาหารอิตาเลียนโฮมเมดที่อร่อยสุด ๆ พร้อมด้วยฉายา ‘เชฟตู่’ เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งตำแหน่ง ที่ตั้ง : ข้างโรงเรียนมัธยมสระแก้ว ถนนสุวรรณศร 56 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000 พิกัด : https://goo.gl/maps/eDz9XrkQ6LesCwaRA วัน-เวลาทำการ : เปิดทุกวัน 08.00 – 21.00 น. โทรศัพท์ : 08 4599 4165 Facebook : More Fin Gym & More Fin Cafe 2 อ่างเก็บน้ำท่ากระบาก แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ปิกนิกสัมผัสธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำท่ากระบากเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ในโครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำของกรมชลประทาน ที่จัดหาน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่ ใช้ทำเกษตรกรรมและบริโภคตลอดทั้งปี รวมถึงเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดอีกด้วย  จุดเด่นของที่นี่คือ เมื่อขึ้นไปบนสันอ่าง จะมองเห็นภาพกว้างโล่งของผืนน้ำ ท้องฟ้า มีภูเขาเป็นฉากหลัง เป็นจุดเช็กอินที่สวยงามทุกครั้งที่ได้ผ่านไป ตัวสถานที่มีการใช้จัดกิจกรรมทางกีฬามากมาย เช่น แข่งขันวิ่ง แข่งขันปั่นจักรยาน ถนนหนทางสะดวกสบายจากการจราจรที่ไม่วุ่นวาย ห่างจากแหล่งชุมชน รอบพื้นที่มีแปลงปลูกป่าและศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์ อุดมไปด้วยพื้นที่สีเขียวร่มรื่น สบายตา สบายใจ  พิกัดนี้ยังเป็นแหล่งที่คนเข้ามาแคมปิงในช่วงก่อนที่จะมีสถานการณ์โควิด-19 ด้วยบรรยากาศที่เหมาะแก่การกางเต็นท์รับลมธรรมชาติ ใครเป็นสายแคมปิงและปิกนิกที่มีเวลาว่างช่วงระหว่างวัน หอบหิ้วอุปกรณ์มาสัมผัสความสบาย จิบกาแฟยามบ่ายเพลิน ๆ ได้ที่อ่างเก็บน้ำท่ากระบาก ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ตอนกลางวันจะมีร้านอาหารริมน้ำเปิดให้บริการ รอต้อนรับอีกด้วย ที่ตั้ง : ตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000 (ห่างจากอุทยานแห่งชาติปางสีดา 6 กิโลเมตร) พิกัด : https://goo.gl/maps/SqSUEVTZJshFfSQRA วัน-เวลาทำการ : เปิดทุกวัน 08.30 – 18.00 น.  3 ตลาดนัดดอกแก้ว ตลาดนัดชุมชนรวมของดีสระแก้วในบรรยากาศผ้าไทย ตลาดนัดดอกแก้ว คือตลาดประจำเช้าวันศุกร์ที่จัดขึ้นบริเวณอาคารหอประชุม ศาลากลางจังหวัดสระแก้ว โดยหน่วยงานสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสระแก้ว เสน่ห์ของตลาดแห่งนี้คือการรวมร้านค้าของพ่อค้า แม่ค้า เกษตรกรตัวจริงที่ปลูกเอง ขายเอง แปรรูปเอง มีทั้งพืช ผัก ผลไม้ สมุนไพร อาหารพร้อมทาน เครื่องดื่ม ขนม ผ้าไทย และสินค้าโอทอปให้เลือกสรร  ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ร้านค้ารายย่อยได้รับผลกระทบจำนวนมาก ภาครัฐสนับสนุนตลาดนี้โดยจัดสรรและขยายพื้นที่ให้ร้านค้าขายได้มากขึ้น เป็นที่มาของชื่อใหม่ ‘ตลาดคนไทยยิ้มได้’ นอกจากความคึกคักในยามเช้าของตลาดนัด ที่มีผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นคนทำงานจากหลากหลายหน่วยงาน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ศูนย์ราชการจังหวัดสระแก้ว มีนโยบายแต่งชุดผ้าไทยมาทำงานกันทุกวันศุกร์ ยิ่งทำให้ตลาดมีความน่ารักแบบวิถีไทย เหมือนเป็นรันเวย์ของสายแฟชันผ้าไทยไปโดยปริยาย  หนึ่งในร้านค้าโดดเด่นที่มาตั้งขายสินค้าที่ตลาดคือ OTOP Outlet ของ นาย-สุพัตรา วงศ์โกเมศ รวบรวมสินค้าน่าสนใจจากทั่วจังหวัด ทั้งของกิน ของใช้ เครื่องประดับ ของที่ระลึก และงานแฮนด์เมดสารพัด เรียกได้ว่าเป็นร้านค้า Made in Sa Kaeo ได้เลย ด้วยความชื่นชอบในงานแบบแฮนด์เมด ประกอบกับมีความรู้ความเข้าใจในด้านธุรกิจ เพราะเคยทำงานเป็นพนักงานธนาคารมาก่อน สุพัตราจึงเริ่มเข้ามาทำงานด้านโอทอปร่วมกับทางราชการอย่างเต็มตัว โดยมีความมุ่งมั่นช่วยส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน หาช่องทางการตลาดในสินค้าที่น่าสนใจ ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแสวงหาสินค้าที่เป็นหน้าเป็นตาให้กับจังหวัดสระแก้ว สร้างงาน อาชีพ รายได้ให้กับชุมชน และช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน ที่ตั้ง : ศาลากลางจังหวัดสระแก้ว ตำบลท่าเกษม

เมด อิน สระแก้ว อ่านเพิ่มเติม

✨ เที่ยวแบบชิลล์ ๆ ที่นครชัยศรี ✨

อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นอีกหนึ่งแห่งที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย เหมาะแก่การพักผ่อน เป็นทริปสั้น ๆ ใกล้กรุงเทพฯ ไปเช้า-เย็นกลับได้สบาย วันนี้แอดมีเส้นทางท่องเที่ยวชิลล์ ๆ มาแนะนำ แม้ช่วงนี้เราจะต้องชะลอการเดินทางท่องเที่ยวไว้ก่อน ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวหลายพื้นที่ก็ยังไม่เปิดให้บริการ แต่เพื่อน ๆ เก็บข้อมูลเส้นทางเหล่านี้ไว้ได้ รอให้สถานที่ท่องเที่ยวเหล่านี้กลับมาเปิดต้อนรับเราอีกครั้ง ก่อนจะออกเดินทาง อย่าลืมวางแผนการเดินทางล่วงหน้า เช็คมาตรการเดินทางเข้าจังหวัดนครปฐมได้ที่ https://www.facebook.com/PRCovid-นครปฐม-103309634646876 สนใจข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติม สามารถอ่าน eBook จังหวัดนครปฐมได้ที่ https://www.amazingthailandebook.com/issue/247 หรือสามารถดาวน์โหลดในรูปแบบ Application : Amazing Thailand eBook ได้ทั้งระบบ iOS และ Android https://mobile.amazingthailandebook.com/redirect เส้นทางท่องเที่ยวนครชัยศรี  1 สวนส้มโอไทยทวี  2 วัดศีรษะทอง  3 ตลาดท่านา  4 ดูบัว คาเฟ่  สวนส้มโอไทยทวี  แอดขอเริ่มต้นทริปด้วยการพาไปชมสวนส้มโอค่ะ ส้มโอเป็นผลไม้ขึ้นชื่อในอำเภอนครชัยศรี มีความเฉพาะตัวจนได้รับตราสัญลักษณ์ GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ส้มโอนครชัยศรีนั้นหมายถึง ส้มโอพันธุ์ทองดี และพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง มีรสชาติคล้ายกันคือ หวานอมเปรี้ยว ไม่มีรสขม รสซ่า  ช่วงนี้อยู่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว แต่กินที่บ้านคงไม่หนำใจ แอดเลยจะพามาชิมถึงสวนแบบบุฟเฟ่ต์ สวนที่แอดพามานี้ก็คือ สวนส้มโอไทยทวี ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่ให้นักท่องเที่ยวได้ไปเที่ยวชมพร้อมเรียนรู้เรื่องการปลูกส้มโอไปด้วย “คุณธนกฤต ไทยทวี” ทายาทรุ่นที่ 2 เล่าว่า ที่นี่เป็นสวนส้มโอที่ไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ เป็นการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ใช้ธรรมชาติคุมธรรมชาติ  ขอบคุณรูปภาพสวย ๆ จาก สวนส้มโอไทยทวี ในสวนส้มโอไทยทวี มีกิจกรรมเที่ยวชมสวนให้นักท่องเที่ยวได้สนุกสนานกัน มีทั้งแบบครึ่งวัน และเต็มวัน ซึ่งแอดเลือกแบบครึ่งวันค่ะ เริ่มต้นด้วยการนั่งเรือชมสวนส้มโอกันแบบใกล้ชิดติดธรรมชาติ และฟังบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญด้านส้มโอ จากนั้นเป็นการรับประทานบุฟเฟ่ต์ส้มโอกันอย่างจุใจ ก่อนจะแยกย้ายกันเดินเที่ยวเล่นในสวน และถ่ายรูปเก๋ ๆ ในมุมต่าง ๆ   ค่าบริการชมสวนและทำกิจกรรม สำหรับครึ่งวัน ผู้ใหญ่ 300 บาท นักเรียน/นักศึกษา 200 บาท **กรณีชมแบบเต็มวัน 500 บาท แนะนำให้ติดต่อล่วงหน้า **กรณีมาเป็นหมู่คณะ ให้ติดต่อล่วงหน้า ขอบคุณรูปภาพสวย ๆ จาก สวนส้มโอไทยทวี ส้มโอของที่นี่มีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ทองดี ขาวหอม ขาวพวง ขาวแป้น และทับทิมสยาม ในเซ็ตบุฟเฟ่ต์นี้ เราได้ชิมส้มโอขาวน้ำผึ้งและทับทิมสยาม ขาวน้ำผึ้งจะมีรสหวานอมเปรี้ยว ส่วนทับทิมสยามที่มีเนื้อสีแดงรสชาติจะหวานฉ่ำ ถ้าถามแอดว่าชอบพันธุ์ไหนมากที่สุด บอกเลยว่าเลือกไม่ได้จริง ๆ อร่อยทั้งสองแบบเลยค่ะ  ขอบคุณรูปภาพสวย ๆ จาก สวนส้มโอไทยทวี มาเที่ยวชมสวนแล้วก็สามารถซื้อส้มโอกลับไปเป็นของฝากกันได้นะคะ นอกจากนี้ ทางสวนยังมีสินค้าแปรรูปอื่น ๆ ให้เลือกช้อปปิ้งอีกด้วย เช่น สเปรย์หอมกันยุงจากเปลือกส้มโอที่ขายดิบขายดี เปลือกส้มโออบแห้งที่มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานน่ารับประทาน เรียกว่าเป็นการนำวัตถุดิบจากส้มโอมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าเลยทีเดียว ใครยังไม่พร้อมเดินทางไปสวนแต่อยากรับประทานส้มโอ ทางร้านก็มีบริการจัดส่งให้ถึงบ้านเลยค่ะ สั่งซื้อได้ที่ http://line.me/ti/p/~tanakitthaitawee ขอบคุณรูปภาพสวย ๆ จาก สวนส้มโอไทยทวี หลังจากจบกิจกรรมชมสวนครึ่งวัน ก็ได้เวลาอาหารกลางวันพอดี เพื่อน ๆ สามารถกินมื้อเที่ยงที่ร้านอาหารและคาเฟ่ของสวนส้มโอไทยทวีได้เลย มีเมนูให้เลือกทั้งอาหารไทย-ตะวันตก ของว่าง และเครื่องดื่ม เมนู Signature ที่ไม่ควรพลาดคือ ยำส้มโอสูตรไทยทวี ที่การันตีด้วยรางวัลมากมาย  ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 แนะนำให้โทรสอบถามเรื่องมาตรการการให้บริการอีกครั้งก่อนเดินทาง ขอบคุณรูปภาพสวย ๆ จาก สวนส้มโอไทยทวี  ตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม  เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. (ในช่วงสถานการณ์โควิดสวนเปิดเฉพาะเสาร์-อาทิตย์)  083 626 5499 https://goo.gl/maps/Ry7uTUJXNcC6y2yV6 ขอบคุณรูปภาพสวย ๆ จาก สวนส้มโอไทยทวี  ตลาดท่านา  จังหวัดนครปฐมมีตลาดน่าเที่ยวอยู่หลายแห่ง ทั้งตลาดบก และตลาดน้ำ คราวนี้แอดจะพาไปชมตลาดเก่าแก่อายุกว่าร้อยปีค่ะ ตลาดท่านา เป็นตลาดที่อยู่เคียงคู่กับวิถีชีวิตของชุมชนริมแม่น้ำนครชัยศรีมานานกว่า 140 ปี จุดเด่นคือ สถาปัตยกรรมเก่าแก่อย่างอาคารตึกแถวไม้อายุกว่า 90 ปีที่อยู่รอบตลาดสด สวยคลาสิคทีเดียว ในตลาดและรอบ ๆ มีทั้งร้านอาหาร ร้านขนม และร้านของฝากต่าง ๆ ของนครปฐม น่าซื้อน่ากินไปหมด นอกจากนี้ยังมีร้านขายของโบราณที่นักสะสมไม่ควรพลาดอีกด้วย   ถนน ธรรมสพน์ ตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม  เปิดทุกวัน เวลา 09.00-17.00 น. https://goo.gl/maps/ZhuyVkCVTfC2  วัดศีรษะทอง  วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน มีการขุดพบเศียรพระพุทธรูปทองจมดินอยู่ ถือเป็นนิมิตที่ดี จึงตั้งเป็นชื่อว่า “วัดหัวทอง” ต่อมาทางการได้ขุดคลองเจดีย์บูชา แยกจากแม่น้ำนครชัยศรีไปองค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อความสะดวกในการเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ คลองนี้ผ่านพื้นที่ทางตอนใต้ของวัดหัวทอง ชาวบ้านจึงอพยพไปตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้คลอง เพราะสะดวกในการคมนาคม และได้ย้ายวัดนี้มาตั้งอยู่ใกล้คลองเจดีย์บูชาด้วย จากนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดศีรษะทอง” วัดแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนาน จึงมีทั้งโบราณวัตถุ และโบราณสถานสำคัญ ๆ มากมาย อีกทั้งมีการศึกษาเรื่องราวของดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ และสมุนไพรมาตั้งแต่อดีต ที่สำคัญยังขึ้นชื่อเรื่องการไหว้บูชา “พระราหู” โดยมี หลวงพ่อน้อย นาวารัตน์ เจ้าอาวาสวัด เป็นผู้ฟื้นฟูเรื่องพระราหู และมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ตราตรึงใจแอดมาก ๆ ก็คือสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของวัดแห่งนี้ กำแพงลายหินอ่อน ประดับประติมากรรมปูนปั้นรูปต่าง ๆ สวยงามไม่แพ้ที่ใดเลยล่ะ  ตำบลศรีษะทอง

✨ เที่ยวแบบชิลล์ ๆ ที่นครชัยศรี ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ประเพณีตักบาตรขนมครกและน้ำตาลทราย หนึ่งเดียวของจังหวัดสมุทรสงคราม✨

ประเพณีการทำบุญตักบาตรอยู่คู่กับคนไทยมายาวนาน เพื่อน ๆ อาจจะเคยได้ยินประเพณีตักบาตรข้าวเหนียว หรือประเพณีตักบาตรดอกไม้กันมาบ้าง แต่ทราบไหมว่า เรายังมีประเพณีตักบาตรขนมครกและน้ำตาลทรายอีกด้วย ประเพณีนี้มีแห่งเดียวในประเทศไทย คือที่วัดแก่นจันทร์เจริญ ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยจะจัดขึ้นในวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี ประเพณีนี้มีที่มาย้อนไปไกลถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยนั้นมีการกำหนดพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์ต้องปฏิบัติในแต่ละเดือน เรียกว่า พระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเลี้ยงขนมเบื้องพระสงฆ์ภายในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย โดยปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในช่วงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 พระครูสุนทรสุตกิจ (หลวงปู่โห้) เจ้าอาวาสวัดแก่นจันทร์เจริญ ต้องการสืบสานประเพณีตักบาตรขนมเบื้องนี้ไว้ แต่สมัยนั้นขนมเบื้องต้องใช้วัตถุดิบมากมายและทำยาก หลวงปู่จึงปรับเปลี่ยนมาเป็นการตักบาตรขนมครก เพราะขนมครกทำง่ายและหาวัตถุดิบไม่ยาก เริ่มแรกพ่อค้าแม่ค้าจะพายเรือมาขายขนมครกให้ชาวบ้านที่มาใส่บาตรที่วัด ต่อมาเมื่อการค้าขายทางเรือไม่เป็นที่นิยม ชาวบ้านจึงเปลี่ยนมาทำขนมครกกันที่วัดแทน เริ่มตั้งแต่การหมักข้าวสารเอาไว้ 1 คืน พอรุ่งเช้าก็จะช่วยกันโม่แป้ง คั้นน้ำกะทิ และหยอดแป้งทำขนมครก จากนั้นก็ร่วมกันตักบาตรพระสงฆ์ ดังนั้นขนมครกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี และเป็นที่มาของคำว่า ขนมครก “ขนมของ คน-รัก-กัน” อีกด้วย 👉 ปัจจุบันในงานประเพณี นอกจากพิธีตักบาตรแล้ว ยังมีกิจกรรมสนุกสนานที่สร้างสีสันภายในงานอีก เช่น การประกวดทำขนมครก การแข่งขูดมะพร้าว และแข่งกินขนมครก เป็นต้น 🙏 ขอบคุณรูปภาพจาก ททท. สำนักงานสมุทรสงคราม

✨ประเพณีตักบาตรขนมครกและน้ำตาลทราย หนึ่งเดียวของจังหวัดสมุทรสงคราม✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ขนมอังกู๊ ขนมเต่าโบราณเมืองภูเก็ต ✨

มารู้จักขนมโบราณที่ขึ้นชื่อของเมืองภูเก็ตกันค่ะ “ขนมอังกู๊” หรือ “ขนมเต่า” หลาย ๆ คนอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน วันนี้แอดมีเกร็ดความรู้เรื่องขนมอังกู๊มาให้อ่านกันเพลิน ๆ ค่ะ 🙂 ขนมอังกู๊เป็นขนมมงคลที่ชาวภูเก็ตเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนและกวางตุ้ง นำมาใช้ในพิธีไหว้บรรพบุรุษ ไหว้เทวดา ไหว้วันสารท เป็นต้น เพราะเชื่อว่าสีแดงเป็นสีแห่งมงคล ลักษณะขนมเป็นรูปเต่า หมายถึงอายุมั่นขวัญยืน 🥳 🍞 ขนมอังกู๊ทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำ น้ำมันพืช และน้ำตาล เติมสีผสมอาหารเพื่อให้เกิดสีแดงอ่อน ๆ นวดจนแป้งไม่ติดมือ แล้วจึงนำไส้ถั่วทองที่สุกกวนกับน้ำตาลจนแห้ง มาห่อกับแป้งที่เตรียมไว้ นำไปใส่พิมพ์อัดเป็นรูปเต่าแล้วนำไปนึ่งจนสุก ออกมาเป็นเต่าแดงน่าทานมาก ๆ ปัจจุบัน เราสามารถรับประทานขนมอังกู๊ได้แค่ในช่วงเทศกาลไหว้เจ้า ตรุษจีน สารทจีน ใครแวะไปภูเก็ตในช่วงเทศกาล ต้องลองไปชิมกันนะคะ : )

✨ขนมอังกู๊ ขนมเต่าโบราณเมืองภูเก็ต ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ อดีต…อุดร ✨

📍 อุดรธานี 📍 เมืองที่ซ่อนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมหลากหลายเอาไว้ในพื้นที่มากมาย เหมือนกับแต่ละสถานที่ในจังหวัดต่อไปนี้ ที่น่าจะช่วยฉายภาพให้เห็นสภาพความเป็นอยู่และตัวตนของคนอุดรฯ ที่กล่าวได้ว่า มีประวัติศาสตร์เป็นเอกลักษณ์ และน่าเดินทางไปเยี่ยมชมมากที่สุดจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง ร่วมกับ The Cloud นำเสนอคอลัมน์ Take Me Out เที่ยวบ้านเพื่อน รอบนี้พาทัวร์อุดรธานีผ่านกลิ่นอายความเก่าแก่กับ 10 สถานที่ที่เราขอพาเช็กอินให้ชม เที่ยว ช้อปกันแบบจุใจ ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่เคยล้ำสมัยที่สุดในโลก ศาลเจ้าสองวัฒนธรรม ไปจนถึงร้านส้มตำเจ้าเด็ด 📌 ใครพร้อมเที่ยวแล้ว เตรียมปักหมุดได้เลย ✳ ตรวจสอบมาตรการการเดินทางเข้าพื้นที่ได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี : https://www.facebook.com/udpho ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานีบอกว่า แท้จริง “อุดรธานีไม่เคยมีอยู่” ที่ตั้งของจังหวัดในปัจจุบันนี้ เป็นถิ่นฐานที่เดิมตั้งบนพื้นที่ชายขอบรกร้าง ในฐานะกองบัญชาการ ‘มณฑลลาวพวน’ หรือ ‘มณฑลฝ่ายเหนือ’ ในช่วงราว พ.ศ. 2436 ภายใต้เหตุพิพาทสำคัญกับฝรั่งเศสในยุคอาณานิคมอย่างเหตุการณ์ ร.ศ.112 มณฑลฝ่ายเหนือนี้ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘มณฑลอุดร’ และเริ่มเป็นศูนย์กลางการเดินทางและการค้า จนกระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 มณฑลอุดรจึงถูกยกเลิก แล้วยกฐานะเป็น ‘จังหวัดอุดรธานี’ เรื่อยมาจนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถนนมิตรภาพนำความเจริญมาสู่จังหวัดพร้อมสหรัฐอเมริกาและทหาร G.I. ด้วยการเป็นพื้นที่ตั้งฐานทัพโจมตีทางอากาศในสงครามเวียดนาม G.I. ได้เปลี่ยนสภาพสังคมและเศรษฐกิจของจังหวัดไปอย่างมาก จากการทำเกษตรและกิจการขนาดเล็ก ๆ สู่การเกิดขึ้นของโรงแรม โรงภาพยนตร์ สถานบันเทิง อาบอบนวด และตึกแถวสองข้างทางในตัวเมืองก็อัดแน่นไปด้วยร้านค้าหลากหลาย ทั้งร้านสูท เครื่องประดับ ห้องถ่ายภาพ ร้านเสริมสวย และร้านค้าอื่น ๆ มากมาย การเติบโตของเมืองจากเหตุความขัดแย้งภายนอกแต่ละครั้ง ประกอบกับการมีผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้อุดรธานีประกอบด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ที่ต่างพกพาประวัติศาสตร์และความเชื่อของตัวเอง ประกอบสร้างเป็นเรื่องราวของจังหวัดจนถึงทุกวันนี้ ถ้าพร้อมแล้วเราจะพาไปย้อนดูอุดรในอดีต ตั้งแต่พิพิธภัณฑ์ ศาลเจ้าจีน ค่ายทหารสงครามเย็น จนถึงร้านอาหาร 1 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง หลักฐานแรกตั้งถิ่นฐานในอุดรธานีที่เป็นมรดกโลก “ถ้าคนอุดรฯ ไปอยู่ในดงคนอื่น หรือถ้ามีคนนอกถามว่าพูดถึงจังหวัดอุดรฯ ต้องพูดถึงอะไร คนอุดรฯ จะยังคงนึกถึงบ้านเชียงอยู่” กนกวลี สุริยะธรรม ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ให้ความคิดเห็นถึงแหล่งอารยธรรมโบราณอายุกว่า 5,000 ปี ในฐานะส่วนหนึ่งของตัวตนคนอุดรฯ สถานที่นี้ถูกขุดค้นเจอเมื่อ พ.ศ. 2517 ในอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ก่อนจะได้รับเลือกเป็นมรดกโลกลำดับที่ 359 ใน พ.ศ. 2535 บ้านเชียงได้ถูกพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปเข้าชมได้ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์ เนื้อหาครอบคลุมเรื่องพัฒนาการทางยุคสมัย วิถีชีวิต การขุดค้น และจัดแสดงโบราณวัตถุ ทั้งเครื่องปั้นดินเผา สำริด เหล็ก รวมถึงโครงกระดูกที่ขุดพบ กับอีกจุดจัดแสดงแหล่งการขุดค้น ณ วัดโพธิ์ศรีที่ตั้งอยู่ห่างไป 900 เมตร ปัจจุบันนอกจากงานให้บริการพิพิธภัณฑ์ ที่นี่ได้ให้บริการในด้านการวิจัยและงานวิชาการ อย่างการเป็นคลังเก็บโบราณวัตถุ งานสำรวจทำบัญชีโบราณวัตถุในพื้นที่ ให้บริการออกใบอนุญาตส่งโบราณวัตถุ ร่วมจัดงานมรดกโลกซึ่งเป็นงานประจำปีที่จะจัดร่วมกับหน่วยงานรัฐและชุมชน รวมถึงสนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการให้การท่องเที่ยวของชุมชน โดยรอบมีโฮมสเตย์ ร้านค้า กลุ่มทอผ้า กลุ่มปั้นหม้อ ซึ่งเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ดำเนินสอดคล้องกับเรื่องราวในพื้นที่มาโดยตลอด  หมู่ที่ 13 ถนนสุทธิพงษ์ ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 41320 https://goo.gl/maps/xpBzAH9RCyne3vMb9  วัน-เวลาทำการ : พิพิธภัณฑ์ วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์และวันอังคาร) หลุมขุดค้น วัดโพธิ์ศรีใน ทุกวัน เวลา 09.00 – 16.00 น.  0 4223 5040  Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง : Banchiang National Museum 2 กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านโนนกอก ชุมชนตำหูกที่ย้อมสีผ้าด้วยดอกบัว จากความทรงจำวัยเด็กที่ได้เห็นการทอผ้าใต้ถุนบ้านเป็นภาพชินตา อภิชาติ พลบัวไข ผู้ใหญ่บ้านโนนกอก หลังจากเรียนจบปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก ต้องการกลับบ้านเกิดมาพัฒนาชุมชนด้วยสิ่งที่เขารักและผูกพันมาตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อภาพที่จำได้เหล่านั้นกลับหายไปเมื่อเขาเริ่มเติบโตขึ้น “บ้านโนนกอกเลิกทอผ้ามายี่สิบกว่าปีแล้ว ผมต้องเริ่มจากหาช่างทอลูกหลานที่ยังหลงเหลือ เรามารวมกลุ่มกันทอผ้าแบบโบราณ จากคนเดียวเป็นสอง สาม สี่ ห้า จนปัจจุบันยี่สิบห้าคน รวมถึงเรามีเครือข่ายขยายไปสองร้อยกว่าคนในหมู่บ้านต่าง ๆ” ผู้ใหญ่บ้านยังเล่าว่า การทอผ้าหรือภาษาอีสานเรียก ‘ตำหูก’ เป็นวิถีชีวิตที่มีอยู่ทั่วทุกพื้นที่ในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดอุดรธานีที่มีผ้าทอลายขิดเป็นภูมิปัญญาและมีลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์ นอกจากตั้งใจรื้อฟื้นการใช้กี่ทอผ้าแบบโบราณโดยไม่ใช้เครื่องจักร เขายังต้องการสร้างเอกลักษณ์ในด้านสีสันและเรื่องราวของท้องถิ่นให้ฝ้ายและไหมด้วย เอกลักษณ์ของที่นี่คือการนำส่วนต่าง ๆ ของดอกบัวมาเป็นวัตถุดิบย้อม โดยค้นพบว่า ดอกบัวตากแห้งจะได้สีน้ำตาลทอง สายบัวจะได้สีเทาเงิน กลีบได้สีชมพู จนภายหลังก็ได้พัฒนาเช่นพบว่า เมื่อใช้น้ำปูนกับมะขามเปียกผสมจะได้สีเขียวขี้ม้า หรือที่นิยมมากคือการหมักกับโคลน ที่จะทำให้ย้อมดอกบัวได้สีดำ นำมาซึ่งความแตกต่างของเอกลักษณ์สีธรรมชาติที่ทำให้ที่นี่เป็นที่รู้จักไปไกล  ชุมชนบ้านโนนกอก 63 หมู่ที่ 18 ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000 https://goo.gl/maps/achU8sf5SgrSRWVq5  วัน-เวลาทำการ : ทุกวัน 08.00 – 17.00 น.  06 1942 8808  Facebook : กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านโนนกอก จ.อุดร 3 ส้มตำเบญจางค์ ร้านส้มตำเก่าแก่แห่งบ้านโนน อร่อยมาตั้งแต่รุ่นยาย ถ้าถามคนอุดรฯ ว่าร้านส้มตำร้านไหนอร่อยที่สุด ว่ากันตามตรงแต่ละคนก็อาจตอบร้านโปรดของตัวเองที่มีอยู่ทั่วทุกมุมเมือง แต่ถ้าถามว่าร้านไหนเปิดมายาวนานที่สุด

✨ อดีต…อุดร ✨ อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top