สถานที่ท่องเที่ยว

🔸ย่านเมืองเก่าสงขลา 🔸

ย่านนี้มีถนนสายสำคัญ 3 สาย คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม ในเขตเทศบาลนครสงขลา เป็นถนนที่เต็มไปด้วยอาคารซึ่งมีสถาปัตยกรรมงดงามและยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ ทั้งตึกเก่าสไตล์ชิโน-โปรตุกีส และตึกแถวแบบจีนพาณิชย์ จุดเริ่มต้นของการเดินชมย่านเมืองเก่าสงขลา เริ่มต้นจากประตูเมืองสงขลาไปตามถนนนครนอก ซึ่งเป็นถนนเลียบริมทะเลสาบสงขลา สุดปลายถนนมีโรงสีเก่าทาสีแดงทั้งหลัง เรียกว่า “หับ โห้ หิ้น” ปัจจุบันเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการถาวรเรื่องราวเมืองเก่าสงขลา ถัดมาคือ ถนนนครในและถนนนางงาม เป็นแหล่งรวมของร้านอาหารคาวหวานท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงหลายสิบปี ทั้งร้านขายขนมไทยที่หารับประทานได้ยาก เช่น ขี้มอด ทองเอก ข้าวฟ่างกวน ขนมกระบอก ขนมบูตู สำปันนี อีกทั้งยังมีร้านไอศกรีม ร้านข้าวสตู และร้านกาแฟโบราณ ฯลฯ นอกจากนี้สามารถเดินชมภาพวาดสตรีทอาร์ตตามผนังบ้านเรือนบนถนนเส้นต่าง ๆ โดยแต่ละภาพสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่

🔸ย่านเมืองเก่าสงขลา 🔸 อ่านเพิ่มเติม

✨ ลานหินสีชมพู จ.จันทบุรี ✨

สวัสดีเพื่อน ๆ วันนี้แอดจะพาทุกคนมาที่หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งของ จ.จันทบุรี ที่มีความสวยแปลกตาและไม่เหมือนใคร ยิ่งใครชอบถ่ายรูปลงโซเชียลรับรองเลยว่าต้องได้รูปสวยถูกใจแน่ ๆ ตามมาดูกัน ลานหินสีชมพู ตั้งอยู่ภายในบริเวณ เขตห้ามล่าสัตว์คุ้งกระเบน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็นหินสีชมพูอมน้ำตาลแดง อยู่ตามริมชายหาดทอดยาว แถมยังเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเกาะที่อยู่รอบ ๆ อย่าง เกาะสะบ้า เกาะนมสาว เขาแหลมสิงห์ ได้อีกด้วย ที่เพื่อน ๆ เห็นหินเป็นสีชมพูแบบนี้ เพราะหินที่นี่ มีส่วนผสมของธาตุเหล็กอยู่เยอะ ยิ่งช่วงไหนมีแสงแดดส่องกระทบ เพื่อน ๆ จะเห็นเลยว่ามีทั้งก้อนหินสีแดงอมชมพู สีชมพูอมม่วง ไปจนถึงสีม่วงอมน้ำตาลแดง ปกติจะพบหินแบบนี้ได้ตามบริเวณที่ราบลุ่มน้ำขึ้นถึง ที่ลุ่มชื้นแฉะ ที่ลุ่มน้ำขัง ป่าชายเลน ซึ่งหินชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า หินทรายอาร์โคส (Arkosic Sandstone) สำหรับการเดินไป ลานหินสีชมพู เพื่อน ๆ จะต้องเดินเท้าตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร มี 2 เส้นทาง เส้นทางแรกเป็นการเดินขึ้นเขา แอดใช้เส้นทางนี้ (ใช้เวลาเดินประมาณ 45 นาที) ส่วนอีกเส้นทางเป็นการเดินเลียบชายหาด ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง (ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กุมภาพันธ์ น้ำจะขึ้นตอนกลางวันไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้) จุดชมวิวบ่อเตย หากมาทางขึ้นเขาจะอยู่ก่อนถึงลานหินสีชมพู มีจุดนั่งพักชมวิว รับลมเย็น ๆ ในการเดินทางไปลานหินชมพู แอดแนะนำให้ใส่รองเท้าผ้าใบ ควรมาช่วงเช้าตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึง 9 โมงเช้า หรือ ช่วง 4 โมงเย็นไปจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน ที่สำคัญต้องช่วยกันรักษาความสะอาดด้วย ไม่ทิ้งเศษขยะหรือเศษอาหารภายในบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวกันด้วยล่ะ

✨ ลานหินสีชมพู จ.จันทบุรี ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨เที่ยวเมียงไม่ไกลเมือง…เชียงใหม่🌿

หากมีวันหยุดสั้น ๆ แล้วอยากไปเที่ยวพักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศ แถบภาคเหนือ แอดเชื่อว่า #เชียงใหม่ เป็นตัวเลือกแรก ๆ ของใครหลายคน แต่ก็มีหลายคนที่ไปบ่อยเสียจนไม่รู้จะไปเที่ยวมุมไหนอีก วันนี้แอดขอชวนเพื่อน ๆ ไปเที่ยวแบบเมียง ๆ กันค่ะ อ๊ะ… เพื่อน ๆ อย่าเพิ่งแย้งว่าแอดเขียนผิดนะ คำว่า “เมียง” ในภาษาเหนือ แปลว่า “เมือง” นั่นแหละ แต่แอดจะพาไปเที่ยวแบบเมียง ๆ หรือ เมือง ๆ ยังไง ตามไปดูกัน 🥰 วันแรก เราเริ่มกันที่ “ชุมชนบ้านลวงเหนือ ชุมชนไทลื้อ” หมู่บ้านของชาวไทลื้อที่ยังรักษาวิถีชีวิตของตัวเองไว้ได้อย่างน่าชื่นชม ชุมชนนี้อยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่เพียงแค่ขับรถไป 30 นาทีเท่านั้นเอง เพื่อน ๆ ที่สนใจจะมาเที่ยวที่นี่ แอดแนะนำให้ซื้อแพ็คเกจล่วงหน้านะ เพื่อที่เราจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทลื้อที่ทางชุมชนจัดให้อย่างเต็มที่ ทันทีที่มาถึง ไกด์ชุมชนก็ออกมาต้อนรับและพาไปที่ “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ” โดยจะมีแม่ ๆ ย่า ๆ มาคอยฮับต้อนย้อนวิถี ผูกข้อไม้ข้อมืออวยพร พรมน้ำขมิ้นส้มป่อย และเสิร์ฟเวลคัมดริงค์ที่เป็นสมุนไพรอย่างใบเตย กระเจี๊ยบให้พวกเรา https://goo.gl/maps/swjrX87Hab6ZrRtE6 จากนั้นจะเป็นการเล่าประวัติความเป็นมา ผ่านบทซอของชาวไทลื้อ มีการสอนให้ร้องตามพอสนุก ๆ ด้วยนะ ซึ่งภาษาเหนือสำเนียงไทลื้อ ก็จะต่างจากสำเนียงเชียงใหม่ แบบที่ฟังแล้วคนไทลื้อด้วยกันจะรู้เลยล่ะ หลังจากหัดซอขับซอกันพอสมควร ก็ไปแอ่วเฮือนเยือนผญา ที่นี่จะมีการสาธิตปั่นฝ้าย ทอผ้าแบบไทลื้อ และจัดแสดงเครื่องใช้ไม้สอย รวมทั้งเครื่องมือทำมาหากินในอดีตของชาวไทลื้อ ให้นักท่องเที่ยวได้พอเห็นภาพการใช้ชีวิตของชาวไทลื้อ แป๊บเดียวก็เที่ยงแล้ว แน่นอนว่ามื้อเที่ยงวันนี้เป็นอาหารไทลื้อ สำรับของเราประกอบไปด้วย ผัดไทไตลื้อ โสะบ่าก้วยเต้ด (ตำมะละกอใส่ขิงแบบไตลื้อ) น้ำสมุนไพร ขนมวง ข้าวจี่ ไข่ป่าม ข้าวแคบ อร่อยดีทีเดียว จากนั้น ไกด์ก็พาไปต่อที่ “บ้านสวนพอเพียงทรัพย์ทองศรี” ที่เน้นวิถีความพอเพียงของคนไตลื้อ มีกิจกรรมปลูกผักผลไม้ เลี้ยงไก่ บรรยากาศดีมาก เหมาะกับทั้งเรียนรู้และเดินเล่นเพลิน ๆ เลยล่ะ จุดต่อไปคือ “วัดศรีมุงเมือง” ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของชุมชน วัดศรีมุงเมือง สร้างโดยพระเจ้าสามฝั่งแกน เมื่อ พ.ศ. 1954 เป็นวัดเก่าแก่ที่งดงาม และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทลื้อ ภายในวัดมีเจดีย์เก่าแก่ และมีวิหารไทลื้อที่ได้ชื่อว่างามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ในหมู่บ้านลวงเหนือ นอกจากวัดศรีมุงเมืองแล้วยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวชุมชนอีกแห่ง นั่นคือหลักใจกลางหมู่บ้าน (เสื้อบ้าน) ที่จารึกวันเดือนปีที่สร้างหมู่บ้านไว้ว่าคือ วันเสาร์ที่ 3 เม.ย. พ.ศ. 1932 เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า มีหมู่บ้านและชุมชน ณ ที่นี้มามากกว่า 600 ปีแล้ว ต่อไปเป็นกิจกรรมสนุก ๆ ที่คนชอบงานฝีมือน่าจะชอบ ไกด์พาเราไปที่ “สวนตุ๊กตาไม้นายโถ” ซึ่งอยู่ห่างจากวัดศรีมุงเมืองประมาณ 500 เมตร มีตุ๊กตาไม้แบบไทลื้อหน้าตาน่ารักเต็มไปหมด นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาสนุกกับการระบายสีบนตุ๊กตาและนำกลับไปเป็นที่ระลึกได้ หลังจากเดินชมหมู่บ้านและแวะเวียนทำกิจกรรมมามาเกือบทั้งวัน เหมือนไกด์จะรู้ใจว่าต้องมีเหนื่อยกันบ้าง จุดหมายต่อไปจึงเป็น “เฮือนหอมยาท้องนางาม” เรือนนี้ให้บริการอบสมุนไพรและทำสปาเท้า แค่เดินเข้ามาก็รู้สึกผ่อนคลายแล้ว เราสามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ได้เลยว่า ควรใช้สมุนไพรอะไรดี สำหรับแอด แอดเลือกสปาเท้าด้วยเกลือสมุนไพร ผ่อนคลายดีจริง ๆ https://goo.gl/maps/xx4f7QF1sT39UwG67 ปิดท้ายวันด้วยมื้อเย็นที่ “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ” มื้อนี้เป็นการกินแบบ “กาดมั่วคัวลื้อ” โดยแม่ครัวแต่ละคนจะทำอาหารเมนูเด็ดของตัวเองกันมา ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกตักรับประทานแบบบุฟเฟต์ ทั้งยำมะเขือยาวออร์แกนิกใส่กุ้ง แกงผักปลังจิ้นส้ม ข้าวเงี้ยว ข้าวจี่ ไข่ป่าม และเครื่องดื่มสมุนไพร แต่หากกลุ่มนักท่องเที่ยวมีไม่ถึง 10 คน ทางชุมชนจะจัดเป็นขันโตกมาให้แทน นอกจากจะเป็นมื้อเย็นที่เอร็ดอร่อยแล้ว ยังมีโฟล์คซองเพลงลื้อและการขับร้องฟ้อนรำขับกล่อมพวกเราไปจน 20.30 น. เลย https://goo.gl/maps/5wQiKasRVrTJut9k7 วันที่ 2 เริ่มวันใหม่ด้วยมื้อเช้าที่ “ทุ่งนาใต้ฟ้าเมืองลวง” (ทุ่งนาฟ้ากว้าง) ที่เน้นไปที่การตกปลา เก็บไข่เป็ด เก็บผัก เก็บหน่อไม้ มาทำเป็นอาหารเช้า ก่อนจะนำเศษอาหารกลับไปทำปุ๋ยอีกครั้ง เป็นวิถีธรรมชาติที่น่าประทับใจมาก เรียกว่าประทับใจจนนาทีสุดท้าย ก่อนจะบอกลาเมืองลวงเหนือกลับเข้าเมืองเชียงใหม่เลยทีเดียว https://g.page/Fakwangfield?share กิจกรรมฐานการเรียนรู้ทุ่งนาฟ้ากว้าง รายละเอียดกิจกรรม หากสนใจเที่ยวแบบแพคเกจ รวมที่พัก อาหาร และบริการต่าง ๆ ราคาเริ่มต้นที่ประมาณคนละ 1,500 บาท (แนะนำให้ติดต่อล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์) หากเข้ามาเที่ยวแบบ Walk in ก็สามารถเข้ามาได้ เพียงแต่จะไม่เห็นชาวชุมชนใส่ชุดไทลื้อ แต่นักท่องเที่ยวสามารถเลือกกิจกรรมตามความสนใจได้ โดยมีค่าบริการแต่ละกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมต้อนรับ แอ่วเฮือนเยือนผญา กลุ่มละ 500 บาท ค่าวิทยากรเรียนรู้ ฐานละ 400 บาท ค่าเรียนการทำอาหารเช้า คนละ 100 บาท เป็นต้น หลังจากเที่ยวแบบเมียง ๆ มาแล้ว เราไปเที่ยวแบบเมือง ๆ กันบ้างดีกว่า เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีร้านของว่าง ร้านขนมหวาน ร้านกาแฟใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ แวะชิมกันสนุกสนานเลยล่ะ คราวนี้แอดเองก็มีร้านมาแนะนำอยู่ 3-4 ร้าน มีทั้งร้านใหม่ที่อยากให้ลอง และร้านเด็ดที่ไม่อยากให้พลาด ลองเลือกดูตามสไตล์ใครสไตล์มันได้เลย MOOHomeMade Cafe ร้าน MOOH (อ่านว่า หมู) เป็นร้านเบเกอรีที่ขายโดนัทแบบบอมโบโลนี มีไส้ต่าง ๆ ให้เลือกหลายไส้ เป็นร้านเล็ก ๆ น่ารัก อยู่ในนิมมานเหมินทร์ ซอย

✨เที่ยวเมียงไม่ไกลเมือง…เชียงใหม่🌿 อ่านเพิ่มเติม

📍ย่านเมืองเก่าภูเก็ต📍

ครอบคลุมบริเวณถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนพังงา ถนนเยาวราช ถนนกระบี่ และซอยรมณีย์ เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ในอดีตจะมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ได้แก่ จีน อินเดีย ยุโรป มุสลิม เข้ามาตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพค้าขายและได้สร้างบ้านเป็นตึกแถวมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบ “ชิโน-โปรตุกีส” (Sino-Portuguese) ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งกิจการเหมืองแร่ดีบุกเริ่มเจริญรุ่งเรือง ปัจจุบันบางอาคารได้รับการอนุรักษ์เป็นพิพิธภัณฑ์ บางอาคารดัดแปลงเป็นที่พัก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก นอกจากนี้ยังมี “ถนนคนเดินหลาดใหญ่” จัดขึ้นในทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 16.00-22.00 น. บนถนนถลางในย่านเมืองเก่าภูเก็ต เป็นถนนคนเดินที่สามารถสัมผัสกลิ่นอายความเป็นเมืองพหุวัฒนธรรมของภูเก็ตได้เป็นอย่างดี

📍ย่านเมืองเก่าภูเก็ต📍 อ่านเพิ่มเติม

✨ น้ำชุบหยำ น้ำพริกพื้นเมืองกับเรื่องเล่าพื้นบ้าน ✨

“น้ำชุบหยำ” ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น “น้ำพริกขยำ” หรือ “น้ำพริกโจร” ซึ่งแต่ละคนก็อาจจะเคยได้ยินหรือเรียกไม่เหมือนกัน แต่ที่เห็นอยู่นี้ คือน้ำพริกพื้นเมืองที่นิยมรับประทานกันในภาคใต้ วัตถุดิบมีลักษณะคล้ายกับน้ำพริกกะปิของภาคกลาง แต่มีส่วนผสมเพิ่มเติม ได้แก่ กุ้ง กับน้ำกุ้งต้มเพื่อเพิ่มรสหวาน และจะทำน้ำพริกโดยวิธีการขยำ ๆ จนเข้ากัน น้ำชุบหยำ เป็นอาหารที่มีเรื่องเล่ากันว่า “ครั้งหนึ่ง โจรกำลังปล้นบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งในขณะที่กำลังปล้นก็เริ่มรู้สึกหิว จึงหาอะไรกิน และเห็นว่ามีเครื่องทำน้ำพริกอยู่ แต่ถ้าเกิดตำน้ำพริกโดยใช้ครก ก็กลัวว่าเจ้าของบ้านจะตื่น จึงใช้มือขยำ ๆ วัตถุดิบต่าง ๆ แทน” ซึ่งกลายเป็นที่มาของน้ำชุบหยำนั่นเอง ในปัจจุบัน มีสูตรและวิธีทำมากมายตามสื่อออนไลน์ ซึ่งถ้าหากใครที่อยากลองทำดู ก็สามารถทำได้ไม่ยาก หรือถ้าใครที่มีโอกาสเดินทาไปเที่ยวจังหวัดภูเก็ต หรือพังงา แนะนำให้เพื่อน ๆ ลองหารับประทานดูสักครั้งแล้วจะติดใจ

✨ น้ำชุบหยำ น้ำพริกพื้นเมืองกับเรื่องเล่าพื้นบ้าน ✨ อ่านเพิ่มเติม

คลองสังเน่ห์ : Little AMAZON: พังงา

คลองสังเน่ห์ ตั้งอยู่ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา สามารถล่องเรือพายหรือเรือยนต์ขนาดเล็กเที่ยวชมทัศนียภาพ ระหว่างทางจะพบอุโมงค์ต้นไทรอายุนับร้อยปีที่แผ่กิ่งก้านสาขาสองฝั่งคลอง บางช่วงกิ่งก้านจะห้อยระย้าลงมาเหนือลำคลองเหมือนม่านอุโมงค์ต้นไทร ทัศนียภาพโดยรวมคล้ายลุ่มน้ำอะเมซอน จึงถูกขนานนามว่า “ ลิตเติ้ลอะเมซอน (The Little Amazon) ”

คลองสังเน่ห์ : Little AMAZON: พังงา อ่านเพิ่มเติม

✨ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา จ.เชียงใหม่ ✨

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ที่นี่มีการอนุรักษ์และจัดแสดงเรือนล้านนาให้กับประชาชนทั่วไปได้ศึกษากว่า 10 หลัง แถมมียุ้งข้าวอีก 4 หลัง ซึ่งแต่ละหลังมีที่มาและประวัติของตนเอง ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของล้านนาในอดีต ที่ผ่านการดูแลให้คงสภาพเดิมที่ยังเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากที่นี่มีเรือนล้านนาโบราณหลายหลัง แถมแต่ละหลังมีรายละเอียดเยอะมาก แอดเลยขอแนะนำเรือนล้านนาและยุ้งข้าวส่วนหนึ่งให้กับเพื่อน ๆ โดยเริ่มที่  เรือนไทลื้อ (หม่อนตุด)  เรือนหม่อนตุด สร้างขึ้นจากการผสมผสานเรือนแบบไทลื้อผสมไทยวน โดยชาวไทลื้อจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีนที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในเชียงใหม่ ที่บ้านลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด เมื่อปี พ.ศ. 2460 ปลายปี 2534 อาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ ได้ทราบเรื่องการประกาศขายเรือนหม่อนตุดจาก ทางมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ จึงตัดสินใจซื้อและมอบให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเก็บรักษาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวเชียงใหม่ โดยเป็นเรือนที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาและจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับให้คนทั่วไปได้ศึกษา และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2537 ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ประกอบพิธีขึ้นเฮือนใหม่ โดยมีเจ้าหม่อมคำลือ กษัตริย์องค์สุดท้ายของชาวสิบสองปันนา เป็นผู้ทำพิธีเปิดเรือนและอุทิศส่วนกุศลไปให้หม่อนตุดเจ้าของเรือนผู้ล่วงลับ ตัวเรือนหม่อนตุดเป็นเรือนไม้ขนาดกลางมุงหลังคา “แป้นเกล็ด” ลักษณะเป็น “เรือนสองหลังหน้าเปียง” (เรือนจั่วสองหลังวางต่อกันในระนาบเดียวกัน) ประกอบด้วยเรือน 2 หลังคือ “เฮือนนอน” และ “เฮือนไฟ” ตรงกลางระหว่างชายคาของเรือนทั้งสองเชื่อมต่อกันทำเป็นรางน้ำฝน เรียกว่า “ฮ่อมริน” ล้อมรอบตัวเรือนด้วยเติ๋น  เรือนกาแล (พญาวงศ์)  เรือนพญาวงศ์ เป็นชื่อที่ได้มาจากเจ้าของเรือน กำนันแห่งบ้านสบทา จาก จ.ลำพูน สร้างโดยลูกเขยของพญาวงศ์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2440 แต่หลังจากพญาวงศ์เสียชีวิต ไม่มีผู้สืบทอดและอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ทางเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้าและเจ้าคณะ จึงได้ติดต่อขอซื้อเรือนแล้วทำการรื้อย้ายมาปลูกสร้างไว้ที่วัดสุวรรณวิหาร บ้านแม่อาว ต่อมามีชาวสิงคโปร์ได้ซื้อไว้และภายหลังเสียชีวิตลง มูลนิธิ ดร.วินิจ – คุณหญิงพรรณี วินิจนัยภาค ได้มอบเรือนหลังนี้และให้การสนับสนุนการรื้อถอนและย้ายมาปลูกไว้ที่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2541 ตัวเรือนพญาวงศ์ เป็นหลังคาทรงจั่วแฝด ยอดจั่วมี “กาแล” เป็นไม้แกะสลักวางไขว้กันอยู่ มี “เติ๋น” (ชานเรือน) อยู่ด้านหน้าของเรือนพร้อมบันไดทางขึ้น ไม่มีหลังคาคลุม มี “เฮือนนอน” 2 หลังคู่กัน  เรือนกาแล(อุ๊ยผัด)  เรือนอุ๊ยผัด เป็นของ อุ๊ยผัด โพธิทา จาก อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ สันนิษฐานว่าตัวเรือนสร้างในปี พ.ศ. 2456 โดยทาง มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ (มูลนิธิที่สนับสนุนสถาบันการหาความรู้ทางโบราณคดี เกษตรกรรม วัฒนธรรมและศิลปกรรมไทย) และ อาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์เรือนนี้ จึงนำเรือนนี้มาปลูกไว้ในบริเวณที่ตั้งของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2537 ตัวเรือนขนาดกระทัดรัดทำจากไม้ทั้งหลังยกพื้นสูง หลังคามุงด้วย “แป้นเกล็ด” (กระเบื้องทำจากไม้เนื้อแข็ง) นอกจากเรือนอุ๊ยผัดจะมี “เฮือนนอน” และ “เฮือนไฟ” แล้ว ยังมี “ชานฮ่อม” ที่เป็นเหมือนชั้นไม้สำหรับวางหม้อน้ำอยู่ทางเข้าตัวเรือน ไว้บริการแขกผู้มาเยือนและคนในเรือนอีกด้วย มาต่อกันที่ยุ้งข้าวกันบ้าง ซึ่งภาคเหนือจะเรียกกันว่า “หลองข้าว” ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่อยู่คู่กับเรือนของชาวล้านนา ใช้สำหรับเก็บข้าวเปลือกไว้กินตลอดทั้งปี อีกทั้งหลองข้าวยังถือเป็นหน้าตาของเจ้าบ้าน ว่ากันว่า หลองข้าวบ้านใครใหญ่ เจ้าของบ้านจะมีฐานะ โดยวันนี้แอดจะพาเพื่อน ๆ มาเริ่มดูกันที่  ยุ้งข้าวป่าซาง(นันทขว้าง)  หลองข้าวขนาดใหญ่ของตระกูลนันทขว้าง เดิมอยู่ในเขต อ.ป่าซาง จ.ลำพูน โดยมีคุณโสภา เมืองกระจ่าง (นันทขว้าง) เป็นเจ้าของ ต่อมามีการบริจาคให้อยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2559 หลองข้าวป่าซาง(นันทขว้าง) สันนิษฐานจากสถาปัตยกรรมว่า สร้างมาแล้วประมาณอายุได้ 150-170 ปี บริเวณเสาช่วงกลางหลองข้าวมีร่องรอยบากไม้ เพื่อนำแผ่นไม้มาใส่กั้นเป็นห้องเก็บข้าว มีการแกะสลักรูปนกยูงหน้าจั่วทั้งสองด้านและดัดแปลงทางขึ้นเพิ่ม โดยการต่อเติมบันไดถาวรขึ้นลงทางด้านหน้า (หลองข้าวดั้งเดิมไม่มีทางขึ้นถาวร ต้องใช้บันไดไม้พาดเพื่อขึ้นลง)  ยุ้งข้าวเปลือย  สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยใช้เสาหลองข้าวเก่าและไม้ที่เหลือจากการซ่อมแซมเรือนในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาสร้างตามต้นแบบหลองข้าวทรงแม่ไก่ในบ้าน อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ เป็นหลองข้าวขนาดเล็ก มี 6 เสา ต่างจากหลองข้าวทั่วไปที่จะมีอย่างน้อย 8 เสา ใช้เก็บข้าวโดยใส่ข้าวเปลือกไว้ในเสวียน (เครื่องสานขนาดใหญ่ มักทำเป็นทรงกลมไม่มีฝา สานด้วยซีกไม้ไผ่) ที่พอกทับด้วยมูลวัวผสมยางไม้   ยุ้งข้าวสารภี  สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2450 โดยพ่อโต (เศรษฐี) ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 Professor Dr Hans-Jurgen Langholz และภรรยา Dr. Agnes Langholz ได้ให้การสนับสนุนในการย้ายหลองข้าวหลังนี้มาไว้ที่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลองข้าวสารภีเป็นอาคารไม้ขนาดกลาง ยกใต้ถุนสูงเพื่อเก็บอุปกรณทางการเกษตร ตัวเรือนตีไม้ปิดทึบเป็นห้องเอาไว้เก็บข้าว ล้อมรอบด้วยระเบียงชั้นนอก มีเสาไม้กลมจำนวน 8 ต้น  หากสนใจเข้าชม สามารถติดต่อได้ที่อาคารสำนักงานของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทางด้านหน้าได้เลย รับรองการเยี่ยมชมเรือนโบราณล้านนา จะมอบประสบการณ์และความรู้ใหม่ ๆ ให้เพื่อน ๆ ได้ซึมซับแบบจุใจมากแน่ ๆ

✨ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา จ.เชียงใหม่ ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ 15 พิกัดที่เที่ยวอยุธยา ✨

พระราชวังบางปะอิน ✨ พระราชวังบางปะอิน เป็นพระราชวังเก่าแก่ที่สร้างโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 พระราชวังแห่งนี้ถูกปล่อยทิ้งร้าง กระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้เริ่มการบูรณะฟื้นฟู ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งยังคงใช้เป็นที่ประทับ ต้อนรับพระราชอาคันตุกะและพระราชทานเลี้ยงรับรองในโอกาสต่าง ๆ พระราชวังแห่งนี้มีสิ่งที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่ หอเหมมณเฑียรเทวราช พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระที่นั่งเวหาศจำรูญ หรือ เทียนเม่งเต้ย หอวิทูรทัศนา ตำหนักเก้าห้อง เรียกได้ว่า พระราชวังแห่งนี้มีความงดงามมาก แถมยังมีการผสมผสานสถาปัตยกรรมของตะวันตกและจีนเข้าด้วย 😍 วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร  อีกหนึ่งสถานที่ที่น่าสนใจในอำเภอบางปะอินคือ “วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร” เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ ขณะเสด็จมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน ความพิเศษของวัดแห่งนี้ คือ เป็นวัดไทยที่มีสถาปัตยกรรมสไตล์ตะวันตก ภายในพระอุโบสถตกแต่งอย่างงดงาม หน้าต่างประดับกระจกสีอย่างโดดเด่น เนื่องจากวัดแห่งนี้ ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา การเดินทางเข้าถึงวัดนี้จริงมีเส้นทางพิเศษคือการนั่งกระเช้าไฟฟ้าข้ามแม่น้ำ กระเช้าจะออกทุก ๆ 5-10 นาที ไม่มีค่าใช้จ่าย นั่งได้ไม่เกิน 10 คน/ครั้ง วัดมหาธาตุ ✨ วัดสำคัญแห่งนี้มีพระปรางค์ที่สร้างในระยะแรกของสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปรางค์ขอม พงศาวดารบางฉบับกล่าวว่าวัดนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ต่อมาสมเด็จพระราเมศวรโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดเมื่อ พ.ศ. 1927 ปัจจุบันภายในวัดก็ยังคงหลงเหลือโบราณสถานและพระปรางค์ประธานให้เราได้ชมกัน นอกจากพระปรางค์ประธานแล้ว ยังมีเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งรูปแบบและลวดลายที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลล้านนา พบเพียงองค์เดียวในอยุธยา อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจภายในวัดแห่งนี้ คือ เศียรพระพุทธรูปหินทรายที่มีรากไม้ปกคลุม ดูสวยงามแปลกตา วัดราชบูรณะ  ไม่ไกลจากวัดมหาธาตุ คือ “วัดราชบูรณะ” เป็นอีกหนึ่งโบราณสถานที่สำคัญ สร้างขึ้นบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา เมื่อคราวเสียกรุง วัดนี้เกิดความเสียหายอย่างมาก จากซากโบราณสถานในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าวิหารและส่วนต่าง ๆ ของวัดนี้มีความใหญ่โตมาก ปรางค์ประธานขนาดใหญ่ของวัดนี้ ก่อด้วยอิฐและศิลาแลง ภายในปรางค์มีกรุซึ่งเคยขุดพบสิ่งของมีค่าต่าง ๆ เช่น เครื่องราชูปโภคที่ทำด้วยทองคำ มงกุฎ พระพุทธรูป พระพิมพ์ และของมีค่าอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ปัจจุบันโบราณวัตถุที่ยังหลงเหลืออยู่ได้นำไปจัดเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี่เอง หอมกลิ่น Thai Dessert Cafe  มาถึงอยุธยา คงต้องหาขนมไทยอร่อย ๆ ชิมสักร้าน ที่ “หอมกลิ่น Thai dessert Cafe” คาเฟ่ขนมไทยที่ไม่ได้มีดีแค่ขนมไทย แต่ยังสามารถชมบรรยากาศวัดราชบูรณะจากมุมชั้นบนของร้านได้อย่างกว้างขวาง ที่นี่มีขนมไทยและเครื่องดื่มให้เลือกมากมาย แถมบรรยากาศในร้านก็ดีอีกด้วย หากใครมีโอกาสมาเที่ยวที่นี่ อย่าลืมมาแวะกันนะ วัดไชยวัฒนาราม ✨ วัดแห่งนี้ ได้ชื่อว่าเป็นโบราณสถานที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่ง สร้างในปี พ.ศ. 2173 สมัยพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งสร้างขึ้นบริเวณนิวาสสถานเดิมของพระราชมารดา เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศล และต่อมายังใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ด้วย สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในวัดแห่งนี้ก็คือ ปรางค์ประธานที่ตั้งอยู่กลางวัด และปรางค์บริวารทั้ง 4 มุม ระเบียงคดมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยตั้งเรียงอยู่ รวมทั้งเมรุทิศเมรุรายทางด้านหลัง แม้จะชำรุดไปบางส่วน แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความงดงามและองค์ประกอบต่าง ๆ ของวัดได้เป็นอย่างดี วัดพระศรีสรรเพชญ์  วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา ใช้สำหรับประกอบพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ พระสถูปเจดีย์ที่ตั้งเด่นเรียงกันทั้งสามองค์นี้ ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ 3 พระองค์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ในคราวแรกนั้นมีการสร้างเพียงสององค์ และหลังจากนั้นราว ๆ 30 ปี ได้มีการสร้างองค์ที่สามขึ้นมา พระสถูปเจดีย์ทั้งสามองค์เป็นทรงลังกา และมีการสร้างมณฑปขึ้นระหว่างเจดีย์แต่ละองค์ สันนิษฐานว่าสร้างภายหลัง ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง นอกจากนี้ ยังมีโบราณสถานที่สำคัญซึ่งอยู่ติดกับพระสถูปเจดีย์ ซึ่งในอดีตบริเวณนี้เรียกว่าพระราชวังโบราณหรือพระราชวังหลวงนั่นเอง บ้านข้าวหนม  คาเฟ่ขนมไทยร้านเล็ก ๆ แห่งนี้ ตั้งอยู่ริมถนนอู่ทองในเกาะอยุธยา ตัวร้านสีเขียวดูสบายตา ภายในตกแต่งแบบไทยร่วมสมัยได้อย่างลงตัว ที่นี่มีทั้งขนมที่หาได้ทั่วไป ขนมไทยโบราณ และยังมีเครื่องดื่มเย็น ๆ จำหน่ายด้วยนะ ใครที่มาเที่ยวอยุธยาแล้วอยากชั่งชิล ๆ ในบรรยากาศไทย ๆ แอดแนะนำที่นี่เลย วัดโลกยสุธาราม  วัดแห่งนี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง รัชสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช พระราชบิดาเจ้าสามพระยา ราว ๆ ปี พ.ศ. 1995 เป็นวัดที่มีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ตั้งอยู่กลางแจ้ง พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ก่อด้วยอิฐถือปูน ยาว 42 เมตร พระเศียรมีดอกบัวรองรับ ผู้คนนิยมมากราบไหว้สักการะกันจำนวนมาก บ้านเวียงเหล็ก  แวะมานั่งชิล ๆ ในบรรยากาศไทย ๆ ที่ “บ้านเวียงเหล็ก” ที่นี่เป็นทั้งที่พักและคาเฟ่ สำหรับโซนคาเฟ่จะอยู่ด้านหลัง ซึ่งอยู่ติดริมแม่น้ำ ตั้งแต่ทางเดินเข้าไปจนถึงคาเฟ่มีบรรยากาศร่มรื่นมาก ๆ ภายในร้าน ตกแต่งแบบไทยประยุกต์ รอบห้องติดกระจกใส ทำให้รู้สึกโปร่งสบาย ไม่อึดอัด ที่นี่มีทั้งอาหาร ของหวานและเครื่องดื่มให้บริการ ใครที่กำลังหาร้านอาหารอร่อย ๆ ที่นี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก วัดใหญ่ชัยมงคล  ชื่อเดิมคือ “วัดป่าแก้ว” หรือ “วัดเจ้าพระยาไทย” สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ. 1900 สมัยพระเจ้าอู่ทองเพื่อเป็นสำนักสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมาจากประเทศศรีลังกา จุดเด่นภายในวัดคือพระเจดีย์องค์ใหญ่ ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าสร้างตั้งแต่เมื่อใด สันนิษฐานว่าอาจสร้างขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งเมื่อทำศึกยุทธหัตถีและมีชัยชนะกลับมา ให้เป็นอนุสรณ์สถาน ในวันวิสาขบูชาของทุกปี จะมี “งานประเพณีห่มผ้าพระเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล” แห่ผ้าห่มองค์พระเจดีย์เวียนรอบเกาะเมืองอยุธยาและทำพิธีห่มผ้าพระเจดีย์ หากใครที่มีโอกาส อยากไปร่วมงานบุญ อย่าลืมไปกันนะ  วัดพนัญเชิงวรวิหาร  วัดเก่าแก่แห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก สันนิษฐานว่ามีการสร้างมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อโต” พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ และมีเรื่องราวเกี่ยวกับ

✨ 15 พิกัดที่เที่ยวอยุธยา ✨ อ่านเพิ่มเติม

แกงฮังเล อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ 🥘

ถ้าให้พูดถึงอาหารของทางภาคเหนือ “แกงฮังเล” คงจะเป็นหนึ่งในเมนูที่ถูกนึกถึงขึ้นมาเป็นอันดับแรก ๆ เนื่องด้วยรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ในช่วงที่พม่า(ในขณะนั้น)ได้เข้ามาปกครองอาณาจักรล้านนาจึงทำให้ได้รับอิทธิพลต่าง ๆ มาด้วยรวมถึง “แกงฮังเล” นี้ด้วย แกงฮังเล มี 2 ประเภท คือแกงฮังเลม่าน ส่วนผสมหลัก ผงฮังเล ผงขมิ้น น้ำมะขามเปียก ขิงหั่นฝอย ใส่เนื้อสัตว์เป็นหมูสามชั้นหรือหมูเนื้อสะโพก อีกประเภทคือ แกงฮังเลเชียงแสน ส่วนผสมหลักจะคล้าย ๆ กันแต่จะมีการใส่ผักอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา อย่างเช่นมะเขือพวง มะเขือยาว ถั่วฝักยาว สีน้ำแกงจะแตกต่างกันเนื่องจากแกงฮังเลเชียงแสนใส่ผักเยอะน้ำแกงจึงออกสีเขียว แกงฮังเลส่วนใหญ่จะสามารถหาทานได้ใน จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ เพื่อน ๆ ที่ยังไม่เคยลองทานต้องลองแล้วนะ อร่อยแน่นอน แอดรับประกันเลย 😋

แกงฮังเล อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ 🥘 อ่านเพิ่มเติม

🌳”ป่าในกรุง” โครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวบนที่ดินของ ปตท. 🌿

ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัยเลยนะ ได้พักผ่อน เรียนรู้ และยังปลูกจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ด้วย ไปชมภาพบรรยากาศและข้อมูลกันเลยค่ะ 😻 โครงการป่าในกรุง ก่อตั้งโดยสถาบันปลูกป่า ปตท. หรือ “PTT Green in the City” เพื่อส่งเสริมพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืนนั่นเอง มองจากมุมสูงก็จะเห็นต้นไม้เขียว ๆ อย่างหนาแน่นเลยล่ะ ภายในโครงการป่าในกรุง ได้แบ่งสัดส่วนของพื้นที่ออกเป็น พื้นที่ป่า 75% พื้นที่น้ำ 15% และพื้นที่ใช้งาน 10% โดยมีจุดที่เราสามารถเข้าไปชม ไม่ว่าจะเป็นอาคารอเนกประสงค์ ห้องนิทรรศการ ห้องฉายภาพยนตร์ขนาดเล็ก และยังมีทางเดิน sky walk เป็นสะพานไม้ศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 200 เมตร มีมุมถ่ายรูปกันเพลิน ๆ หอชมป่า (Observation Tower) เป็นจุดชมวิวมุมสูง มีความสูง 23 เมตร นับว่าเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของที่นี่ เมื่อขึ้นไปแล้วเราก็จะได้เห็นบรรยากาศของกรุงเทพฯ แบบ 360 องศาเลยล่ะ  ระหว่างทางเดินมีอาคารเอนกประสงค์ มีโครงสร้างกำแพงเป็นดินบดอัด มีต้นไม้เลื้อยจากด้านบนของอาคารลงมาตามผนังให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติอีกด้วย  โซนนิทรรศการ (Exhibition Hall) ภายในได้จัดแสดงความเป็นมาของโครงการป่าในกรุง ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และปรากฏการณ์ธรรมชาติให้นักท่องเที่ยวได้อ่านกันเพลิน ๆ

🌳”ป่าในกรุง” โครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวบนที่ดินของ ปตท. 🌿 อ่านเพิ่มเติม