ภูเก็ต

ภูเก็ต

✨ น้ำชุบหยำ น้ำพริกพื้นเมืองกับเรื่องเล่าพื้นบ้าน ✨

“น้ำชุบหยำ” ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น “น้ำพริกขยำ” หรือ “น้ำพริกโจร” ซึ่งแต่ละคนก็อาจจะเคยได้ยินหรือเรียกไม่เหมือนกัน แต่ที่เห็นอยู่นี้ คือน้ำพริกพื้นเมืองที่นิยมรับประทานกันในภาคใต้ วัตถุดิบมีลักษณะคล้ายกับน้ำพริกกะปิของภาคกลาง แต่มีส่วนผสมเพิ่มเติม ได้แก่ กุ้ง กับน้ำกุ้งต้มเพื่อเพิ่มรสหวาน และจะทำน้ำพริกโดยวิธีการขยำ ๆ จนเข้ากัน น้ำชุบหยำ เป็นอาหารที่มีเรื่องเล่ากันว่า “ครั้งหนึ่ง โจรกำลังปล้นบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งในขณะที่กำลังปล้นก็เริ่มรู้สึกหิว จึงหาอะไรกิน และเห็นว่ามีเครื่องทำน้ำพริกอยู่ แต่ถ้าเกิดตำน้ำพริกโดยใช้ครก ก็กลัวว่าเจ้าของบ้านจะตื่น จึงใช้มือขยำ ๆ วัตถุดิบต่าง ๆ แทน” ซึ่งกลายเป็นที่มาของน้ำชุบหยำนั่นเอง ในปัจจุบัน มีสูตรและวิธีทำมากมายตามสื่อออนไลน์ ซึ่งถ้าหากใครที่อยากลองทำดู ก็สามารถทำได้ไม่ยาก หรือถ้าใครที่มีโอกาสเดินทาไปเที่ยวจังหวัดภูเก็ต หรือพังงา แนะนำให้เพื่อน ๆ ลองหารับประทานดูสักครั้งแล้วจะติดใจ

✨ น้ำชุบหยำ น้ำพริกพื้นเมืองกับเรื่องเล่าพื้นบ้าน ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨รวมอุทยานแห่งชาติทางทะเลฝั่งอันดามัน 16 แห่ง ✨

ทะเลไทยขึ้นชื่อว่าสวยงามไม่แพ้ใคร วันนี้แอดจะมาแนะนำ อุทยานแห่งชาติทางทะเลฝั่งอันดามัน 16 แห่ง ให้เพื่อน ๆ ได้รู้จัก หากใครมีโอกาสได้ไปรับรองประทับใจแน่นอน ลองตามแอดมาดูกันว่ามีที่ไหนบ้าง 👉 สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลก่อนการเดินทางได้ที่ สำนักอุทยานแห่งชาติ โทรศัพท์ 0 2579 5269 จังหวัดพังงา 1. อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่งและอำเภอเกาะยาว อุทยานฯ แห่งนี้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางภาคใต้ทางฝั่งทะเลอันดามันที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ มีชายหาดและเกาะสวยที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกอยู่หลายแห่ง ที่สำคัญที่นี่ยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จากการค้นพบหลักฐานหลายอย่างที่แสดงว่า เคยมีกลุ่มชนอาศัยอยู่บริเวณนี้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ภาพเขียนสี เศษภาชนะดินเผา ขวานหิน ฯลฯ 2. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ เป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามันห่างจากฝั่งไปทางทิศตะวันตกประมาณ 70 กิโลเมตร อยู่ติดกับเขตชายแดนไทย-พม่า ประกอบด้วยเกาะสำคัญ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) และเกาะรี (เกาะสต๊อก) ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการังน้ำตื้นของเกาะสุรินทร์เหนือและเกาะสุรินทร์ใต้ ที่นี่จึงถือเป็นแหล่งดำน้ำระดับแถวหน้าของเมืองไทย มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก จนได้รับยกย่องว่าเป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ส่วนอีกสามเกาะเป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น 3. อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง อุทยานแห่งนี้ แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ เทือกเขาลำปี มีลักษณะเป็นภูเขาหลายลูกเรียงเป็นแนวยาว ส่วนใหญ่เป็นหินอัคนีที่อายุราว ๆ 60–140 ล้านปี มีป่าดงดิบปกคลุม และอีกส่วนคือ ชายหาดท้ายเหมือง ที่มีลักษณะเป็นหาดทรายขาวสะอาดกว้างและยาว มีความเงียบสงบ เป็น่จุดวางไข่ของเต่าทะเลและที่อยู่อาศัยของนกจำนวนมาก 4.อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดพังงา ได้แก่ อำเภอตะกั่วป่า อำเภอกะปง อำเภอท้ายเหมือง และ อำเภอเมือง ลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญในจังหวัดพังงา ได้แก่ แม่น้ำพังงาและแม่น้ำตะกั่วป่า ภายในมีชายหาดที่ซ่อนตัวอยู่ในเขา 2 แห่ง คือชายหาดเขาหลัก เป็นหาดหินสวยงาม มีต้นสนตลอดแนวริมหาด ส่วนอีกหาดคือ หาดเล็ก แต่อาจจะไม่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมากนัก เหมาะการเล่นน้ำทะเลหรือพักผ่อนริมชายหาด มีบรรยากาศเงียบสงบเหมือนเป็นชายหาดส่วนตัว 5.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สิมิลัน มาจากภาษายาวี แปลว่า “เก้า” ซึ่งมาจากจำนวนของเกาะน้อยใหญ่ทั้งหมดที่รวมกันเป็นหมู่เกาะสิมิลัน อีกหนึ่งสวรรค์ของนักดำน้ำในไทยนั่นเองอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันประกอบไปด้วย 9 เกาะ เรียงกันจากเหนือลงมาใต้ ดังนี้-เกาะหูยง-เกาะปายัง-เกาะปาหยัน-เกาะเมี่ยง เป็นสองเกาะติดกัน เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ มีปูไก่และนกชาปีไหน สัตว์ที่หาชมได้ยาก-เกาะปายู-เกาะหัวกะโหลก เป็นเกาะที่มีลักษณะคล้ายหัวกะโหลก มีปะกะรัง ปลากระเบนราหูและหุบเขาใต้น้ำ-เกาะสิมิลัน มีขนาดใหญ่สุด เป็นแหล่งดำน้ำ ชมปะการังและสัตว์ทะเล มีจุดชมวิวหินเรือใบ-เกาะบางู จุดดำน้ำชมกองหินใต้น้ำ กองหินคริสต์มาสพอยต์ ต่อมาได้มีการรวมเอาเกาะตาชัยมาอยู่ในหมู่เกาะสิมิลันด้วย * พื้นที่บริเวณโดยรอบของเกาะหูยง เกาะปายัง และเกาะปาหยัน ได้ถูกสงวนให้เป็นพื้นที่วางไข่ของเต่าทะเล ห้ามนักท่องเที่ยวขึ้นเกาะโดยเด็ดขาด จังหวัดสตูล 6. อุทยานแห่งชาติตะรุเตา “ตะรุเตา” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากภาษามลายูคำว่า “ตะโละเตรา” แปลว่า มีอ่าวมาก เป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในทะเลอันดามันบริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ทางด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของเมืองไทย อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยถึง 51 เกาะ โดยมีเกาะที่มีขนาดใหญ่ 7 เกาะ คือ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี โดยจัดแบ่งออกเป็นหมู่เกาะใหญ่ๆ ได้ 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะตะรุเตาและหมู่เกาะอาดัง-ราวี  7. อุทยานแห่งชาติทะเลบัน ตั้งอยู่ที่ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ติดกับชายแดนของประเทศมาเลเซีย เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางหุบเขาจีนและเขามดแดง เกิดขึ้นจากการยุบตัวของพื้นดิน โดยน้ำในบึงมาจากต้นน้ำที่ออกมาจากผนังภูเขา บริเวณรอบ ๆ ของอุทยาน มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีภูเขา น้ำตก ถ้ำ เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์หายากอย่าง เขียดว้าก (หมาน้ำ) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำรูปร่างคล้ายกบที่ส่งเสียงร้องคล้ายลูกสุนัข และยังเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองเผ่าซาไกหรือเงาะป่าอีกด้วย โดยคำว่า ทะเลบัน เพี้ยนมาจาก ภาษามลายูว่า เลิดเรอบัน ที่มีความหมายว่า แผ่นดินยุบ นั่นเอง 8. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ประกอบด้วยเกาะ 22 เกาะ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ รูปร่างแปลกตา มีลักษณะเป็นเกาะหินปูนที่มีความลาดชันมีโพรง ถํ้า หลุมยุบ หน้าผาสูงชัน จากการกัดเซาะของน้ำและลม ที่ราบบนเกาะส่วนมากเป็นหาดทรายแคบ ๆ สั้น ๆ อยู่ตามหัวแหลมของเกาะและอ่าว จังหวัดภูเก็ต 9. อุทยานแห่งชาติเขาสิรินาถเดิมชื่อ อุทยานแห่งชาติหาดในยาง ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดภูเก็ต ภายในบริเวณอุทยานมีป่าสนทะเล หาดทราย แนวปะการัง ที่วางไข่ของเต่าทะเล จักจั่นทะเลและเป็นที่อยู่อาศัยหอยทะเลที่หายากหลายชนิด จังหวัดตรัง 10. อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอกันตังและอำเภอสิเกา ภายในประกอบด้วยชายหาดและเกาะ 7 แห่ง โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้– ส่วนชายหาด ได้แก่ หาดปากเมง หาดฉางหลาง หาดยาว หาดหยงหลิง หาดสั้น หาดเจ้าไหม ถ้ำเจ้าไหม– ส่วนเกาะ ได้แก่ เกาะมุก เกาะกระดาน เกาะเชือก เกาะปลิง

✨รวมอุทยานแห่งชาติทางทะเลฝั่งอันดามัน 16 แห่ง ✨ อ่านเพิ่มเติม

บาบ๋า ย่าหยา เอกลักษณ์ปักษ์ใต้✨💫

เวลาท่องเที่ยวไปทางภาคใต้ เพื่อน ๆ คงเคยได้ยินชื่อเรียก บาบ๋า หรือ ย่าหยา มาบ้าง และอาจเคยสงสัยว่าทำไมจึงเรียกกันเช่นนั้น…วันนี้แอดมีเกร็ดความรู้เรื่องนี้มาให้อ่านกันเพลิน ๆ ค่ะ 🎈 ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักที่มาที่ไปกันก่อน ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีชาวเปอรานากัน (Peranakan) ซึ่งเป็นคำมลายู แปลว่า ถือกำเนิดที่นี่ เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่มีเชื้อสายผสมระหว่างจีน-มลายู โดยชายจะเรียก บาบ๋า หญิงจะเรียก ย่าหยา ส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะอยู่ในจังหวัดภูเก็ต ระนอง พังงา และมีกระจายอยู่บ้างที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส ถึงแม้ว่าเวลาล่วงเลยมาทำให้เชื้อสายมลายูของชาวเปอรานากันจางลง จนคนรุ่นหลังแทบจะเป็นจีนเต็มตัวไปแล้วแต่ก็ไม่ได้ทำให้วัฒนธรรมผสมผสานของชาวเปอรานากันจืดจางลงไปเลย เพราะยังมีวัฒนธรรมอันโดดเด่นอย่างการแต่งกายให้เราได้เห็นกันอยู่ เพราะชุดบาบ๋าและชุดยาหยาก็มีทั้งแบบผู้ชายและผู้หญิงใส่ ลักษณะชุดย่าหยา หรือ ยะหยา จะใช้ผ้าลูกไม้ หรือ ผ้ารูเบีย ตัดให้เข้ารูป มีทรวดทรงองค์เอว เป็นเสื้อแขนยาว ติดกระดุมสีทอง ความยาวระดับสะโพกบน สามารถประดับได้ด้วยเข็มกลัด ใส่เข้าคู่กับผ้าปาเต๊ะลักษณะชุดบาบ๋า จะเป็นเสื้อคอตั้ง แขนจีบ กระดุมสีทอง มีกระเป๋าสองใบตรงด้านหน้าของเสื้อ ใช้ผ้าคอตตอน ผ้าป่าน หรือผ้าอะไรก็ได้ที่ชอบ ตกแต่งด้วยเข็มกลัด ใส่เข้าคู่กับผ้าปาเต๊ะ 👉ปัจจุบัน ชาวพื้นเมืองยังคงสวมใส่ชุดบาบ๋าย่าหยาในเทศกาลต่าง ๆ โดยเฉพาะในโอกาสสำคัญอย่างพิธีแต่งงาน โดยจะสวมใส่พร้อมด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ ครบครัน หากใครมีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ตามถนนคนเดินก็จะมีร้านขายชุดบาบ๋าย่าหยาให้เราได้เลือกซื้อเลือกชมกันหลายร้าน

บาบ๋า ย่าหยา เอกลักษณ์ปักษ์ใต้✨💫 อ่านเพิ่มเติม

✨🔹✨ Thailand Travel Mart Plus 2022 (TTM+ 2022) ✨🔹✨

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับพันธมิตร จัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยว Thailand Travel Mart Plus 2022 (TTM+ 2022) ระหว่างวันที่ 8 – 10 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมอังสนา ลากูน่า จังหวัดภูเก็ต โดย ททท. นําทัพผู้ประกอบการท่องเที่ยวในประเทศ (Seller) จํานวน 264 ราย และผู้ซื้อ (Buyer) จากทั่วโลกที่เข้าร่วมงาน จํานวน 275 ราย ร่วมเจรจาธุรกิจแลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวใหม่ ๆ ในรูปแบบ B2B ภายใต้แนวคิด “Visit Thailand Year 2022-2023 : Amazing New Chapters” หวังกระตุ้นรายได้กว่า 1,290 ล้านบาท

✨🔹✨ Thailand Travel Mart Plus 2022 (TTM+ 2022) ✨🔹✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ กินอร่อย ท่องคลื่นสนุก @ภูเก็ต-พังงา 2 วัน 1 คืน ✨

การพักผ่อนในวันหยุดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบดูซีรีส์ บางคนชอบช้อปปิ้ง แต่ถ้าชอบเที่ยวแบบมีกิจกรรมท้าทาย โดยเฉพาะกิจกรรมทางน้ำ ตามมาทางนี้ แอดมีโปรแกรมเที่ยวสั้น ๆ ภูเก็ต-พังงา มาแนะนำ ทริปนี้กิจกรรมเพียบ อยู่ยาวได้ทั้งวัน ไม่ต้องเปลี่ยนที่บ่อย ๆ จุดประสงค์หลัก ๆ ของทริปนี้ คือมาเล่นเซิร์ฟบอร์ดที่ เขาหลัก จ.พังงา และหาของกินอร่อย ๆ ในตัวเมืองภูเก็ต สำหรับเพื่อน ๆ ที่มีเวลาน้อย หรือมีวันหยุดแค่ช่วงเสาร์-อาทิตย์เหมือนแอด แนะนำให้เดินทางด้วยเครื่องบินมาลงที่สนามบินภูเก็ตเพื่อประหยัดเวลา แอดเลือกไฟล์ตเช้า และเช่ารถขับเที่ยวเพื่อความสะดวก โดยเพื่อน ๆ สามารถใช้บริการเช่ารถขับได้ที่สนามบิน มีหลายบริษัทให้เลือก ราคาอยู่ที่ราว ๆ 800 -1,000 บาท/วัน ตารางเที่ยว วันที่ 1 สนุกกับการเรียนและเล่นเซิร์ฟ ที่ Memories Beach Bar วันที่ 2 อร่อยกับร้านอาหารมิชลินไกด์ ในภูเก็ต วันที่ 1Memories Beach Barจากสนามบินภูเก็ตไป Memories Beach Bar ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง ถ้าไม่แวะรับประทานอาหาร แนะนำให้ ซื้อเสบียงรองท้องไปด้วย ให้เลือกอาหารที่ย่อยง่าย ให้พลังงานเลย เช่น กล้วย ขนมปังขาว น้ำหวาน และดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอก่อนลงน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดตะคริว เพื่อน ๆ สามารถปักหมุดใน Google ได้เลย ไม่มีหลงแน่นอน ตรงทางเข้าจะมีป้ายบอกชัดเจน เมื่อเลี้ยวเข้าไปจะเจอสวนมะพร้าว จากปากทางเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตรนิด ๆ ก็ถึงที่หมายแล้ว ก่อนหน้านี้ แอดรู้สึกว่า การเล่นเซิร์ฟ (Surf) เป็นกิจกรรมที่ไกลตัวมาก แต่หลายคนรอบตัวที่เคยมาที่นี่ต่างพูดว่า “ไปสักครั้งแล้วจะติดใจจนไม่อยากกลับ” แอดเลยอยากมาลองเล่นดูสักครั้ง เมื่อมาถึง แอดรู้สึกว่าตื่นเต้นกว่าที่คิดเยอะ เสียงลมเสียงคลื่นช่วยให้รู้สึกตื่นตัวสุด ๆ ที่นี่มีทั้งบาร์ ร้านอาหาร ที่พัก และโรงเรียนสอนโต้คลื่น เรียกว่าเป็นที่รวมตัวของเหล่านักท่องคลื่นเลยทีเดียว Memories Beach Bar ตั้งอยู่ที่หาดปะการัง ที่นี่มีโรงเรียนสอนโต้คลื่นอยู่ถึง 3 โรงเรียน และยังมี Memories Boat Bar บาร์หน้าหาดที่มีการยกเรือขึ้นบก เพื่อสร้างบรรยากาศเอาใจเพื่อน ๆ สายดริ๊งค์ รวมทั้งมีร้าน Rip Curl สาขา Memories Beach Bar ร้านสำหรับนักช็อปแห่งสายน้ำที่มีอุปกรณ์พร้อม เพื่อน ๆ ที่มาเที่ยวทะเล สามารถมาเลือกช้อปปิ้ง พรอพก่อนลงน้ำกันได้ เพื่อน ๆ ที่สนใจสามารถติดต่อล่วงหน้าได้ คราวนี้ แอดก็โทรมาสอบถามและจองเวลาเรียนเซิร์ฟบอร์ดไว้ก่อน โดยเลือกเรียนแบบ Try Surf เป็นการเรียนพื้นฐานต่าง ๆ อย่างการทรงตัว การยืนบนบอร์ด สัญญาณมือ ราว ๆ 45 นาที จากนั้นจะเป็นการลองเล่นจริงประมาณ 1 ชั่วโมง โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญดูแลตัวต่อตัว ปล. แม้ว่าน้ำบริเวณนี้จะลึกราว ๆ อก แต่ถ้าใครว่ายน้ำไม่เป็นให้แจ้งได้เลย ทางผู้สอนจะดูแลเป็นพิเศษระหว่างลงน้ำ แม้ตอนแรกแอดจะกลัว ๆ เกร็ง ๆ เพราะไม่เคยเล่นมาก่อน แต่คนสอนก็ใจเย็นมาก ค่อย ๆ อธิบายตั้งแต่วิธีการว่ายน้ำบนบอร์ดไปจนถึงบอกให้จับคลื่นตอนไหน กว่าจะยืนได้ก็ทุลักทุเลพอสมควร แต่พอยืนได้ เริ่มจับทางได้ก็ภูมิใจไม่น้อย ตกน้ำบ้าง ยืนได้บ้าง สนุกดี รอบข้างก็มีแต่เสียงเชียร์กันยกใหญ่ ยิ่งเวลาที่คลื่นพาเราที่ยืนบนบอร์ดมาส่งจนถึงฝั่งได้นะ บอกเลย ใจพองสุด ๆ ตกบ่าย หากยังไหวสามารถเช่าบอร์ดลงไปเล่นน้ำต่อได้ หรือไม่ก็ไปเล่นวอลเลย์บอลชายหาดก็ได้ จะมีพี่ ๆ ที่ร้านอาหาร และครูสอนเซิร์ฟคอยชวนเล่นด้วยแบบสนุก ๆ เล่นได้ยาว ๆ เลย พักบ้าง กลับมาแจมบ้างก็ได้ตามความชิลล์ของเพื่อน ๆ ตอนเย็นช่วงพระอาทิตย์กำลังจะตก แนะนำให้รีบมานั่งแถวหน้าบาร์แล้วสั่งเครื่องดื่มเย็น ๆ มาจิบพร้อมชมวิวพระอาทิตย์ตกแบบแอด ความรู้สึกที่น่าจะเหนื่อยจากการเล่นมาทั้งวันมันหายไปเลยล่ะ กลายเป็นความประทับใจ และความสนุกที่ได้มาเจอธรรมชาติแบบนี้แทน **ทุกคืนวันศุกร์จะมีโชว์ควงกระบองไฟ ซึ่งคนควงก็คือครูสอนเซิร์ฟและพี่ ๆ ที่ร้านอาหารนั่นแหละ ส่วนเรื่องที่พัก สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.bettersurfthailand.com/surf-stay มีให้เลือกหลายระดับราคา เริ่มตั้งแต่ 350 บาท ไปจนถึง 2,000 บาทเลยล่ะ ฤดูกาลโต้คลื่นที่เขาหลัก คือระหว่างพฤษภาคม – กันยายน ซึ่งเป็นช่วงมรสุม คลื่นแรง เหมาะกับการเล่นเซิร์ฟ ที่พักราคาถูก ส่วนช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน ซึ่งเป็นช่วง high season คลื่นลมจะสงบ น้ำใส ไม่ค่อยมีคลื่นให้เล่นเซิร์ฟ แต่จะเหมาะกับการเที่ยวเกาะฝั่งอันดามัน เช่น หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ ค่าใช้จ่าย ค่าเรียนเซิร์ฟ 1200 บาท ค่าเช่าบอร์ด ชั่วโมงละ 200 บาท 2 ชั่วโมง 300 บาท เหมาจ่ายทั้งวัน 500 บาท  : หาดปะการัง ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา  : เปิดทุกวันเวลา 10.00-21.00

✨ กินอร่อย ท่องคลื่นสนุก @ภูเก็ต-พังงา 2 วัน 1 คืน ✨ อ่านเพิ่มเติม

ผาหินดำ จุดชมวิวพาโนรามาที่สวยสุดบนเกาะภูเก็ต ✨

ผาหินดำอยู่ระหว่างหาดนุ้ยกับหาดในหาน ใกล้กับแหลมกระทิง จุดชมวิวตั้งบนยอดเขาสูง สามารถชมทัศนียภาพได้โดยรอบ 360 องศา มองเห็นอ่าวฉลอง แหลมพรหมเทพ หาดยะนุ้ย จุดชมวิวกังหันลม หาดในหาน เกาะแก้วพิสดาร เกาะโหลน เกาะไม้ท่อน และเกาะเฮ รวมทั้งพระอาทิตย์ตกกลางท้องทะเลอันดามัน การเดินทาง : หากมาจากแหลมพรหมเทพ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4030 ผ่านหาดในหาน และก่อนถึงจุดชมวิวสามอ่าวจะพบทางแยกซ้ายเข้าลานจอดรถ ซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวต้องจอดรถส่วนตัวไว้ และใช้บริการรถขับเคลื่อนสี่ล้อบริเวณนั้นเพื่อพาไปยังผาหินดำ เนื่องจากเส้นทางจากถนนใหญ่ไปผาหินดำเป็นทางวิบาก (ค่าบริการรถขับเคลื่อนสี่ล้อไปกลับ คันละประมาณ 500 บาท)

ผาหินดำ จุดชมวิวพาโนรามาที่สวยสุดบนเกาะภูเก็ต ✨ อ่านเพิ่มเติม

ภูเก็ต ในย่านเก่าที่เรารัก

“ไม่ได้ชอบทะเล เป็นคนแพ้แดด แล้วก็ไม่อยากเปียกน้ำ ถามว่าจะไปเที่ยว ภูเก็ต ได้มั้ย ?” เราขอใช้ภาพของอาคารบ้านเรือนที่เรียงรายกันทั้งสองฟากฝั่งถนนหนทางในตัวเมืองแห่งนี้ แทนคำตอบ นอกจากมอบความสดชื่นให้กับผู้คนทั่วโลกผ่าน หาดทรายขาว ผืนน้ำสีคราม จังหวัดนี้ ยังจัดเต็มไปด้วยความงามจากสถาปัตยกรรมในสไตล์ “คนละครึ่ง” ซึ่งมีทั้งศิลปะลวดลายการตกแต่งอ่อนช้อยแบบจีนกับโครงสร้างอาคารอันแข็งแรงจากชาติตะวันตก ผสมผสานกันจนออกมามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวตามที่เห็นในปัจจุบัน และกลายเป็นเส้นทางสำคัญของนักเดินเล่นแต่จริงจังเป็นอย่างยิ่งกับการถ่ายภาพเพื่ออัพลงโซเชียลอวดเพื่อน ๆ ได้ เหล่าอาคารเก่าแก่ที่บางหลังตอนนี้อาจจะมีสีสันสดใสเพราะมีการทาสีใหม่แต่ยังแฝงไปด้วยความคลาสสิคยืนตั้งตระหง่านอยู่ตลอดสองฝั่งถนน บ้างก็เป็นตึกยาวสูง 2 ถึง 3 ชั้น มีซุ้มประตูโค้งสวย บ้างก็ถูกดัดแปลงกลายเป็นร้านหนังสือสุดแนว ร้านขนมน่ารัก ๆ หรือจะเดินชมภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยใหม่แบบไม่ต้องไปเข้าวัดเข้าวาที่เขาเรียกว่า Graffiti รับรองว่าทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มสีสันกับจำนวนภาพถ่ายให้กับการเดินเล่นในย่านเมืองเก่าแห่งนี้เป็นอย่างดี และตรงนี้คุณก็จะมีคำตอบ เวลาคนถามว่า “ไม่ได้ชอบทะเล เป็นคนแพ้แดด แล้วก็ไม่อยากเปียกน้ำ ถามว่าจะไปเที่ยว ภูเก็ต ได้มั้ย ?

ภูเก็ต ในย่านเก่าที่เรารัก อ่านเพิ่มเติม

Test & Go และ Sandbox 3 พื้นที่ เปิดลงทะเบียน 1 กุมภาพันธ์ 2565

Test & Go ก่อนเข้าประเทศไทย 1) หนังสือเดินทางจากทุกประเทศ 2) เอกสารรับรองการได้รับวัคซีน Covid-19 3) กรมธรรม์ประกันภัย วงเงินไม่น้อยกว่า 50,000 USD (ยกเว้นผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลของไทย หรือนายจ้างรับผิดชอบ) 4) ประวัติ Covid free 72 ชั่วโมง ด้วยวิธี RT-PCR (ยกเว้นเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่เดินทางมากับผู้ปกครองที่มีผลตรวจ) 5) ลงทะเบียน Thailand Pass ล่วงหน้าไม่เกิน 60 วัน 6) หลักฐานการจองที่พักและการจองตรวจ RT-PCR เข้าประเทศไทย 1) ผ่านขั้นตอนตามมาตรการเข้าประเทศ 2) เข้าพักในโรงแรม SHA++/ AQ/ OQ/ AHQ 3) โหลดแอปฯ “หมอชนะ” ให้โรงแรมตรวจสอบกำกับการเข้า-ออกโรงแรมทุกวัน เป็นเวลา 7 วัน ในพื้นที่นำร่องหรือในกลุ่มจังหวัด โดยไม่เกิน 3 โรงแรม 4) ตรวจครั้งที่ 1 ด้วยวิธี RT-PCR Day 0-1 5) ตรวจครั้งที่ 2 ด้วยวิธี RT-PCR Day 5-6 หากผลออกมาพบว่าติดเชื้อ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที ก่อนออกประเทศไทย 1) เดินทางกลับตามมาตรการประเทศต้นทาง Sandbox เปิดลงทะเบียน 1 กุมภาพันธ์ 2565 1) จ.ชลบุรี (อ.บางละมุง เมืองพัทยา อ.ศรีราชา อ.เกาะสีชัง อ.สัตหีบ เฉพาะ ต.นาจอมเทียน ต.บางเสร่) 2) จ.ตราด (เกาะช้าง) 3) การเปิดพื้นที่ให้เดินทางเชื่อมโยงในกลุ่มพื้นที่ จ.ภูเก็ต กระบี่ พังงา สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า) ในช่วง 7 วัน ที่ต้องพำนักในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว ………………………………………….. ข้อมูล ณ วันที่ 22 มกราคม 2565 ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา Source : https://www.facebook.com/Mots.official.TH/photos/a.652789718099133/5007321295979265

Test & Go และ Sandbox 3 พื้นที่ เปิดลงทะเบียน 1 กุมภาพันธ์ 2565 อ่านเพิ่มเติม

1 กุมภาพันธ์ 2565 เปิดลงทะเบียน Test & Go

โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ 1) เข้าได้ทุกประเทศ 2) ปรับการตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT-PCR 2 ครั้ง 3) จัดระบบการตรวจสอบและกำกับการเข้าที่พัก ตรวจหาเชื้อให้ครบ 2 ครั้ง โดยรออยู่ในที่พักจนได้รับผลตรวจ 4) กำหนดระบบประกันให้ชัดเจน กรณีประกันไม่ครอบคลุม ผู้เดินทางต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง 5) หากมีการระบาดมากขึ้น ปรับมาใช้ระบบพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (Sandbox) 📌 เพิ่มจังหวัด Sandbox 3 พื้นที่ 1) จ.ชลบุรี (อ.บางละมุง เมืองพัทยา อ.ศรีราชา อ.เกาะสีชัง อ.สัตหีบ เฉพาะ ต.นาจอมเทียน ต.บางเสร่) 2) จ.ตราด (เกาะช้าง) 3) พื้นที่ให้เดินทางเชื่อมโยงในกลุ่มพื้นที่ จ.ภูเก็ต กระบี่ พังงา สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า) ………………………………… ข้อมูล ณ วันที่ 20 มกราคม 2565 ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูล COVID-19 Source : www.facebook.com/informationcovid19/posts/488335276118135

1 กุมภาพันธ์ 2565 เปิดลงทะเบียน Test & Go อ่านเพิ่มเติม

มาตรการตรวจคัดกรองการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (เผยแพร่ วันที่ 16 พ.ย. 2564)

📣 คำสั่งจังหวัดภูเก็ตที่ 7190/2564 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 📌 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติม มาตรการตรวจคัดกรองการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต ตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยกเลิกการใช้แอปพลิเคชั่น Gophuget ในการลงทะเบียนเข้าจังหวัด ให้ใช้ “หมอพร้อม” ในการลงทะเบียนอย่างเดียว ยกเลิกสิทธิในการแสดงบัตรนักเรียนในการเข้า-ออก สำหรับนักเรียนอายุตั้งแต่ 12 ปี จนถึงต่ำกว่า 18 ปี 📆 มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ประกาศฉบับเต็ม —————————————————————————— ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลภูเก็ต Link : https://www.facebook.com/phuketinfocenter/posts/426507172337798

มาตรการตรวจคัดกรองการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (เผยแพร่ วันที่ 16 พ.ย. 2564) อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top