บุรีรัมย์

บุรีรัมย์

✨ แนะนำเทศกาลเดือนมีนาคม ✨

เดือนที่ 3 ของปี เริ่มก้าวเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว หลายคนคงมีแผนเดินทางไปเที่ยวทะเล น้ำตก เพื่อเล่นน้ำคลายร้อน หรือขึ้นเขาเพื่อมองหาความสดชื่นของสีเขียวจากยอดดอย แต่นอกจากแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มอบความเย็นทางใจให้แล้ว เดือนมีนาคมก็เป็นช่วงเวลาที่มีเทศกาลพิเศษและสนุก ๆ ถูกจัดขึ้นเหมือนกัน… เอาล่ะ หากใครกำลังมองหาเทศกาลประเพณีพิเศษ ๆ ที่จัดขึ้นเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม นอกเหนือจากการเที่ยวตามธรรมชาติล่ะก็ ลองตามมาอ่านคอนเทนต์นี้ดู ว่า 5 เทศกาลเดือนมีนาคมที่นำมาแนะนำวันนี้ จะมีที่ไหนบ้าง 1.ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก จ.ยโสธร เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชนบ้านฟ้าหยาด จ.ยโสธร เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ได้เห็นถึงความสำคัญของข้าว จึงคัดข้าวเปลือกที่ดีที่สุดมาคั่วเป็นข้าวตอก แล้วนำมาร้อยเป็นมาลัยสายยาวแทน “ดอกมณฑารพ” ดอกไม้ทิพย์บนสวรรค์ ที่เชื่อว่ามีความสวยงามและมีกลิ่นหอม ซึ่งจะหล่นลงมาบนโลกในเหตุการณ์สำคัญ เช่นครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ดอกมณฑารพก็ร่วงหล่นลงมาบนโลกทั้งก้านและกิ่ง เปรียบเสมือนการแสดงความเสียใจในเหตุการณ์นี้ เหล่าพระภิกษุ ข้าราชการบริพารและประชาชนทั้งหลาย จึงพากันเก็บมาสักการะพระบรมศพของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นการรำลึกเหตุการณ์นี้ ชาวบ้านฟ้าหยาด จึงประดิษฐ์และจัดงานแห่มาลัยข้าวตอกขึ้นก่อนวันมาฆบูชา ปัจจุบันจะมีการจัดงาน 5 วัน มีการแห่เป็นขบวนรอบตัวอำเภอ ก่อนจะนำไปถวายที่วัดหอก่อง ซึ่งภายในวัดมี พิพิธภัณฑ์มาลัยข้าวตอก เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาชมความงามหลังจากแห่ขบวนได้ ในปี พ.ศ. 2566 ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-5 มีนาคม ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอมหาชนะชัย ใครที่สนใจสามารถไปชม ชิม ชอปปิง สินค้าโอทอป ของกิน ของฝาก ที่ถนนคนเดินของงานได้เลย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ททท. สำนักงานอุบลราชธานี (ดูแลพื้นที่ จ.อุบลราชธานี จ.ยโสธร และ จ.อำนาจเจริญ) โทร. 0 4524 3770 2.งานพระนครคีรี-เมืองเพชร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี จ.เพชรบุรี งานต่อมาที่อยากแนะนำ ก็คือ งานพระนครคีรี-เมืองเพชร ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 จัดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ “เยือนถิ่นเมืองพริบพรี สดุดีจอมราชัน แดนสร้างสรรค์อาหารไทย” เพื่อเทิดพระเกียรติบูรพมหากษัตราธิราชเจ้า รัชกาลที่ 4, รัชกาลที่ 5, รัชกาลที่ 6 ในวันที่ 17 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) ภายในงาน จะมีการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีจากสกุลช่างเมืองเพชร รวมไปถึงกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ชมพลุบนเขาวัง ชิมอาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นถิ่น สินค้าพื้นเมืองเพชรบุรี สินค้า OTOP รอต้อนรับนักท่องเที่ยวให้มา ชม ชิม ชอปปิง และถ่ายรูปกันได้อย่างจุใจ : ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาทนักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้น หรือโดยสารรถรางไฟฟ้า ค่าบริการไป-กลับ ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก (อายุไม่เกิน 12 ปี) 15 บาท : ถ.คีรีรัถยา ต.คลองกระแชง อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี: เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.: สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ททท. สำนักงานเพชรบุรี โทร. 0 3247 1006 3. ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตกตรง 15 ช่องประตู ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ อีกหนึ่งเทศกาลและงานประจำปีของปราสาทหินพนมรุ้ง ที่เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้น-ตก ส่องลอดช่องประตูทั้ง 15 บานของปราสาทหินพนมรุ้ง ที่ในปีนี้ จะมีในช่วงวันที่ 5-7 มีนาคม พ.ศ. 2566 ท่ามกลางความยิ่งใหญ่ของปราสาทหินพนมรุ้ง หนึ่งในอารยธรรมโบราณ ที่สร้างจากหินทรายสีชมพูและศิลาแลง ในทุกปีจะเกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้น-ตก ส่องลอดช่องประตูทั้ง 15 บาน ของปราสาทหิน จำนวน 4 ครั้งต่อปี ซึ่งปีนี้มีรายละเอียดดังนี้ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้น-ตก 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง– ครั้งที่ 1 พระอาทิตย์ตก วันที่ 5-7 มีนาคม เวลาประมาณ 18.15 น.– ครั้งที่ 2 พระอาทิตย์ขึ้น วันที่ 3-5 เมษายน เวลาประมาณ 06.03 น.– ครั้งที่ 3 พระอาทิตย์ขึ้น วันที่ 8-10 กันยายน เวลาประมาณ 05.57 น.– ครั้งที่ 4 พระอาทิตย์ตก วันที่ 5-7 ตุลาคม เวลาประมาณ 17.55 น. ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ปี พ.ศ. 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 2 เมษายน พ.ศ. 2566 ปราสาทหินพนมรุ้ง ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของ จ.บุรีรัมย์ ด้วยลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบขอมโบราณ ที่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะ บนยอดเขาพนมรุ้ง โดยคำว่า “พนมรุ้ง” หรือ “วนํรุง” เป็นภาษาเขมรแปลว่า “ภูเขาอันกว้างใหญ่” ภายในมีการออกแบบที่ประณีต มีอาคารเรียงรายไปจนถึงปราสาทประธาน ทับหลังที่บอกเล่าเรืองราวของวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าของฮินดู อย่างเรื่องรามเกียรติ์ […]

✨ แนะนำเทศกาลเดือนมีนาคม ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ Wetland ชุ่มฉ่ำใจ ในแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่ชุ่มน้ำของไทย ✨

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ คือ #วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความสำคัญทางด้านทรัพยากรธรรมชาติอย่างมาก เพราะมีธรรมชาติที่สมบูรณ์ และมีความหลากหลายของระบบนิเวศมากที่สุด ปัจจุบัน มีการสำรวจและพบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อน ๆ ทราบกันหรือไม่ว่า พื้นที่ชุ่มน้ำในไทยถูกแบ่งกลุ่มตามลำดับความสำคัญตามอนุสัญญา #แรมซาร์ รวม 131 พื้นที่ โดยแบ่งเป็น🌿 พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับระหว่างประเทศ (Ramsar Sites)🌿 พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ🌿 พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ 📌 พื้นที่ชุ่มน้ำที่หลาย ๆ คนรู้จักกัน ประกอบด้วยป่าชายเลน ป่าพรุ หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบและแม่น้ำ แต่ถ้าหากแบ่งตามประเภทของพื้นที่ชุ่มน้ำจริง ๆ แล้วแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเล และพื้นที่ชุ่มน้ำในแผ่นดิน ที่สำคัญ ยังต้องประกอบไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพและความหลากหลายของระบบนิเวศ มีลักษณะเฉพาะ และเกื้อกูลสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่หาพบได้ยากหรือใกล้สูญพันธุ์ พื้นที่ชุ่มน้ำยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่ศึกษาระบบนิเวศนอกห้องเรียนที่ดีอีกด้วย เพราะจะทำให้เพื่อน ๆ ได้เข้าใจและตระหนักถึงการช่วยกันรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน วันนี้ จึงขอแนะนำ 5 สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ชุ่มน้ำของไทยว่ามีที่ไหนบ้าง ไปชมกันเลย 😉 พรุควนขี้เสียน  พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้อยู่เขตพื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดพัทลุง ที่สำคัญ ยังเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งแรกในไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Sites) มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ตอนเหนือของทะเลสาบสงขลา มีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี มีต้นเสม็ดขาวปกคลุมโดยรอบ และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายชนิด เพื่อน ๆ ที่อยากไปเที่ยวที่นี่ นอกจากจะสามารถล่องเรือชมพรุควนขี้เสียนแล้ว ภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ยังมีแหล่งเที่ยวชมอีกหลายจุดได้แก่ อุทยานนกน้ำทะเลน้อย ทะเลสาบน้ำจืดที่เชื่อมต่อกับทะเลสาบสงขลา ชมทุ่งบัวแดงแห่งภาคใต้ และฝูงกระบือที่ลัดเลาะเล่นน้ำไปตามสายน้ำ คลองปากประ แหล่งท่องเที่ยวและที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจที่มี “ยอ” อุปกรณ์จับสัตว์น้ำขนาดใหญ่ตั้งเรียงตระหง่านทั่วบริเวณ  ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงhttps://goo.gl/maps/bEk5pi3f8DxNpiS98 ป่าพรุโต๊ะแดง  หรือ ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร เป็นป่าพรุผืนสุดท้ายที่ยังมีความสมบูรณ์แห่งเดียวในไทย ครอบคลุมถึง 3 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส มีพรรณไม้และสัตว์ป่าหายากหลายชนิด แม้จะอยู่ไกล แต่หากมีโอกาสได้ไปแล้วนับเป็นสิ่งคุ้มค่าที่ได้ไปชมด้วยตาตัวเอง ที่นี่มีพรรณไม้มากกว่า 400 ชนิด รวมทั้งสัตว์ป่านานาชนิดอีกมากมาย หนึ่งในนั้นคือ “นกเงือกดำ” 1 ใน 13 สายพันธุ์นกเงือกที่มีอยู่ในไทย พบในป่าพรุแห่งนี้เพียงแห่งเดียว  เพื่อน ๆ สามารถเดินชมศึกษาเส้นทางธรรมชาติไปบนสะพานไม้ระยะทาง 1,200 เมตร และมีกิจกรรมพายเรือคายัคแก่เพื่อน ๆ ที่สนใจ แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ล่วงหน้ากันด้วยนะ   ตำบลปูโย๊ะ อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. (กรณีเที่ยวชมวันเสาร์-อาทิตย์ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่) 098 010 5736 (อาจติดต่อยากบางเวลาเนื่องจากติดภารกิจ)https://goo.gl/maps/DVPpdhWDHP2x61Bt8 อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง-ปากแม่น้ำตรัง  ทั้ง 3 พื้นที่นี้ถูกจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Sites) ในอาณาเขตเดียวกัน มีพื้นที่อยู่ใกล้กัน มีระบบนิเวศที่หลากหลาย เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิดและเป็นพันธุ์ที่หายาก มีแหล่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล โดยเฉพาะ “พะยูน” พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่นี้ยังครอบคลุมเกาะแก่งต่าง ๆ และแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หาดต่าง ๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จุดชมนกบนเกาะลิบง ถ้ำมรกตบนเกาะมุก แหล่งดำน้ำชมปะการังที่เกาะแหวน ล่องเรือชมป่าชายเลนชุมชนบ้านน้ำราบ เป็นต้น  ครอบคลุมอำเภอสิเกา อำเภอปะเหลียน อำเภอกันตัง จังหวัดตรังhttps://goo.gl/maps/KzmgUo19hv5Cy7fa7 (อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม)https://goo.gl/maps/ChnG4YNThkUzvBnp6 (เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง)https://goo.gl/maps/6BoUPxMUrHaKphjD9 (ปากแม่น้ำตรัง)  อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำเพชรบุรี และแม่น้ำปราณบุรี มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ในแนวทิวเขาตะนาวศรี ที่สำคัญยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม และการประมง ภายในอุทยานฯ มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เกิดจากการสร้างเขื่อนดินปิด 3 ช่องทางระหว่างหุบเขา ทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมแก่งน้ำเดิม กลายเป็นผืนน้ำขนาดกว้างใหญ่ กลางอ่างเก็บน้ำมีเกาะแก่งโผล่พ้นน้ำกระจายตัวอยู่หลายจุด ทำให้เกิดทิวทัศน์ที่สวยงาม  ที่นี่ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุงฯ ที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาพักผ่อน ล่องเรือ ตั้งแคมป์ ชมธรรมชาติพืชพรรณต่าง ๆ และยังเป็นแหล่งดูนกที่หาได้ยากหลายชนิดอีกด้วย   คลอบคลุมอำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์https://goo.gl/maps/kNJbPTsSwtLoTbLy9 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก  เป็นอีกหนึ่งแห่งที่ได้รับการจัดลำดับว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ มีสภาพพื้นที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นทะเลสาบน้ำจืด และยังเป็นแหล่งน้ำทางการเกษตรและประมงท้องถิ่นอีกด้วย ที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของนกหลายชนิด และเป็นบ้านของนกกระเรียนไทย นกขนาดใหญ่ที่จัดอยู่ในบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 19 ชนิด และยังเป็นแหล่งวางไข่ของนกตีนเทียนที่อพยพมาในช่วงที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นอีกด้วย  เพื่อน ๆ ที่เดินทางมาจังหวัดบุรีรัมย์ สามารถมาเยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำได้ ภายในมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเกี่ยวกับนกกระเรียนไทย และยังมีนกกระเรียนไทยให้ได้ชมกันอีกด้วย นอกจากนี้ เพื่อน ๆ สามารถทำกิจกรรมล่องเรือชมพระอาทิตย์ขึ้นและชมนกที่โบยบินไปรอบ ๆ ได้ แนะนำให้มาช่วงเช้า ๆ อากาศกำลังดี  ตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์https://goo.gl/maps/52y6RFDLBwW8PivF6

✨ Wetland ชุ่มฉ่ำใจ ในแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่ชุ่มน้ำของไทย ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ 10 สถานที่ท่องเที่ยวปราสาทหิน ✨

อารยธรรมขอมมีความเก่าแก่ และมีความสำคัญอย่างมาก ข้อหนึ่งที่เห็นได้ก็คือก่อให้เกิดศิลปะอันทรงคุณค่า เกิดเป็นสถาปัตยกรรมอันงดงามให้เราได้ชมจนถึงทุกวันนี้ การเผยแพร่อิทธิพลขอมในไทยที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ “ปราสาทหิน” ในประเทศไทยมีปราสาทหินโบราณที่สร้างในสมัยที่อาณาจักรขอมโบราณเจริญรุ่งเรืองนับร้อยแห่ง ทั้งอโรคยาศาลา ที่พักคนเดินทาง สะพานขอม หลายแห่งชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา แต่ก็มีอีกหลายแห่งที่ยังคงสภาพสมบูรณ์รวมถึงมีการบูรณะซ่อมแซมให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด วันนี้ แอดขอยก 10 สถานที่ปราสาทหินถิ่นแดนไทยมาแนะนำเพื่อน ๆ กัน  อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ปราสาทสด๊กก๊อกธม เป็นชื่อเรียกในภาษาเขมร ตั้งอยู่ในจังหวัดสระแก้วที่มีอาณาเขตติดต่อกับกัมพูชา ราวกับเป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางปราสาทขอมโบราณที่เผยแพร่เข้ามาในไทย อาคารโบราณสถานเป็นแบบศาสนสถานฮินดู ก่อด้วยหินทรายและศิลาแลงตามลักษณะศิลปะขอม แบบคลัง-บาปวน สร้างในช่วงพุทธศวรรษที่ 15-16 ปัจจุบัน ปราสาทสด๊กก๊อกธม ได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้มีสภาพสมบูรณ์ตามแบบเดิม และยังได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ที่รวบรวมประวัติ สถาปัตยกรรมของสด๊กก๊อกธม รวมทั้งนิทรรศการพิเศษเจาะลึกปราสาทเขมรในไทยอย่างละเอียดอีกด้วย  บ้านหนองเสม็ด ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว  เปิดทุกวัน เวลา 08.30 – 16.30 น. (ศูนย์บริการข้อมูล เปิดทุกวัน เวลา 9.00 – 16.00 น.)  037 550 454 https://goo.gl/maps/u5LMfmmoV266qGNB6  ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สร้างขึ้นตามรูปแบบศิลปกรรมเขมรโบราณ ตรงกับศิลปะสมัยบาปวนต่อเนื่องถึงสมัยนครวัด ช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ที่นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ภายในประกอบด้วย ปราสาทอิฐ 5 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน โดยมีปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง สิ่งที่น่าสนใจของปราสาทศีขรภูมิ คือ ทับหลังหินทรายเหนือกรอบประตูทางเข้าปราสาทประธาน จำหลักเป็นรูปศิวนาฏราช (พระศิวะทรงฟ้อนรำ) อยู่บนหงส์ 3 ตัว เหนือหน้ากาล แวดล้อมไปด้วยบริวารที่ร่วมทรงดนตรี และยังมีรูปจำหลักเทพองค์สำคัญอยู่รอบ ๆ รูปศิวนาฏราช  บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์  เปิดทุกวัน เวลา 07.30-18.00 น.  ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ต่างชาติ 50 บาท  044 508 240 https://goo.gl/maps/k2pmA9h6has6EiTcA  โบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มปราสาทตาเมือน เป็นโบราณสถานที่มีปราสาททั้งหมดสามแห่งตั้งอยู่ใกล้กัน และมีความสำคัญแตกต่างกัน ได้แก่ ปราสาทตาเมือน เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน สร้างขึ้นเพื่อเป็นธรรมศาลาหรือที่พักคนเดินทาง ปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นอโรคยาศาลหรือสถานพยาบาลของชุมชน และอย่างในภาพนี้คือปราสาทตาเมือนธม สร้างขึ้นในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพสูงสุด เป็นปราสาทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน และสันนิษฐานว่าเก่าแก่ที่สุด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา แนะนำให้สอบถามข้อมูลจากหน่วยทหารที่ดูแลพื้นที่บริเวณนั้นก่อน และนำบัตรประชาชนติดตัวไปทุกครั้ง  บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์  เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.  044 508 240 https://goo.gl/maps/k2pmA9h6has6EiTcA  ปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอีกหนึ่งจังหวัดในภาคอีสานตอนใต้ที่มีอาณาเขตติดต่อกับกัมพูชา ที่สำคัญยังคงวัฒนธรรมขอมเอาไว้อยู่ด้วย โบราณสถานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมขอมในอดีต คือ “ปราสาทสระกำแพงใหญ่” ปัจจุบัน ตั้งอยู่ภายในวัดสระกำแพงใหญ่ เป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดศรีสะเกษ สันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับศิลปะขอมแบบบาปวน เพื่อเป็นเทวาลัยถวายแด่พระศิวะ มีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์บนฐานเดียวกัน ปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ก่อด้วยหินทราย มีอิฐแซมบางส่วน ภายในมีทับหลังจำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างบนแท่นเหนือหน้ากาล  ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ  062 142 9261 https://goo.gl/maps/G5YQPqnrqVk7zRdv5  อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินในไทยที่มีชื่อเสียงที่สุดคงต้องยกให้ “ปราสาทหินพนมรุ้ง” โบราณสถานที่มีสภาพสมบูรณ์อย่างมาก และมีขนาดใหญ่กว่า 451 ไร่ ปราสาทหินพนมรุ้งตั้งอยู่บนภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย เขาพนมรุ้งและปราสาทบนยอดเขาจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสอันเป็นที่ประทับของพระศิวะ และยังเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาลอีกด้วย กลุ่มอาคารบนยอดเขามีการก่อสร้างหลายยุคสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 – 18 “พนมรุ้ง” หรือ “วนํรุง” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ภูเขาอันกว้างใหญ่” โดยคำนี้ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกอักษรขอมที่พบที่ปราสาทหินพนมรุ้ง และยังปรากฏชื่อผู้สร้างปราสาท คือ “นเรนทราทิตย์” เชื้อสายราชวงศ์มหิธรปุระ ผู้เกี่ยวข้องเป็นพระญาติกับพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัด ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์  อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ต่างชาติ 100 บาท หากไปชมปราสาทหินเมืองต่ำด้วย สามารถซื้อตั๋วเหมาได้ ชาวไทย 30 บาท ต่างชาติ 150 บาท  เปิดทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น.  044 666 251-2 https://goo.gl/maps/yWnKAEJdBiyfH5mA9  ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทแห่งนี้มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวน ปนด้วยศิลปะขอมแบบคลัง ภาพจำหลักส่วนใหญ่เป็นภาพเทพในศาสนาฮินดู ภายในปราสาท มีปรางค์อิฐ 5 องค์สร้างอยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์ปรางค์ประธานเหลือแต่เพียงฐาน นอกจากนี้ ยังมีบารายขนาดใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของปราสาท ชาวบ้านเรียกกันว่า “ทะเลเมืองต่ำ” จากการศึกษาทางโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในละแวกนี้อยู่หลายชุมชน ที่สำคัญยังมีการขุดพบโบราณวัตถุมากมายที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า บริเวณนี้มีชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่มีการสร้างปราสาทเมืองต่ำ  ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์  อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ต่างชาติ 100 บาท หากไปชมปราสาทหินพนมรุ้งด้วย สามารถซื้อตั๋วเหมาได้ ชาวไทย 30 บาท ต่างชาติ 150 บาท

✨ 10 สถานที่ท่องเที่ยวปราสาทหิน ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ เที่ยวเมืองปราสาทหินถิ่นอีสานใต้ ณ บุรีรัมย์ ✨

บุรีรัมย์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยปราสาทหินที่งดงามแห่งหนึ่งในดินแดนอีสานใต้ ทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วหลายลูก ซึ่งแต่ละจุดกลายเป็นแหล่งก่อกำเนิดอารยธรรม ประวัติศาสตร์ และสร้างเอกลักษณ์ให้กับชุมชนอย่างน่าประทับใจ วันนี้ แอดมีเส้นทางท่องเที่ยวบุรีรัมย์ 2 วัน 1 คืน ที่จะพาเพื่อน ๆ ไปสนุกกับกิจกรรมภายในชุมชน และเยี่ยมชมปราสาทหินอันเก่าแก่กัน  วันที่ 1 1 ชมปราสาทหินเลื่องชื่อที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง 2 ชมปราสาทขอมแบบบาปวนที่ปราสาทหินเมืองต่ำ 3 รับประทานอาหารท้องถิ่น พร้อมสนุกกับการย้อมผ้าภูอัคนีที่ชุมชนบ้านเจริญสุข 4 ชมวัดสีแดงอิฐที่วัดเขาอังคาร  วันที่ 2 5 ถ่ายรูปเช็คอินที่เสาหินบะซอลต์ ภูเขาไฟบุรีรัมย์ 6 ชมปากปล่องภูเขาไฟที่วนอุทยานเขากระโดง  การเดินทาง นอกจากรถยนต์ส่วนตัวแล้ว ยังสามารถเดินทางด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้  รถโดยสารประจำทาง ขึ้นได้ที่สถานีหมอชิต บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด โทร. 1624 บริษัท กิจการทัวร์ จำกัด โทร. 02 976 3806 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 044 612 534  รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ มีบริการรถไฟ สายกรุงเทพฯ-สุรินทร์ และ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ซึ่งจะผ่านและจอดที่สถานีรถไฟบุรีรัมย์ทุกขบวน สอบถามข้อมูลได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 สถานีรถไฟบุรีรัมย์ โทร. 044 661 202 หรือ www.railway.co.th  เครื่องบิน สายการบินนกแอร์ ไป-กลับวันละ 2 เที่ยวบิน สอบถามโทร. 1318 หรือจองออนไลน์ https://www.nokair.com/ สายการบินแอร์เอเชีย ไป-กลับ วันละ 1 เที่ยวบิน สอบถามหรือจองออนไลน์ https://www.airasia.com/th/th  วันที่ 1 อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง  เริ่มต้นทริปกันที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ แอดจะพาเพื่อน ๆ ไปชมความรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมในอดีต ที่ “อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง” หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า ปราสาทหินพนมรุ้ง หรือ เขาพนมรุ้งนั่นเอง ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นโบราณสถานเก่าแก่และมีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว มีรูปแบบเป็นศิลปะเขมรโบราณที่แผ่อิทธิพลเข้ามามากในแถบภาคอีสานใต้ “พนมรุ้ง” หรือ “วนํรุง” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ภูเขาอันกว้างใหญ่” โดยคำนี้ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกอักษรขอมที่พบที่ปราสาทหินพนมรุ้ง และยังปรากฏชื่อผู้สร้างปราสาท คือ “นเรนทราทิตย์” เชื้อสายราชวงศ์มหิธรปุระ ผู้เกี่ยวข้องเป็นพระญาติกับพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัด ด้วยพื้นที่อันกว้างขวาง มีปราสาทประธาน ซึ่งเป็นศูนย์กลางศาสนสถาน ภายในเรือนธาตุมีห้องต่าง ๆ ที่ประดิษฐานเทวรูปตามคติความเชื่อของฮินดู นอกจากนี้ยังมีอาคารต่าง ๆ พลับพลา บรรณาลัย ทางเดินเสานางเรียง สะพานนาคราช ซุ้มประตู ระเบียงชั้นใน และปรางค์น้อย นอกจากความงามของโบราณสถานแห่งนี้แล้ว ยังมีภาพจำหลักประดับตามส่วนต่าง ๆ ของปราสาทประธาน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ไฮไลต์ที่ห้ามพลาดคือ “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” โดยฝีมือช่างชั้นสูง มีลวดลายที่ละเอียดและงดงามตามแบบศิลปะขอม  ปราสาทหินพนมรุ้ง มีทางเข้าทั้งหมด 3 ทาง โดยทางเข้าที่ 1 และ 2 เป็นทางเข้าด้านหน้าซึ่งจะต้องเดินขึ้นเขาตามทางบันได ใช้เวลาเดินราว ๆ ครึ่งชั่วโมงไปถึงตัวปราสาท มีความสูงชัน เพื่อน ๆ สามารถเพลิดเพลินกับธรรมชาติและบรรยากาศรอบ ๆ ได้ หรือถ้าอยากเดินน้อย ๆ ก็สามารถขับรถขึ้นเขาไป แล้วใช้ทางเข้าที่ 3 ลานจอดรถจะอยู่ใกล้ ๆ กับปราสาทเลย  อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ต่างชาติ 100 บาท หากไปชมปราสาทหินเมืองต่ำด้วย สามารถซื้อตั๋วเหมาได้ ชาวไทย 30 บาท ต่างชาติ 150 บาท  ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์  เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-18.00 น.  044 666 251-2 https://goo.gl/maps/yWnKAEJdBiyfH5mA9 ปราสาทหินเมืองต่ำ  จากปราสาทหินพนมรุ้งไป 8 กิโลเมตรที่อำเภอประโคนชัย มีปราสาทหินขนาดใหญ่อยู่อีก 1 แห่ง นั่นคือ “ปราสาทหินเมืองต่ำ” เป็นปราสาทขอมที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวน ปนด้วยศิลปะขอมแบบคลัง ภาพจำหลักส่วนใหญ่เป็นภาพเทพในศาสนาฮินดู ภายในปราสาท มีปรางค์อิฐ 5 องค์สร้างอยู่บนฐานเดียวกัน ปัจจุบันได้เสื่อมสลายไปมาก โดยองค์ปรางค์ประธานเหลือแต่เพียงฐาน นอกจากนี้ ยังมีกำแพงแก้ว ซุ้มประตู บรรณาลัย และบาราย(บ่อน้ำ) รอบ ๆ ปราสาท โดยมีบารายขนาดใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของปราสาท ชาวบ้านเรียกกันว่า “ทะเลเมืองต่ำ” สิ่งที่สะดุดตาแอดมากคือ พญานาคภายในปราสาทเมืองต่ำ ที่มีลักษณะไม่เหมือนที่ไหน เพราะเป็นพญานาคที่ไม่มีหงอน ไม่มีเครื่องประดับศีรษะ ไม่ได้ชำรุดหรือว่าเสียหายแต่อย่างใด แต่เป็นการสลักพญานาคตามศิลปะแบบบาปวนนั่นเอง  ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์  เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-18.00 น.  044 666 251-2 (อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง) https://goo.gl/maps/92UhWwjtSuewZT8a9 ชุมชนบ้านเจริญสุข

✨ เที่ยวเมืองปราสาทหินถิ่นอีสานใต้ ณ บุรีรัมย์ ✨ อ่านเพิ่มเติม

🌾 แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม (Satom Organic Farm) 🌾

#สุรินทร์ เป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อว่ามีข้าวหอมมะลิแสนอร่อย ไม่ว่าจะไปรับประทานอาหารร้านไหนในจังหวัดสุรินทร์ก็ต้องฟินกับข้าวสวยร้อน ๆ แทบทุกร้าน แต่เชื่อไหมว่า ข้าวหอมมะลิ ยังมีแยกประเภทย่อยลงไปอีก วันนี้ แอดเลยจะพาเพื่อน ๆ ไปเรียนรู้ พร้อมสัมผัสวิถีแห่งเกษตรอินทรีย์ นำสู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน ที่ แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม #แซตอมออร์แกนิคฟาร์ม‘ 📍 174 หมู่ 1 ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ 📞 061 165 1848, 089 474 0199 🌐 https://goo.gl/maps/hfxQ7rGDMDNR4PtK9 📲 ช่องทางติดต่อแบบออนไลน์ https://bit.ly/3lpTBhW แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม เป็นทั้งแหล่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ โดยเน้นที่ข้าวพื้นเมือง และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว  “แซตอม” เป็นภาษาพื้นเมืองชาวกวย หรือ กูย ในจังหวัดสุรินทร์ แปลว่า “นาที่ตั้งอยู่ริมห้วย” เพราะบริเวณทุ่งแซตอมเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำลำชี มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำการเกษตร ในอดีต ชุมชนแถบนี้ทำเกษตรกรรมโดยใช้ปุ๋ยเคมี รวมทั้งใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวัชพืชต่าง ๆ จนเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงตัวเกษตรกรและผู้บริโภค จากสาเหตุนี้ ทางแซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม จึงเริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์ และกลายเป็น วิสาหกิจชุมชน มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ และไม่เพียงแค่ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ แต่ยังส่งเสริมให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย  รอบ ๆ บริเวณนี้เป็นทุ่งนา หากใครมาไม่ทันช่วงที่ทุ่งนาเขียวขจี ก็ไม่ต้องเสียใจไปนะ ยังมีทุ่งปอเทืองที่ปลูกไว้หลังเก็บเกี่ยวให้เพื่อน ๆ ได้ชม ถ่ายรูปสวย ๆ และยังมีจักรยานให้ยืมปั่นฟรีด้วยนะ วันที่แอดไป แอดได้ลองรับประทาน “ข้าวยำกุ้งจ่อม” ด้วยนะ เป็นเมนูที่ใช้กุ้งฝอยหมักเกลือเก็บไว้จนเปรี้ยวได้ที่แล้วนำมาปรุงสุก ผัดใส่ข่าอ่อน จากนั้น นำมาคลุกกับข้าวกล้องผกาอำปึล โรยสมุนไพรต่าง ๆ เสิร์ฟคู่กับผักสด อร่อยจนลืมไม่ลงเลยล่ะ ที่นี่มีส่วนของที่พักด้วย เพื่อน ๆ สามารถมาพักที่ “แซตอม ฟาร์มสเตย์” ดื่มด่ำบรรยากาศทุ่งแซตอมได้ตลอดทั้งปี ในตอนกลางคืน ก็มีหิ่งห้อยรอบ ๆ คูน้ำให้เราได้ชมแสงระยิบระยับ ใครที่ติดใจข้าวแสนอร่อยของที่นี่ก็สามารถซื้อกลับไปหุงรับประทานกันที่บ้านได้ แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม มีผลิตภัณฑ์จากข้าวมากมายหลายชนิด ทั้ง ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มะลินิลสุรินทร์ มะลิโกเมนสุรินทร์ ข้าวผกาอำปึล ข้าวเหนียวแดง รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปอย่าง “สาโท” ที่ปัจจุบันสามารถวางจำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพิ่มมูลค่าให้กับข้าวได้อย่างดี เพื่อน ๆ ที่สนใจไปเยี่ยมชม ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับทางแซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม ได้โดยตรง นอกจากนี้ สำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจกิจกรรมท่องเที่ยวอื่น ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม ยังช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนบริเวณใกล้เคียงให้เพื่อน ๆ ได้ไปเพลิดเพลินกันด้วย เช่น การพายเรือคายัคในลุ่มแม่น้ำชี อาบน้ำให้ช้าง ชมปราสาทหินจอมพระ เยี่ยมชมหมู่บ้านทอผ้าไหม เป็นต้น

🌾 แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม (Satom Organic Farm) 🌾 อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาไฟกระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ 🌱

จังหวัดบุรีรัมย์แห่งดินแดนอีสาน เป็นจังหวัดที่น่าสนใจและโดดเด่นในหลาย ๆ ด้าน ทั้งประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ กีฬา เรียกว่ามีครบเลยค่ะ หนึ่งในจุดหมายที่แอดว่าน่าสนใจมาก และอยากแนะนำให้รู้จักก็คือ “ภูเขาไฟกระโดง” ในบุรีรัมย์มีภูเขาไฟที่ดับแล้วหลายแห่ง “ภูเขาไฟกระโดง” เป็นภูเขาไฟที่อายุน้อยที่สุด คือมีอายุประมาณ 6 แสนถึง 9 แสนปี เดิมชาวบ้านเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “พนมกระดอง” คำว่า “พนม” เป็นภาษาเขมร แปลว่า ภูเขา ส่วน “กระดอง” ก็คือ กระดองเต่า เพราะมีลักษณะคล้ายกระดอง ต่อมาได้เพี้ยนเป็นคำว่า กระโดง ในปัจจุบันนั่นเอง ที่ภูเขาไฟกระโดงยังมีร่องรอยปากปล่องภูเขาไฟเก่าให้เห็นอย่างชัดเจน โดยมีสภาพเป็นเหมือนแอ่งน้ำ ปัจจุบันมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม สร้างสะพานและทางเดินให้ชมธรรมชาติได้สะดวก นักท่องเที่ยวจะเพลิดเพลินมากทีเดียว เพราะจุดนี้ยังเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีทั้งพันธุ์ไม้หายากและสัตว์ป่า ใครได้แวะมาเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ ต้องลองไปกันดูนะคะ ไฮไลท์จุดหนึ่งบนภูเขาไฟกระโดงก็คือ “สะพานแขวนลาวา” เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบมาก เพราะสามารถมองลงไปเห็นปากปล่องภูเขาไฟได้อย่างใกล้ชิด และเป็นจุดถ่ายรูปยอดฮิตที่ใครมาก็ต้องเก็บภาพไปสักรูปหนึ่ง ส่วนบนยอดเขากระโดงเป็นที่ประดิษฐานพระสุภัทรบพิตร พระพุทธรูปใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ หากมองลงไปด้านล่างจะเห็นสนามไอโมบายสเตเดียมชัดเจนทีเดียว ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี จะมีงานประเพณีขึ้นเขากระโดงอีกด้วย  การเดินทางขึ้นเขากระโดง เราสามารถขึ้นได้ 2 แบบ คือเดินขึ้นบันไดจำนวน 297 ขั้น หรือขับรถยนต์ขึ้นไป แต่ต้องระมัดระวังการขับขี่หน่อยนะคะ เนื่องจากเป็นถนนเดินรถทางเดียว วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม 0 4463 7349 https://goo.gl/maps/WeKzup9CEDeq51eG6

ภูเขาไฟกระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ 🌱 อ่านเพิ่มเติม

ทำความรู้จัก…ทุเรียนอีสานใต้

รู้หรือไม่ ภาคอีสานก็ปลูกทุเรียนเหมือนกันนะ เพื่อน ๆ อาจจะคุ้นเคยกับทุเรียนภูเขาไฟของจังหวัดศรีสะเกษ และอาจจะยังไม่รู้ว่าจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์ก็มีทุเรียนอร่อย ๆ ให้ชิม ได้แก่– บุรีรัมย์ – ทุเรียนน้ำแร่– สุรินทร์ – ทุเรียนเมืองช้าง– ศรีสะเกษ – ทุเรียนภูเขาไฟ ทุเรียนน้ำแร่ จังหวัดบุรีรัมย์.“ทุเรียนน้ำแร่ธรรมชาติ ดินภูเขาไฟบุรีรัมย์” เป็นทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่ที่มีดินภูเขาไฟและมีน้ำแร่อยู่ใต้ดิน ทุเรียนจึงมีการเจริญเติบโตดี เนื้อนุ่ม รสชาติหวานมันเป็นเอกลักษณ์ โดยจังหวัดบุรีรัมย์มีการปลูกทุเรียนในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอปะคำ และอำเภอบ้านกรวด.ใครอยากชิมทุเรียนน้ำแร่ของบุรีรัมย์ แอดมีรายชื่อสวนมาให้แล้ว สามารถโทรไปสอบถามและจับจองกันได้เลยค่ะ สวนปลวกทอง อำเภอโนนสุวรรณโทร. 095 614 1218.สมหมาย ฟาร์ม อำเภอโนนสุวรรณโทร. 062 389 5285Facebook : Sommai Farm.สวนลุงคำพันธุ์โทร. 082 148 8869Facebook : สวนเงาะ ทุเรียน ลุงคำพันธุ์ Buriram.สวนทุเรียนสามดอ อำเภอปะคำโทร. 084 900 8184 (แม่ผ่องศรี เด็ดดวงรัมย์).สวนทุเรียนบิ๊กเบนซ์ อำเภอปะคำโทร. 061 102 6616/ 09 3429 2535.สวนทุเรียนป๋าเบิ้ม อำนวย พาลัง อำเภอโนนสุวรรณโทร. 096 236 3744.สวนยายเฑียร ทุเรียนน้ำแร่ อำเภอโนนสุวรรณโทร. 081 790 9951.ไร่นายตะวัน อำเภอโนนสุวรรณโทร. 082 027 7413.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานบุรีรัมย์ โทร. 044 634 722-3.ขอบคุณรูปภาพจาก ททท.สำนักงานบุรีรัมย์ ทุเรียนเมืองช้าง จังหวัดสุรินทร์.เมืองสุรินทร์ไม่ได้มีแค่ช้าง แต่มีทุเรียนด้วยนะ ทุเรียนเมืองช้างมีความกรอบนอกนุ่มใน หอมหวานละมุนลิ้น กินแล้วจะต้องติดใจ พื้นที่ปลูกทุเรียนในจังหวัดสุรินทร์ มี 7 อำเภอ คือ อำเภอบัวเชด อำเภอกาบเชิง อำเภอศีขรภูมิ อำเภอพนมดงรัก อำเภอสังขะ และ อำเภอปราสาท.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ททท.สำนักงานสุรินทร์ (ดูแลพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ)โทร. 044 514 447-8 . ขอบคุณรูปภาพจาก ททท. สำนักงานสุรินทร์ ทุเรียนภูเขาไฟ จังหวัดศรีสะเกษ.เป็นทุเรียนที่มีความกรอบนอก นุ่มใน ละมุนลิ้น กลิ่นไม่ฉุนมาก เพราะปลูกในพื้นที่ที่เคยเป็นภูเขาไฟ ดินจึงมีแร่ธาตุอยู่มาก  โดยพื้นที่ที่ปลูกทุเรียนมากเป็นอันดับต้น ๆ ของจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอขุนหาญ อำเภอศรีรัตนะ.ใครอยากลิ้มรสความอร่อยของทุเรียนภูเขาไฟ สามารถสั่งออนไลน์ได้ที่ www.lavadurian.comเว็บไซต์ซื้อขายทุเรียนภูเขาไฟออนไลน์ ที่มีร้านค้าให้เลือกกว่า 37 ร้าน กดสั่งไม่กี่คลิก ก็รอรับทุเรียนอร่อย ๆ มาส่งถึงบ้านได้เลย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ททท.สำนักงานสุรินทร์ (ดูแลพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ)โทร. 044 514 447-8.ขอบคุณรูปภาพจาก ททท. สำนักงานสุรินทร์

ทำความรู้จัก…ทุเรียนอีสานใต้ อ่านเพิ่มเติม

10 จุดชมความงาม ยามอาทิตย์อัสดง

1. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จุดเด่นของวัดแห่งนี้คือ “พระปรางค์” ซึ่งมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สวยงามโดดเด่นที่สุดวัดหนึ่งของไทย หากมองจากฝั่งพระนครไปยังวัดอรุณฯ ในช่วงพลบค่ำ ก็จะเห็นภาพดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่ด้านหลังของพระปรางค์พอดิบพอดี องค์ประกอบต่างๆ ล้วนทำให้เกิดเป็นภาพที่สวยงามลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์ วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหารที่ตั้ง : ถ.วังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานครเปิดทุกวัน เวลา 8.30-17.30 น. 2. วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ในช่วงปีที่ผ่านมา วัดไชยวัฒนารามเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต เนื่องจากเป็นฉากหนึ่งในละครเรื่องบุพเพสันนิวาสทีโด่งดังไปทั่ว ทำให้มีผู้คนเดินทางมาตามรอยละครกันมากมาย วัดไชยวัฒนาราม เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยจำลองรูปแบบการก่อสร้างมาจากปราสาทนครวัด มีพระปรางค์องค์ใหญ่เป็นประธานของวัด และมีปรางค์บริวารอยู่ที่มุมทั้ง 4 รอบพระปรางค์ล้อมรอบด้วยระเบียงคด ซึ่งมีเมรุทิศ เมรุราย อยู่ที่มุมและด้านของระเบียงคด นับเป็นโบราณสถานที่สวยงามตระการตาอีกแห่งหนึ่ง ในยามเย็นช่วงพระอาทิตย์ตกดิน แสงที่สาดส่องมายังโบราณสถาน ทำให้เกิดมุมมองที่แปลกตา สวยงามไม่แพ้กลางวันเลย วัดไชยวัฒนารามที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยาเปิดทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. 3. ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ หลายๆ คนอาจจะตั้งตารอชมปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตู ซึ่งใน 1 ปีจะเกิดขึ้นเพียง 4 ครั้งเท่านั้น แต่วันนี้แอดอยากจะบอกว่า ไม่ต้องรอให้ถึงช่วงเวลานั้น เราก็มีรูปสวยๆ ไปอวดเพื่อนๆ ได้เหมือนกัน ยามดวงอาทิตย์คล้อยลงต่ำ เตรียมจะลาลับขอบฟ้า เงาของปราสาทจะบดบังดวงอาทิตย์ ทำให้ปราสาทดูลึกลับและเต็มไปด้วยมนต์ขลังมากยิ่งขึ้น ปราสาทหินพนมรุ้งที่ตั้ง : ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์เปิดทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. 4. สะพานแขวนสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จ.ตาก สะพานแห่งนี้ถือเป็นจุดชมวิวแม่น้ำปิงที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของ จ.ตาก เลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะช่วงที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก เราจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ตรงกับแนวสะพานพอดี เป็นภาพที่สวยงามมากๆ นอกจากนี้ ในช่วงเทศกาลลอยกระทงของทุกปี บริเวณสะพานแห่งนี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครอีกด้วย สะพานแขวนสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีที่ตั้ง : อ.เมือง จ.ตาก 5. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จ.สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มรดกโลกที่สำคัญของไทย ร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัยเมื่อกว่า 700 ปีก่อน ภายในอุทยานฯ เต็มไปด้วยโบราณสถานมากมายที่แม้จะปรักหักพังแต่ก็เต็มไปด้วยคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์และทางจิตใจ ในช่วงเวลาโพล้เพล้ บริเวณสระน้ำหน้าวัดมหาธาตุนี่แหละคือสถานที่ยอดนิยมสำหรับนักถ่ายภาพ ภาพความยิ่งใหญ่ของโบราณสถานยามอาทิตย์อัสดงที่สะท้อนลงบนผิวน้ำนั้น งดงามเกินบรรยายจริงๆ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยที่ตั้ง : ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัยเปิดทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. 6. กว๊านพะเยา จ.พะเยา กว๊านพะเยาเป็นบึงน้ำที่เกิดจากการรวมตัวของลำห้วยต่างๆ ถึง 18 สาย เป็นบึงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ และใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลากว่า 50 ชนิดด้วย คำว่า “กว๊าน” หมายถึง หนองน้ำ หรือบึงน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นคำที่ใช้เฉพาะที่จังหวัดพะเยาแห่งเดียวเท่านั้น ทัศนียภาพรอบกว๊านร่มรื่น มองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อนสวยงาม บริเวณริมกว๊านมีร้านอาหารและสวนสาธารณะ ซึ่งสามารถมาเดินเล่น หรือชมพระอาทิตย์ตกดินได้ มีบริการนั่งเรือพายชมทัศนียภาพกว๊านพะเยาด้วย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท กว๊านพะเยาที่ตั้ง : ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา 7. ประภาคาร จ.ระนอง ประภาคารแห่งนี้ ตั้งอยู่บริเวณท่าเทียบเรือด่านศุลกากรระนอง เป็นอาคารแปดเหลี่ยม สูง 50 เมตร ถือว่าเป็นประภาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย ประภาคารมีทั้งหมด 9 ชั้น โดยชั้นที่ 9 เป็นจุดชมวิวที่สามารถชมสวยงามของปากน้ำระนอง ก่อนไหลออกสู่ทะเลอันดามัน โดยอีกฟากฝั่งของแม่น้ำก็คือประเทศเมียนมานั่นเอง ใกล้มากๆ ในช่วงเย็น สถานที่แห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่เราสามารถมาเดินเล่น พักผ่อนหย่อนใจ รับลมเย็นๆ และถ่ายรูปเล่นได้อีกด้วย บอกเลยว่าภาพประภาคารที่มีภูเขาและดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นฉากหลังนั้น สวยงามไม่แพ้ที่ไหนๆ เลย ประภาคาร จ.ระนองที่ตั้ง : บ้านเขานางหงส์ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระนองเปิดทุกวัน เวลา 8.00-20.00 น. 8. สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.พัทลุง รู้หรือไม่..สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.พัทลุง เป็นสะพานที่ยาวที่สุดของประเทศไทยในขณะนี้ สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมเส้นทางระหว่าง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และ อ.ระโนด จ.สงขลา เข้าด้วยกัน โดยทอดยาวผ่านทะเลน้อยอันกว้างใหญ่ ทัศนียภาพโดยรอบสะพานเป็นเวิ้งน้ำกว้างไกล สามารถมองเห็นทะเลบัวแดงในช่วงเช้า ส่วนช่วงสายก็จะพบกับนกน้ำที่ออกหากิน และถ้าโชคดีก็อาจได้พบควายน้ำด้วย ไฮไลท์อีกอย่างของที่นี่คือ ในช่วงเย็นเส้นทางนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นจุดถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาที่ตั้ง : ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 9. เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี เกาะเต่า จุดดำน้ำที่มีชื่อเสียงระดับโลก เนื่องจากมีแนวปะการังทั้งน้ำตื้นและน้ำลึกที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของปลาหลากหลายชนิด เกาะเต่ามีหาดทรายขาวละเอียดและสะอาดสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นเกาะที่เงียบสงบ ผู้คนไม่พลุกพล่าน เกาะเต่าจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่ต้องการการพักผ่อนอย่างแท้จริง ถึงแม้เกาะเต่าจะตั้งอยู่ในเขต จ.สุราษฎร์ธานี แต่เนื่องจากอยู่ใกล้ฝั่งของ จ.ชุมพรมากกว่า นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะเต่าจึงนิยมขึ้นเรือจากชุมพรเป็นส่วนใหญ่ เกาะเต่าที่ตั้ง : อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี 10.

10 จุดชมความงาม ยามอาทิตย์อัสดง อ่านเพิ่มเติม

บาราย…บ่อน้ำโบราณคู่ปราสาทขอม

บาราย…บ่อน้ำโบราณคู่ปราสาทขอม.เคยสังเกตกันไหม เวลาไปเที่ยวตามปราสาทหินต่าง ๆ เรามักจะเห็นบ่อน้ำหรือสระน้ำลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่า “บาราย” อยู่ด้วยเสมอ ซึ่งปราสาทหินและบารายที่เป็นศิลปะแบบขอมนี้ พบเห็นได้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและประเทศกัมพูชา ผู้ที่สนใจศิลปะขอมอาจรู้คำตอบอยู่แล้วว่า บารายเหล่านี้มีบทบาทอย่างไร แต่สำหรับผู้ที่ยังสงสัยอยู่นั้น แอดมีข้อสรุปบทบาทและประโยชน์ของบารายสั้น ๆ พอเป็นเกร็ดความรู้ให้เพื่อน ๆ ได้พินิจปราสาทหินได้สนุกขึ้นมาฝาก 1.เรื่องคติความเชื่อบารายแต่ละแห่งอาจจะมีขนาดที่แตกต่างกัน แต่ทุกแห่งล้วนสัมพันธ์กับเรื่องคติความเชื่อ จากมุมมองความเชื่อในวัฒนธรรมเขมร สันนิษฐานว่า “บาราย” เป็นตัวแทนแห่งมหาสมุทร หรือทะเลสีทันดรที่ล้อมรอบแกนกลางของจักรวาล คือ เขาพระสุเมรุ 2.เรื่องการป้องกันน้ำท่วมบารายบางแห่งถูกสร้างเพื่อใช้ป้องกันน้ำท่วมในตัวเมือง และท่วมพื้นที่ทำนาในช่วงฤดูฝน โดยใช้บารายเป็นที่พักน้ำ จากนั้นค่อย ๆ ปล่อยสู่ทะเลสาบ 3.เรื่องการเพาะปลูกชุมชนโบราณส่วนใหญ่จะมีอาชีพเพาะปลูก ดังนั้นการสร้างบารายเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เพาะปลูกจึงจำเป็นอย่างมาก พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางแห่งก็ยังแสดงให้เห็นว่าบารายได้ถูกนำมาใช้จริง เนื่องจากมีการวางแปลงนาเป็นตารางเชื่อมกับบาราย ตัวอย่างเช่นบารายเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ 4.เรื่องการอุปโภคบริโภคสันนิษฐานว่ามีการนำน้ำในบารายไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากพื้นที่บางแห่งไม่มีแหล่งน้ำ บารายหลายแห่งจึงถูกนำมาใช้สำรองน้ำไว้ใช้ในยามจำเป็น. ไปเที่ยวที่ไหนอย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย และพกเจลล้างมือติดตัวไปด้วยนะ.สอบถามข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติมCall Center 1672IG : 1672travelbuddyTwitter : tat1672Line : @tatcontactcenterWeChat : VisitThailand

บาราย…บ่อน้ำโบราณคู่ปราสาทขอม อ่านเพิ่มเติม

รื่นรมย์บุรีรัมย์ 2 วัน 1 คืน

วันที่ 1– ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์– เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูเขาไฟกระโดง– บุรีรัมย์ คาสเซิล– วัดป่าเขาน้อย.วันที่ 2– เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก– อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง– ปราสาทหินเมืองต่ำ วันที่ 1ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์.เป็นศาลหลักเมืองที่มีความโดดเด่นมาก มองครั้งแรกก็รู้ว่าที่นี่คือบุรีรัมย์ เป็นการออกแบบจากกรมศิลปากรโดยนำปราสาทหินพนมรุ้งมาเป็นต้นแบบ เพื่อเชิดชูเอกลักษณ์ของจังหวัด ศาลหลักเมืองที่เราเห็นปัจจุบันเป็นหลังใหม่ที่สร้างขึ้นมาทดแทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมไป ภายในประดิษฐานเสาหลักเมืองถึง 2 เสาด้วยกัน สันนิษฐานว่า เสาหลักเมืองต้นด้านหน้า (ต้นที่เอียง) เป็นเสาหลักเมืองต้นแรก ตั้งขึ้นเมื่อครั้งสร้างเมืองแปะ ราวสมัยกรุงธนบุรี ส่วนเสาหลักเมืองต้นด้านหลัง เป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อครั้งถูกยกฐานะให้เป็นจังหวัดบุรีรัมย์ ในช่วงรัชกาลที่ 5 สมัยรัตนโกสินทร์.ทุกวัน จะมีชาวบุรีรัมย์และนักท่องเที่ยวต่างเมืองแวะเวียนมาสักการะบูชาศาลหลักเมืองกันอย่างต่อเนื่อง.ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ที่ตั้ง : ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 08.00-17.00 น.พิกัด : https://goo.gl/maps/QsDwU59xTqhHyLXh8 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูเขาไฟกระโดง.จังหวัดบุรีรัมย์ มีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว 8 ลูก หนึ่งในนั้นคือ “ภูเขาไฟกระโดง” นี่แหละ.ภูเขาไฟกระโดง สูงจากระดับน้ำทะเล 265 เมตร เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว แต่ยังปรากฏปากปล่องภูเขาไฟที่เห็นได้ชัดเจน เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก ปัจจุบันมีสภาพเป็นแอ่งน้ำ.เดิมเขาลูกนี้ชื่อว่า “พนมกระดอง” คำว่า “พนม” เป็นภาษาเขมร แปลว่า ภูเขา ส่วน “กระดอง” ก็คือ กระดองเต่า รวมแล้วก็แปลว่า ภูเขาที่คล้ายกระดองเต่า หรือ ภูเขากระดอง และเพี้ยนเป็น ภูเขากระโดง ในเวลาต่อมา บนปากปล่องภูเขาไฟ มีสะพานชื่อว่า “สะพานแขวนลาวา” สามารถไปยืนถ่ายรูปสวย ๆ ด้านบน และยังสามารถชมปากปล่องภูเขาไฟได้อีกด้วย นอกจากนี้ บนภูเขาไฟกระโดงยังมีความน่าสนใจอื่น ๆอีก อันได้แก่ พระสุภัทรบพิตร ปราสาทเขากระโดง พระพุทธบาทจำลอง ฯลฯ รวมทั้งเป็นจุดชมวิวเมืองบุรีรัมย์ในมุมสูงที่สวยงามมาก ๆ จุดหนึ่งทีเดียว.ภูเขาไฟกระโดง สามารถขึ้นได้ 2 วิธีคือ โดยการเดินขึ้นบันได ที่เรียกว่า “บันไดนาคราช” จำนวน 297 ขั้น หรืออีกหนึ่งวิธีคือนำรถขึ้นไปจอดบริเวณจุดชมวิวด้านบนได้เลย.นอกจากนี้ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี จะมีงานประเพณีขึ้นเขากระโดงอีกด้วย.เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูเขาไฟกระโดง ที่ตั้ง : ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชมโทร. 044 637 349: https://goo.gl/maps/WeKzup9CEDeq51eG6 บุรีรัมย์ คาสเซิล.บุรีรัมย์ คาสเซิล เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัด ตั้งอยู่ระหว่าง สนามฟุตบอลช้างอารีนา และสนามแข่งรถช้าง อินเตอร์ เนชั่นแนล เซอร์กิต ภายในเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ขนาดใหญ่ ออกแบบโดยอิงรูปแบบจากหมูบ้านที่ตั้งอยู่รายรอบปราสาทหินในอดีต กลางคอมมูนิตี้มอลล์ มีการสร้างปราสาทหินที่จำลองรูปแบบของปราสาทหินพนมรุ้งมาไว้ด้วย โดยในช่วงเย็นถึงค่ำ จะมีการเปิดไฟส่องสว่างรอบปราสาท สวยงามมากเลยล่ะ.บุรีรัมย์ คาสเซิลแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็นส่วนต่าง ๆ เช่น สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ฯลฯ รวมทั้งตลาดนัด “อินดี้ มาร์เก็ต” ที่เปิดให้ชิมและช้อปเฉพาะในวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 15.00-21.00 น..บุรีรัมย์ คาสเซิล ที่ตั้ง : ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 10.00-21.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชมโทร. 093 559 5588พิกัด : https://goo.gl/maps/WeKzup9CEDeq51eG6 วัดป่าเขาน้อย.วัดป่าเขาน้อย เป็นวัดป่ากรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พัฒนาขึ้นตามปณิธานของพระโพธิธรรมาจารย์เถร หรือหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ อดีตเจ้าอาวาสและวิปัสสนาจารย์ผู้เป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน.เมื่อเข้ามาในบริเวณวัด สิ่งที่สะดุดตาที่สุดก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ศรีสุวจนคุณานุสรณ์ เป็นเจดีย์ที่มีศิลปกรรมโดดเด่น งดงาม ใหญ่โต มีรูปทรงคล้ายปราสาทหิน ที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมของอีสานใต้.ภายในพระบรมธาตุเจดีย์ศรีสุวจนคุณานุสรณ์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและอัฐิธาตุของหลวงปู่สุวัจน์.ในวันสำคัญทางศาสนา และในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ประชาชน และผู้ที่มีจิตศรัทธานิยมเข้ามาบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน บำเพ็ญจิตตภาวนา ภายในวัดแห่งนี้อยู่เสมอ.วัดป่าเขาน้อย ที่ตั้ง : ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-18.00 น.พิกัด : https://goo.gl/maps/5N8MmZzicDB8sm4o6 วันที่ 2เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก.เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก เดิมเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 มีการทำคันกั้น จึงทำให้กลายเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จากสภาพพื้นที่ที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีความร่มรื่นสมบูรณ์ ทำให้มีนกหลากหลายสายพันธุ์มาอาศัยอยู่ เช่น นกกระสา นกกระยาง เป็ดน้ำ ฯลฯ และที่สำคัญคือ ที่นี่ยังเป็นศูนย์อนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยอีกด้วย.ในอดีตนกกระเรียนพันธุ์ไทยเคยสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในประเทศไทย ต่อมาทางองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันนำพ่อแม่นกกระเรียนพันธุ์ไทยที่หายาก มาเพาะในกรงเลี้ยง จากนั้นนำปล่อยสู่ธรรมชาติ โดยปล่อยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 จนปัจจุบัน ได้ปล่อยนกคืนสู่ธรรมชาติแล้วนับร้อยตัว จากการเฝ้าติดตาม พบว่าบางส่วนของนกกระเรียนเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในธรรมชาติได้ รวมทั้งพบว่ามีลูกนกกระเรียนเกิดในธรรมชาติมากกว่าสิบตัว อันเป็นสัญญาณดีที่แสดงให้เห็นว่า นกกระเรียนพันธุ์ไทยได้หวนคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้งหลังจากที่เคยสูญพันธุ์ไปนานกว่า 50 ปีทีเดียว.ในบริเวณศูนย์อนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทย จะมีจุดดูนก อุปกรณ์ดูนก และเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับนกกระเรียนพันธุ์ไทยไว้ให้บริการ ซึ่งเวลาที่เหมาะกับการไปดูนกก็คือ 06.00 – 09.00 น. และ 15.00-18.00 น..นอกจากนี้ ในทุกวันจะมีผู้คนทั้งจากบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง แวะเวียนมาปั่นจักรยาน เดิน วิ่ง ออกกำลังกาย นั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มากอยู่เสมอ.เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก ที่ตั้ง : ต.บ้านบัว อ.เมือง จ.บุรีรัมย์เปิดให้บริการทุกวัน

รื่นรมย์บุรีรัมย์ 2 วัน 1 คืน อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top