สถานที่ท่องเที่ยว

ศาลหลักเมืองอุดรธานี

ศาลหลักเมืองอุดรธานี.มีผู้คนจำนวนมากนิยมมาสักการะศาลหลักเมืองแห่งนี้อยู่เสมอ เพื่อขอพรให้ชีวิตราบรื่นมั่นคง ทั้งการงานและการเงิน โดยมีเคล็ดอยู่นิดนึงว่าหากเข้าประตูใดให้ออกประตูนั้น จะทำให้ได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้น — at ศาลหลักเมืองจังหวัดอุดรธานี. ตามประวัติกล่าวว่า ศาลหลักเมืองอุดรธานีสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 โดยได้อัญเชิญดวงพระวิญญาณของพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานีเมื่อ พ.ศ.2436 มาสถิตย์ ณ เสาหลักเมืองนี้ด้วย  เสาหลักเมืองสร้างด้วยไม้คูณ ยาว 5 เมตรเศษ ฝังลึกลงไป 3 เมตร มีการบรรจุแผ่นยันต์และแก้วแหวนเงินทองต่างๆ จำนวนมากไว้ใต้ฐานเพื่อเป็นสิริมงคล ต่อมา พ.ศ.2542 ได้มีการสร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่แทนศาลหลักเมืองเดิมที่ทรุดโทรมลงมาก อาคารศาลหลักเมืองเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ผสมผสานศิลปะภาคอีสาน เป็นสถานที่สักการะของชาวอุดรธานีสืบมาจนปัจจุบัน — at ศาลหลักเมืองจังหวัดอุดรธานี. ภายในศาลยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญ ได้แก่ หลวงพ่อพระพุทธโพธิ์ทอง ซึ่งการสักการะพระพุทธโพธิ์ทองนั้น เชื่อว่าจะทำให้มีร่มโพธิ์ร่มไทร มีผู้ใหญ่สนับสนุนค้ำจุน — at ศาลหลักเมืองจังหวัดอุดรธานี. นอกจากนี้บริเวณศาลหลักเมืองยังมีรูปปั้นท้าวเวสสุวรรณ 1 ใน 4 ของท้าวจตุโลกบาลอีกด้วย มีความเชื่อว่าการบูชารูปปั้นท้าวเวสสุวรรณนั้น จะทำให้ศัตรูหรือผู้ที่คิดร้ายต่อเรา แพ้ภัยตัวเอง หรือกลับใจมาเป็นมิตร การมาสักการะศาลหลักเมืองอุดรธานีนั้น เราสามารถกราบขอพร 3 สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุดรได้ในคราวเดียวเลย ทั้งเสาหลักเมือง พระพุทธโพธิ์ทอง และท้าวเวสสุวรรณ นับเป็นสิริมงคลกับชีวิตจริงๆ  เปิดทุกวันตั้งแต่ 08.30 – 16.00 น.พิกัด : https://goo.gl/maps/pk6jmw4eR2R2  — atศาลหลักเมืองจังหวัดอุดรธานี.

ศาลหลักเมืองอุดรธานี อ่านเพิ่มเติม

6 สิ่งบ่งบอกว่า นี่แหละคือไทดำ

ไทดำมาจากไหน  ชาวไทดำ คือชนชาวไทกลุ่มหนึ่ง บางครั้งอาจเรียกว่า ลาวโซ่ง ลาวซงดำ ไทยซุ่ง ไทยโซ่ง หรือไทยทรงดำ .ถิ่นเดิมของชาวไทดำอยู่ในแคว้นสิบสองจุไท บริเวณแม่น้ำดำ แม่น้ำแดง มีเมืองแถนเป็นเมืองหลวง (ปัจจุบันคือเมืองเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม) .ชาวไทดำอพยพเข้ามาในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งที่ไทยทำสงครามปราบฮ่อในดินแดนเชียงขวางและสิบสองจุไท 6 สิ่งบ่งบอกว่า นี่แหละคือไทดำ.ภาษา ภาษาถิ่นของชาวไทดำคือ ภาษาไทดำและภาษาเลย มีตัวอักษรที่ยังคงอนุรักษ์ไว้จนถึงปัจจุบัน.ขอบคุณภาพจาก http://tis.dasta.or.th/dastatravel/taidumbaannapanad/ การแต่งกาย ชาวไทดำนิยมสวมเสื้อผ้าสีดำ ซึ่งสีที่นำมาใช้ย้อมเสื้อผ้าเป็นสีมาจากต้นห้อมหรือต้นคราม การแต่งกายหลักๆ จะมี 2 แบบ ในชีวิตประจำวัน จะนุ่งผ้าซิ่น “ลายแตงโม”ในงานประเพณี หรืองานบุญ จะนุ่งผ้าซิ่น “ลายนางหาญ” ซึ่งใน 1 ผืนจะมีลายพญานาคอยู่ถึง 10 แบบ.ขอบคุณภาพจาก เที่ยวไทยไม่ตกยุค การละเล่น การละเล่นของชาวไทดำมีหลายอย่าง แต่ที่เป็นจุดเด่นคือ “มะกอนลอดบ่วง” วิธีการเล่นก็ง่ายๆ คือโยนลูกผ้าลักษณะสามเหลี่ยมมีหาง หรือที่เรียกว่า มะกอน ขึ้นไปให้ลอดห่วงที่ตั้งตรงสูงให้ได้.ในอดีต การเล่นมะกอนลอดบ่วงเป็นการเสี่ยงทายเพื่อเลือกคู่ให้กับหนุ่มสาวในหมู่บ้าน ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นกุศโลบายเพื่อให้หนุ่มๆ สาวๆ ได้มีโอกาสมาเจอกันนั่นเอง ขอบคุณภาพจาก เที่ยวไทยไม่ตกยุค การเต้นแซปาง เป็นการฉลองความอุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้าน มักจะทำพิธีในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 และเดือน 6 มีการขับร้องร่ายมนต์เป็นทำนองเพื่อเชิญผีสางเทวดามารับเครื่องเซ่นที่ต้นปาง ตุ้มนก ตุ้มหนู เป็นเครื่องรางของขลัง ที่ใช้ปัดเป่าสิ่งไม่ดีและนำความโชคดีมาให้.โดยโมบาย 1 เส้น จะมีตุ้มทั้งหมด 5 ตุ้ม แต่ละตุ้มมีความหมายต่างกัน คือ1. “บ้าน หรือ เฮือนผีมด” เป็นสถานที่ที่ผีมดอาศัยอยู่2. “ตุ้มหนู หรือ กลองผีมด” เมื่อเวลาออกรบกับศัตรู จะต้องตีกลองเพื่อรวบรวมขวัญและกำลังใจ3. “ตุ้มนก” เมื่อมีบริวารเป็นนก นกจะช่วยจิกศัตรู4. “รังต่อรังแตน” เมื่อมีบริวารเป็นแตน แตนจะช่วยต่อสู้กับศัตรู5. “หัวใจไทดำ” เป็นตัวแทนของความรักและสามัคคี อาหารสไตล์ไทดำ “จุ๊บผัก” และ “จุ๊บไก่” อาหารชื่อแปลกแต่อร่อย เป็นการนำผักหรือไก่มาคลุกกับเครื่องปรุงและน้ำปลาร้า โดย “จุ๊บ” แปลว่า การคลุกเคล้าให้เข้ากัน.นอกจากนี้ยังมี แจ่วตาแดง น้ำพริกรสแซ่บ ทานแล้วเผ็ดจนตาแดงสมชื่อเลยค่ะ หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ บ้านนาป่าหนาด อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นหมู่บ้านชาวไทดำแห่งเดียวในภาคอีสาน.ที่นี่จะทำให้เราได้เรียนรู้ความเป็นอยู่ของชาวไทดำ ทั้งภาษา การแต่งกาย การละเล่น และอาหารการกินที่แอดได้กล่าวไปแล้ว.พิกัด : https://goo.gl/maps/3BvZQSTe9Jyติดต่อ : คุณภัทราภรณ์ ไพศูนย์ (อิ๋ว) โทร. 084 925 0771

6 สิ่งบ่งบอกว่า นี่แหละคือไทดำ อ่านเพิ่มเติม

อัศจรรย์ “พระประธานอกแตก”

อัศจรรย์ พระประธานอกแตก วัดบ้านแก่งใต้ จ.อุตรดิตถ์ วัดบ้านแก่งใต้มีพระประธานภายในพระอุโบสถชื่อ หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ ต่อมา พ.ศ.2493 หลวงพ่อเพชรชำรุดทรุดโทรมและผุกร่อนมาก ทางวัดจึงตัดสินใจสร้างหลวงพ่อเพชรองค์ใหม่ครอบองค์เดิมเอาไว้.กาลเวลาผ่านไป ก็ไม่มีการบูรณะซ่อมแซมอีก จนกระทั่ง… เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ทางวัดได้บูรณะพระอุโบสถและซ่อมแซมหลวงพ่อเพชรที่ชำรุดทรุดโทรมลงมาก .แต่ขณะที่กำลังบูรณะอยู่นั้น ก็ได้พบรอยแตกบริเวณพระอุระของหลวงพ่อเพชร และมีปูนหลุดร่วงลงมาจำนวนมาก จึงทำให้พบว่ามีพระพุทธรูปอยู่ภายใน โดยสามารถมองเห็นพระพักตร์และพระเศียรของหลวงพ่อเพชรองค์เดิมที่อยู่ภายในได้อย่างชัดเจน ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “พระอกแตก”.ซึ่งจากลักษณะทางศิลปกรรมที่ปรากฏ สันนิษฐานว่าหลวงพ่อเพชรองค์เดิมนั้นสร้างขึ้นโดยฝีมือของช่างพื้นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ชาวบ้านเกิดความเสื่อมใสศรัทธา และพากันมากราบไหว้หลวงพ่อเพชรกันเป็นจำนวนมาก✨.ถ้าใครเดินทางไปจังหวัดอุตรดิตถ์ อย่าลืมมาแวะสักการะกันนะคะ.วัดบ้านแก่งใต้ ที่ตั้ง : ต.บ้านแก่ง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์พิกัด Google map : https://goo.gl/maps/CyZVitxYZip. ขอบภาพจาก เพจอุตรดิตถ์ 24 ชั่วโมง

อัศจรรย์ “พระประธานอกแตก” อ่านเพิ่มเติม

นครพนม เที่ยวตามคำขวัญ

“พระธาตุพนมค่าล้ำ” พระธาตุพนม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง อ.ธาตุพนม สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ภายในบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ภายหลังได้รับการปฏิสังขรณ์จนมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมในศิลปะล้านช้าง  เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2518 พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุประกอบกับมีฝนตกและพายุพัดแรงติดต่อกันหลายวันประชาชนทั่วประเทศจึงได้ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์ และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิมจนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2522  พระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีวอก และเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ ซึ่งควรหาโอกาสมาสักการะสักครั้งเพื่อเสริมดวงชะตาและความเป็นสิริมงคล เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น.พิกัด : https://goo.gl/maps/bqLKkAEmTcw  — atจังหวัดนครพนม. “วัฒนธรรมหลากหลาย” ในจังหวัดนครพนมมีประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องจากมีผู้คนหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่รวมกันถึง 7 ชนเผ่าด้วยกัน ทั้งชนเผ่าผู้ไท (ภูไท) ไทญ้อ ไทกะเลิง ไทแสก ไทยโส้ ไทยข่า และไทยลาว (ไทยอีสาน) นอกจากนี้ยังมีไทกวน และไทตาด ซึ่งเป็นชนเผ่าที่เพิ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ด้วย  ซึ่งการรำบูชาพระธาตุพนม จะเป็นการรวมตัวของชนพื้นเมืองต่างๆ ทั้ง 7 เผ่า ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครพนม แต่งกายด้วยเสื้อผ้าประจำเผ่าของตน และร่ายรำในท่วงท่าอันงดงามเพื่อบูชาองค์พระธาตุพนม แสดงให้เห็นว่าถึงจะต่างชาติพันธุ์ แต่ทุกคนนั้นคือใจเดียวกัน งานนมัสการพระธาตุพนม จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ โดยถือเอาวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันแรกของงานและไปสิ้นสุดในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3  “เรณูผู้ไท” เรณูนคร เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไท ที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดีจนถึงทุกวันนี้ ที่น่าสนใจ ได้แก่ การต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ (ชวนกันไปดื่มเหล้าหมักที่อยู่ในไห) ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญอย่าง พระธาตุเรณู ที่จำลองรูปแบบมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า ภายในบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทอง พระพุทธรูปเงิน ของมีค่า และเครื่องกกุธภัณฑ์ของเจ้าเมือง พระธาตุเรณูเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันจันทร์ เชื่อว่าผู้ที่ได้มานมัสการจะได้รับอานิสงส์ให้มีวรรณะงดงามผุดผ่องดังแสงจันทร์ ถือเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอเรณูนคร  “เรือไฟโสภา” ไหลเรือไฟ เป็นพิธีกรรมที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งโบราณ โดยเชื่อกันว่าการไหลเรือไฟเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่พระพุทธองค์ประทับไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทานที  รวมทั้งยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพญานาคในลำน้ำโขง การระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา ขอขมาลาโทษต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในแม่น้ำ และยังถือเป็นการลอยเคราะห์ลอยโศก ให้อยู่เย็นเป็นสุข มีโชคลาภอีกด้วย ในทุกปีจังหวัดนครพนมจะจัดงานประเพณีไหลเรือไฟและงานกาชาดจังหวัด บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง มีการออกร้านจำหน่ายสินค้านานาชนิด สินค้าโอท็อป และการแสดงพื้นเมือง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครพนม โทร. 042 513 409-1 “งามตาฝั่งโขง” นครพนมเป็นจังหวัดหนึ่งที่ไม่เคยทำให้ผิดหวังเลยจริงๆ ไม่ว่าจะไปฤดูร้อน ฤดูฝน หรือฤดูหนาว บรรยากาศริมแม่น้ำโขงก็ยังมีมนต์เสน่ห์ที่คอยสะกดให้เราหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการนั่งดูพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก หรือชมวิถีชีวิตริมฝั่งโขงของชาวไทยและชาวลาว สำหรับผู้รักการปั่นจักรยาน นครพนมถือว่าตอบโจทย์มาก เพราะปัจจุบันทางเทศบาลได้จัดทำเส้นทางสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ ตั้งแต่บริเวณช่วงถนนสุนทรวิจิตร ถนนเลียบแม่น้ำโขงในตัวเมือง ระยะทางรวม 14 กิโลเมตร โดยมีสัญลักษณ์และสีสันที่ชัดเจน เรียกได้ว่าสะดวกสบายและปลอดภัยแน่นอน

นครพนม เที่ยวตามคำขวัญ อ่านเพิ่มเติม

เพื่อนร่วมทาง พา Go Local : เที่ยวลัดเลาะตามตรอกซอกซอย “ชุมชนกุฎีจีน”

วัดซางตาครู้ส .โบสถ์คาทอลิกที่ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2313 ด้วยสถาปัตยกรรมแบบเรอเนซองส์และนีโอคลาสิก พร้อมยอดโดมที่จำลองมาจากมหาวิหารฟลอเรนซ์ ในประเทศอิตาลี  วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร.อีกหนึ่งวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีหลวงพ่อโตเป็นพระประธานตั้งประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ ชาวพุทธนิยมมาสักการบูชาเพื่อขอพรให้เดินทางปลอดภัย และขอให้มีมิตรที่ดีตามชื่อของวัดแห่งนี้ หลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน.พิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของไทยและโปรตุเกสที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีการนำวิทยาการสมัยใหม่เข้ามา ทั้งในด้านการทหาร การแพทย์ การสร้างป้อม ไปจนถึงเรื่องราวของขนมไทย ซึ่งเชื่อกันว่าท้าวทองกีบม้าได้ดัดแปลงมาจากขนมของโปรตุเกสอีกด้วย พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน เป็นบ้านไม้สองชั้น ชั้นบนเป็นส่วนของพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดง ส่วนชั้นล่างเป็นร้านกาแฟเล็กๆ บ้านสกุลทอง.ถ้าเพื่อนๆ มีเวลา แอดแนะนำห้ามพลาดมาชิมอาหารชาววัง สำรับโปรตุเกส มีเมนูที่หาทานได้ยากมากมาย ทั้งอาหารว่างอย่างจีบตัวนกและช่อม่วง รวมไปถึงอาหารจานหลักอย่างขนมจีนโปรตุเกส เมนูที่ได้รับการดัดแปลงจากสปาเกตตี้ไวท์ซอสนั่นเอง นอกจากนี้ที่บ้านสกุลทองยังเปิดคอร์สสอนทำอาหารอีกด้วย โดยปัจจุบันเปิดสอนอยู่ 3 เมนูได้แก่ ช่อม่วง จีบตัวนก และหมูสร่ง สำหรับใครที่สนใจสามารถสำรองที่นั่งและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 062 605 5665.ร้านอาหารบ้านสกุลทอง เปิดให้บริการวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.30-17.30 น. ขนมฝรั่งกุฎีจีน.ขนมโบราณอายุกว่า 200 ปี ได้รับอิทธิพลมาจากขนมของชาวโปรตุเกส ที่ใช้เพียงแป้งสาลี ไข่เป็ด และน้ำตาลทราย เป็นส่วนผสมในการทำ วิธีการทำก็คือนำขนมไปอบด้วยเตาถ่าน แล้วโรยหน้าด้วยลูกเกด ลูกพลับ ฟักเชื่อม และน้ำตาล เท่านี้ก็จะได้ขนมที่หอมอร่อย กรอบนอกนุ่มในแล้ว ปัจจุบันมีร้านบ้านป้าเล็ก บ้านป้าพรรณ ร้านหลานป้าเป้า และร้านธนูสิงห์ ที่ยังคงทำขนมโบราณชนิดนี้ขายอยู่ ถ้าใครมีโอกาสมาย่านกุฎีจีน อย่าลืมแวะชิมขนมโบราณหาทานยากชนิดนี้กันด้วยนะ

เพื่อนร่วมทาง พา Go Local : เที่ยวลัดเลาะตามตรอกซอกซอย “ชุมชนกุฎีจีน” อ่านเพิ่มเติม

กระดาษมูลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ลำปาง

วันนี้แอดมาเที่ยวที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง ซึ่งที่นี่เค้ามีโครงการนำมูลช้างมาผลิตเป็นกระดาษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราสามารถลองทำกระดาษจากมูลช้างกันได้ด้วยค่ะ.ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ที่ตั้ง : 28-29 ถ.ลำปาง-เชียงใหม่ ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปางเปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 15.00 น.โทร. 054 829 333, 054 829 322พิกัด : https://goo.gl/maps/vqAjQ5m6TFM2 — — atศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง The Thai Elephant Conservation Center Lampang. แอดจะมาเล่าประสบการณ์การทำกระดาษจากมูลช้างให้ฟังค่ะ พระเอกของเราก็คือ มูลช้าง และ ต้นปอสา นั่นเอง ขั้นตอนแรก เราต้องเก็บมูลช้างจากโรงช้างก่อน จะสดหรือแห้งก็ได้ ซึ่งสีที่ได้ออกมาก็จะแตกต่างกัน และเก็บต้นปอสา เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมกับมูลช้าง จากนั้นไปล้างและต้มรวมกันใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง โดยใส่โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์เพื่อให้มูลช้างและปอสาเปื่อยยุ่ย และยังช่วยดับกลิ่นอีกด้วย  จากนั้นนำมูลช้างและปอสามาล้างในน้ำให้สะอาด แล้วนำไปปั่นในเครื่องปั่นเพื่อตัดเส้นใย นำมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง แล้วคัดแยกกากออก เหลือเฉพาะส่วนที่ละเอียดไว้ นำไปชั่งน้ำหนักและแบ่งให้ได้ปริมาณเท่าๆ กันเป็นลูกๆ ลูกละประมาณ 4 ขีด นำลูกที่ได้นี้ไปละลายในถังน้ำ แล้วใส่สารกระจายเยื่อหรือที่เรียกว่า ยูรามีน ลงไป แล้วใช้มือขยำเพื่อให้เยื่อกระจายตัวออกจากกัน จากนั้นก็เทลงในเฟรมที่เตรียมไว้ โดยเทไปทั่วๆเฟรม จากนั้นยกเฟรมขึ้นเขย่าเบาๆ เพื่อให้เนื้อกระจายเท่าๆ กัน เสร็จแล้วก็นำเฟรมไปตากแดด ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน พอแห้งสนิทแล้วก็ค่อยๆ แกะกระดาษออก โดยแกะจากขอบด้านบนเฟรมก่อน ก็จะได้กระดาษมูลช้างที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้เลย หลังจากเราได้ลองทำกระดาษมูลช้างกันแล้ว ก็มาดูผลิตภัณฑ์จากกระดาษมูลช้างกันบ้าง  สินค้าที่ทำมาจากกระดาษมูลช้างมีมากมาย ได้แก่ โปสต์การ์ด ที่คั่นหนังสือ อัลบั้มใส่รูป ปุ๋ยมูลช้าง และอื่นๆ น่ารักทั้งนั้นเลยค่ะ ถ้าเพื่อนๆ มาเที่ยวที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ก็อย่าลืมเลือกซื้อไปเป็นของที่ระลึกกลับบ้านกันนะคะ

กระดาษมูลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ลำปาง อ่านเพิ่มเติม

ไปเที่ยวต(ห)ลาดใต้โหนดกันหว่า?

ถึงตลาดปุ๊บก็หาขนมทานกันก่อนเลย ขนมกรวย มีส่วนผสมหลักๆ คือ แป้งข้าวเจ้า แป้งถั่วเขียว และกะทิ เนื้อขนมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยด้านล่างเป็นแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งถั่วเขียว ส่วนด้านบนเป็นหน้ากะทิผสมแป้ง เวลานึ่งจะนึ่งแป้งด้านล่างให้สุกก่อนแล้วค่อยหยอดหน้ากะทิ คล้ายขนมถ้วยของภาคกลาง แต่ใช้ใบตองมาห่อเป็นกรวยแทน  สินค้าภายในตลาดนัดแห่งนี้มีตั้งแต่ผักผลไม้ อาหารพื้นบ้าน ขนมท้องถิ่นหาทานยาก ไปจนถึงของใช้ ของฝาก ผลงานศิลปะ และของแฮนด์เมดน่ารักๆ จุดเด่นของที่นี่คือแนวคิดรักสิ่งแวดล้อม มีการรณรงค์ให้เจ้าของร้านค้าลดใช้ถุงพลาสติก และนำวัสดุธรรมชาติมาทำเป็นภาชนะใส่อาหารแทน อาหารที่นี่เยอะมาก เลือกทานไม่ถูกเลย อยากซื้อไปซะหมด มีทั้งข้าวยำ เมี่ยงปลาเผา ไก่ย่าง ส้มตำ ขนมจีนน้ำยา ข้าวราดแกงใต้ชนิดต่างๆ น้ำพริก และอีกมากมาย ให้แอดบอกจนหมด ตลาดก็คงปิดพอดี เอาเป็นว่ามาเดินเลือกซื้อกันเองจะดีกว่าค่ะ  ของหวานก็ไม่น้อยหน้า ขนทัพกันมาเต็มกำลัง แอดขอยกตัวอย่างมาให้ดูสักเล็กน้อย เพื่อเป็นการกระตุ้นต่อมความอยากของหวาน หัวครกราดน้ำผึ้ง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ราดน้ำตาลกวนหรือน้ำผึ้ง หวาน มัน เคี้ยวเพลินสุดๆ ขนมโค หลากสีสัน แป้งหนึบหนับ เคี้ยวเพลิน รสชาติเหมือนขนมต้มของภาคกลางเลยค่ะ ตลาดใต้โหนดมีพื้นที่เปิดกว้างสำหรับศิลปินทุกวัย ที่มีดีแล้วอยากโชว์ของ สามารถมาเล่นดนตรีเปิดหมวกได้ ใครไปเที่ยวตลาดใต้โหนดก็ไปให้กำลังใจน้องๆ กันนะคะ ถ้าเพื่อนๆ ไปเที่ยวจังหวัดพัทลุง อย่าลืมแวะไปตลาดใต้โหนดกันนะคะ คุณยายและชาวบ้านที่น่ารักรอต้อนรับผู้มาเยือนทุกคนอยู่ 

ไปเที่ยวต(ห)ลาดใต้โหนดกันหว่า? อ่านเพิ่มเติม

ชวนล่องแพแก่งไฮ จังหวัดพิษณุโลก

การเดินทางจากอำเภอเมืองพิษณุโลกมุ่งหน้าอำเภอนครไทย เลี้ยวซ้ายที่แยกบ้านแยง ไปตามทางเรื่อยๆ จนเจอป้ายแก่งไฮ เลี้ยวซ้ายไปตามป้ายบอกทาง พร้อมแล้วก็ไปล่องแพกัน! เรือหางยาวจะลากแพพาเราออกไปกลางอ่างเก็บน้ำ ให้ได้พักผ่อน เล่นน้ำ ตกปลา รวมทั้งยังมีอาหารเดลิเวอรี่ สั่งปุ๊บมาส่งถึงที่ ราคาสบายกระเป๋าด้วย^^ แพของที่นี่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น โดยใช้ไม้ไผ่นำมาต่อเป็นแพและมุงหลังคาด้วยหญ้าคา บนแพมีอุปกรณ์ความปลอดภัย ทั้งเสื้อชูชีพและห่วงยางให้ เพื่อความปลอดภัยในการลงเล่นน้ำ เนื่องจากน้ำค่อนข้างลึก และยังเน้นย้ำให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดอีกด้วย นอกจากนี้ที่นี่ยังมีร้านสะดวกซื้อและห้องน้ำไว้คอยบริการอย่างครบครัน สำหรับการล่องแพแก่งไฮ สามารถมาล่องแพเล่นน้ำได้ตั้งแต่ 09.00 – 18.00 น. หากอยากพักค้างคืนที่นี่ก็ย่อมได้ เพราะเค้ามีบ้านพักที่รองรับได้ถึง 10-15 คน มากับเดอะแก๊งรับรองสนุกแน่นอน ทำอาหารก็ได้ ตกปลาก็ดี ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ก็จะฟินๆ หน่อย ได้มาสูดอากาศเย็นๆ ท่ามกลางบรรยากาศที่ล้อมรอบด้วยขุนเขา สดชื่นสุดๆ ขอบคุณรูปภาพจาก Facebook ล่องแพแก่งไฮ at ไฮแลนด์ ส่วนใครที่ชอบกางเต็นท์พักแรม ที่นี่ก็มีบริการจ้า เปลี่ยนบรรยากาศมานั่งชมพระอาทิตย์ตก ในช่วงแดดร่มมลมตก ก็ชิลไปอีกแบบ ขอบคุณรูปภาพจาก Facebook ล่องแพแก่งไฮ at ไฮแลนด์ สำหรับผู้ที่สนใจล่องแพแก่งไฮ มีผู้ประกอบการหลายรายให้บริการ ได้แก่ 

ชวนล่องแพแก่งไฮ จังหวัดพิษณุโลก อ่านเพิ่มเติม

วัดดังคำชะอี เจดีย์ห้ายอด วัดป่าวิเวกวัฒนาราม จังหวัดมุกดาหาร

วัดป่าวิเวกวัฒนารามที่อยู่ : บ้านห้วยทราย หมู่ที่ 9 ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร พิกัด : https://goo.gl/maps/C3eRc2HYM2K2 การเดินทาง : จากตัวเมืองมุกดาหาร ใช้ทางหลวงหมายเลข 12 วิ่งตรงมาประมาณ 44 กิโลเมตร ผ่านโรงเรียนบ้านห้วยทราย 1 ตรงมาอีก 1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาก็จะถึงวัด เมื่อเข้ามาในวัด ก็ต้องสะดุดตากับ “เจดีย์บู่ทองกิตติ” เจดีย์ศิลปะแบบประยุกต์ ทรงสูง มียอด 5 ยอด  ที่มาของเจดีย์องค์นี้ เกิดจากความฝันของหลวงปู่จามที่ได้ฝันเห็นเจดีย์รูปร่างแปลกประหลาด เมื่อตื่นขึ้นจึงได้ให้ลูกศิษย์ที่มีความสามารถในการวาดภาพวาดขึ้น จากนั้นก็นำไปให้ช่างคำนวณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง แต่ในตอนนั้นทางวัดขาดแคลนกำลังทรัพย์จึงยังไม่สามารถสร้างได้  ต่อมาคุณแม่บู่ทอง กิตติบุตร ได้มากราบหลวงปู่และเห็นภาพวาดเจดีย์ จึงเกิดศรัทธาแรงกล้าและได้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนในการสร้างเจดีย์เป็นจำนวนมาก เริ่มสร้าง เมื่อ พ.ศ.2527 แล้วเสร็จใน พ.ศ.2530 ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุของพระสาวกหลายองค์ รวมทั้งยังเป็นที่เก็บพระพุทธรูปและวัตถุโบราณอีกหลายอย่าง สามารถเข้าไปกราบสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ไม่ไกลจากเจดีย์จะมีพระอุโบสถ ซึ่งล้อมรอบไปด้วยแมกไม้ดูร่มรื่น อุโบสถทาด้วยสีออกม่วงนิดๆ และสีส้มอ่อนดูแปลกตา ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัยและพระพุทธรูปอีกหลายองค์ นอกจากนี้ใกล้ๆ พระอุโบสถยังมีส่วนจัดแสดงอัตประวัติของหลวงปู่จามและหลักธรรมคำสอนของท่านด้วย

วัดดังคำชะอี เจดีย์ห้ายอด วัดป่าวิเวกวัฒนาราม จังหวัดมุกดาหาร อ่านเพิ่มเติม

พญาศรีมุกดาฯ แลนด์มาร์คใหม่แห่งลุ่มแม่น้ำโขง

พญาศรีมุกดาฯ ออกแบบโดยนายประพัฒน์ มะนิสสา หรืออาจารย์ปื้ด ศิลปินปูนปั้นพื้นบ้านที่มีความศรัทธาในองค์พญานาคเป็นอย่างมาก มีลักษณะเป็นรูปปั้นพญานาคเศียรเดียวองค์ใหญ่ ลำตัวยาว 122 เมตร สูงประมาณ 20 เมตร มีรูปลักษณ์น่าเกรงขาม ชูคอหันไปทางแม่น้ำโขงเบื้องล่าง ลำตัวขดไปมาอย่างพลิ้วไหว มีการลงสีไล่ระดับอย่างสวยงาม ทำให้ดูมีมิติและสมจริงราวกับมีชีวิต ว่ากันว่าพญาศรีมุกดาฯ เป็นพญานาคที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วย พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ที่ตั้ง : หมู่ที่ 5 ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหารการเดินทางห่างจากตัวเมืองมุกดาหารประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 2034 (มุกดาหาร-ดอนตาล) แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนสายบ้านมโนรมย์-คำอาฮวน ประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายขึ้นไปสู่ยอดภู จะมีลานจอดรถของวัดบริเวณเชิงเขา จากตรงนี้สามารถเดินขึ้นไปได้ไม่ไกล ผู้มาเยือนสามารถสักการะขอพรองค์พญานาค ด้วยการตั้งจิตอธิษฐาน แล้วเดินลอดท้องพญานาคทั้ง 7 ช่องที่มีความหมายมงคลต่างๆ จากนั้นนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชา และนำผ้าแดงที่เขียนชื่อตัวเองไปผูกไว้ที่ต้นไม้รอบๆ พญานาค เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง นอกจากพญาศรีมุกดาฯ แล้ว ภายในวัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ รอยพระพุทธบาท ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด พระธาตุภูมโนรมย์ และพระเจ้าใหญ่แก้วมุกดาศรีไตรรัตน์ พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขาภูมโนรมย์  นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นตัวเมืองมุกดาหาร แม่น้ำโขง รวมไปถึงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ได้ และยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามของจังหวัดมุกดาหารอีกแห่งหนึ่งด้วย ขอบคุณภาพจาก : Facebook วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร 

พญาศรีมุกดาฯ แลนด์มาร์คใหม่แห่งลุ่มแม่น้ำโขง อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top