สถานที่ท่องเที่ยว

เยือนวัดเก่า ไหว้พระนอน

เวลาเดินทางท่องเที่ยวไปจังหวัดต่าง ๆ มีหลายคนที่มักจะปักหมุดจุดไหว้พระไว้อย่างน้อยหนึ่งวัด เพื่อเป็นสิริมงคลในทริปนั้น ๆ แอดก็เป็นคนหนึ่งด้วยเหมือนกัน รอบนี้เราไปอ่างทอง-สิงห์บุรี สองเมืองเก่าที่จะหันซ้ายหรือหันขวาก็มีวัดวาอารามเต็มไปหมด แถมคำขวัญของทั้งสองจังหวัด ยังเชิญชวนให้ไปกราบพระนอนอีกด้วย . แอดเลยรวบรวม 7 วัดที่มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือพระนอนของทั้ง 2 จังหวัดนี้มาให้ดูกันว่ามีที่ไหนบ้าง จังหวัดอ่างทอง วัดราชปักษีวัดท้ายย่านวัดขุนอินทประมูลวัดป่าโมกวรวิหารวัดสุวรรณเสวริยาราม.จังหวัดสิงห์บุรี วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหารวัดจำปาทอง จังหวัดอ่างทอง.วัดราชปักษี (วัดนก) .วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในวัด ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ที่สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยา องค์พระเดิมนั้นชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก แต่ในปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่แล้ว นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธรูปเก่าแก่กว่า 400 ปี “พระรอดวชิรโมลี” ที่สร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรม ในราว พ.ศ. 2163 ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ด้วย.เปิดทุกวันตั้งแต่ 07.00-18.00 น.ที่ตั้ง: ตําบลโพสะ อําาเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทองพิกัด https://goo.gl/maps/EZoRwXzXAwmaZagS9  วัดท้ายย่าน . วัดท้ายย่านเป็นวัดเก่าแก่ ภายในวิหารมีพระนอน หรือ “พระพุทธไสยาสน์ปุนญญาภา” ขนาดใหญ่ มีความยาว 18 วา 9 นิ้ว สูง 9 เมตร องค์พระห่อหุ้มด้วยผ้าไหมทอง สวยงามมาก.นอกจากนี้ ภายในวิหารยังมีรูปหล่อหลวงพ่อรอด อายุกว่า 100 ปี เป็นรูปหล่อโบราณลงรักดําทั้งองค์ เนื้อปูนเก่า และรูปหล่อหลวงพ่อลาภคู่กัน เป็นเนื้อปูนแต่มีรอยแตกอยู่บ้าง ซึ่งชาวอ่างทองให้ความเคารพเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเกจิดังอันดับต้น ๆ ของจังหวัด ซึ่งวัดท้ายย่านแห่งนี้มีเกจิดังและชื่อเป็นมงคลทั้ง 4 องค์คือ หลวงปู่รอด หลวงพ่อลาภ หลวงพ่อบุญ และหลวงพ่อทาน ประดิษฐานอยู่ในวิหารเพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา.นอกจากนี้ ในอำเภอเมืองอ่างทองยังมีวัดพระนอนอีกแห่งหนึ่งก็คือ วัดสุวรรณเสวริยาราม หากเพื่อน ๆ มีโอกาสได้เดินทางไปกราบไหว้พระนอนที่วัดแห่งนี้ อย่าลืมเอารูปมาฝากกันด้วยนะคะ .เปิดทุกวันตั้งแต่ 07.00-18.00 น.ที่ตั้ง: ตำบลศาลาแดง อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทองพิกัด https://goo.gl/maps/PcBx3LrZSfLpJteJ7 พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ที่วัดขุนอินทประมูลมีนามว่า “พระศรีเมือง” เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีขนาดใหญ่และยาวเป็นอันดับสองของไทย มีความยาวถึง 50 เมตร (25 วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหาร แต่ต่อมาวิหารโดนไฟไหม้หักพังไป เหลือเพียงองค์พระอยู่กลางแจ้งมาจนถึงทุกวันนี้.นอกจากนี้ ภายในวัดยังมีซากโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ที่เหลือเพียงฐาน ผนังบางส่วน และองค์พระพุทธรูป และในศาลาเอนกประสงค์ มีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูลและโครงกระดูกมนุษย์นิรนาม ที่พบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541.ปัจจุบัน วัดขุนอินทประมูล เป็นวัดที่ชาวอ่างทองรวมทั้งผู้คนต่างถิ่นให้ความเคารพศรัทธามากราบไหว้ ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลกันเป็นจำนวนมาก เปิดทุกวันตั้งแต่ 07.00-18.00 น.ที่ตั้ง: ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทองพิกัด: https://goo.gl/maps/51WtbLXA67YNnWbq7 วัดป่าโมกวรวิหาร . พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก มีพุทธลักษณ์ที่งดงามมาก องค์พระเป็นปูนปั้นปิดทอง พระเศียรหนุนพระเขนยทรงกระบอก 3 ใบ มีความยาวประมาณ 24 เมตร เล่ากันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมาและจมอยู่หน้าวัด ราษฎรได้บวงสรวงแล้วช่วยกันลากขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ.ในพระราชพงศาวดาร กล่าวว่า ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราช พระองค์ได้เสด็จฯ มาชุมนุมพลและถวายสักการบูชาพระพุทธรูปองค์นี้.เปิดทุกวันตั้งแต่ 07.00-18.00 น.ที่ตั้ง: ตำบลป่าโมก อําาเภอเมืองป่าโมก จังหวัดอ่างทองพิกัด https://goo.gl/maps/PxNY5XxyJnAg9x3u6  จังหวัดสิงห์บุรี วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร . พระนอนจักรสีห์เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสิงห์บุรี เป็นพระพุทธรูปปางไสยาส์ขนาดใหญ่ มีความยาว 47 เมตร 42 เซนติเมตร มีพุทธลักษณะตามแบบศิลปะสุโขทัยที่งดงามมากควรค่าแก่การไปชม.ด้านหน้าวิหารมีต้นสาละลังกาขนาดใหญ่อยู่หลายต้น ต้นสาละนี้เป็นต้นไม้สำคัญในพระพุทธศาสนา ชาวบ้านเชื่อว่าหากได้อธิษฐานและปรบมือใต้ต้นสาละแล้วดอกสาละร่วงลงมา คำอธิษฐานนั้นจะประสบผลตามที่หวังไว้.โทร. 036 520 251, 036 543 415เปิดทุกวันตั้งแต่ 06.00-17.00 น.ที่ตั้ง: ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีพิกัด: https://goo.gl/maps/PgV8KpyUoD7CK9Tx วัดจำปาทอง . ที่นี่เดิมเป็นวัดร้างชื่อ “วัดแม่ทอง” จนเมื่อมีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาปักกลดจำพรรษา ก่อนจะเข้ามาบูรณะวัดขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดจำปาทอง” เพื่อให้พ้องกับบ้านจำปาทองซึ่งเป็นชุมชนใกล้วัด.ภายในวัด ประดิษฐานพระนอนองค์ใหญ่ สีทองอร่าม สร้างขึ้นตามศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ ที่นี่ยังเป็นที่เก็บรักษาเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จประพาสล่องแม่น้ำน้อย ลักษณะเป็นเรือมาดเก๋ง ประเภทเรือแจว ชื่อว่า “เรือจำปาทองสิงห์บุรี”.โทร. 036 595 433เปิดทุกวันตั้งแต่ 08.00-16.30 น.ที่ตั้ง: ตำบลโพประจักษ์ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรีพิกัด: https://goo.gl/maps/1CE5VzdYCoJQ7kpJ9 

เยือนวัดเก่า ไหว้พระนอน อ่านเพิ่มเติม

ช่างทำกลองระดับโลก หมู่บ้านกลองเอกราช อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

เพื่อน ๆ ที่เป็นสายดนตรี ต้องรู้จักและเข้าใจความสำคัญของกลองแน่ ๆ ว่า กลองนั้นเป็นผู้คุมจังหวะ ทำให้เครื่องดนตรีทั้งวงผสมผสานกันได้อย่างไพเราะ เสียงและคุณภาพของกลองจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก วันนี้แอดจะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักแหล่งผลิตกลองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ว่ากันว่ากลองจากวงดนตรีเกินครึ่งประเทศก็ถือกำเนิดที่นี่.หมู่บ้านกลองเอกราช จ.อ่างทอง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการผลิตกลอง ทั้งกลองสั้นและกลองยาว เช่น ตะโพน กลองทัด กลองโทน รำมะนา กลองรำวง กลองเพล รวมถึงกลองของเล่นเด็กและของที่ระลึก โดยกลองของที่นี่ ทำจากไม้ฉำฉาเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่าย เพื่อน ๆ สามารถชมกรรมวิธีการทำกลองตั้งแต่เริ่มกลึงท่อนไม้ ไปจนถึงการฝังหมุด และการขึงหนังวัวทำหน้ากลอง หากผ่านหน้าบ้านกำนันหงษ์ฟ้า จะได้เห็นกลองที่ยาวที่สุดในโลกตั้งอยู่ หน้ากลองกว้าง 36 นิ้ว 92 เซ็นติเมตร ยาว 7.6 เมตร ทำจากไม้ก้ามปูต่อกันถึง 6 ท่อน.กว่า 40 ครัวเรือนของหมู่บ้านล้วนเป็นช่างทำกลองผู้เชี่ยวชาญ เพราะสำหรับหมู่บ้านทำกลองเอกราช กลองคือวิถีชีวิต และมรดกทางภูมิปัญญาที่ตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ ที่นี่จึงเหมือนพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ที่ผู้มาเยือนสามารถเรียนรู้เรื่องราว วิธีการทำกลอง ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมและประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลองได้อย่างเพลิดเพลิน.ไม่เพียงกลองสัญชาติไทยเท่านั้น แม้แต่กลองนานาชาติ ช่างกลองที่นี่ก็สามารถทำขึ้นมาได้อย่างประณีต และมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นกลองไทโกะ (ประเทศญี่ปุ่น) , กลองจังโกชุม (ประเทศเกาหลี) , กลองเซมเบ้ (กลองของประเทศแอฟริกา) ฯลฯ สามารถส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ.ที่ตั้ง : 63/4 หมู่ที่6 ตำบล เอกราช อำเภอ ป่าโมก จังหวัด อ่างทอง 14130 โทร. 0 3566 1508, 08 9090 4013, 0 3566 1875 เปิดบริการทุกวันเวลา 08.30-17.30 น. (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ช่างทำกลองระดับโลก หมู่บ้านกลองเอกราช อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง อ่านเพิ่มเติม

ของดีสิงห์บุรี…ปลาช่อนแม่ลา

พูดถึงของฝากขึ้นชื่อประจำถิ่น ไม่ว่าจะเป็นของกินของใช้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่อดใจไม่ไหวหรอกเหมือนแอดนี่ละค่ะ ไปเที่ยวไหนก็ต้องสอยติดไม้ติดมือกลับมาเสมอ . วันนี้แอดมีของดีจังหวัดสิงห์บุรีมาแนะนำ นั่นคือ ปลาช่อนแม่ลา . แม่ลา คือชื่อแม่น้ำซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อยในเขตจังหวัดสิงห์บุรี แม่น้ำแม่ลามีความอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง ดินก้นลำน้ำเป็นโคลนตม เหมาะสมกับธรรมชาติของปลาช่อนยิ่งนัก . ปลาช่อนแม่ลานั้นมีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนปลาช่อนที่อื่น คือจะมีครีบหู หรือครีบอกสีชมพู หางมน ลำตัวอ้วน หัวหลิม และมีรสชาติดีกว่าปลาช่อนจากแหล่งอื่น ๆ ตอนนี้ปลาช่อนแม่ลากำลังขึ้นทะเบียน GI (Geographical Indications) เพื่อเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และแสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสิงห์บุรี . ปัจจุบัน มีการนำปลาช่อนแม่ลามาประกอบอาหาร แปรรูป รวมทั้งพัฒนาต่อยอดให้มีรูปแบบที่แปลกใหม่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ปลาช่อนแดดเดียว น้ำพริกเผาปลาช่อน เค้กปลาช่อน ไอศกรีมกะทิปลาช่อน คุกกี้ปลาช่อน และข้าวเกรียบปลาช่อน เป็นต้น . ได้ยินแบบนี้ อยากลองขึ้นมาเลยใช่ไหม อย่ารอช้า จดจำพิกัดร้านของฝากที่แอดเอามาฝากนี้ไว้ มีโอกาสแล้ว จะได้ไปช้อปกันค่ะ 1.เกษราเบเกอรี่ เปิดทุกวัน เวลา 07.00-21.00 น. โทร. 09 5639 9779 พิกัด : https://goo.gl/maps/jv3c3JcyooAMJ6YEA 2.แม่ลา กาหลง เปิดทุกวัน เวลา 08.00-19.00 น. โทร. 08 6552 4562 พิกัด : https://goo.gl/maps/JKoexr9fUDMc24MZ6 3.ร้านอรวรรณปลาช่อนแม่ลา สิงห์บุรี เปิดทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น. โทร. 08 9744 2523 พิกัด : https://goo.gl/maps/qMppbG1mEmVc9jgN8 4.ร้านแม่วันเพ็ญสิงห์บุรี ปลาช่อนแดดเดียว เปิดทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น. โทร. 08 9540 8647 พิกัด : https://goo.gl/maps/9kWJTUFm6947gf4TA

ของดีสิงห์บุรี…ปลาช่อนแม่ลา อ่านเพิ่มเติม

นครสวรรค์…สวรรค์ใกล้กรุง

นครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ได้ชื่อว่าเป็นประตูสู่ภาคเหนือ หลายคนเคยผ่านแต่ไม่เคยแวะ ถ้าเพื่อน ๆ เป็นคนหนึ่งในนั้น มาค่ะ…มาทำความรู้จักนครสวรรค์กัน . แอดจะพาไปเที่ยว 2 วัน 1 คืน ไหว้พระคู่บ้านคู่เมือง เดินเล่นที่ชุมแสง อำเภอเล็กๆริมน้ำน่าน ล่องเรือชมนก และทำน้ำตาลกันสด ๆ รับรองว่าทริปนี้เหมือนสวรรค์ใกล้กรุงของจริงเลยล่ะ . ในอดีต นครสวรรค์หรือปากน้ำโพ เป็นเมืองที่คึกคักมาก เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญระหว่างภาคกลางและภาคเหนือ โดยเฉพาะข้าวและไม้สัก มีแม่น้ำสำคัญจากภาคเหนือไหลผ่าน และยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา การคมนาคมขนส่งสะดวกทั้งทางน้ำ ทางเกวียน และทางรถไฟ ก่อนจะค่อย ๆ ซบเซาลงเมื่อมีการตัดถนน นครสวรรค์จึงไม่ได้เป็นศูนย์กลางเช่นในอดีต . ด้วยบรรยากาศการค้าที่คึกคักในยุคนั้น จึงทำให้มีชาวจีนหลั่งไหลเข้ามาทำมาหากินมากมาย และมีส่วนช่วยสร้างเศรษฐกิจของนครสวรรค์ให้เจริญรุ่งเรือง พร้อมกับการลงหลักปักฐาน เหล่าชาวจีนก็ได้ปรับตัวเพื่อให้เข้ากับประเพณีและวัฒนธรรมของไทย ขณะเดียวกันก็ยังรักษาธรรมเนียมประเพณีของชาวจีนเองเอาไว้ จะเห็นได้จากประเพณีจีนที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้อย่างประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ และเทศกาลตรุษจีนที่ขึ้นชื่อว่าอลังการควรค่าแก่การไปชมสักครั้ง วันที่ 11.วัดคีรีวงศ์2.เกาะญวณ3.ตลาดชุมแสง4.บ้านเกยไชย5.ตลาดท่าเรือคลองคาง วันที่ 26.บึงบอระเพ็ด7.อาคารแสดงพันธุ์ปลา8.ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม9..ทุ่งปอเทือง ไร่ธรรมชัย วันที่ 1ทริปนี้แอดเริ่มเดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้เวลาขับรถประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่งก็ถึงจังหวัดนครสวรรค์.วัดคีรีวงศ์จุดแรก แอดจะพาไปไหว้พระเพื่อความเป็นสิริมงคลกันก่อนที่วัดคีรีวงศ์ บนเขาดาวดึงส์ วัดนี้เป็นปูชนียสถานสำคัญที่ชาวนครสวรรค์ให้ความเคารพนับถืออย่างมาก สิ่งที่โดดเด่นก็คือ พระจุฬามณีเจดีย์ เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขา มี 4 ชั้น ชั้นแรกเป็นที่จุดธูปบูชา ชั้นที่สองมีรูปหล่อของพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง รวมถึงรอยพระพุทธบาทจำลองไว้ให้ประชาชนได้กราบสักการะและปิดทอง.จากนั้นเดินขึ้นสู่ชั้นที่สาม ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปจำลองที่สำคัญของเมืองไทยไว้ให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา อันได้แก่ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลอง (พระแก้วมรกต) พระพุทธชินราชจำลอง พระพุทธโสธรจำลอง ฯลฯ รวมทั้งสามารถมองเห็นวิวเมืองสวย ๆ ได้อีกด้วย แต่ถ้าอยากเห็นวิวเมืองนครสวรรค์แบบเต็มตา ต้องเดินต่อไปที่ชั้นสี่ ซึ่งมีจุดชมวิวแบบพานอรามา 360 องศา.ที่ตั้ง. ถนนมาตุลี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์เปิดทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น.โทร. 056 221 633, 056 222 009พิกัด. https://goo.gl/maps/bEtmcptQvNjWN3gi8 ออกจากวัดคีรีวงศ์ เราไปกันต่อที่ เกาะญวน เกาะเล็ก ๆ ที่ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บริเวณจุดเริ่มต้นของแม่น้ำเจ้าพระยา จุดเด่นอยู่ที่คลองเล็ก ๆ มีระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ทางเทศบาลได้ปรับภูมิทัศน์คลองระบายน้ำที่ผ่านเครื่องบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงแม่น้ำเจ้าพระยา ให้กลายเป็นพื้นที่ที่ดูสวยงามราวกับทางเดินเล่นในปารีสหรือโซลเลยทีเดียว ปัจจุบันบริเวณคลองเกาะญวนเปิดให้เป็นพื้นที่พักผ่อนออกกำลังกายหรือมาเที่ยวชมได้ นอกจากนี้ยังจะปรับปรุงคุณภาพของน้ำและเริ่มเพาะพันธุ์ปลาเพื่อความสนใจและมีเสน่ห์. พิักัด. https://goo.gl/maps/noB2KMyHCyHWYBCg7 ตลาดเก่าชุมแสง.จากอำเภอเมือง เราเดินทางต่อไปที่อำเภอชุมแสง ซึ่งห่างออกไปประมาณ 40 กิโลเมตร ไปสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนที่ชื่อว่า “ชุมแสง” ชุมชนเล็ก ๆ เงียบสงบตั้งอยู่เลียบทางรถไฟสถานีชุมแสง ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของจังหวัดนครสวรรค์ก่อนเข้าเขตจังหวัดพิจิตร เมื่อเดินเลียบทางรถไฟมาเรื่อย ๆ จะเจอตลาดเก่าร้อยปี เป็นจุดที่ห้ามพลาดเพราะใครมาชุมแสงก็ต้องมาถ่ายรูปเช็คอินตรงนี้ เราจะได้สัมผัสบรรยากาศชุมชนริมแม่น้ำน่าน และเสน่ห์ของอาคารบ้านไม้เก่า อายุกว่า 100 ปีสุดคลาสสิค แม้ปัจจุบันความคึกคักจะน้อยลงกว่าสมัยก่อนแต่ก็ไม่ถึงเงียบเหงา แอดเดินตามตรอกออกตามซอยยังคงเห็นคุณย่า คุณยายขายของกันสารพัดทำให้ดูมีชีวิตชีวามาก ๆ เลยค่ะ มาถึงชุมแสงก็ต้องมาตามรอยละครกรงกรรมสักหน่อย แอดจะพาไปแวะเช็คอินที่บ้านแม่ย้อย หรือที่คุ้นชื่อกันว่า อัศวรุ่งเรืองพานิช เป็นบ้านไม้เก่าสองชั้น อยู่ไม่ไกลจากตลาดเก่า ใครชื่นชอบละครเรื่องนี้ก็ตามมาถ่ายรูปกับบ้านหลังนี้ได้.พิกัด. https://goo.gl/maps/eKMjQRr7fCBh4v3d9 ถัดมาอีกหน่อยจะเจอ ชุมแสง แกลเลอรี่ ภายในจัดแสดงรูปภาพและของเก่าวินเทจที่หาดูได้ยาก.พิกัด. https://goo.gl/maps/bgxQGDAwfr8qByxJ6 ส่วนด้านหน้าจะมีกราฟิตี้ลายหน้ากากอยู่บนกำแพงบ้าน เก๋ๆชิคๆแบบนี้ก็ต้องมีภาพกลับไปอวดเพื่อน ๆ แล้วล่ะ.พิกัด. https://goo.gl/maps/bgxQGDAwfr8qByxJ6 ออกจากแกลเลอรี่ เดินมาเรื่อย ๆ ก็จะเจอศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง เป็นศาลเจ้าที่อยู่คู่ชุมชนชุมแสงมานาน อยู่ติดกับปากคลองจระเข้เผือก ชาวชุมแสงจึงเรียกขานกันว่า ศาลเจ้าพ่อคลองจระเข้เผือก ศาลนี้สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในตลาดชุมแสง และในทุก ๆ ปีจะมีงานแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสง ซึ่งเป็นเทศกาลสำคัญที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานาน.พิกัด. https://goo.gl/maps/XBH7RUGtkwz4Gns28 ว่ากันว่า มาชุมแสงต้องลิ้มลองซาหริ่มรถเข็นเจ้าดังที่อยู่ใกล้ ๆ สถานีรถไฟชุมแสง เพื่อน ๆ สามารถเลือกได้ความชอบเลยค่ะ ทั้งหอมทั้งอร่อย แถมราคาไม่แพงอีกด้วย เริ่มต้นที่ 10 บาท พิกัด. https://goo.gl/maps/QY6YbGVhFnyEQf2r5 บ้านปากคลองเกยไชย.จากตลาดเก่าชุมแสงไปประมาณ 7 กิโลเมตร เราจะไปบ้านเกยไชย ดูวิธีการทำน้ำตาลสด ๆ กัน บ้านเกยไชย มีต้นตาลเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านที่นี่จึงรู้จักวิธีการทำน้ำตาลโตลด น้ำตาลสด และอื่น ๆ เป็นอย่างดี ไม่เพียงเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ยังแปรรูปเป็นสินค้าวางขายด้วย ที่นี่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวชุมชน เพราะมีความโดดเด่นเรื่องวิถีชีวิตท้องถิ่น นักท่องเที่ยวสามารถมาชมการสาธิตขึ้นเก็บตาล การผลิตน้ำตาลสด การทำน้ำตาลโตนด การทำขนมตาล การทำอาหารจากตาล และการทำไอศกรีมตาล  ต้นตาลที่สามารถให้น้ำตาลได้นั้นจะต้องมีอายุถึง 20 ปี ตาลที่ได้มาจะมีสีเหลืองนวลและหวานหอม เหมาะกับการนำไปทำขนมซึ่งจะให้ความหวานอร่อยได้ดีกว่าขนมที่ทำด้วยน้ำตาลทราย หากใครอยากจะมาเรียนรู้การทำน้ำตาลสด แอดแนะนำให้ติดต่อล่วงหน้านะคะ ตาลจะมีตลอดปี แต่ช่วงระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม จะมีตาลเยอะที่สุด บ้านปากคลองเกยไชย ที่ตั้ง. ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์เปิดทุกวัน เวลา 09.00-17.00 น.โทร. 08 1067 9646, 08 1786 7716พิกัด. https://goo.gl/maps/rvmFGuiqv79yUHpu9 เย็นนี้แอดขอพากลับมาที่อำเภอเมืองนะคะ มาเดินเล่นกันที่ตลาดท่าเรือคลองคาง ริมแม่น้ำปิง.ตลาดท่าเรือคลองคางเป็นตลาดต้องชม มีของขายมากมายทั้งของคาวและของหวาน แอดบอกเลยว่ายามเย็นที่นี่บรรยากาศดีมาก ๆ ค่ะ เราสามารถนั่งชิล รับลมเย็น ๆ ริมน้ำได้อย่างสบายอารมณ์ เพราะทางตลาดมีโซนนั่งกินริมน้ำให้สำหรับนักท่องเที่ยว รวมไปถึงมุมถ่ายรูปสวย ๆ.ที่ตั้ง. ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์เปิดวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 15.00-21.00 น.โทร. 08 9643 9237พิกัด. https://goo.gl/maps/bKohoH97HvuHFesx8 วันที่ 2บึงบอระเพ็ด.เช้านี้แอดจะพาเพื่อน ๆ ไปล่องเรือดูนกกันที่บึงบอระเพ็ด แอดเชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องเคยได้ยินชื่อเสียงของที่นี่แน่ ๆ

นครสวรรค์…สวรรค์ใกล้กรุง อ่านเพิ่มเติม

พาสาน แลนด์มาร์กดีไซน์เก๋ริมน้ำนครสวรรค์

“พาสาน” เกิดจากความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครสวรรค์ ประชาชน และบริษัทสถาปนิกเอกชน เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้คนได้ศึกษาและทำความเข้าใจสายน้ำสำคัญของประเทศ รวมทั้งเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนท้องถิ่นได้ใช้ประโยชน์ . ที่ตั้ง: แหลมเกาะยม ต ปากน้ำโพ อ.เมือง นครสวรรค์ 60000เปิดทุกวัน เวลา 06.00-20.00 น.โทร. 0 5622 1811 ททท.สำนักงานสครสวรรค์ คำว่า “พาสาน” เป็นคำที่คิดขึ้นมาใหม่ แผลงมาจาก “ผสาน” ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อกัน คำว่า “พาสาน” ในที่นี้จึงแปลว่า การพาคนเข้ามาเชื่อมต่อกับสถานที่และสภาพแวดล้อม เพื่อให้เกิดการผสมผสานกันอย่างลงตัว เช่นเดียวกับการรวมตัวกันของแม่น้ำสายหลัก จนเกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยานั่นเอง อย่างที่ทราบกัน ว่าแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำที่เกิดจากการรวมกันของแม่น้ำ 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน (แม่น้ำปิงจะไหลมารวมกับแม่น้ำวัง และแม่น้ำยมไหลมารวมกับแม่น้ำน่าน) โดยแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านจะไหลมารวมบริเวณปากน้ำโพ หรือที่เรียกกันว่า “ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา” ซึ่งอยู่ตรง “พาสาน” พอดี.** แม่น้ำปิงจะมีสีค่อนข้างเขียว ส่วนแม่น้ำน่านสีจะออกแดง เมื่อไหลมารวมกัน จึงทำให้เกิดปรากฎการณ์แม่น้ำสองสีขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจาก “พาสาน” ตั้งอยู่บริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยา รูปแบบของอาคารจึงมีโครงสร้างที่โค้งและลื่นไหล เหมือนกับสายน้ำที่กำลังเคลื่อนไหว สื่อถึงการรวมตัวกันของแม่น้ำสายหลักทั้ง 4 สาย ที่ผสานกันเป็น 2 สาย และรวมเป็นหนึ่งในที่สุด โดยนักท่องเที่ยวจะเที่ยวชมได้ทั้ง ลานประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิม ลานกิจกรรม สวนริมแม่น้ำ แพท่าน้ำ ส่วนแสดงนิทรรศการ (มีการหมุนเวียนเรื่อย ๆ ) ห้องประชุม สำนักงานและจุดชมวิวบนชั้นดาดฟ้า ช่วงเวลาไฮไลท์ที่แอดชอบมากคือ ช่วงเย็นๆ ได้มาเดินเล่นชมช่วงพระอาทิตย์ตก บอกเลยว่าบรรยากาศดีมาก ๆ อยากให้เพื่อน ๆ ได้มาสัมผัสด้วยตัวเอง.การเดินทางทางบก: ขับรถข้ามสะพานป้อมหนึ่ง (สะพานนิมมานรดี) แล้วเลี้ยวขวา ตรงไป พอเจอสามแยกให้เลี้ยวขวา ก็จะเจอกับทางเข้าพาสาน.ทางน้ำ: สามารถขึ้นเรือข้ามฟากได้ที่บริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนริมเขื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์ ค่าเรือไป-กลับคนละ 30 บาท ถ้าเพื่อน ๆ มีเวลา แอดแนะนำให้ไปทางน้ำ เพราะจะได้สัมผัสกับความงดงามของต้นแม่น้ำเจ้าพระยา และวิถีชีวิตของผู้คนริมนํ้าอย่างใกล้ชิด

พาสาน แลนด์มาร์กดีไซน์เก๋ริมน้ำนครสวรรค์ อ่านเพิ่มเติม

นครสวรรค์…สวรรค์ความอร่อย

ถ้าเอ่ยถึงของอร่อยนครสวรรค์ ใคร ๆ คงนึกถึงขนมโมจิ แต่ที่จริงแล้ว นครสวรรค์มีของอร่อยขึ้นชื่อให้ลิ้มลองมากมายกว่านั้น ไปดูกันว่าแอดเลือกอะไรมาฝาก . แต่เชื่อเถอะ แม้ว่าเมนูเหล่านี้จะมีให้กินทั่วไทย แต่จะฟินเท่ากับไปกินถึงถิ่นได้ยังไงกัน จริงไหม ลูกชิ้นปลากราย.เรียกว่าเป็นเมนูขึ้นชื่อแห่งปากน้ำโพเลยก็ว่าได้ ด้วยภูมิประเทศที่มีลำน้ำสี่สาย ปิง วัง ยม น่าน ไหลมาบรรจบกัน เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแหล่งรวมปลาน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของไทย โดยเฉพาะปลากรายที่มีอยู่ชุกชุม ประกอบกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและการประกอบอาหารของคนไทยเชื้อสายจีนแห่งเมืองปากน้ำโพ จึงได้นำเอาเนื้อปลากรายมาแปรรูปเป็นลูกชิ้นปลากราย.จุดเด่นลูกชิ้นปลากรายที่นี่ คือใช้เนื้อปลากรายแท้ 100% เพื่อความเหนียวนุ่ม และอร่อยน่ากิน แกงนอกหม้อ.เมนูนี้เป็นอาหารถิ่นที่ชาวนครสวรรค์คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่คนต่างถิ่นอย่างเรา ๆ คงสงสัยกันอยู่ว่า ทำไมถึงชื่อแกงนอกหม้อ แล้วเขาทำกันยังไง.แกงนอกหม้อของนครสวรรค์โดดเด่นไม่เหมือนแกงอื่น เพราะเป็นแกงกะทิที่ใส่เครื่องเทศ เครื่องเทศที่ใช้ก็คือ ลูกจันทน์เทศ ลูกกระวาน โป๊ยกั้ก ยี่หร่า และเม็ดผักชี นำมาคั่วแล้วโขลกรวมกับหอม กระเทียม และพริกแห้ง เวลาผัดเครื่องแกง กลิ่นเครื่องเทศจะหอมฟุ้งเป็นเอกลักษณ์.ขั้นตอนการทำก็ต่างจากแกงทั่วไป หลังจากทำเครื่องแกงแล้ว ก็จะรวนเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ให้สุกแล้วตักขึ้นพัก จากนั้นก็ตั้งไฟเคี่ยวกะทิให้แตกมันแล้วพักไว้ ตอนปรุงจะเริ่มจากผัดเครื่องแกงกับเนื้อที่รวนไว้จนสุก แล้วค่อยเทกะทิที่เคี่ยวไว้ลงไป ปรุงรสให้กลมกล่อมด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำกระเทียมดอง เป็นอันเสร็จ.คำว่า “แกงนอกหม้อ” หมายถึงการแยกปรุงส่วนเนื้อและเครื่องแกงให้สุกไปทีละอย่าง แล้วค่อยนำทุกอย่างที่สุกแล้วมาแกงรวมกันอีกทีนั่นเอง ขอบคุณรูปภาพจาก Steve Cafe & Cuisine Dhevet Branch https://www.facebook.com/stevecafeandcuisine/ .แอบบอกใบ้ให้นิดนึง ร้านนี้เป็นร้านในกรุงเทพฯ ที่มีทั้งหมด 3 สาขา ได้แก่ สาขาเทเวศร์ สาขาพระรามหกและสาขาผ่านฟ้า ใครอดใจไม่ไหวก็ไปทานที่ร้านนี้กันได้เลย เมนูไหลบัว.นอกจากอาหารถิ่นอย่างแกงนอกหม้อและลูกชิ้นปลากรายแล้ว ยังมีวัตถุดิบท้องถิ่นอีกอย่างหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร นั่นคือ “ไหลบัว”.“ไหลบัว” คือหน่ออ่อนของบัวหลวง ในบึงบอระเพ็ดซึ่งเป็นบึงน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ด้วยไม้น้ำต่าง ๆ รวมทั้งบัวหลวง ชาวบ้านจึงนำวัตถุดิบที่มีอยู่แล้วและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างมูลค่า และเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน.เมนูที่นิยมนำไหลบัวมาทำอาหารถิ่นของนครสวรรค์ได้แก่ ยำไหลบัว ก๋วยเตี๋ยวไหลบัว ขนมโมจินครสวรรค์.ขนมขึ้นชื่อของนครสวรรค์ที่บอกเลยว่า ใครไปเที่ยวก็ต้องได้ติดไม้ติดมือกลับมาบ้างล่ะ.แท้จริงแล้วเป็นขนมเปี๊ยะที่มีการดัดแปลงตามแบบขนมโมจิ และปรับรสชาติให้ถูกปากคนไทย นับว่าเป็นต้นตำรับโมจิแห่งแรกของไทยเลยทีเดียว.โมจิของญี่ปุ่น คือขนมที่ทำจากข้าวเป็นส่วนผสมหลัก โดยผ่านกรรมวิธีการตำให้เหนียวนุ่ม มีรูปแบบและรสชาติที่หลากหลายกันไป ส่วนของขนมโมจินครสวรรค์จะมีหน้าตาและรสชาติคล้าย ๆ กับขนมเปี๊ยะนมข้น ที่มีรสหวาน มีไส้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ไส้ถั่ว ไส้มะพร้าว ไข่เค็ม เป็นต้น.ขอบคุณรูปภาพจาก  โมจิวัฒนพร ของฝากนครสวรรค์ ขนมข้าวโปง.ขนมข้าวโปงเป็นขนมไทยโบราณที่น้อยคนจะรู้จัก เดิมทีเป็นขนมที่ชาวนานิยมทำในประเพณีรับขวัญข้าว ทำจากแป้งข้าวเหนียว นำมานึ่ง เนื้อสัมผัสเหนียว นุ่ม กลิ่นหอม มีรสหวานนำ เค็มนิด ๆ นำมาห่อไส้ถั่วแล้วคลุกงาดำป่นหยาบ.ฟังดูแล้วก็ดูเหมือนขนมไทยทั่วไป แต่ในปัจจุบันนับว่าเป็นขนมที่หากินได้ยากมาก ๆ ถ้ามีโอกาสได้ไปนครสวรรค์ แอดขอแนะนำให้ไปลองสักครั้ง

นครสวรรค์…สวรรค์ความอร่อย อ่านเพิ่มเติม

5 ชุมชนผ้าทอมือ ลำพูน

ลำพูน จังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน มีธรรมชาติงดงามตระการตา มีวัดวาอารามที่สวยงามและทรงคุณค่า เป็นเมืองที่น่าค้นหาที่ไม่ควรเลยผ่าน . นอกจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้วลำพูนยังมีชุมชนทอผ้าที่สำคัญ ๆ กระจายตัวอยู่ทั่วจังหวัด ล้วนผลิตผ้าที่คุณภาพดี มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดนเด่นไม่ซ้ำใคร . จะมีชุมชนใจและโดดเด่นเรื่องไหน อ่านต่อกันได้เลย  ผ้าฝ้ายทอมือชุมชนชาวยอง ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าแม่สารบ้านตอง ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นหนึ่งในหมู่บ้านท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของจังหวัด ที่มีชื่อเสียงทางด้านผ้าทอยกดอกอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว.การทอผ้าของชุมชนแห่งนี้มีความเป็นมายาวนานสิบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งคนในชุมชนจะทอผ้าทำหลังจากที่ปฏิบัติภารกิจประจำวันเสร็จแล้ว โดยจะมารวมกลุ่มกันทอผ้าที่วัดต้นแก้ว.การทอผ้าที่นี่ไม่ใช่เป็นการทอเพื่อนำผลิตภัณฑ์ไปขายอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นการอนุรักษ์การทอผ้าในรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวยองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษไว้.ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของชุมชนแห่งนี้คือ ผ้าฝ้ายยกดอกเอกลักษณ์ของเมืองลำพูน นอกจากนั้นยังทอผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วย เช่น ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมไหล่ ย่าม ฯลฯ สามารถไปชม และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้ที่วัดต้นแก้ว รวมไปถึงสามารถเดินชมพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนยองวัดต้นแก้วได้อีกด้วย . ที่ตั้ง: ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนโทร. 08 7181 8296พิกัด: https://goo.gl/maps/2TT6vwzM5ChPZnyu9 หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านดอนหลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นแหล่งผลิตงานหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือรายใหญ่อีกแห่งหนึ่งของประเทศ.กลุ่มทอผ้าบ้านดอนหลวงเกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และคงอยู่ของการทอผ้าฝ้าย โดยชาวบ้านที่นี่จะแบ่งกลุ่มออกตามความถนัด เช่น กลุ่มทอผ้าสี่ตะกอ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย กลุ่มตัดเย็บ กลุ่มบาติกมัดย้อม เป็นต้น.เมื่อแต่ละกลุ่มได้ทำผลิตภัณฑ์เสร็จแล้วจะส่งผลิตภัณฑ์ของตัวเองมาจำหน่ายที่ร้านค้าที่ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน ทำให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า ผ้าคลุมไหล่ ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูเตียง เป็นต้น.และในเดือนเมษายนของทุกปี จะมีการจัดงาน “แต่งสีอวดลาย ผ้าฝ้ายดอนหลวง” ซึ่งกิจกรรมภายในงานจะเน้นไปที่รูปแบบของหมู่บ้านหัตถกรรมและวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตของคนป่าซาง โดยงานจะจัดทั้งกลางวันและกลางคืนเลยล่ะ.ที่ตั้ง: ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนโทร. 08 4503 3877, 09 7921 6997 พิกัด: https://goo.gl/maps/jhooEu3h1Zn5HZxp7 ศูนย์หัตถกรรมบ้านห้วยต้ม.ศูนย์หัตถกรรมบ้านห้วยต้ม ตั้งอยู่ที่ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน นอกจากอาชีพหลักอย่างการทำสวนทำไร่แล้ว ชาวบ้านที่นี่ยังมีฝีมือในงานหัตถกรรมหลายรูปแบบ เช่นการทอผ้าโดยใช้เอวเป็นกี่ในการทอ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ.ซึ่งผ้าฝ้ายทอมือของชุมชนแห่งนี้เป็นกะเหรี่ยงลายโบราณที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการถักทอเส้นสีโดยเลียนแบบธรรมชาติ ทำให้รู้สึกถึงสีสันของฤดูทั้ง 3 ฤดูในผืนผ้าแต่ละผืน.นอกจากนี้ยังมีการทำเครื่องเงินแท้ 100% ที่มีการออกแบบลวดลายที่สะท้อนวิถีชีวิตชาวบ้าน โดยลวดลายต่าง ๆ ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ เช่น ปลา ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ดข้าว เป็นต้น.เมื่อชาวบ้านทำผลิตภัณฑ์เสร็จแล้วจะนำมาวางจำหน่ายที่ศูนย์หัตถกรรมบ้านห้วยต้มกลางหมู่บ้าน นักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อสินค้าของชุมชนได้จากศูนย์หัตถกรรมนี้เลย.ที่ตั้ง: ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนโทร. 08 7173 8152, 06 2308 2689พิกัด: https://goo.gl/maps/WeJwrXhCz83xAZv69  ชุมชนผ้าทอบ้านหนองเงือก.บ้านหนองเงือก ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงในเรื่องการทอผ้าที่สืบสานการทอผ้าฝ้ายและกรรมวิธีจากบรรพบุรุษ.ชาวหนองเงือกมีบรรพบุรุษเป็นชาวยอง อาศัยอยู่ในมณฑลยูนนาน แคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน อพยพมาตั้งถิ่นฐานในที่ราบลุ่มแม่น้ำทา อำเภอป่าซาง และได้เริ่มการทอผ้าฝ้ายเพื่อใช้เองในครอบครัว ซึ่งทอโดยวิธีการใช้กี่แบบโบราณ.ชาวหนองเงือกได้นำเทคนิคการทอผ้าแบบโบราณมาพัฒนาและปรับปรุงลวดลายให้ดูทันสมัยมากขึ้นโดยการเพิ่มความสลับซับซ้อนและใช้สีสันในลวดลาย เช่น ลายเกล็ดเต่าลูกอม ลายเกล็ดเต่าหมู่ ลายเกล็ดเต่าจิ๋ว ลายเกล็ดเต่าตา ลายดอกช้าง ลายดอกนก ลายดอกบัวเครือ ลายดอกขอลายไทย เป็นต้น ทำให้ผ้าทอของชุมชนแห่งนี้มีความทันสมัยอยู่เสมอ.บ้านหนองเงือกไม่เพียงเป็นแหล่งทอผ้าฝ้ายที่สำคัญของลำพูนเท่านั้น ยังเป็นแหล่งผลิตชิ้นงานส่งจำหน่ายในเมืองท่องเที่ยวในภาคเหนืออย่างเชียงใหม่ รวมถึงกรุงเทพฯ อีกด้วย.ที่ตั้ง: ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนโทร. 06 1449 9645พิกัด: https://goo.gl/maps/MiT9RyCPrm5ej9pV6 กลุ่มทอผ้ากระเหรี่ยงแม่ขนาด.หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่ขนาด ตั้งอยู่ที่ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงปากะญอ มีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย.ชาวบ้านในชุมชนยังคงแต่งกายด้วยชุดชาวเผ่า ผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วนุ่งผ้าถุงสีแดง คาดลายสีต่าง ๆ ที่ทอขึ้นเอง ปักด้วยลูกเดือยและตกแต่งด้วยผ้าสีแดง ผู้หญิงโสดใส่ชุดยาวสีขาว แต่งลวดลายด้วยสีต่าง ๆ ส่วนผู้ชายใส่เสื้อโพล่งสีแดง กางเกงสะดอหรือโสร่ง.ชาวบ้านส่วนใหญ่ทอผ้าใช้เอง ลงมือทำตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ทอผ้า และประดับลูกเดือย และยังมีการสืบทอดวิธีการ เทคนิคต่าง ๆ ต่อกันมาจนถึงรุ่นลูกหลาน.ภายในหมู่บ้านมีกลุ่มทอผ้า และศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ สินค้าที่ไดเรับความนิยม เช่น มีทั้งเสื้อ ผ้าซิ่น ผ้าคลุมทีวี ผ้าคลุมไหล่ขนาดต่าง ๆ เป็นต้น.ที่ตั้ง: ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนโทร. 08 1961 8741พิกัด: https://goo.gl/maps/CB99qSJPUhS29yAf9

5 ชุมชนผ้าทอมือ ลำพูน อ่านเพิ่มเติม

ไหว้ ๑๒ พระบรมธาตุเจดีย์ประจำปีนักษัตร

“พระบรมธาตุเจดีย์” เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ คือ อัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า โดยมีการอัญเชิญและสร้างเจดีย์เป็นที่ประดิษฐาน ณ สถานที่ต่าง ๆ และจัดพิธีสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา เชื่อว่าการสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุเสมือนการได้ “ชุธาตุ” หรือกราบไหว้บูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีคติความเชื่อว่า “นามเปิ้ง” คือนามของสัตว์ที่เป็นพาหนะในการนำมาเกิดตามราศี จึงกำหนดพระบรมธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดนักษัตร เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลในการสักการบูชา พระบรมธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดนักษัตรส่วนใหญ่จึงอยู่ในภาคเหนือ และมีหนึ่งแห่งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑. พระธาตุประจำปีเกิด ปีชวด (ปีหนู) ธาตุน้ำ“พระธาตุศรีจอมทอง” วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ถนนเชียงใหม่-ฮอด ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พระธาตุศรีจอมทอง ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระเศียรเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า โดยพระบรมสารีริกธาตุนี้มิได้ถูกบรรจุฝังไว้ใต้ดินเช่นที่อื่น แต่ถูกบรรจุไว้ในพระโกศห้าชั้น ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวงซึ่งอยู่ด้านหลังองค์พระธาตุเจดีย์ศรีจอมทอง และในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ (เหนือ) หรือก็คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ (ประมาณเดือนมิถุนายน) ของทุกปี ที่วัดจะมีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุศรีจอมทอง.การเดินทาง : จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ เส้นทางเชียงใหม่-ฮอด จนถึงตัวอำเภอจอมทอง จะพบวัดตั้งอยู่ซ้ายมือ มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถเมล์และรถสองแถว สายเชียงใหม่-จอมทอง วิ่งผ่านหน้าวัด สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งช้างเผือกในตัวเมืองเชียงใหม่ ๒. พระธาตุประจำปีเกิด ปีฉลู (ปีวัว) ธาตุดิน“พระธาตุลำปางหลวง” วัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งของประเทศไทย จากตำนานกล่าวว่า วัดอยู่บนซากเมืองโบราณลัมพกัปปะนคร พระนางจามเทวีได้เสด็จมาโปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ มีพระธาตุเจดีย์ทรงลังกาบุทองเหลืองฉลุลาย ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ได้แก่ พระเกศาธาตุ (ผม) พระนลาฏ (หน้าผาก) ข้างขวา และส่วนพระศอด้านหน้าและด้านหลังของพระพุทธเจ้า การสักการบูชามักจัดให้มีขึ้นในช่วงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา.การเดินทาง : จากตัวเมืองลำปาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ (ลำปาง-เถิน) จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าตัวอำเภอเกาะคา และข้ามแม่น้ำวัง จะพบที่ว่าการอำเภอเกาะคา ให้เลี้ยวขวาและตรงไป ๓ กิโลเมตร ถึงวัด ๓. พระธาตุประจำปีเกิด ปีขาล (ปีเสือ) ธาตุไม้“พระธาตุช่อแฮ” วัดพระธาตุช่อแฮ ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ภายในพระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐาน พระเกศาธาตุและพระบรมธาตุส่วนพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า ในวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ (ประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคม) ของทุกปี ทางวัดจะจัด “งานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง” มีริ้วขบวนเครื่องสักการะ ผ้าห่มพระธาตุ ๑๒ ราศี ตุง ๑๒ ราศี และเทศน์มหาชาติ.การเดินทาง : จากสี่แยกบ้านทุ่งในตัวเมืองแพร่ ไปตามถนนช่อแฮ รวมระยะทางจากตัวเมืองประมาณ ๙ กิโลเมตร ๔. พระธาตุประจำปีเกิด ปีเถาะ (ปีกระต่าย) ธาตุน้ำ“พระธาตุแช่แห้ง” วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงติ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ภายในพระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐาน พระเกศาธาตุและพระบรมธาตุส่วนข้อมือซ้ายของพระพุทธเจ้า ในวันขึ้น ๑๑-๑๕ ค่ำ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ (ประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม) จะมีการจัด “งานนมัสพระธาตุแช่แห้ง” โดยมีการแห่ตุงถวายพระบรมธาตุ และจุดบอกไฟ (ลักษณะเดียวกับบั้งไฟ ประทัด หรือดอกไม้ไฟ) ถวายเป็นพุทธบูชา.การเดินทาง : จากตัวเมืองน่าน ข้ามสะพานแม่น้ำน่าน ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๑๖๘ ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร ๕. พระธาตุประจำปีเกิด ปีมะโรง (ปีงูใหญ่) ธาตุดิน“พระมหาธาตุเจดีย์ หรือ พระธาตุหลวง” วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภายในพระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า และบริเวณใกล้กันยังเป็นที่ตั้งของพระวิหารลายคำ ซึ่งภายในประดิษฐาน “พระสิงห์” (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปคู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระวิหารลายคำนี้ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น เพราะมีลวดลายปิดทองล่องชาด เทคนิคการฉลุลายปรากฏบนฝาผนังหลังพระประธานและเสากลางพระวิหาร เสาระเบียงด้านหน้าพระวิหาร ตลอดถึงบางส่วนของโครงไม้ บนฝาผนังภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง สังข์ทองและสุวรรณหงส์ เขียนด้วยสีฝุ่นมีความงดงามมาก.การเดินทาง : วัดพระสิงห์อยู่ใกล้บริเวณคูเมืองด้านใน ตรงบริเวณจุดบรรจบระหว่างถนนสามล้าน ถนนสิงหราช และถนนราชดำเนิน หรือใช้บริการรถโดยสารสองแถวแดงที่ให้บริการในตัวเมืองเชียงใหม่ ๖. พระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเส็ง (ปีงูเล็ก) ธาตุน้ำ“พระเจดีย์เจ็ดยอด” วัดโพธารามมหาวิหาร ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พระเจดีย์เจ็ดยอด จำลองแบบจากมหาวิหารเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย สร้างสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงให้แบ่งหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่พระสงฆ์สิงหลนิกายลังกาวงศ์นำมาจากลังกาแล้วปลูกไว้ที่เชิงดอยสุเทพ ให้นำมาปลูกไว้ใกล้กับพระเจดีย์เจ็ดยอดด้วย จึงมีสองสิ่งสำคัญในการเป็นที่สักการะประจำปีเกิดปีมะเส็ง คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระมหาเจดีย์เจ็ดยอด.การเดินทาง : จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้ถนนห้วยแก้วจนถึงสี่แยกรินคำ ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ (เชียงใหม่-ลำพูน) ตรงไปประมาณ ๑ กิโลเมตร จะพบวัดตั้งอยู่ซ้ายมือ ๗. พระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเมีย (ธาตุไฟ)พระบรมธาตุ วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก มีตำนานกล่าวถึงสถานที่ตั้งของพระบรมธาตุเจดีย์ว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาที่แห่งนี้ และตรัสว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วให้นำพระเกศาธาตุมาประดิษฐานไว้ที่นี่ ต่อมาจึงมีการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้น โดยภายในบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ในวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ (ประมาณปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายน) ของทุกปี

ไหว้ ๑๒ พระบรมธาตุเจดีย์ประจำปีนักษัตร อ่านเพิ่มเติม

ร้านใบบัว อาหารเหนือ-เชียงตุง

ร้านนี้ขายอาหารเหนือและอาหารเชียงตุง แล้วอาหารเชียงตุงกับอาหารเหนือเกี่ยวข้องกันยังไง แอดจะเล่าให้ฟัง ในอดีตพ่อค้าทางภาคเหนือนิยมใช้เส้นทางเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย แม่สาย เชียงตุงในการค้าขาย บางทีก็ยาวไปถึงยูนนาน หรืออาจถึงสิบสองปันนาเลยก็ได้ จึงมีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินอาหารของท้องถิ่นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และมีการปรับเปลี่ยนวัตถุดิบหลายอย่างให้เข้ากับยุคสมัย แต่ร้านใบบัวยังคงใช้สูตรเชียงตุงดั้งเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง . แอดเลยอยากมาแบ่งปันประสบการณ์การกินอาหารกับเพื่อน ๆ ให้รู้ว่ารสชาติที่มีมาตั้งแต่อดีตจะเป็นยังไง แต่ถ้ายังลังเลอยู่ว่าจะไปลองดีไหม? ลองอ่าน ลองดูความฟินของอาหารที่แอดจะนำเสนอกันก่อน . ที่ตั้ง : ซอยประชาราษฎร์บำเพ็ญ 9 แขวง ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310เปิด 11.00 – 21.30 น.โทร. 02-690-3166, 02-690-3167พิกัด : https://www.facebook.com/BaibuaNorthernThaifood/.วิธีเดินทาง : ใช้ MRT ห้วยขวาง ทางออกที่ 1 เดินเข้าซอยประชาราษฎร์บำเพ็ญ 9 ร้านจะอยู่ซ้ายมือ ถ้าไม่อยากเดิน สามารถใช้บริการมอเตอร์ไซค์ (15 บาท) “ร้านใบบัว” เป็นร้านอาหารเชียงตุงขนาด 2 คูหา เปิดมาแล้วกว่า 30 ปี แอดมาถึงร้าน 11:00 ตรงเป๊ะ ร้านเพิ่งจะเปิด ระหว่างรอให้ร้านพร้อม เจ้าของร้านเลยมานั่งคุยด้วย พร้อมแนะนำรสชาติและอาหารเมนูต่าง ๆ ให้เราได้รู้จักอย่างเป็นกันเอง นับเป็นเสน่ห์ที่น่ารักของร้านที่แอดประทับใจ เจ้าของร้านชื่อพี่อร เป็นชาวไทยเขิน จากเมืองเชียงตุง แต่มาอยู่ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สูตรอาหารส่วนใหญ่จึงมีความเป็นเชียงตุงอยู่มาก และวัตถุดิบต่าง ๆ ก็นำเข้ามาจากเชียงตุง โดยผ่านทางญาติเจ้าของร้านที่อยู่ที่แม่สายนั่นเอง.พี่อรบอกว่า ถ้าเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ต้องมาเร็วหน่อย เพราะอาหารจะหมดไวมาก โดยเฉพาะอุ๊บไก่ (แกงไก่ที่เคี่ยวจนเปื่อย) ทางร้านแนะนำให้กินอุ๊บไก่คู่กับข้าวเหลือง ข้าวเหนียวที่นึ่งกับชาดอกกุ๊ด (密蒙花) ดอกไม้ป่าคล้าย ๆ กับดอกราชาวดีที่ต้องนำเข้าจากเชียงตุงเท่านั้น เมื่อนำมานึ่งกับข้าวเหนียว จะได้สีเหลืองสวย มีกลิ่นน้ำผึ้งอ่อน ๆ.ในแต่ละวัน ที่นี่จะเปลี่ยนเมนูไปเรื่อย ๆ ไม่ต่ำกว่า 40 เมนูเลยทีเดียว ใช่แล้วเพื่อน ๆ ไม่ได้อ่านผิด 40 เมนูจริง ๆ !!.ตามไปดูเมนูที่แอดสั่งวันนี้กันเลยยย ข้าวซอยน้อย มีแบบธรรมดา และแบบทรงเครื่อง แอดเลือกแบบธรรมดา ร้านนี้เขาทำกันสด ๆ ที่หน้าร้านเลย วิธีทำคือ นำแป้งผสมน้ำใส่ถาด จุ่มถาดลงในหม้อน้ำร้อน ไม่กี่นาทีแป้งก็สุก ตลบแป้งพับเป็นสามเหลี่ยม เนื้อแป้งสัมผัสหยุ่นนิ่ม กินกับน้ำจิ้มรสเผ็ดแต่อร่อย . ถ้าเป็นข้าวซอยน้อยทรงเครื่อง เพื่อน ๆ สามารถเลือกใส่เครื่องเพิ่มเติม ทั้งหมูสับ ผักต่าง ๆ ไส้กรอก ปูอัด ไข่ ฯลฯ น้ำเงี้ยว น้ำเงี้ยวถ้วยนี้ รสชาติแบบว่า…เหนือถูกใจแอดมาก หมูสับเอย ซี่โครงเอย เคี่ยวจนเปื่อยสุด ๆ น้ำซุปกระดูกหมูหอมถั่วเน่ากำลังดี ยิ่งบีบมะนาวแล้วใส่กะหล่ำซอยฝอยยิ่งฟิน  ข้าวซอยไก่ เส้นหมี่เหนียวนุ่มกำลังดี น่องไก่เนื้อนุ่มชิ้นใหญ่ ราดน้ำซุปหอมเครื่องเทศ หวานน้อย กะทิไม่มันเลี่ยน รสชาติเผ็ดกำลังดี กินกับผักกาดฮ่อ (ผักดองแบบจีนยูนนาน รสหวานสดชื่น มีทั้งแบบเผ็ดและไม่เผ็ด) แถมโรยหน้าด้วยหมี่กรอบ ฟินมาก ยำข้าวแรมฟืน (ยำข้าวฟืน) สำหรับแอด หากไม่ไป อ.แม่สาย จ.เชียงราย ก็ไม่รู้จะไปหากินข้าวฟืนจากที่ไหน แต่ร้านนี้มีให้กิน ข้าวฟืน หรือข้าวแรมฟืนเป็นอาหารถิ่นของชาวไทลื้อ ไทเขิน และไทใหญ่ ที่แพร่หลายมาจนถึงภาคเหนือของไทย และกลายเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวเชียงราย โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย.ทางร้านใบบัวใช้แป้งข้าวเจ้ามาทำข้าวฟืนสีขาว มีกลิ่นควันไฟหอมอ่อน ๆ นวล ๆ ข้าวฟืนสีเหลืองคือแป้งถั่วชิคพี รสชาติจะเข้มข้นขึ้นมาหน่อย บางสูตรใช้ถั่วเหลืองและข้าวโพดมาทำ ส่วนข้าวฟืนสีม่วงอ่อน, สีเทา ทำมาจากถั่วลิสง หอมถั่วมาก และมีรสมันของถั่ว.ข้าวฟืนจะมีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ลักษณะคล้ายเยลลี่ ปกติสามารถหั่นแล้วจิ้มน้ำจิ้มกินได้เลย แต่วันนี้แอดสั่งยำข้าวฟืน ทางร้านจึงนำมายำใส่พริก ถั่ว งา น้ำส้มสายชู น้ำสู่ (น้ำหมักจากผลไม้) น้ำมะเขือเทศ ถั่วเน่า ฯลฯ รสชาติอร่อยล้ำเต็มปากเต็มคำสุด ๆ กินไปได้สักพัก พี่อรก็นำข้าวฟืนถั่วลิสงทอดมาให้ชิม ข้าวฟืนทอดร้อน ๆ จิ้มน้ำจิ้มถั่ว อร่อยมาก จานนี้เป็นเมนูใหม่ หาทานไม่ได้จากที่ไหน เพราะแม้แต่ร้านที่แม่สาย ส่วนใหญ่ก็จะใช้ข้าวฟืนแบบทั่วไปสีเหลืองนำมาทอดเท่านั้น ถ้าจะบรรยายความอร่อย เอาเป็นว่าเพื่อน ๆ ลองจินตนาการถึงเฟรนช์ฟรายทอดสดใหม่เวอร์ชั่นกินแล้วรู้สึกสุขภาพดีดู นั่นแหละคำจำกัดความของข้าวฟืนทอดจานนี้ น้ำพริกอ่อง รสชาติเหนือแบบออริจินัลเลย ไม่ออกหวานเหมือนร้านทั่วไปในกรุงเทพฯ กินคู่กับผักสดอร่อยมาก ลาบหมู รสชาติเผ็ด เค็มเข้มข้น หอมพริกลาบชัดเจน เข้าปากที กลิ่นพริกแห้ง มะแขว่น เม็ดผักชี และพริกไทยดำฟุ้งขึ้นจมูก เป็นจานที่เผ็ดร้อนเครื่องเทศ แต่กินกับข้าวเหนียวแล้วหยุดไม่ได้เลย แกงหอย ใครที่เคยดูเรื่อง “กลิ่นกาสะลอง” แล้วเจอฉากที่มีประโยคเด็ด “น้องไค่กิ๋นแก๋งหอย” แล้วนึกอยากกินขึ้นมา ที่ร้านใบบัว มีแกงหอยสูตรของทางเหนือให้มาลองชิมกันนะ.ตัวน้ำแกงเป็นสีใส ไม่ใส่กะทิแบบแกงคั่วหอยขมทั่วไป รสออกเค็มนิด ๆ เผ็ดเล็กน้อย วิธีกินก็คือดูด หรือไม่ก็เอาไม้จิ้มฟันจิ้มตัวหอยออกมา

ร้านใบบัว อาหารเหนือ-เชียงตุง อ่านเพิ่มเติม

7 พิกัดเกาะสวย ทะเลตะวันออก

ทะเลฝั่งตะวันออก มีเกาะสวยน่าเที่ยวอยู่หลายเกาะ ถ้าเพื่อน ๆ คิดถึงบรรยากาศแสนชิลล์บนหาดทรายสีขาว และน้ำทะเลใส ๆ เหมือนแอด ล้อมวงกันเข้ามา แอดรวบรวม 7 พิกัดเกาะสวยของทะเลภาคตะวันออกมาให้แล้ว . หาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทยผ่าน E-Book คู่มือท่องเที่ยวครบทุกจังหวัดได้แล้วที่ www.amazingthailandebook.com หรือดาวน์โหลดในรูปแบบ Application : Amazing Thailand eBook ได้ทั้งระบบ iOS และ Android https://mobile.amazingthailandebook.com/redirect/ 1. เกาะหมาก จังหวัดตราด2. เกาะช้าง จังหวัดตราด3. เกาะกูด จังหวัดตราด4. เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี5. เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี6. เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี7. เกาะทะลุ จังหวัดระยอง เกาะหมาก จังหวัดตราด.เสน่ห์ของเกาะหมากอยู่ที่บรรยากาศเงียบสงบ น้ำทะเลใสแจ๋ว มีชายหาดให้เล่นน้ำหลายแห่ง เช่น อ่าวตานิด อ่าวไผ่ อ่าวแดง และมีจุดถ่ายรูปสุดฮิตอย่างสะพานสู่ฝัน ที่อยู่บริเวณอ่าวตั๋น เป็นสะพานไม้ทอดยาวลงไปในทะเล.ถ้าเพื่อน ๆ เป็นสายรักษ์โลกต้องรักเกาะหมากอย่างแน่นอน เพราะที่นี่เป็นเกาะ “Low Carbon” ที่ทุกคนบนเกาะต่างร่วมใจกันลดขยะจากพลาสติก ลดมลภาวะด้วยการปั่นจักรยาน รวมทั้งจัดให้มีรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ให้บริการพาเที่ยวบนเกาะ.การเดินทางไปท่าเรือแหลมงอบ – นั่งรถโดยสารประจำทางหรือรถตู้ เส้นทางกรุงเทพฯ-แหลมงอบ จากสถานีขนส่งเอกมัยหรือสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง – หากขับรถยนต์ส่วนตัวไปยังท่าเรือแหลมงอบ จังหวัดตราด สามารถจอดรถไว้ที่ท่าเรือได้ ค่าบริการคันละ 50 บาท/คืน ท่าเรือแหลมงอบ : https://goo.gl/maps/wenQwGjxasTaE2rq7 – จากท่าเรือแหลมงอบ นั่งสปีดโบ๊ทต่อไปยังเกาะหมาก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45-60 นาที เกาะช้าง จังหวัดตราด.เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดตราด สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี บนเกาะมีแหล่งท่องเที่ยวหลายสไตล์ ไม่ว่าจะเป็น หาดทรายขาว หาดคลองพร้าว น้ำตกคลองพลู น้ำตกธารมะยม วัดสลักเพชร ป่าชายเลนบ้านนาใน ปีนป่ายต้นไม้ท้าทายความสูงที่ ทรี ทอป แอดเวนเจอร์ ปาร์ค เกาะช้าง หรือจะไปนอนโฮมเสตย์ ล่องเรือมาดชมบ้านชายเลนที่บ้านสลักคอกก็ฟินไปอีกแบบ.การเดินทาง ขึ้นเรือเฟอร์รี่ข้ามไปเกาะได้ 2 แห่ง– ท่าเรือเฟอร์รี่เซ็นเตอร์พอยท์ มีเรือออกทุก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 06.00 – 19.00 น. – ท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ มีเรือออกทุก 45 นาที ตั้งแต่เวลา 06.30-19.00 น..สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมท่าเรืออ่าวธรรมชาติโทร. 0 3955 5188, 0 3951 2528, 08 1943 5872 ท่าเรือเซ็นเตอร์พอยท์โทร. 0 3953 8196, 0 3959 7198, 08 6056 9555 เกาะกูด จังหวัดตราด.เกาะกูดขึ้นชื่อเรื่องน้ำทะเลที่ใสเป็นประกาย และมีหาดสวยๆ หลายหาด เช่น หาดคลองเจ้า หาดง่ามโข่ หาดคลองระหาน อ่าวบางเบ้า และอ่าวยายกี๋ เป็นต้น จนได้รับฉายาว่า ทะเลอันดามันแห่งภาคตะวันออก บนเกาะมีกิจกรรมให้ทำมากมาย ทั้งการพายเรือคายัค พายแพดเดิ้ลบอร์ด การดำน้ำดูปะการัง ซึ่งจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมไปดำน้ำคือ บริเวณเกาะแรด และหมู่เกาะรัง เพราะเป็นจุดที่มีปะการังสวย และมีปลาหลายชนิด.การเดินทาง ขึ้นเรือที่ท่าเรือแหลมศอก ไปยังท่าเรืออ่าวสลัด เกาะกูด ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที – 1 ชั่วโมง 15 นาที (ขึ้นอยู่กับประเภทเรือ) เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี.เกาะแสมสารเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอสัตหีบ เป็นทะเลฝั่งอ่าวไทยที่สวยไม่แพ้ฝั่งอันดามันเลยทีเดียว เราสามารถเที่ยวเกาะแสมสารแบบ One day trip ได้ และเที่ยวได้ตลอดทั้งปี หาดที่เปิดให้เที่ยวชมมีอยู่ 2 หาด คือ หาดเทียน และหาดลูกลม ซึ่งมีจุดดำน้ำที่สวยงาม ปะการังหลากสีสัน และหาดทรายสีขาวนวล ที่นี่ไม่อนุญาตให้พักค้าง แต่มีร้านขายขนมและแครื่องดื่มให้บริการ.การเดินทาง ซื้อตั๋วได้ที่อาคารต้อนรับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย (ไม่มีบริการจองตั๋วล่วงหน้า) ใช้เวลาเดินทางจากฝั่งไปยังเกาะแสมสารประมาณ 30 นาที.รอบเรือไปเกาะแสมสาร09.00 / 10.00 / 11.00 / 12.00 และ 13.00 น.รอบเรือเที่ยวกลับ11.30 / 12.30 / 13.30 / 15.30 และ 16.00 น..สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมฝ่ายประชาสัมพันธ์เกาะแสมสาร โทร. 0 3843 2475 เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี.เกาะสีชังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสุดคลาสสิค บรรยากาศดี และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เพราะเป็นสถานที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินถึง 3 พระองค์ คือ รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6.ไปถึงเกาะสีชังต้องไปถ่ายรูปตรงสะพานอัษฎางค์ สะพานไม้สีขาวที่ทอดยาวไปในทะเล ถ้าใครพักค้างคืนที่เกาะสีชัง อย่าลืมมาชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สะพานอัษฎางค์กันนะ โรแมนติกสุด ๆ.นอกจากสะพานอัษฎางค์แล้ว บนเกาะสีชังยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง เช่น – ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ เป็นถ้ำที่ดัดแปลงมาเป็นศาลเจ้า ผสมผสานสถาปัตยกรรมไทยจีนเข้าด้วยกัน จากบริเวณศาลสามารถมองเห็นทิวทัศน์บ้านเรือนด้านหน้าเกาะได้อย่างชัดเจน – ช่องอิศริยาภรณ์ (ช่องเขาขาด) อดีตเคยเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับชมทิวทัศน์ของรัชกาลที่

7 พิกัดเกาะสวย ทะเลตะวันออก อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top