สถานที่ท่องเที่ยว

เพื่อนร่วมทางพา Go Local : แม่กำปอง ลองแล้วจะรัก

เพื่อนร่วมทาง พา Go Local : แม่กำปอง ลองแล้วจะรัก แม่กำปองเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ตั้งอยู่บนหุบเขา ในอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติ สามารถมาเที่ยวได้ทั้งปี (ภาพนี้ถ่ายจากจุดชมวิวหมู่บ้านแม่กำปอง) การเดินทาง– จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1141 ตรงต่อไปยังทางหลวงหมายเลข 1317 จากนั้นวิ่งเข้าทางหลวงหมายเลข 3005 ไปทางตำบลห้วยแก้ว ทางศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก จนถึงหมู่บ้านแม่กำปอง ระยะทางรวม 55 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง – จากตัวเมืองเชียงใหม่ ทางฝั่งถนนช้างเผือกและตลาดวโรรส ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 118 (เชียงใหม่-ดอยสะเก็ด) แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3005 ก็ได้เช่นกัน ใครๆ ก็มาเที่ยวแม่กำปอง แต่หลายคนมาไม่ถึงที่นี่ “วัดคันธาพฤกษา” (วัดแม่กำปอง) แหล่งท่องเที่ยวสุด Unseen  วัดคันธาพฤกษาเป็นวัดเก่าแก่ของชุมชน ตั้งอยู่ท่ามกลางผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นอยู่ที่อุโบสถซึ่งตั้งอยู่กลางลำธารธรรมชาติของสายน้ำแม่กำปองที่ไหลผ่านหมู่บ้าน โดยอุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นตามดำริของเจ้าอาวาสรูปแรกที่ต้องการให้มีอุโบสถกลางน้ำตามคติของลังกา ซึ่งใช้น้ำเป็นขอบเขตของการทำสังฆกรรมเช่นเดียวกับการปักใบเสมารอบอุโบสถนั่นเอง สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของที่นี่ก็คือ วิหารที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง แกะสลักลวดลายงดงามตามแบบล้านนา หลังคาวิหารปกคลุมไปด้วยตะไคร่น้ำและมอสสีเขียวเต็มไปหมด เนื่องจากสภาพความชื้นและอากาศที่เย็นตลอดทั้งปีของบ้านแม่กำปองนั่นเอง ดูสวยงามและมีมนต์ขลังมากๆ มาเที่ยวแม่กำปองช่วง Green Season ทั้งที ต้องไม่พลาดมาเล่น มาแช่ และมาถ่ายภาพสวยๆ กันที่ “น้ำตกแม่กำปอง” แหล่งน้ำที่สำคัญของชุมชน น้ำตกน้ำจะไหลลงมาเป็นสายต่อเนื่องไปเป็นลำธารให้ชาวบ้านได้ใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค และใช้ในการเกษตรกันด้วย น้ำตกแม่กำปองมีทั้งหมด 7 ชั้นด้วยกัน แต่น้ำตกชั้นบนๆ มีความลาดชันมากจึงไม่สามารถเล่นน้ำได้ ใครอยากเล่นน้ำชิลล์ๆ แนะนำให้เล่นได้ที่แอ่งน้ำของน้ำตกชั้นล่างๆ เลย บรรยากาศร่มรื่นมาก บ้านแม่กำปอง มีชาวบ้านเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันกว่า 100 ปีแล้ว ส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอดอยสะเก็ด เพื่อเข้ามาทำสวนเมี่ยงเป็นอาชีพ  ใบเมี่ยงกับวิถีชีวิตของชาวบ้านแม่กำปองนั้นแยกออกจากกันไม่ได้จริงๆ เพราะนอกจากการทำสวนเมี่ยงจะเป็นหนึ่งในอาชีพหลักของที่นี่แล้ว ชาวบ้านก็ยังชอบกินเมี่ยงคู่กับชากาแฟอีกด้วย จนเป็นที่มาของคำว่า “จิบชา ชิมเมี่ยง” ซึ่งชาของบ้านแม่กำปองนั้นจะมีมีรสชาติหวานหอมละมุนลิ้น เมื่อทานคู่กับเมี่ยงหมักจะทำให้กลมกล่อมมากขึ้น นอกจากนี้คนเก่าคนแก่ของหมู่บ้านยังเล่าให้เราฟังอีกด้วยว่า เมื่อก่อนในบริเวณหมู่บ้านจะมีดอกไม้ชนิดหนึ่ง มีสีเหลืองแดงขึ้นอยู่ตามริมลำธาร เรียกว่า “ดอกกำปอง” หมู่บ้านแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “บ้านแม่กำปอง” ตามชื่อของดอกไม้นั่นเอง พามาดูผลิตภัณฑ์ของชุมชนกันบ้าง…ที่บ้านแม่กำปองมีผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่ออยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น กาแฟสดอราบิก้า ชาเขียวใบเมี่ยง สมุนไพรพื้นบ้าน น้ำผึ้งธรรมชาติ เครื่องจักสาน เครื่องเรือนไม้ไผ่ และหมอนสมุนไพรใบชา แต่ที่แอดภูมิใจนำเสนอก็คือ “หมอนสมุนไพรใบชา” หมอนสมุนไพรใบชา ถือเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ขายดิบขายดี ใครมาก็ต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านไปเป็นของฝากกันทั้งนั้น  หมอนใบชาเกิดจากภูมิปัญญาของกลุ่มแม่บ้านแม่กำปอง ที่นำเอาใบชาแก่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้วมาเพิ่มมูลค่า โดยขั้นตอนเริ่มจากนำใบชาแก่มาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำไปอบแห้งอีกครั้งเพื่อไล่ความชื้น และนำมาเย็บใส่เป็นไส้หมอนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหมอนอิง หมอนข้าง หมอนรองคอ หรือเย็บเป็นถุงดับกลิ่นอับชื้นในรถหรือในตู้เสื้อผ้าได้อีกด้วย  ลักษณะเด่นของหมอนใบชาก็คือจะมีกลิ่นหอม ช่วยให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย และทำให้หลับสบายอีกด้วย

เพื่อนร่วมทางพา Go Local : แม่กำปอง ลองแล้วจะรัก อ่านเพิ่มเติม

สุขกลางใจใกล้แค่เอื้อมที่ ป่าโมก จังหวัดอ่างทอง

สุขกลางใจใกล้แค่เอื้อมที่ ป่าโมก จังหวัดอ่างทอง  จังหวัดอ่างทอง เพียงอำเภอป่าโมกที่เดียวมีสถานที่ท่องเที่ยวให้ได้สัมผัส ที่ไม่ควรพลาด โดยเฉพาะแหล่งผลิตงานหัตถกรรมคุณภาพหลายรูปแบบ สักการะพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก ก่อนไปเที่ยวและเลือกซื้องานหัตถกรรมขึ้นชื่อของอำเภอป่าโมก ควรมาสักการะพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เทศบาลเมืองป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง พระปางไสยาสน์พุทธลักษณะงดงามศิลปะสมัยสุโขทัย มีเรื่องกล่าวขานจากในอดีตว่ามีเสียงพูดจากพระอุระ (อก) ของพระพุทธรูป โดยพระสงฆ์และชาวบ้านป่าโมกได้นำหนังสือเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระองค์ทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุประพาสต้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่าขาน ตำนาน หรือนิทานของแต่ละสถานที่ ย่อมสร้างสีสันจินตนาการเติมแต่งให้ทั้งความรู้และความสนุกสนานในการไปท่องเที่ยวยิ่งขึ้น บริเวณลานริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา วัดป่าโมกวรวิหาร มีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งจังหวัดอ่างทองสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และมีการจัดพิธีถวายราชสักการะในวันกองทัพไทย ช่วงวันที่ ๑๘ มกราคมของทุกปี พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เทศบาลเมืองป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เทศบาลเมืองป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ชมและซื้องานหัตถกรรม อำเภอป่าโมก  หมู่บ้านทำกลอง อยู่ด้านหลังตลาดป่าโมก ตำบลเอกราช ตลอดถนนสายในผ่านหน้าที่ทำการเทศบาลอำเภอป่าโมกขนานกับลำคลอง เป็นร้านขายกลองเป็นระยะเมื่อมาเดินถนนสายนี้สามารถชมขั้นตอนการทำกลองชนิดต่าง ๆ จะเห็นกลองหลากสีสัน ตั้งแต่กลองขนาดใหญ่ถึงกลองขนาดเล็ก ๆ ซึ่งซื้อเป็นของที่ระลึกได้ ที่นี่เป็นแหล่งทำกลองที่ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย แม้แต่ต่างประเทศสั่งซื้อกลองจากหมู่บ้านทำกลองแห่งนี้ หมู่บ้านทำกลอง อยู่ด้านหลังตลาดป่าโมก ตำบลเอกราช ตลอดถนนสายในผ่านหน้าที่ทำการเทศบาลอำเภอป่าโมกขนานกับลำคลอง เป็นร้านขายกลองเป็นระยะเมื่อมาเดินถนนสายนี้สามารถชมขั้นตอนการทำกลองชนิดต่าง ๆ จะเห็นกลองหลากสีสัน ตั้งแต่กลองขนาดใหญ่ถึงกลองขนาดเล็ก ๆ ซึ่งซื้อเป็นของที่ระลึกได้ ที่นี่เป็นแหล่งทำกลองที่ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย แม้แต่ต่างประเทศสั่งซื้อกลองจากหมู่บ้านทำกลองแห่งนี้ บ้านทรงไทย ตำบลบางเสด็จ ที่นี่เป็นแหล่งสร้างบ้านทรงไทย และทำส่วนประกอบของบ้านทรงไทยแบบต่าง ๆ ที่สวยงามมีเอกลักษณ์ โดยสืบทอดฝีมือช่างกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นอกจากนี้ มีบ้านทรงไทยจำลองและสินค้าเฟอร์นิเจอร์ทำจากไม้ตาลประเภทต่าง ๆ ซึ่งจำหน่าย ตามเส้นทางสายอยุธยา-ป่าโมก และตำบลโพละ

สุขกลางใจใกล้แค่เอื้อมที่ ป่าโมก จังหวัดอ่างทอง อ่านเพิ่มเติม

สามชุก เสน่ห์คนเสียงเหน่อ

ตลาดสามชุก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนในท้องถิ่น ตั้งแต่อดีตที่บรรยากาศภายในตลาดการค้าขายที่ยังคงรักษาวิถีแบบดั้งเดิม ตลาดสามชุกได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในนามที่ว่า “สามชุก ตลาดร้อยปี ตลาดมีชีวิต พิพิธภัณฑ์มีชีวา” ในอดีตตลาดสามชุกเป็นย่านการค้าสำคัญ และเป็นแหล่งชุมชนของชาวไทยเชื้อสายจีน จึงทำให้ที่นี่มีรากฐานทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.00 – 18.00 น. ตลาดโบราณร้อยปี สามชุก ว่ากันว่างานดี ดีอย่างไร? ดีทั้งของกิน ของฝาก น่ะสิคะ มาทีไรก็นึกถึงช่วงวัยเด็กทุกที ทั้งบรรยากาศห้องแถวไม้เก่าแก่ริมน้ำที่เรียงรายกันได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างสวยงาม ของกินของอร่อยหลากหลายชนิดอดใจไม่ได้ที่อยากจะลิ้มลองกันซะทุกร้านทั้งขนมโบราณ ลูกชิ้นยักษ์ หรือจะเป็นของเล่นสมัยเด็กได้ความคลาสสิค ชิค คูล ที่นี่ได้บรรยากาศสุดๆเลยค่ะ ยังมีพิพิธภัณฑ์สำหรับสายถ่ายรูปอย่างแอดมินแล้วก็ไม่พลาดที่จะหามุมเก๋ แชะภาพมาแน่นอน ร้านขายของเบ็ดเตล็ด ร้านกาแฟท่าเรือส่ง (ศิวะนันต์พานิช) ร้านกาแฟเก่าแก่ มีเอกลักษณ์ โบราณทั้งการชงโบราณทั้งคนชงเลยค่ะ คลาสสิคไปอีก และยังเป็นสถานที่พบปะ แลกเปลี่ยน พูดคุยของชาวตลาดรสชาติที่ยังคงเอกลักษณ์มาช้านาน จึงทำให้ร้านกาแฟโบราณคงคู่กับตลาดสามชุก มาจนถึงปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนง จีนารักษ์ ได้เป็นที่รวบรวมของโบราณ และให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีต ใครไปใครมาก็ต้องมีของติดไม้ติดมือกลับบ้านกัน มาที่นี่วันเดียวอิ่มใจและที่สำคัญอิ่มท้องด้วยค่ะ การเดินทาง โดยรถยนต์ (ช่วงวันหยุดแนะนำให้ไปช่วงเช้าจะหาที่จอดง่ายกว่า) จากกรุงเทพฯ ใช้ทางด่วนปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ ลงทางด่วนที่ถนนแจ้งวัฒนะ จากนั้นให้ชิดขวาขึ้นสะพานข้ามแยกปากเกร็ด ขึ้นสู่สะพานพระราม 4 ลงสะพานเข้าเส้น 345 วิ่งไปซักระยะให้ขึ้นสะพานเพื่อ u-turn กลับ เพื่อเข้าทางหลวงหมายเลข 340 (บางบัวทอง-สุพรรณบุรี) ซึ่งจะผ่านอ.บางปลาม้า ผ่านอ.เมืองสุพรรณบุรี ผ่านอ.ศรีประจันต์ จนเข้าสู่อ.สามชุก ให้เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกไฟแดง ข้ามสะพานแล้วชิดขวาไปนิดเดียว จะเห็นแยกเข้าตลาดสามชุกอยู่ขวามือ ทางเข้าเดียวกับที่ว่าการอำเภอสามชุก เข้าไปประมาณ 500 เมตร ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก รวมระยะทางประมาณ 146 กิโลเมตร หรือ ประมาณ 2 ชั่วโมง ( จาก กทม.-เมืองสุพรรณฯ รวมระยะทาง 107 ก.ม. ) โดยรถตู้1. กรุงเทพฯ – ตลาดสามชุก : ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ – ตลิ่งชัน – บางใหญ่ – สุพรรณบุรี – สามชุกท่ารถกรุงเทพฯ : จอดข้างธนาคารกรุงไทย ตรงข้ามกองสลากฯ ถ.ราชดำเนิน เวลา 5.00 – 20.00 น. ทุกวันท่ารถสามชุก : จอดริมคลองชลประทาน ท้ายตลาดสามชุก เวลา 4.00 – 19.00 น. ทุกวัน ราคา 120 บาท ใช้เวลา 2 ชั่วโมง โทร.086 328 2791-2 2. กรุงเทพฯ – ตลาดสามชุก : ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ (อนุสาวรีย์ชัยฯ) – เมืองทอง – ปากเกร็ด – นพวงศ์ – ลาดบัวหลวง – สุพรรณบุรี – สามชุกท่ารถกรุงเทพฯ : จอดหน้าภัตตาคารพงหลี อนุสาวรีย์ชัยฝั่งห้างเซ็นเตอร์วัน เวลา 4.00 – 19.00 น. โทร.080 025 1511ท่ารถสามชุก : จอดริมคลองชลประทาน ท้ายตลาดสามชุก เวลา 5.00 – 20.00 น. ทุกวัน โทร. 088 881 0916ราคา 140 บาท ใช้เวลา 2 ชั่วโมง  โดยรถโดยสารประจำทางมีรถปรับอากาศ กรุงเทพ – ท่าช้าง (ไม่ใช่ด่านช้าง) ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ทุกวัน รถจะผ่านอ.สามชุก อาจจะเข้าไปส่งที่ท้ายตลาดบางครั้งถ้ามีผู้โดยสารลงเยอะ ถ้ามีผู้โดยสารน้อยจะส่งใกล้ๆกับตลาดต้องเดินเท้าเล็กน้อย

สามชุก เสน่ห์คนเสียงเหน่อ อ่านเพิ่มเติม

ปราสาทหินพนมรุ้ง อลังการศิลปะขอมในดินแดนสยาม

ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่บ้านตาเป็ก ตำบลตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ คำว่า “พนมรุ้ง” หรือ “วนํรุง” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ภูเขาใหญ่” เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว มีความสูงประมาณ 350 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ซึ่งได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาในช่วงนั้น จากทางเข้าปราสาท จะเป็นทางเดินซึ่งมีเสานางเรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้างเป็นระยะ ๆ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างดินแดนแห่งมนุษย์และสวรรค์ ถัดเข้ามาคือ สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท ปราสาทประธานมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม มีห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเชื่อมอยู่ด้านหน้า จุดเด่นของปราสาทประธาน คือ หน้าบันซึ่งสลักเป็นรูปศิวนาฏราช และทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ หน้าบันรูปศิวนาฏราช (พระศิวะทรงฟ้อนรำ) ทับหลังรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ (พระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาเหนือพระยาอนันตนาคราช)  ภายในปราสาทประธานเป็นห้องโถงเรียกว่า ห้องครรภคฤหะ ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญที่สุดของปราสาท คือ ศิวลึงค์ ซึ่งแทนองค์พระศิวะ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าประติมากรรมชิ้นนี้ได้สูญหายไป เหลือเพียงแต่ท่อโสมสูตร คือร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวลึงค์เท่านั้น ในวันที่ 3-5 เมษายน และ 8-10 กันยายน ของทุกปี จะเกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติ ดวงอาทิตย์ขึ้นส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บานของปราสาทหินพนมรุ้ง และในช่วงวันที่ 6-8 มีนาคม และ 6-8 ตุลาคม ของทุกปี ดวงอาทิตย์ก็จะตกส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน เช่นกัน มีความเชื่อกันว่าปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ลอดผ่านประตูนี้เป็นปรากฏการณ์อันศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าเป็นการเสริมพลังชีวิตและความเป็นสิริมงคลของผู้ที่พบเห็น กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมและบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง โดยวิธีอนัสติโลซิส (ANASTYLOSIS) คือ รื้อของเดิมลงมา แล้วทำรหัสไว้ จากนั้นทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนทั้งหมดกลับไปก่อใหม่ที่เดิม ปราสาทหินพนมรุ้ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท สอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร. 0 4466 6251-2 การเดินทางมายังปราสาทหินพนมรุ้ง : จากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 218 (บุรีรัมย์-นางรอง) ระยะทาง 50 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 24 ไปอีก 14 กิโลเมตร จนถึงบ้านตะโก จากนั้นเลี้ยวขวาสู่ทางหลวงหมายเลข 2177 ทางไปบ้านตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตรงไปอีก 12 กิโลเมตร ถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ระยะทางจากตัวเมืองบุรีรัมย์ ประมาณ 63 กิโลเมตร

ปราสาทหินพนมรุ้ง อลังการศิลปะขอมในดินแดนสยาม อ่านเพิ่มเติม

ใครไม่แล่น…ทุ่งวัวแล่น!!

หาดทุ่งวัวแล่น เป็นชายหาดที่สวยงามขึ้นชื่อของ ตำบลสะพลีอำเภอปะทิว จ.ชุมพร เป็นหาดทรายที่มีเม็ดทรายสีขาวนวลละเอียด ทอดตัวยาวไปสุดลูกหูลูกตา และยังเป็นหาดที่มีความลาดเอียงน้อย น้ำทะเลสวยใสเหมาะแก่การเล่นน้ำสุดๆ ชื่อนี้มีที่มา “หาดทุ่งวัวแล่น” มีตำนานว่าแต่ก่อนหาดทุ่งวัวแล่นมีสัตว์ป่าอยู่เป็นจำนวนมาก มีอยู่วันหนึ่งนายพรานมาล่าสัตว์ ยิงวัวป่าล้มลง แต่วัวป่ากลับฟื้นและวิ่งหนีหายไป จึงเป็นที่มาของหาดทุ่งวัวแล่น หาดทรายยาว ไม่มีเตียงผ้าใบ ไม่มีเรือบานาน่าโบ้ท มาบดบังความสวยงามของชายหาด นักท่องเที่ยวที่ต้องการดำน้ำสามารถเหมาเรือหางยาวไปดำน้ำที่เชิงเขาโพธิ์แบะ ทางทิศใต้ของหาดทุ่งวัวแล่น บริเวณนี้เป็นชุดชมปะการัง ดูปลา ดอกไม้ทะเล หรือจะแล่นไปที่หมู่เกาะชุมพร ก็มีเกาะหลายเกาะให้ดำน้ำ น้ำทะเลใสน่าเล่น หาดทรายสะอาดมาก นักท่องเที่ยวไม่แออัด เหมาะแก่การมาเที่ยวกับครอบครัว หรือเพื่อนๆที่สุด การเดินทางรถยนต์ : ใช้ถนนเพชรเกษมวิ่งลงมาจนถึงแยกท่าแซะ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนน 3180 ตรงมาจนสุดจะถูกบังคับให้เลี้ยวขวาตรงถนนเลียบชายหาดรถไฟ : ลงที่สถานีรถไฟชุมพร แล้วเดินไปตลาด ประมาณ 10 นาที ขึ้นรถสองแถวเล็กสีเหลือง ชุมพร – สะพลิง ไปหาดทุ่งวัวแล่น

ใครไม่แล่น…ทุ่งวัวแล่น!! อ่านเพิ่มเติม

เที่ยวไหนดีที่ศรีสะเกษ เมืองแห่งกลิ่นอายวัฒนธรรมขอม

ในทริปนี้เราเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยเครื่องบินไปลงที่จ.อุบลราชธานี จากนั้นนั่งรถตู้สายกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ และต่อด้วยรถโดยสารไปที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเศษเท่านั้น เริ่มด้วยการออกตามหาร่องรอยของอารยธรรมขอม ที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารแห่งนี้ นอกจากป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ภายในอุทยานแห่งชาติแล้ว สิ่งที่ไม่ควรพลาดคือ ผามออีแดง เดินจากจุดบริการนักท่องเที่ยวไม่ไกลเราก็มาถึง จุดชมวิวผามออีแดง หน้าผาสูงชันที่เป็นปราการธรรมชาติแบ่งเขตแดนไทย-กัมพูชา มองไปด้านล่างจะเห็นดินแดนฝั่งกัมพูชามีป่าไม้ขึ้นอย่างหนาแน่นเขียวขจีไกลสุดสายตา ในวันที่อากาศปลอดโปร่งจะมองเห็นปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนเขาอยู่ลิบๆ ให้ได้จินตนาการว่าถ้าเข้าไปดูใกล้ ๆ จะยิ่งใหญ่อลังการขนาดไหน ถ้ามาในช่วงเช้าที่อากาศเย็นหรือมีความชื้นสูง ใครโชคดีจะได้เห็นทะเลหมอกที่เป็นจุดที่สวยงามอีกจุด หรือถ้ามาช่วงเย็นชมพระอาทิตย์ตกดินก็สวยงามไปอีกแบบ เมื่อเดินตามสะพานไม้เลาะไปตามริมหน้าผามออีแดงด้านขวาลึกลงไปเป็นป่าไม้เขียวขจีในเขตกัมพูชาพอให้ได้เสียวเล็กน้อย เดินไม่ไกลจะพบภาพสลักนูนต่ำ เทพ 3 องค์ขนาดเท่าคนจริง อายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี เชื่อว่าเป็นภาพที่สลักขึ้นเพื่อซ้อมมือก่อนเริ่มแกะสลักจริงที่ปราสาทเขาพระวิหาร หลายคนคิดว่านี่เป็นสิ่งเล็ก ๆ แต่มันแสดงถึงศิลปะที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองในอดีตของอารยธรรมขอมที่ยังคงหลงเหลืออยู่อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ ผามออีแดง จากนั้นถ้าอยากชมปราสาทขอมอย่างใกล้ชิด ลองแวะไปที่ปราสาทโดนตวล เป็นปราสาทหินแบบขอมขนาดไม่ใหญ่ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 15 – 16 ตั้งอยู่บริเวณบ้านภูมิซรอล ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ ขากลับเรากลับกันที่อุบลราชธานีอีกครั้ง มีเวลาแวะไหว้พระทำบุญกันก่อนกลับที่วัดพระธาตุหนองบัว วัดนี้มีพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ที่จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บรรยากาศร่มรื่น จินตนาการว่าได้ยืนอยู่ที่เจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดียก็รู้สึกสงบอย่างบอกไม่ถูก ก่อนกลับแวะซื้อของฝากตามธรรมเนียมที่ “ร้านระหว่างทาง” ใกล้กับทุ่งศรีเมือง หรือ “ร้านพันชาติ” มีของฝากน่ารักออกแบบได้ทันสมัยน่าสนใจ เช่น กระเป๋า เสื้อ ตุ๊กตา ที่ทำจากผ้าพื้นเมือง ผ้าซิ่นงาม ๆ ซื้อไปฝากญาติผู้ใหญ่ก็น่าจะถูกใจไม่น้อย สำหรับสายกินอย่าพลาดแวะซื้ออาหารประจำจังหวัดอุบลราชธานี อย่างหมูยอ กุนเชียง แหนม ร้านอร่อยก็อยู่ใกล้ ๆ กับทุ่งศรีเมืองนี่แหละ เช่น หมูยอเขื่อนธานี ที่เป็นหมูยอไม่ผสมแป้งที่คนอุบลฯ นิยมไปซื้อกัน

เที่ยวไหนดีที่ศรีสะเกษ เมืองแห่งกลิ่นอายวัฒนธรรมขอม อ่านเพิ่มเติม

เที่ยววัดจังหวัดอุดร พาเดินสายเก็บแต้มบุญ

เที่ยววัดจังหวัดอุดร พาเดินสายเก็บแต้มบุญ ภาพ : วัดป่าภูก้อน วัดป่าภูก้อน ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม อำเภอนายูง เป็นรอยต่อแผ่นดิน 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย วัดป่าภูก้อนเป็นสถานที่ที่สงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ภายในวัดมีองค์พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์ ซึ่งภายในประดิษฐานพระร่วงโรจน์ศรีบูรพา โดยในพระเกศขององค์พระบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วยนอกจากนี้ยังมีพระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ทำด้วยหินอ่อนขาวจากเมืองคาร์ราร่า ประเทศอิตาลีเปิดให้เข้าชมเวลา 08.30 – 17.00 น. วัดป่าภูก้อนอยู่ห่างจากตัวเมือง 124 กิโลเมตร แนะนำว่าควรเช่ารถขับไปเองหรือเช่ารถพร้อมคนขับจะสะดวกที่สุด เนื่องจากไม่มีรถประจำทางไปที่วัดป่าภูก้อนโดยตรง ต้องไปต่อรถสองแถวบริเวณบ้านผือ ซึ่งมีรถน้อยมาก พระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี ณ วัดป่าภูก้อน วัดโพธิสมภรณ์ ตั้งอยู่ในตัวเมืองอุดรธานี ริมถนนโพธิ์ศรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ปลายรัชกาลที่ 5 สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ หลวงพ่อพุทธรัศมี ซึ่งเป็นพระประธานในอุโบสถ พระบรมธาตุเจดีย์ มีทั้งหมด 3 ชั้น ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูป พระไตรปิฎก คติธรรมคำสอน อัฐิธาตุพระอรหันตสาวก และรูปเหมือนพระบูรพาจารย์ เปิดทุกวัน 08.30-18.00 น. ภายในพระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระพุทธรูปและรูปหล่อองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ชั้นบนสุดของพระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ วัดสันติวนาราม อีกชื่อหนึ่งคือ วัดป่าดงไร่ ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองหาน มีพระอุโบสถทรงดอกบัวอยู่กลางน้ำ ภายในประดิษฐานพระประธานและมีภาพวาดฝาผนังเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ นอกจากนี้วัดสันติวนารามยังเป็นสำนักปฏิบัติธรรม ใครที่อยากปลีกตัวจากโลกภายนอกแล้วหันหน้าเข้าหาความสงบ ศึกษาธรรมะเพิ่มเติม สามารถมาที่วัดนี้ได้เลย รับรองแต้มบุญเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ภายในพระอุโบสถรูปดอกบัว มีความเงียบสงบและเย็นสบาย วัดป่าบ้านตาด หรือวัดเกษรศีลคุณ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานี 16 กิโลเมตร เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีความเงียบสงบ ร่มรื่น วัดป่าบ้านตาดมีชื่อเสียงมากเพราะในอดีตหลวงตามหาบัว ญาณสมปนโน เป็นเจ้าอาวาส และแม้ท่านจะละสังขารไปหลายปีแล้ว ก็ยังคงมีประชาชนที่ศรัทธาท่านไปกราบไหว้ ทำบุญที่วัดอยู่ บริเวณวัดยังมีพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ที่เพิ่งสร้างเสร็จไม่นาน พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน วัดภูทองเทพนิมิตร  ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองแสง ตัววัดอยู่บนเนินเขา บรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ มาที่นี่แล้ว ต้องมาสักการะพระพุทธชัยมงคลมหาชนอภิปูชนีย์ (หลวงพ่อทันใจ) พระพุทธรูปสีขาว ปางมารวิชัยที่ตั้งโดดเด่นอยู่บนเนินเขา ไม่เช่นนั้นจะถือว่ามาไม่ถึงวัด ด้านล่างองค์พระเป็นวิหารซึ่งในชั้นต่าง ๆ จะมีการจัดแสดงภาพวาดประวัติของพระพุทธเจ้าไว้บนเพดานอย่างสวยงาม

เที่ยววัดจังหวัดอุดร พาเดินสายเก็บแต้มบุญ อ่านเพิ่มเติม

น่าน..เนิบ..เนิบ (๓)

น่าน..เนิบ..เนิบ (๓) วัดนี้อยู่บนดอยเขาน้อยองค์พระธาตุสร้างในสมัยเจ้าปู่เข็ง เมื่อพ.ศ. 2030 มีเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ ศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ในปีพ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่าชื่อหม่องยิง และวิหารมีพระพุทธรูปศิลปะพม่าสร้างในสมัยนี้เช่นกัน ลานชมทิวทัศน์ประดิษฐาน “พระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร บนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นจุดชมวิวที่นักท่องเที่ยวต้องมาเก็บรูปไว้เป็นที่ระลึกบอกเลยค่ะว่า “ห้ามพลาด” สวยงามมากๆเพราะสามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของตัวเมืองน่านได้ทั้งหมด ลานชมทิวทัศน์เปิดให้เข้าชมทุกวันตลอดเวลา นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีแผ่นศิลาจารึกภาษาพื้นเมืองพระแม่ธรณีบีบมวยผม ศาลาเอนกประสงค์ ศาลาประดิษฐานหลวงพ่อเกษม เขมโก และตำหนักเจ้าแม่กวนอิมที่บริเวณทางขึ้นบันไดนาคซึ่งมี 303 ขั้น วัดพระธาตุเขาน้อยเปิดทุกวัน เวลา 07.00-18.00 น.  การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับวัดพญาวัด ขับเลยไปตามทางหลวงหมายเลข 1025 ประมาณ 2 กิโลเมตร

น่าน..เนิบ..เนิบ (๓) อ่านเพิ่มเติม

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ มหัศจรรย์ฝูงมัจฉากลางถ้ำ

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และอำเภอปางมะผ้า ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนประมาณ 17 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัด โดยรอบเป็นลำธารและป่าเขาที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งในวันธรรมดาและวันหยุด มาเที่ยวแม่ฮ่องสอนทั้งที่ ก็แต่งตัวสไตล์ดอยสเตอร์ให้เข้ากับบรรยากาศซะหน่อย แค่หยิบชุดแบบชาวดอยมาใส่ ก็ได้ฟิลลิ่งความเป็นชาวเมืองเหนือเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งระดับแล้ว เวลาถ่ายรูปทั้งเท่ ทั้งเก๋ไก๋ ถ้าเพื่อนๆ มีโอกาสมาเที่ยวทางเหนือก็อย่าลืมซื้อหามาใส่กันนะเจ้า >< ตามลำธารในอุทยานฯ เราจะพบกับฝูงปลาพลวง ซึ่งภาษาเหนือเรียกว่า ปลาพุง หรือ ปลามุง ปลาชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามน้ำตกและธารน้ำในป่า เป็นปลาที่มีเกล็ดขนาดใหญ่ จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียนและปลาคาร์ฟ สามารถซื้ออาหารเลี้ยงปลาได้ด้วยนะ ถ่ายรูปเก็บไว้ไปโพสต์ลงโซเชียลซักหน่อย ระหว่างทางเดินไปถ้ำปลา เราจะผ่านสะพานแขวนที่มีชื่อว่า “สะพานปลา” มุมนี้จะได้เห็นทั้งวิวสะพาน วิวป่าเขา คือบรรยากาศต่างๆ มันลงตัวมากๆ เลยล่ะ ไม่ถ่ายรูปไม่ได้แล้ว ถึงแล้ว นี่แหละจุดที่เรียกว่า “ถ้ำปลา”  มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.50 เมตร ภายในแอ่งน้ำจะมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา และความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งก็คือ มีบรรดาฝูงปลาพลวงจำนวนมากอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งนี้ ปลาพลวงเป็นปลาที่ไม่สามารถรับประทานได้ เพราะอาหารของปลาชนิดนี้คือผลไม้ไม้ในป่าที่หล่นลงมาในน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจมีพิษ ทำให้เนื้อของปลามีพิษตามไปด้วย นอกจากนี้ชาวบ้านยังเชื่อกันว่าปลาพลวงเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ หากใครนำมารับประทานจะพบกับภัยพิบัติ ถ้าเพื่อนๆ มีเวลา แอดอยากจะแนะนำให้ไปสัมผัสกับสายน้ำเย็นๆ ที่ “น้ำตกผาเสื่อ” จากถ้ำปลาขับรถไปใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเท่านั้น น้ำตกผาเสื่อ มีต้นกำเนิดจากลำน้ำแม่สะงาในพม่า สูงประมาณ 10 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำไหลเต็มหน้าผากว้างทำให้มีรูปร่างคล้ายเสื่อ จึงเรียกว่า “น้ำตกผาเสื่อ” ส่วนในฤดูแล้งน้ำจะน้อย ทำให้เห็นโขดหินที่สวยงาม อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ เปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น. ช่วงเวลาท่องเที่ยว : เที่ยวได้ตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าหนาวคนจะเยอะเป็นพิเศษ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โทร. 082 191 1746  ค่าเข้าชมชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี เข้าชมฟรีชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1095 (แม่ฮ่องสอน-ปาย) แยกซ้ายบริเวณบ้านรักไทยเป็นทางลาดยางเข้าไปอีก 12 กิโลเมตร และเข้าทางลูกรังไปอีก 8 กิโลเมตรพิกัด : https://goo.gl/maps/yPkqEGBVd922

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ มหัศจรรย์ฝูงมัจฉากลางถ้ำ อ่านเพิ่มเติม

น้ำตกภูซาง น้ำตกอุ่นแห่งเดียวในประเทศไทย

น้ำตกภูซางอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูซาง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น ในเขตอำเภอเชียงคำ อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นแนวยาว 30 กิโลเมตร มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำของลำธารหลายสาย น้ำตกภูซาง ตั้งอยู่ริมถนน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 200 เมตร เป็นน้ำตกหินปูนสูง 25 เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี อุณหภูมิของน้ำประมาณ 33 องศาเซลเซียส น้ำใส ไม่มีกลิ่นกำมะถัน บางคนจึงเรียกว่า “น้ำตกอุ่นภูซาง” สายน้ำตกจะไหลลงไปที่แอ่งน้ำเบื้องล่าง เหมาะสำหรับการลงแช่ตัวมากๆ ด้านบนของน้ำตกภูซางมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นทางเดินยกระดับและเส้นทางบนพื้นราบแบบวงรอบ ระยะทาง 996 เมตร ไม่ไกลมาก เดินกำลังสบาย งั้นเราเริ่มเดินกันเลย มาเที่ยวหน้าฝนมันก็จะเขียวๆ หน่อย ตลอดเส้นทางศึกษาธรรมชาติเป็นป่าพรุและบ่อน้ำอุ่น ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกภูซาง ใช้เวลาเดินประมาณ 30 นาที-1 ชั่วโมง จุดที่น่าสนใจคือ “บ่อน้ำอุ่นภูซาง” เป็นบ่อน้ำซับ แหล่งต้นน้ำของน้ำตกภูซาง อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส และเป็นบริเวณที่ธารน้ำอุ่นผุดขึ้นจากใต้พื้นดิน เดินตามทางเดินสะพานไม้ไปเรื่อยๆ จะพบดอกไม้และพรรณไม้นานาชนิด สามารถอ่านป้ายข้อมูลที่ให้ความรู้ไว้ตามจุดต่างๆได้ เดินอ่านไป ชมธรรมชาติไป แป๊บเดียวก็วนกลับออกมาที่จุดเริ่มต้นแล้ว หลังจากเดินชมธรรมชาติและเล่นน้ำตกเสร็จมาเหนื่อยๆ สามารถไปทานอาหารเติมพลังกันได้ เพราะบริเวณน้ำตกมีร้านอาหารและห้องน้ำให้บริการ แอดขอกระซิบว่าที่นี่ ส้มตำ ไก่ย่าง อร่อยมาก 

น้ำตกภูซาง น้ำตกอุ่นแห่งเดียวในประเทศไทย อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top