ลำพูน

ลำพูน

แนะนำกิจกรรม วันมาฆบูชา

พาไปเที่ยวสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน ส่งท้ายอากาศหนาว ที่ #บ้านป่าเหมี้ยง ใครอยากมาพักผ่อนใช้ชีวิตเรียบง่าย สโลวไลฟ์ ต้องมาที่นี่เลย เพราะที่นี่มีอากาศที่อีกไม่กี่สัปดาห์ก็จะถึงวันมาฆบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก และมีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย เพื่อสักการะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปีนี้ตรงกับวันที่ 6 มีนาคม 2566 แต่ละวัดจะมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ส่วนช่วงเย็นก็จะมีการเวียนเทียนด้วยเช่นกัน และที่สำคัญ วัดในแต่ละพื้นที่แต่ละภูมิภาคก็จะมีกิจกรรมอื่น ๆ ตามวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นในช่วงวันมาฆบูชาอีกด้วย วันนี้ ขอแนะนำสถานที่ทำกิจกรรมในวันมาฆบูชา ให้แก่ผู้ที่สนใจได้เข้าร่วมและวางแผนล่วงหน้ากันได้ จะมีที่ไหนบ้าง ไปชมกัน  งานมาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ ประจำปี 2566 ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช  2-6 มีนาคม 2566 ประเพณีประจำปีของจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกได้ว่ามีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ต้อนรับประชาชนทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวแสวงบุญที่เดินทางมายังวัดนี้ และมีกิจกรรมให้ทำตลอดทั้ง 5 วัน เพื่อน ๆ สามารถดูกำหนดการและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่https://www.facebook.com/TAT.NST/posts/pfbid0hcSYQT26NKZ3nrGQK3no3i4KNfKRHBxQ7MaiKkk2YUh5sWTKJJzZRrE87vkijR8Ql  เวียนเทียนทางน้ำ แห่งเดียวในโลก ณ วัดติโลกอาราม กว๊านพะเยาตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา  4-6 มีนาคม 2566 เป็นอีกแห่งที่มีกิจกรรมในวันมาฆบูชาที่มีชื่อเสียงอย่างมาก คือ กิจกรรมนั่งเรือเวียนเทียนทางน้ำรอบวัดติโลกอารามซึ่งตั้งอยู่กลางกว๊านพะเยา โดยปกติแล้ว ทุกๆ ปีจะมีการเวียนเทียน 3 ครั้ง ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา หากเพื่อน ๆ สนใจ สามารถไปร่วมกิจกรรม พร้อมชมแสงเย็นก่อนพระอาทิตย์ตกดินกันได้ด้วย พิธีเวียนเทียน จัดขึ้นในวันที่ 6 มีนาคม เวลา 17.00 น. ขึ้นเรือได้ที่ ท่าเรือวัดติโลกอาราม ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เพื่อน ๆ สามารถดูกำหนดการและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/tatchiangrai/posts/pfbid02ub8DXAMETK8yUEY8nkLVxSRQQ7oMtfggrvno5MjttrT6XS86yBzLHmowxJEiaC22l  งานสรงน้ำพระธาตุ ห่มผ้าพระนอน ประจำปี 2566 วัดพระนอนแม่ปูคา หรือ วัดพระป้านตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่  6 มีนาคม 2566 ประเพณีสำคัญแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ แม้ในปีนี้จะไม่ได้มีการจัดงานอย่างคึกคัก แต่เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ทางวัดจึงมีการจัดกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุ ห่มผ้าพระนอน และเจริญพุทธมนต์ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไปและเวลา 19.00 น. จะมีการเวียนเทียนรอบอุโบสถ   วันมาฆบูชา สืบสานตำนานสองเจดีย์ธาตุ องค์พระธาตุเจ้าหริภุญชัยและเจดีย์ปทุมวดี ประจำปี 2566 วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหารถนนรอบเมืองใน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน  6 มีนาคม 2566 ร่วมงานประเพณีเดือนหกเป็ง ถวายผ้าห่มองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยและเจดีย์ปทุมวดี ปูชนียสถานสำคัญที่อยู่คู่เมืองลำพูนมาอย่างยาวนาน กิจกรรมไฮไลต์ 18.00 น. แห่ผ้าห่มองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยและเจดีย์ปทุมวดี 19.00 น. ชมการแสดงแสง สี เสียง เล่าขานตำนานสองเจดีย์ธาตุ  งานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน ประจำปี 2566 พระบรมธาตุนาดูน พุทธมณฑลอีสานตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม  4-12 มีนาคม 2566 นมัสการปูชนียสถานสำคัญแห่งอีสาน สถานที่ที่ค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของนครจำปาศรี เมืองโบราณในอดีต อีกทั้งยังค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สันนิษฐานว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 (สมัยทวารวดี) กิจกรรมไฮไลต์ ชมพิธีเปิดสุดตระการตา การแสดงแสง สี เสียง ขบวนแห่ประเพณีสิบสองเดือน และมหรสพ เพื่อน ๆ สามารถดูกำหนดการและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/phathatnadun?locale=th_TH

แนะนำกิจกรรม วันมาฆบูชา อ่านเพิ่มเติม

✨ ความเชื่อเรื่องชุธาตุของชาวล้านนา ✨

หลายคนอาจพอได้ยินเรื่องพระธาตุประจำปีเกิด และเคยไปสักการะพระธาตุประจำปีเกิดของตนเองมาแล้ว แต่เคยสงสัยไหมว่า พระธาตุประจำปีเกิดถูกกำหนดขึ้นอย่างไร แอดสงสัยค่ะ จึงไปหาความรู้มาฝาก ชุธาตุ หรือพระธาตุประจำปีเกิด เป็นความเชื่อของชาวล้านนาในเรื่องการบูชาพระธาตุเจดีย์องค์สำคัญในวัฒนธรรมล้านนา ชาวล้านนามีความเชื่อว่า ก่อนที่มนุษย์จะมาเกิดในครรภ์มารดา ดวงจิตได้เคยสถิตอยู่กับต้นไม้ ซึ่งมีภูตผีหรือสัตว์รักษาอยู่ แต่ด้วยความไม่เหมาะสม ที่ดวงจิตของมนุษย์จะอยู่กับอมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย ดวงจิตของมนุษย์ก่อนกำเนิด จึงได้ลาไปจากต้นไม้ดังกล่าว เพื่อไปสถิตกับพระธาตุที่ต่างกันไป ตามที่สัตว์ประจำนักษัตรพาไปพัก เพื่อรอการถือกำเนิดขึ้น ความเชื่อเหล่านี้ทำให้ชาวล้านนามีความผูกพันกับพระธาตุประจำปีนักษัตรของตน และเชื่อว่าการได้ไปสักการะจะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแก่ชีวิต โดยพระธาตุประจำปีเกิดอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้ 🌟 คนเกิดปีชวด สักการะ พระธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 🌟 คนเกิดปีฉลู สักการะ พระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง 🌟 คนเกิดปีขาล สักการะ พระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ 🌟 คนเกิดปีเถาะ สักการะ พระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน 🌟 คนเกิดปีมะโรง สักการะพระธาตุวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ 🌟 คนเกิดปีมะเส็ง สักการะ พระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธยาประเทศอินเดีย หรือ พระเจดีย์ศรีมหาโพธิพุทธคยา วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจดีย์เจ็ดยอด) จังหวัดเชียงใหม่ แทน 🌟 คนเกิดปีมะเมีย สักการะ พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า หรือ พระบรมธาตุเจดีย์ จังหวัดตาก แทน 🌟 คนเกิดปีมะแม สักการะ พระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ 🌟 คนเกิดปีวอก สักการะ พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม 🌟 คนเกิดปีระกา สักการะ พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน 🌟 คนเกิดปีจอ ให้ปล่อยโคมเพื่อสักการะพระธาตุเกตุแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรือ สักการะพระธาตุวัดเกต จังหวัดเชียงใหม่ 🌟 คนเกิดปีกุน สักการะ พระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย สำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลจากพระธาตุประจำปีเกิดของตน ไม่สะดวกเดินทาง ก็สามารถหารูปภาพพระธาตุประจำปีเกิดมากราบไหว้ที่บ้านได้ และเพื่อไม่ให้เสียเที่ยว เมื่อเดินทางไปสักการะพระธาตุประจำปีเกิดเพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิตกันแล้ว ก็อย่าลืมแวะท่องเที่ยวระหว่างทาง เสาะหาอาหารท้องถิ่นอร่อยๆ และซื้อของฝากติดไม้ติดมือกลับมาด้วยนะคะ

✨ ความเชื่อเรื่องชุธาตุของชาวล้านนา ✨ อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุจอมเจดีย์ ๘ องค์ เสริมสิริมงคล

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงคัดเลือกพระบรมธาตุเจดีย์เพื่อเป็นปูชนียสถานที่สำคัญในแต่ละภาค และเฉลิมนามว่า “จอมเจดีย์” ทรงกล่าวถึงความสำคัญของจอมเจดีย์แต่ละแห่ง ซึ่งเสมือนบอกเล่าเรื่องราวความเชื่อมโยงสัมพันธ์ของพุทธศาสนา โบราณสถาน และประวัติศาสตร์ มีหลักฐานที่กล่าวถึงพระธาตุจอมเจดีย์ คือภาพเขียนจอมเจดีย์ ๘ องค์ ในซุ้มคูหาผนัง ๘ ห้อง ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร การกำหนดพระธาตุจอมเจดีย์ให้กระจายในหลายพื้นที่ทำให้เกิดการเดินทางไปสู่หลากหลายภูมิภาคยิ่งขึ้น รวมทั้งแต่ละสถานที่มีตำนานและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ๑. พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม พระปฐมเจดีย์ ได้รับการคัดเลือกเป็นจอมเจดีย์ เนื่องจาก “สร้างขึ้นเมื่อแรกที่พุทธศาสนามาสู่สยามประเทศ” ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณทูตเดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าไว้ภายในองค์เจดีย์ องค์พระปฐมเจดีย์มีรูปทรงเป็นรูประฆังคว่ำ มีการจัด “งานเทศกาลนมัสการพระปฐมเจดีย์” ในวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (ประมาณช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน) รวม ๙ วัน ๙ คืน การเดินทาง รถยนต์: จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ สามพราน สู่จังหวัดนครปฐม หรือใช้ถนนบรมราชชนนี ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี ถึงจังหวัดนครปฐม รถไฟ: จากกรุงเทพฯ มีบริการรถไฟไปนครปฐมวันละหลายเที่ยว ลงสถานีนครปฐม สอบถามข้อมูล โทร. ๑๖๙๐ www.railway.co.th รถโดยสารประจำทาง: มีทั้งรถบัสและรถตู้ จากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) ถนนบรมราชชนนี สอบถามข้อมูลได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. ๑๔๙๐ www.transport.co.th  ๒. พระปรางค์พระศรีมหาธาตุละโว้ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พระปรางค์พระศรีมหาธาตุละโว้ ได้รับการคัดเลือกเป็นจอมเจดีย์ด้วยเป็น “สถูปเจดีย์องค์แรกที่ประดิษฐานพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในสยามประเทศ” องค์ปรางค์เป็นศิลปะเขมรแบบบายน สร้างด้วยศิลาแลงประดับลวดลายปูนปั้น และเป็นแบบอย่างเจดีย์ทรงปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้มีการขุดค้นพบว่าภายในองค์พระปรางค์เป็นที่ประดิษฐานพระพิมพ์จำนวนมาก ซึ่งต่อมาเป็นพระพิมพ์ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดลพบุรี เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๐๗.๐๐-๑๗.๐๐ น. การเดินทาง พระปรางค์ตั้งอยู่ในตัวเมืองลพบุรี ตรงข้ามสถานีรถไฟลพบุรี ห่างจากพระปรางค์สามยอดและศาลพระกาฬ ๑ กิโลเมตร และห่างจากพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ๕๐๐ เมตร จากสถานีขนส่งผู้โดยสารมีรถสองแถววิ่งผ่าน หรือนั่งจักรยานยนต์รับจ้างระยะทาง ๒.๕ กิโลเมตร  ๓. พระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พระธาตุหริภุญชัย ได้รับเลือกเป็นพระธาตุจอมเจดีย์ ด้วยเป็น “เจดีย์ที่สร้างก่อนเจดีย์องค์อื่นในล้านนา” สร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ สถาปัตยกรรมทรงเจดีย์แบบล้านนา ฐานเจดีย์ประกอบด้วยฐานปัทม์เป็นลูกบัวแก้ว ย่อเก็จ องค์เจดีย์ทรงระฆังกลม และตำนานกล่าวว่าประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหลายส่วน ได้แก่ พระบรมธาตุส่วนกระหม่อม พระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนอก) พระบรมธาตุส่วนนิ้วพระหัตถ์ และพระบรมสารีริกธาตุส่วนย่อยเต็มหนึ่งบาตร มีการจัด “งานประเพณีแปดเป็ง สรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย” ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (เดือน ๘ เหนือ จึงเรียก “แปดเป็ง”) โดยนำน้ำจากบ่อน้ำทิพย์จากยอดดอยขะม้อ ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน มาเป็นน้ำสรงพระธาตุ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่โบราณ การเดินทาง ตัวเมืองลำพูน มาตามถนนเจริญราษฎร์ ๒ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรอบเมืองนอก ๒๐๐ เมตร ถึงวงเวียน เข้าซอยสันป่ายาง ๔๕ เมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรอบเมืองใน ๔๕๐ เมตร ผ่านประตูเมืองท่านาง เลี้ยวขวา ๒๐ เมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑๕๐ เมตร  ๔. พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ถนนชยางกูร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พระธาตุพนม ได้รับเลือกให้เป็นจอมเจดีย์ เนื่องจากเป็น “เจดีย์ที่สร้างก่อนเจดีย์องค์อื่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” สร้างสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ในราวปี พ.ศ. ๘ โดยกษัตริย์ ๕ พระองค์ เป็นพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาอย่างยิ่งของชาวอีสานและชาวลาว เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนสองฝั่งแม่น้ำโขง ตามตำนานกล่าวว่าเป็นที่ประดิษฐาน พระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า มีการจัด “งานนมัสการพระธาตุพนม” ในวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓ (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) กล่าวกันว่าผู้ที่ได้มาสักการะพระธาตุพนมครบ ๗ ครั้ง ถือเป็น “ลูกพระธาตุ” การเดินทาง รถยนต์: จากตัวเมืองนครพนม ใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ (นครพนม-มุกดาหาร) ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร จะพบวัดตั้งอยู่ทางขวามือในตัวอำเภอธาตุพนม รถโดยสารประจำทาง: มีรถตู้โดยสารสายนครพนม-มุกดาหาร วิ่งผ่านหน้าวัด ต้นทางสามารถขึ้นได้จากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร  ๕. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พระธาตุศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง หรือ “วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง” เป็นโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ มีโบราณสถานที่สำคัญของวัด คือ “ปรางค์ประธาน” ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน เรือนธาตุด้านหน้าเป็นซุ้มโถง มีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็ก ชาวบ้านเรียกว่า

พระธาตุจอมเจดีย์ ๘ องค์ เสริมสิริมงคล อ่านเพิ่มเติม

ตามรอยหนังรักโรแมนติก…คิดถึงวิทยา

เวลาดูหนังหรือละครสักเรื่อง นอกจากจะอินไปกับพระเอกนางเอกแล้ว วิวสวยๆของเรื่องก็ทำให้เราประทับใจและจดจำเรื่องราวได้มากขึ้นไปอีก ขอสารภาพว่ามีหลายเรื่องเลยที่เป็นแรงบันดาลใจให้แอดเก็บกระเป๋าออกไปเที่ยว เพราะอยากไปเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้ง .ในเดือนแห่งความรักนี้แอดเลยนำเรื่องราวของ “คิดถึงวิทยา” หนังรักโรแมนติกที่ฉายไปหลายปีแล้ว แต่ก็ยังเป็นภาพยนตร์ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้คน จนอยากจะไปตามรอยกันถึงที่เลยล่ะ อีกทั้งยังได้รับรางวัลอีกมามาย .สำหรับวันนี้แอดจะพาไปตามภาพยนตร์เรื่องนี้กันค่ะ เพราะมีฉากถ่ายทำที่โรงเรียนเรือนแพ อุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดลำพูนซึ่งสถานที่เป็นไฮไลท์ของเรื่อง นอกจากนี้ แอดยังมีสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงภายในอุทยานฯ มาฝากเพื่อน ๆ ด้วย คงไม่มีใครไม่รู้จักภาพยนตร์ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้คนมากมายอย่าง “คิดถึงวิทยา” .แต่นอกจากฉากในภาพยนตร์ที่เราจะไปชมกันแล้ว ยังมีจุดท่องเที่ยวอีกมากมายภายในอุทยานฯ ไปดูกันเลย เรื่องราวของครูสองและครูแอนที่เชื่อมโยงกันด้วยไดอะรี่และโรงเรียนเรือนแพ จากภาพยนตร์โรแมนติกเรื่อง “คิดถึงวิทยา” น่าจะทำให้หลายคนยังประทับใจไม่รู้ลืม มีแฟน ๆ ตามรอยไปเยือนโรงเรียนเรือนแพที่เป็นโลเคชั่นถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้กันคึกคักทีเดียว โรงเรียนบ้านก้อจัดสรร สาขาห้องเรียนเรือนแพ อยู่ในเขตบ้านก้อจัดสรร แก่งก้อ ซึ่งเป็นทะเลสาบที่เกิดจากลำห้วยแม่ก้อไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง อำเภอลี้ เป็นโรงเรียนแห่งเดียวในไทยที่ลอยอยู่กลางน้ำที่โอบล้อมด้วยภูเขา จัดทำขึ้นเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม นอกจากจะได้เยี่ยมชมห้องเรียนจริง ๆ ที่เป็นฉากในหนังแล้ว เรายังสามารถไปเที่ยวชมแพเกษตรพอเพียง ซึมซับบรรยากาศธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม ถึงแม้ที่นี่จะไม่ได้สะดวกสบายที่สุด แต่เห็นบรรยากาศแล้ว ต้องลองไปสักครั้ง หากใครไปเที่ยวชม อยากมีของติดไม้ติดมือเป็นของอุปโภคบริโภคไปให้กับทางโรงเรียนได้ด้วยนะคะ ที่โรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมด 6 คนรอทุกคนไปเที่ยวหาอยู่น้าา☺.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 09 5802 2202​ (ครูน้อย โรงเรียนเรือนแพ) นอกจากจะได้ไปชมโรงเรียนบ้านก้อจัดสรร ตามเรื่องราวของครูแอนและครูสองแล้ว แอดก็มีสถานที่ท่องเที่ยวภายในอุทยานฯ อีกหลายแห่งมาฝากด้วยค่ะ.การเดินทาง จากที่ทำการอุทยานฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1087 เข้าสู่หมู่บ้านก้อ ไปจนสุดเส้นทางจะเจอทางแยกเลี้ยวขวา ไปอีก 7 กิโลเมตรก็จะถึงแก่งก้อ และเดินทางโดยเรือจากแก่งก้อ ใช้เวลาประมาณ 45 นาทีก็จะถึงโรงเรียนเรือนแพ ภายในอุทยานแห่งชาติแม่ปิงยังมี “น้ำตกก้อหลวง” เป็นน้ำตกหินปูน มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ไหลลดหลั่นลงมาตามชั้นต่างๆ 7 ชั้น ก่อนจะไหลผ่านหน้าผาหินปูนและหินงอกหินย้อยลงสู่แอ่งน้ำด้านล่าง ซึ่งเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีสีฟ้าอมเขียวเป็นไฮไลท์ของที่นี่ มีความลึกถึงประมาณ 8 เมตร ฉะนั้นหากอยากลงเล่นน้ำต้องใส่เสื้อชูชีพเพื่อความปลอดภัยด้วยนะคะ.ภายในมีห้องน้ำและห้องอาบน้ำบริการ หรือหากต้องการพักค้างแรม ที่นี่ก็มีทั้งบ้านพักและเต็นท์ แนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้านะคะ.การเดินทาง จากที่ทำการอุทยานฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1087 ไปประมาณ 14 กิโลเมตร ผ่านบ้านก้อ เลี้ยวซ้ายไปทางหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ 1 (น้ำตกก้อหลวง) อีก 8 กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าผ่านป่าไผ่ไปอีก 500 เมตร ก็จะถึงน้ำตก ถัดมาคือ “จุดชมวิวผาเเดงหลวง” สายผจญภัยต้องมา ที่นี่เป็นจุดชมวิวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย สามารถมองเห็นแม่น้ำกว้างไกลสุดลูกหูลูกตา และภูเขาที่ทอดยาวสลับซับซ้อนได้แบบ 360 องศาเลยทีเดียว เมื่อมองจากมุมสูงจะเห็นหน้าผามีสีส้มอมแดง จึงเป็นที่มาของชื่อ “ผาแดงหลวง” นั่นเอง ทางอุทยานฯ เปิดให้ขึ้นไปยังจุดชมวิวผาแดงหลวงได้ในช่วงฤดูหนาวเพียงปีละครั้งเท่านั้น สำหรับการเดินทางมายังจุดชมวิวผาแดงหลวง จะต้องติดต่ออุทยานฯ ล่วงหน้า ไฮไลท์ที่ห้ามพลาดก็คือ การชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า ที่แสงอาทิตย์สีทองส่องแสงสะท้อนกับพื้นน้ำ สวยงามมาก แบบนี้ต้องไปเห็นกับตาแล้วล่ะ หากใครอยากจะพักค้างแรม ทางอุทยานฯ อนุญาตให้พักค้างแรมเเค่บริเวณจุดกางเต็นท์ทุ่งกิ๊กเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ไปพักข้างในหน่วยอื่น.การเดินทาง จะต้องติดต่อกับทางอุทยานฯ ก่อนเพื่อจองคิวรถโฟร์วีลที่จะขึ้นไป โดยรถจะจอดส่งที่จุดจอดรถ จากนั้นเราต้องเดินต่อไปยังจุดชมวิวระยะทาง 1 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 45 นาที “น้ำตกก้อน้อย” น้ำตกก้อน้อยเกิดจากลำห้วยแม่ก้อน้อยที่ไหลผ่านป่าและหุบเขาสูงชัน ทำให้เกิดเป็นชั้นน้ำตกรวม 7 ชั้น บริเวณด้านบนของน้ำตกมีลานกางเต็นท์และเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเทือกเขาได้อีกด้วย ใครเป็นสายผจญภัยต้องลองไปดูนะ หากใครได้ไปในช่วงฤดูหนาวอาจจะได้ชมทะเลหมอกด้านบนได้ด้วยน้า.การเดินทาง น้ำตกก้อน้อยอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 23 กิโลเมตร ผ่านทุ่งกิ๊กไปอีก 9 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตก

ตามรอยหนังรักโรแมนติก…คิดถึงวิทยา อ่านเพิ่มเติม

สะพานทาชมภู จังหวัดลำพูน : สะพานรถไฟสวยต้องห้ามพลาด

สะพานทาชมภู หรือที่ชาวลำพูนเรียกว่า สะพานขาว ตั้งอยู่ตรงข้ามวัดทาชมภู ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน อยู่ระหว่างสถานีรถไฟขุนตานกับสถานีรถไฟทาชมภู.เริ่มก่อสร้างสะพานแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2462 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2463 เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินรถไฟจากลำปางมายังเชียงใหม่ โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน หรือพระนามเดิม พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ทรงเป็นวิศวกรควบคุมงาน สะพานแห่งนี้มีความโดดเด่นกว่าสะพานรถไฟแห่งอื่น คือ เป็นสะพานโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก มีลักษณะรูปทรงโค้ง ทาด้วยสีขาว รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ยาว 87.3 เมตร.ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลกและท้าทายทางวิศวกรรมของคนไทยในสมัยนั้น เนื่องจากโดยปกติแล้วสะพานรถไฟจะสร้างด้วยเหล็กเพราะสามารถทนต่อแรงสะเทือนและอ่อนตัวได้ดีกว่า.แต่ช่วงเวลาที่สร้างสะพานแห่งนี้เป็นช่วงภาวะสงคราม ขาดแคลนเหล็ก ทำให้ไม่สามารถนำมาสร้างสะพานได้ แต่ด้วยการคำนวณและควบคุมงานที่ยอดเยี่ยมทำให้สะพานทาชมภูยังคงใช้งานได้อยู่จนถึงทุกวันนี้  หลาย ๆ คนคงแปลกใจว่า สะพานนี้มีชื่อว่า ทาชมภู คงจะคิดว่า สะพานแห่งนี้ทาด้วยสีชมพูแน่ ๆ.สาเหตุเพราะว่าสะพานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อข้ามแม่น้ำแม่ทา ที่ไหลผ่านหมู่บ้านทาชมภู อำเภอแม่ทา จึงถูกเรียกว่า สะพานทาชมภู นั่นเอง  คำว่า “ทา” ในที่นี้ไม่ใช่คำกริยา แต่เป็นคำนามอันหมายถึง “แม่น้ำแม่ทา” ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านอำเภอแห่งนี้ หลายตำบลหลายหมู่บ้านที่นี่จึงมีคำว่าทาอยู่ในชื่อ เช่น ตำบลทาสบเส้า ตำบลทาสบชัย วัดทาทุ่งหลวง เป็นต้น  ปัจจุบันสะพานทาชมภู กลายเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวต้องห้ามพลาดในจังหวัดลำพูน ที่ไม่ว่าใครเดินทางไปท่องเที่ยวก็จะต้องแวะไปถ่ายรูปคู่กับสะพานรถไฟสีขาวแห่งนี้อยู่เสมอ.ที่ตั้ง ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

สะพานทาชมภู จังหวัดลำพูน : สะพานรถไฟสวยต้องห้ามพลาด อ่านเพิ่มเติม

5 ชุมชนผ้าทอมือ ลำพูน

ลำพูน จังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน มีธรรมชาติงดงามตระการตา มีวัดวาอารามที่สวยงามและทรงคุณค่า เป็นเมืองที่น่าค้นหาที่ไม่ควรเลยผ่าน . นอกจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้วลำพูนยังมีชุมชนทอผ้าที่สำคัญ ๆ กระจายตัวอยู่ทั่วจังหวัด ล้วนผลิตผ้าที่คุณภาพดี มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดนเด่นไม่ซ้ำใคร . จะมีชุมชนใจและโดดเด่นเรื่องไหน อ่านต่อกันได้เลย  ผ้าฝ้ายทอมือชุมชนชาวยอง ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าแม่สารบ้านตอง ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นหนึ่งในหมู่บ้านท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของจังหวัด ที่มีชื่อเสียงทางด้านผ้าทอยกดอกอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว.การทอผ้าของชุมชนแห่งนี้มีความเป็นมายาวนานสิบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งคนในชุมชนจะทอผ้าทำหลังจากที่ปฏิบัติภารกิจประจำวันเสร็จแล้ว โดยจะมารวมกลุ่มกันทอผ้าที่วัดต้นแก้ว.การทอผ้าที่นี่ไม่ใช่เป็นการทอเพื่อนำผลิตภัณฑ์ไปขายอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นการอนุรักษ์การทอผ้าในรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวยองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษไว้.ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของชุมชนแห่งนี้คือ ผ้าฝ้ายยกดอกเอกลักษณ์ของเมืองลำพูน นอกจากนั้นยังทอผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วย เช่น ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมไหล่ ย่าม ฯลฯ สามารถไปชม และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้ที่วัดต้นแก้ว รวมไปถึงสามารถเดินชมพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนยองวัดต้นแก้วได้อีกด้วย . ที่ตั้ง: ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนโทร. 08 7181 8296พิกัด: https://goo.gl/maps/2TT6vwzM5ChPZnyu9 หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านดอนหลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นแหล่งผลิตงานหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือรายใหญ่อีกแห่งหนึ่งของประเทศ.กลุ่มทอผ้าบ้านดอนหลวงเกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และคงอยู่ของการทอผ้าฝ้าย โดยชาวบ้านที่นี่จะแบ่งกลุ่มออกตามความถนัด เช่น กลุ่มทอผ้าสี่ตะกอ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย กลุ่มตัดเย็บ กลุ่มบาติกมัดย้อม เป็นต้น.เมื่อแต่ละกลุ่มได้ทำผลิตภัณฑ์เสร็จแล้วจะส่งผลิตภัณฑ์ของตัวเองมาจำหน่ายที่ร้านค้าที่ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน ทำให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า ผ้าคลุมไหล่ ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูเตียง เป็นต้น.และในเดือนเมษายนของทุกปี จะมีการจัดงาน “แต่งสีอวดลาย ผ้าฝ้ายดอนหลวง” ซึ่งกิจกรรมภายในงานจะเน้นไปที่รูปแบบของหมู่บ้านหัตถกรรมและวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตของคนป่าซาง โดยงานจะจัดทั้งกลางวันและกลางคืนเลยล่ะ.ที่ตั้ง: ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนโทร. 08 4503 3877, 09 7921 6997 พิกัด: https://goo.gl/maps/jhooEu3h1Zn5HZxp7 ศูนย์หัตถกรรมบ้านห้วยต้ม.ศูนย์หัตถกรรมบ้านห้วยต้ม ตั้งอยู่ที่ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน นอกจากอาชีพหลักอย่างการทำสวนทำไร่แล้ว ชาวบ้านที่นี่ยังมีฝีมือในงานหัตถกรรมหลายรูปแบบ เช่นการทอผ้าโดยใช้เอวเป็นกี่ในการทอ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ.ซึ่งผ้าฝ้ายทอมือของชุมชนแห่งนี้เป็นกะเหรี่ยงลายโบราณที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการถักทอเส้นสีโดยเลียนแบบธรรมชาติ ทำให้รู้สึกถึงสีสันของฤดูทั้ง 3 ฤดูในผืนผ้าแต่ละผืน.นอกจากนี้ยังมีการทำเครื่องเงินแท้ 100% ที่มีการออกแบบลวดลายที่สะท้อนวิถีชีวิตชาวบ้าน โดยลวดลายต่าง ๆ ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ เช่น ปลา ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ดข้าว เป็นต้น.เมื่อชาวบ้านทำผลิตภัณฑ์เสร็จแล้วจะนำมาวางจำหน่ายที่ศูนย์หัตถกรรมบ้านห้วยต้มกลางหมู่บ้าน นักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อสินค้าของชุมชนได้จากศูนย์หัตถกรรมนี้เลย.ที่ตั้ง: ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนโทร. 08 7173 8152, 06 2308 2689พิกัด: https://goo.gl/maps/WeJwrXhCz83xAZv69  ชุมชนผ้าทอบ้านหนองเงือก.บ้านหนองเงือก ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงในเรื่องการทอผ้าที่สืบสานการทอผ้าฝ้ายและกรรมวิธีจากบรรพบุรุษ.ชาวหนองเงือกมีบรรพบุรุษเป็นชาวยอง อาศัยอยู่ในมณฑลยูนนาน แคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน อพยพมาตั้งถิ่นฐานในที่ราบลุ่มแม่น้ำทา อำเภอป่าซาง และได้เริ่มการทอผ้าฝ้ายเพื่อใช้เองในครอบครัว ซึ่งทอโดยวิธีการใช้กี่แบบโบราณ.ชาวหนองเงือกได้นำเทคนิคการทอผ้าแบบโบราณมาพัฒนาและปรับปรุงลวดลายให้ดูทันสมัยมากขึ้นโดยการเพิ่มความสลับซับซ้อนและใช้สีสันในลวดลาย เช่น ลายเกล็ดเต่าลูกอม ลายเกล็ดเต่าหมู่ ลายเกล็ดเต่าจิ๋ว ลายเกล็ดเต่าตา ลายดอกช้าง ลายดอกนก ลายดอกบัวเครือ ลายดอกขอลายไทย เป็นต้น ทำให้ผ้าทอของชุมชนแห่งนี้มีความทันสมัยอยู่เสมอ.บ้านหนองเงือกไม่เพียงเป็นแหล่งทอผ้าฝ้ายที่สำคัญของลำพูนเท่านั้น ยังเป็นแหล่งผลิตชิ้นงานส่งจำหน่ายในเมืองท่องเที่ยวในภาคเหนืออย่างเชียงใหม่ รวมถึงกรุงเทพฯ อีกด้วย.ที่ตั้ง: ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนโทร. 06 1449 9645พิกัด: https://goo.gl/maps/MiT9RyCPrm5ej9pV6 กลุ่มทอผ้ากระเหรี่ยงแม่ขนาด.หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่ขนาด ตั้งอยู่ที่ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงปากะญอ มีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย.ชาวบ้านในชุมชนยังคงแต่งกายด้วยชุดชาวเผ่า ผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วนุ่งผ้าถุงสีแดง คาดลายสีต่าง ๆ ที่ทอขึ้นเอง ปักด้วยลูกเดือยและตกแต่งด้วยผ้าสีแดง ผู้หญิงโสดใส่ชุดยาวสีขาว แต่งลวดลายด้วยสีต่าง ๆ ส่วนผู้ชายใส่เสื้อโพล่งสีแดง กางเกงสะดอหรือโสร่ง.ชาวบ้านส่วนใหญ่ทอผ้าใช้เอง ลงมือทำตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ทอผ้า และประดับลูกเดือย และยังมีการสืบทอดวิธีการ เทคนิคต่าง ๆ ต่อกันมาจนถึงรุ่นลูกหลาน.ภายในหมู่บ้านมีกลุ่มทอผ้า และศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ สินค้าที่ไดเรับความนิยม เช่น มีทั้งเสื้อ ผ้าซิ่น ผ้าคลุมทีวี ผ้าคลุมไหล่ขนาดต่าง ๆ เป็นต้น.ที่ตั้ง: ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนโทร. 08 1961 8741พิกัด: https://goo.gl/maps/CB99qSJPUhS29yAf9

5 ชุมชนผ้าทอมือ ลำพูน อ่านเพิ่มเติม

ไหว้ ๑๒ พระบรมธาตุเจดีย์ประจำปีนักษัตร

“พระบรมธาตุเจดีย์” เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ คือ อัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า โดยมีการอัญเชิญและสร้างเจดีย์เป็นที่ประดิษฐาน ณ สถานที่ต่าง ๆ และจัดพิธีสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา เชื่อว่าการสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุเสมือนการได้ “ชุธาตุ” หรือกราบไหว้บูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีคติความเชื่อว่า “นามเปิ้ง” คือนามของสัตว์ที่เป็นพาหนะในการนำมาเกิดตามราศี จึงกำหนดพระบรมธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดนักษัตร เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลในการสักการบูชา พระบรมธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดนักษัตรส่วนใหญ่จึงอยู่ในภาคเหนือ และมีหนึ่งแห่งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑. พระธาตุประจำปีเกิด ปีชวด (ปีหนู) ธาตุน้ำ“พระธาตุศรีจอมทอง” วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ถนนเชียงใหม่-ฮอด ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พระธาตุศรีจอมทอง ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระเศียรเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า โดยพระบรมสารีริกธาตุนี้มิได้ถูกบรรจุฝังไว้ใต้ดินเช่นที่อื่น แต่ถูกบรรจุไว้ในพระโกศห้าชั้น ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวงซึ่งอยู่ด้านหลังองค์พระธาตุเจดีย์ศรีจอมทอง และในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ (เหนือ) หรือก็คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ (ประมาณเดือนมิถุนายน) ของทุกปี ที่วัดจะมีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุศรีจอมทอง.การเดินทาง : จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ เส้นทางเชียงใหม่-ฮอด จนถึงตัวอำเภอจอมทอง จะพบวัดตั้งอยู่ซ้ายมือ มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถเมล์และรถสองแถว สายเชียงใหม่-จอมทอง วิ่งผ่านหน้าวัด สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งช้างเผือกในตัวเมืองเชียงใหม่ ๒. พระธาตุประจำปีเกิด ปีฉลู (ปีวัว) ธาตุดิน“พระธาตุลำปางหลวง” วัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งของประเทศไทย จากตำนานกล่าวว่า วัดอยู่บนซากเมืองโบราณลัมพกัปปะนคร พระนางจามเทวีได้เสด็จมาโปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ มีพระธาตุเจดีย์ทรงลังกาบุทองเหลืองฉลุลาย ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ได้แก่ พระเกศาธาตุ (ผม) พระนลาฏ (หน้าผาก) ข้างขวา และส่วนพระศอด้านหน้าและด้านหลังของพระพุทธเจ้า การสักการบูชามักจัดให้มีขึ้นในช่วงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา.การเดินทาง : จากตัวเมืองลำปาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ (ลำปาง-เถิน) จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าตัวอำเภอเกาะคา และข้ามแม่น้ำวัง จะพบที่ว่าการอำเภอเกาะคา ให้เลี้ยวขวาและตรงไป ๓ กิโลเมตร ถึงวัด ๓. พระธาตุประจำปีเกิด ปีขาล (ปีเสือ) ธาตุไม้“พระธาตุช่อแฮ” วัดพระธาตุช่อแฮ ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ภายในพระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐาน พระเกศาธาตุและพระบรมธาตุส่วนพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า ในวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ (ประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคม) ของทุกปี ทางวัดจะจัด “งานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง” มีริ้วขบวนเครื่องสักการะ ผ้าห่มพระธาตุ ๑๒ ราศี ตุง ๑๒ ราศี และเทศน์มหาชาติ.การเดินทาง : จากสี่แยกบ้านทุ่งในตัวเมืองแพร่ ไปตามถนนช่อแฮ รวมระยะทางจากตัวเมืองประมาณ ๙ กิโลเมตร ๔. พระธาตุประจำปีเกิด ปีเถาะ (ปีกระต่าย) ธาตุน้ำ“พระธาตุแช่แห้ง” วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงติ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ภายในพระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐาน พระเกศาธาตุและพระบรมธาตุส่วนข้อมือซ้ายของพระพุทธเจ้า ในวันขึ้น ๑๑-๑๕ ค่ำ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ (ประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม) จะมีการจัด “งานนมัสพระธาตุแช่แห้ง” โดยมีการแห่ตุงถวายพระบรมธาตุ และจุดบอกไฟ (ลักษณะเดียวกับบั้งไฟ ประทัด หรือดอกไม้ไฟ) ถวายเป็นพุทธบูชา.การเดินทาง : จากตัวเมืองน่าน ข้ามสะพานแม่น้ำน่าน ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๑๖๘ ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร ๕. พระธาตุประจำปีเกิด ปีมะโรง (ปีงูใหญ่) ธาตุดิน“พระมหาธาตุเจดีย์ หรือ พระธาตุหลวง” วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภายในพระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า และบริเวณใกล้กันยังเป็นที่ตั้งของพระวิหารลายคำ ซึ่งภายในประดิษฐาน “พระสิงห์” (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปคู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระวิหารลายคำนี้ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น เพราะมีลวดลายปิดทองล่องชาด เทคนิคการฉลุลายปรากฏบนฝาผนังหลังพระประธานและเสากลางพระวิหาร เสาระเบียงด้านหน้าพระวิหาร ตลอดถึงบางส่วนของโครงไม้ บนฝาผนังภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง สังข์ทองและสุวรรณหงส์ เขียนด้วยสีฝุ่นมีความงดงามมาก.การเดินทาง : วัดพระสิงห์อยู่ใกล้บริเวณคูเมืองด้านใน ตรงบริเวณจุดบรรจบระหว่างถนนสามล้าน ถนนสิงหราช และถนนราชดำเนิน หรือใช้บริการรถโดยสารสองแถวแดงที่ให้บริการในตัวเมืองเชียงใหม่ ๖. พระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเส็ง (ปีงูเล็ก) ธาตุน้ำ“พระเจดีย์เจ็ดยอด” วัดโพธารามมหาวิหาร ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พระเจดีย์เจ็ดยอด จำลองแบบจากมหาวิหารเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย สร้างสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงให้แบ่งหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่พระสงฆ์สิงหลนิกายลังกาวงศ์นำมาจากลังกาแล้วปลูกไว้ที่เชิงดอยสุเทพ ให้นำมาปลูกไว้ใกล้กับพระเจดีย์เจ็ดยอดด้วย จึงมีสองสิ่งสำคัญในการเป็นที่สักการะประจำปีเกิดปีมะเส็ง คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระมหาเจดีย์เจ็ดยอด.การเดินทาง : จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้ถนนห้วยแก้วจนถึงสี่แยกรินคำ ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ (เชียงใหม่-ลำพูน) ตรงไปประมาณ ๑ กิโลเมตร จะพบวัดตั้งอยู่ซ้ายมือ ๗. พระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเมีย (ธาตุไฟ)พระบรมธาตุ วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก มีตำนานกล่าวถึงสถานที่ตั้งของพระบรมธาตุเจดีย์ว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาที่แห่งนี้ และตรัสว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วให้นำพระเกศาธาตุมาประดิษฐานไว้ที่นี่ ต่อมาจึงมีการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้น โดยภายในบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ในวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ (ประมาณปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายน) ของทุกปี

ไหว้ ๑๒ พระบรมธาตุเจดีย์ประจำปีนักษัตร อ่านเพิ่มเติม

ยลวิถีเมืองลำพูน 2 วัน 1 คืน

จังหวัดลำพูน เมืองเล็ก ๆ ทางภาคเหนือที่หลายคนมองว่าเป็นเมืองทางผ่าน และถูกมองข้ามเสมอ แต่จริง ๆ แล้ว ลำพูนเป็นเมืองน่าสนใจที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม แถมยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่งรอให้ทุกคนไปสัมผัสความสวยงามอยู่ . วันนี้แอดจะพาเพื่อน ๆ ไปแอ่วลำพูน ชมวัดวาอารามสวย ๆ และสัมผัสวิถีชีวิตผู้คน แบบ 2 วัน 1 คืน รับรองว่าทุกคนจะตกหลุมรักลำพูนอย่างแน่นอนค่ะ . เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อาจทำให้เพื่อน ๆ เดินทางไปเที่ยวไม่สะดวก หากสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว อย่าลืมออกมาเที่ยวเมืองไทยกันนะคะ #TravelLikeaLocal . อย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย และพกเจลล้างมือทุกครั้งที่ออกเดินทาง วันที่ 11. พระบรมราชานุสาวรีย์พระนางจามเทวี2. พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน3. วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร4. ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นน้ำลำไย5. กาดขัวมุงท่าสิงห์6. หอศิลป์ “อุทยานธรรมะ”.วันที่ 27. วัดพระพุทธบาทผาหนาม 8. ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม พระบรมราชานุสาวรีย์พระนางจามเทวี.ทริปนี้เริ่มกันที่อำเภอเมือง แอดจะพาทุกคนไปสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระนางจามเทวีกันก่อนจังหวัดลำพูนเดิมมีชื่อว่า “นครหริภุญชัย” มีอายุประมาณ 1,300 ปี เป็นรัฐอิสระในแถบลุ่มแม่น้ำปิง ต่อมาถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนา และกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยจนถึงปัจจุบัน กษัตริย์พระองค์แรกของนครหริภุญชัยคือ พระนางจามเทวี พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวี กษัตรีผู้มีคุณธรรม มีความสามารถทั้งในการปกครอง และการรบ มีความเด็ดขาดและกล้าหาญ ทั้งยังเป็นผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนาจนมีความรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ฉากหลังของพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นซุ้มโคปุระดินเผา มีภาพประติมากรรมนูนต่ำเล่าประวัติความเป็นมาของเมืองลำพูน ตั้งแต่การสร้างเมือง จนถึงยุคการปกครองของเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2486. ที่ตั้ง: ถ.รอบเมืองใน อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง .เดิมคือคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์ พระอนุชาของเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10 สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2455 พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยแห่งนี้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดลำพูน ในแบบที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนได้ย้อนกลับไปในอดีตอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจัดแสดงประวัติคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ แผนที่พัฒนาการของเมืองลำพูน ภาพถ่ายวิถีชีวิตผู้คนและเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ การจำลองโรงภาพยนตร์เก่าที่เคยเป็นที่นิยมอย่าง “หริภุญชัยรามา” และจำลองบรรยากาศโรงแรมศรีลำพูน โรงแรมแห่งแรกของเมืองลำพูน .ที่ตั้ง: ซ.วังซ้าย อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูนพิกัด: https://goo.gl/maps/kARoxnYFo96wtEqb8  เปิดทุกวัน เวลา 09.00 – 16.00 น.โทร. 0 5351 4500 วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร .เป็นพระอารามหลวง ศูนย์รวมความศรัทธาของชาวลำพูน สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 ภายในวัดมีพระบรมธาตุหริภุญชัย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และมีวิหารหลวงที่ประดิษฐาน “พระมหามุนีศรีหริภุญชัย” พระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นองค์พระประธาน  วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ถือเป็นวัดประจำปีระกา ใครที่เกิดปีระกาต้องมาสักการะเสริมความเป็นสิริมงคลให้ได้เลยล่ะค่ะ นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่ ซุ้มประตู หอธรรม หอระฆัง และสุวรรณเจดีย์หรือปทุมวเจดีย์ ที่มีความเก่าแก่และสวยงามตามแบบศิลปะล้านนา จนต้องมาเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้ง.ที่ตั้ง: ถ.รอบเมืองใน อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นน้ำลำไย (บ้านเวียงยอง) .พักเติมพลังที่ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นน้ำลำไย (บ้านเวียงยอง) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร แค่เดินข้ามสะพานข้ามแม่น้ำกวงที่อยู่หน้าวัดก็ถึงแล้ว ลำไยถือเป็นของดีประจำจังหวัดลำพูน ทางร้านนำเนื้อลำไยอบแห้งมาตุ๋นกับน้ำซุป จนได้รสชาติหวานกลมกล่อม มีกลิ่นหอมลำไยอ่อน ๆ ยิ่งกินคู่กับหมูตุ๋นนุ่ม ๆ ยิ่งอร่อยขึ้นไปอีก ถือเป็นเมนูห้ามพลาดเมื่อไปเที่ยวจังหวัดลำพูนเลยค่ะ.ที่ตั้ง: ถ.ลำพูน-ป่าซาง อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูนพิกัด: https://goo.gl/maps/s1ZqQPqkehh1yMH66เปิดทุกวัน เวลา 09.00 – 15.00 น.โทร. 08 7549 2229.ขอบคุณรูปภาพจากร้านก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นน้ำลำไย (บ้านเวียงยอง) กาดขัวมุงท่าสิงห์.ถ้าอิ่มแล้ว แอดจะพาไปละลายทรัพย์กันที่กาดขัวมุงท่าสิงห์ ซึ่งเป็นตลาดท้องถิ่น ตั้งอยู่บนสะพานข้ามแม่น้ำ กวง มุงหลังคากระเบื้องดินเผาและตกแต่งด้วยศิลปะแบบล้านนา สินค้าที่วางขายในตลาดมีมากมาย ทั้งอาหาร ขนม ของฝาก รวมถึงเครื่องประดับและผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านจากอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดลำพูน ใครไปเดินตลาดนี้แล้วไม่เสียเงินสักบาท เรียกได้ว่าเป็นคนจิตแข็งมากพอสมควร.ที่ตั้ง: ถ.รอบเมืองใน อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูนพิกัด: https://goo.gl/maps/PkGJGDaWAogEyduu5เปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น. ก่อนจบทริปท่องเที่ยวในวันแรก เราแวะไปเสพงานศิลป์กันที่ หอศิลป์ “อุทยานธรรมะ” (The Dhamma Park Gallery) ของอ.อินสนธิ์ วงศ์สาม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (วิจิตรศิลป์) ประติมากรรม ผู้มีประสบการณ์ด้านงานศิลปะมายาวนาน ฝีมือของท่านเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ.หอศิลป์อุทยานธรรมะ เป็นสวนร่มรื่น จัดแสดงงานประติมากรรม จิตรกรรมที่สอดแทรกเรื่องราวพระพุทธศาสนาและสัจธรรมชีวิตที่ดูแล้วเข้าใจง่าย และสนุกสนาน กว่า 500 ชิ้น นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนในท้องถิ่นด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีการสาธิตการปั่นฝ้าย ย้อมสี ทอผ้า และการทำบ้านดินอีกด้วย.ที่ตั้ง: 109/2 หมู่ 1 บ้านป่าซางน้อย ต.บ้านแป้น อ.เมือง จ.ลำพูนพิกัด: https://goo.gl/maps/wcwXSVyFevKKhYgA6เปิดวันพุธ-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.00 น.โทร. 092 263 6121.ขอบคุณรูปภาพจาก หอศิลป์ “อุทยานธรรมะ” วันแรกของการท่องเที่ยวจังหวัดลำพูนก็จบลงไปแล้ว ที่พักในค่ำคืนนี้ของเราอยู่ที่อำเภอลี้ อำเภอที่ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาและอยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งเส้นทางค่อนข้างคดเคี้ยว แนะนำว่าอย่าออกจากตัวเมืองเย็นมากนะคะ วันที่สองนี้เราต้องตื่นเช้ากันหน่อย เพื่อไปชมวิวทะเลหมอกและแสงแรกของวันที่วัดพระพุทธบาทผาหนาม วัดพระพุทธบาทผาหนาม ตั้งอยู่บนดอยผาหนาม มีจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้น ทะเลหมอก และเมืองลี้แบบ 360 องศา การขึ้นไปชมวิวบนยอดดอยมี 2 วิธีคือ เดินขึ้นบันไดนาค 432 ขั้นมาจากด้านล่าง หรือขับรถขึ้นไปจอดใกล้ ๆ จุดชมวิว โดยทางขึ้นจะอยู่ด้านข้างวัด เป็นถนนลูกรังและค่อนข้างแคบ ต้องขับขี่อย่างระมัดระวัง แอดแนะนำให้ขึ้นมารอตั้งแต่เวลา 05.30-06.00 น. จะได้ไม่พลาดวิวสวย ๆ นะคะ

ยลวิถีเมืองลำพูน 2 วัน 1 คืน อ่านเพิ่มเติม

ผาแดงหลวง ลำพูน

ผาแดงหลวง ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ผาแดงหลวง เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม จากจุดนี้สามารถมองเห็นแม่น้ำกว้างไกลสุดลูกหูลูกตา และภูเขาที่ทอดยาวสลับซับซ้อนได้แบบ 360 องศาเลยทีเดียว เมื่อมองจากมุมสูงจะเห็นหน้าผามีสีส้มอมแดง จึงเป็นที่มาของชื่อ “ผาแดงหลวง” นั่นเอง ทางอุทยานฯ เปิดให้ขึ้นไปยังจุดชมวิวผาแดงหลวงได้ในช่วงฤดูหนาวเพียงปีละครั้งเท่านั้น และหากใครอยากจะพักค้างแรม ทางอุทยานฯ อนุญาตให้พักค้างแรมเเค่บริเวณจุดกางเต็นท์ทุ่งกิ๊กเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ไปพักข้างในหน่วยอื่น สำหรับการเดินทางมายังจุดชมวิวผาแดงหลวง จะต้องติดต่ออุทยานฯ ล่วงหน้า เพื่อจองคิวรถโฟร์วีลที่จะขึ้นไป โดยรถจะจอดส่งที่จุดจอดรถ จากนั้นเราต้องเดินต่อไปยังจุดชมวิวระยะทาง 1 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 45 นาที ไฮไลท์ที่สำคัญคือ การชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า ที่แสงอาทิตย์สีทองส่องแสงสะท้อนกับพื้นน้ำ ดูสวยงามมาก ไม่ไปเห็นกับตาไม่ได้แล้วนะแบบนี้ เผยแพร่ใน Facebook : TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง วันที่ 4 พฤศจิกายน 2562

ผาแดงหลวง ลำพูน อ่านเพิ่มเติม

Go north อัตลักษณ์ผ้าทอมือ เลื่องลือหริภุญชัย

การทอผ้าไหมยกดอกของจังหวัดลำพูนนั้น เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ การทอผ้ายกดอกมีจุดเริ่มต้นในคุ้มของเจ้านาย ซึ่งในระยะแรกเป็นการทอผ้าธรรมดาไม่ได้มีลวดลายวิจิตรงดงามมากนัก ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้เสด็จกลับเชียงใหม่ ทรงนำเทคนิคการทอผ้าที่ได้เรียนรู้จากราชสำนักส่วนกลางเมื่อครั้งประทับอยู่ที่กรุงเทพฯ มาประยุกต์และถ่ายทอดความรู้ด้านการทอผ้าไหมยกดอกที่มีลวดลายสวยงามแปลกตา ให้แก่เจ้าส่วนบุญ ชายาของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย ทำให้การทอผ้าไหมยกดอกเป็นที่แพร่หลายทั่วไป และได้รับการสืบทอดต่อมา กลายเป็นภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลำพูนจนถึงปัจจุบัน การทอผ้ายกหรือการยกมุก เป็นวิธีการทอแบบโบราณที่ทำให้เกิดลวดลายที่สวยงาม ซึ่งต้องใช้เวลา ความชำนาญ และความประณีตในการทอเป็นอย่างมากเลยค่ะ.ลักษณะเด่นของผ้าทอยกดอกคือ ในผืนผ้าจะมีลวดลายในตัว โดยผิวสัมผัสจะมีความนูนที่แตกต่างกันไปตามลวดลาย ส่วนใหญ่ลายจะใช้ฝ้ายหรือไหมสีเดียวกันตลอดทั้งผืน เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของจังหวัดลำพูนค่ะ สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน นักท่องเที่ยวสามารถมาชื่นชมผลงานสร้างสรรค์ของคนลำพูนได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.โดยทางสถาบันได้จัดโซนร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์หลากหลายจากฝีมือคนลำพูนไว้ให้เลือกชมเลือกซื้อเป็นของฝากมากมายเลยค่ะ  สำหรับผู้ที่สนใจวิธีการทำผ้าทอโบราณผ้าไหมยกดอก กรุณาโทรแจ้งล่วงหน้าเนื่องจากทางสถาบันไม่ได้ทอผ้าทุกวันค่ะ ที่ตั้ง : สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย หมู่ที่ 2 ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โทร. 053 560 144

Go north อัตลักษณ์ผ้าทอมือ เลื่องลือหริภุญชัย อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top