สถานที่ท่องเที่ยว

เลียบเลาะ . . . เกาะระนอง

เริ่มต้นกันด้วยจังหวัดแรกของภาคใต้ที่ติดทะเลอันดามันอย่าง “ระนอง” จังหวัดเล็กๆ ที่มีชื่อเสียง ด้วยลักษณะของพื้นที่ที่มีรูปร่างเรียวยาวและแคบ มีคอคอดกระ หรือกิ่วกระซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู โดยส่วนที่แคบที่สุดของจังหวัดอยู่ที่อำเภอกระบุรี ที่ระนองมีหมู่เกาะทอดตัวเรียงรายมากมายให้เราได้สัมผัส และสำรวจความงดงามกัน หาดแรกที่อยากจะพาไปคือ “หาดชาญดำริ” หากอยากจะเที่ยวเกาะระนองให้ครบ การเห็นภาพรวมของเกาะทั้งหมดถือเป็นสิ่งจำเป็น หาดแห่งนี้ถือเป็นจุดชมวิวที่เห็นเกาะต่างๆ ในท้องทะเลอันดามันได้ในมุมกว้าง เราสามารถมองเห็นทั่วบริเวณชุมชนบ้านปากน้ำ และเลยไกลไปถึงเกาะสองหรือวิคตอเรียพอยท์ในประเทศเมียนมาร์ หากมีโอกาสอยู่ได้จนถึงพลบค่ำ ไม่อยากให้พลาดการถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินในยามเย็น เพราะที่นี่คือจุดชมวิวที่สวยงามที่สุดอีกแห่งหนึ่งของเมืองระนองเลยทีเดียว โดยจุดชมวิวนั้นตั้งอยู่บนเนินเขาก่อนถึงตัวชายหาดเพียง 200 เมตร เท่านั้น มุมมองจากหน้าหาดชาญดำริ พาข้ามเรือกันไปที่ “เกาะช้าง” สมชื่อด้วยรูปร่างที่มีลักษณะคล้ายช้างหมอบ และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของระนอง ด้วยลักษณะพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เกาะช้างเป็นแหล่งผลิต”กาหยู” หรือมะม่วงหิมพานต์ที่ขึ้นชื่อ บนเกาะมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งการเดินวิ่งไปจุดชมวิว ปั่นจักรยานเสือภูเขาเที่ยวชมความร่มรื่นของสวนยาง ดูปูที่ป่าชายเลน และสวนกาหยู รวมทั้งกิจกรรมดูนก ตกปลา ก็สามารถเลือกได้ ส่วนใครที่ไม่ใช่นักกิจกรรม ก็สามารถปลีกตัวไปชมความงดงามและเงียบสงบบนชายหาดฝั่งตะวันตกของเกาะที่หันหน้าให้กับทะเลอันดามันได้ โดยมีหาดแนะนำอยู่ที่อ่าวตาแดงหรือที่เรียกกันว่า “Sunset Beach” ถือเป็นจุดชมอาทิตย์อัสดงที่งดงามที่สุดอีกมุมหนึ่งของระนอง “เกาะพยาม” อยู่ไม่ไกลจากเกาะช้าง เป็นเกาะที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัด ด้วยลักษณะโดยรอบเป็นอ่าวสลับกับโขดหิน บริเวณตอนกลางของอ่าวเป็นชายหาดทรายที่ขาวสะอาด ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านหน้าเกาะมีอ่าวไผ่อยู่เหนือสุด ถัดมาเป็นอ่าวหินขาว และอ่าวแม่หม้าย ผ่านแหลมหินลงมาทางใต้ จะเห็นอ่าวมุก ใกล้ๆกันห่างฝั่งไม่มากคือเกาะขามหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเกาะปลาวาฬตามรูปร่างของเกาะ เวลาน้ำขึ้นเกาะทั้งสองจะแยกจากกัน จนกว่าจะถึงเวลาน้ำลด สันทรายที่ผุดขึ้นจะเป็นตัวเชื่อมทั้งสองเกาะเข้าหากัน สีฟ้าใส หาดทรายนิ่มนวล “เกาะค้างคาว” อยู่ใกล้ท่าเรือหาดบางเบนมากที่สุด เดินทางโดยเรือหัวโทงประมาณ 30 นาที ชื่อเกาะได้มาจากเมื่ออดีตที่มีค้างคาวอยู่เยอะ แต่ปัจจุบันลดลงไปมาก ด้วยภาพน้ำทะเลที่สีสวยใสแจ๋ว ไล่โทนอ่อนจากเขียวฟ้าไปจนถึงน้ำเงินเข้ม จนทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนยกให้เป็นเกาะทีสวยที่สุดของทะเลระนอง อีกทั้งลักษณะของหาดที่มีความหลากหลายโดยด้านหนึ่งเป็นหาดหินชื่อ “หาดหินงาม” ที่มีหินกลมมนทอดตัวเรียงรายดูแปลกตา ในขณะที่อีกด้านชื่อ “หาดทราย” เป็นหาดที่ขึ้นชื่อเรื่องเม็ดทรายที่เล็ก ละเอียด ให้ความรู้สึกนุ่มสบายยามได้ทิ้งตัวลงนอน ปิดท้ายกันที่ “หมู่เกาะกำ” อยู่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน ที่เรียกหมู่เกาะเพราะมีกลุ่มเกาะเล็กๆ น้อยๆ มารวมกันทั้งเกาะกำใหญ่ เกาะกำกลาง(เกาะญี่ปุ่น) เกาะกำตก(อ่าวเขาควาย) เกาะค้างคาว เกาะกำนุ้ย และเกาะล้าน โดยมีเกาะกำใหญ่เป็นศูนย์กลาง  เกาะกำกลาง(เกาะญี่ปุ่น) เป็นเกาะขนาดเล็กที่สุดในหมู่เกาะกำ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะกำตก มีลักษณะเป็นภูเขาเล็กๆ และมีแนวชายหาดอยู่ด้านหน้าของเกาะ รอบเกาะพอมีแนวปะการังให้นักท่องเที่ยวได้ดำน้ำชมกันได้บ้างแต่ไม่มากเท่าไรนัก มุมมองจากที่สูง เกาะกำกลาง (เกาะญี่ปุ่น) เกาะกำตก(อ่าวเขาควาย) เป็นเกาะขนาดเล็กมีลักษณะแคบและยาว ชายหาดโค้งเป็นรูปวงกลมตามแนวเหนือใต้ ในช่วงน้ำขึ้นสูงบางช่วงของหาดจะถูกน้ำทะเลท่วมจนเกือบมาบรรจบกัน เรียกว่าเป็น ทะเลแหวกระนอง ก็ว่าได้ ด้วยความที่มีบรรยากาศร่มรื่น ลมพัดเย็น เกาะกำตก(อ่าวเขาควาย) จึงเหมาะแก่การแวะพักท่องเที่ยวรับลม ทางอุทยานฯ จึงอนุญาตให้นักท่องเที่ยวแวะจอดเรือเพื่อพักรับประทานอาหารที่ตนเตรียมมา และเล่นน้ำกันที่เกาะนี้ได้ แต่ไม่อนุญาตให้พักค้างคืน

เลียบเลาะ . . . เกาะระนอง อ่านเพิ่มเติม

หาดไร่เลย์..สวรรค์ของนักปีนผา!

“หาดไร่เลย์”เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ต้องนั่งเรือจากอ่าวนางมาประมาณ 10-15 นาที ชาดหาดที่ถูกโอบล้อมด้วยเขาหินปูน น้ำทะเลสีเขียวมรกต หาดทรายขาวจรดปลายขอบฟ้าสวยงามมาก และหน้าผาที่นี่เหมาะสมต่อการปีนผาสุดๆ หาดไร่เลย์มีสองฝั่ง ด้านตะวันออกและตะวันตก แต่ส่วนใหญ่นักปีนผามักนิยมไปกันที่ฝั่งตะวันออก เพราะมีหน้าผาหินปูนที่มีความสูงเหมาะสมและมีเส้นทางการปีนกว่า 600 เส้นทาง ปะปนกันไปในระดับความยากง่ายต่างๆกัน นักท่องเที่ยวสามารถนำอุปกรณ์มาเองหรือจะหาเช่าอุปกรณ์ต่างๆ จากร้านที่เปิดให้บริการบริเวณหน้าอ่าวและยังมีมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำวิธีการปีนผาอีกด้วย นักผจญภัยทั้งหลายที่ชื่นชอบการปีนผา มาที่นี่สนุกแน่นอน นอกจากนี้ ยังสามารถไปชมความงดงามของถ้ำพระนางที่ต้องนั่งเรือไปทางฝั่งตะวันตก ภายในถ้ำเป็นที่ตั้งของศาลพระนางที่ชาวประมงให้ความเคารพกราบไหว้ขอพรก่อนที่จะออกเรือกลางทะเล อ่าวบริเวณถ้ำพระนางมีหาดทรายขาวสวยและน้ำทะเลสีฟ้าใสน่าเล่นน้ำและนอนอาบแดดอย่างมาก หรือจะเดินป่าขึ้นเขาเพื่อไปชมทิวทัศน์ของอ่าวไร่เลทั้งสองฝั่งก็ไม่เลวทีเดียว สำหรับนักผจญภัยทั้งหลายมาที่นี่รับประกันความความสนุกแบบจัดเต็มแน่นอน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ชมรมปีนผาไร่เลย์ โทร. 089-294-0686, 081-797-2517

หาดไร่เลย์..สวรรค์ของนักปีนผา! อ่านเพิ่มเติม

เที่ยวตามคำขวัญ : เชียงราย

การเดินทางไปจังหวัดเชียงราย สามารถไปได้ 3 วิธี ดังนี้ รถประจำทาง  “เหนือสุดในสยาม” อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นอำเภอที่อยู่ตอนเหนือสุดของประเทศไทย ในช่วงนี้เพื่อนๆ อาจจะรู้สึกคุ้นเคยกับอำเภอนี้เป็นพิเศษ ก็เพราะที่นี่เป็นที่ตั้งของวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนนั่นเอง จังหวัดเชียงรายเป็นดินแดนแห่งขุนเขา ถ้ำ แหล่งต้นน้ำ และป่าไม้ มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามมากมาย ที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางขึ้นไปท้าทายความสูงและสัมผัสความสวยงามของทิวทัศน์ ได้แก่ ภูชี้ฟ้า ภูชี้ดาว ดอยผาตั้ง ดอยผาหมี เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีไร่ชาที่มีทิวทัศน์อันสวยงาม เช่น ไร่ชา 101 ไร่ชาวังพุดตาล และไร่ชาฉุยฟง เป็นต้น “ชายแดนสามแผ่นดิน” บ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน เป็นจุดที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกไหลมารวมกัน เป็นพรมแดนธรรมชาติที่กั้นแบ่งไทย ลาว และเมียนมาร์ออกจากกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นจุดเชื่อมพรมแดน 3 ประเทศ ที่เรารู้จักกันในนาม “สามเหลี่ยมทองคำ”  ในอดีตสามเหลี่ยมทองคำคือแหล่งค้ายาเสพติดระดับโลก แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่มาเยือนกันอย่างไม่ขาดสาย นอกจากชมวิวบริเวณสามเหลี่ยมทองคำและล่องเรือชมแม่น้ำโขงแล้ว บริเวณนี้ก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ อีก ได้แก่  “ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา”  เชียงรายเป็นเมืองเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณเชียงแสน จึงทำให้มีร่องรอยทางโบราณคดีและโบราณสถานหลงเหลืออยู่มากมาย นอกจากนี้ยังมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์แห่งวัฒนธรรมล้านนา ทุกปีจะมีประเพณีและกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเข้าร่วมอย่างหลากหลาย เช่น ประเพณียี่เป็งลอยกระทง ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเจียงฮาย งานไหว้สาพญาเม็งรายหรืองานพ่อขุนเม็งรายมหาราช งานประเพณีแห่โคมไฟ ไหดอก งานประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ด (ตักบาตรเที่ยงคืน) เป็นต้น “ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง” พระธาตุดอยตุงเป็นพระธาตุสำคัญคู่บ้านคู่เมืองเชียงรายตามตำนานกล่าวว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.1454 สมัยนครโยนกนาคพันธุ์ เพื่อประดิษฐานพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า ต่อมาพญามังรายโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นอีกองค์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่นำมาใหม่ พระธาตุดอยตุงจึงมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆัง 2 องค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ในเดือนมีนาคมของทุกปี (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และเดือน 6) จะมีประเพณีเดินเท้าขี้นไปสรงน้ำพระธาตุดอยตุง วัดพระธาตุดอยตุงเปิดทุกวัน เวลา 07.00-18.00 น.โทร. 053 767 015-7 การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 1149 ผ่านสถานีควบคุมไฟป่าดอยตุง ให้สังเกตทางขึ้นวัดพระธาตุดอยตุงทางขวามือ ทางขึ้นค่อนข้างแคบและชัน ต้องขับรถด้วยความระมัดระวังพิกัด : https://goo.gl/maps/oacGK2VYU1t นอกจากที่กล่าวไปแล้ว จังหวัดเชียงรายยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่นๆ อีกมากมาย เช่น

เที่ยวตามคำขวัญ : เชียงราย อ่านเพิ่มเติม

ยิ่งปั่น ยิ่งหลง…รักลับแล

ยิ่งปั่น ยิ่งหลงรักลับแล ซุ้มประตูเมืองลับแล และรูปปั้นแม่ม่าย เมื่อไปถึงอำเภอลับแล เราจะเจอซุ้มประตูเมืองเป็นอันดับแรก เป็นซุ้มประตูที่ดูมีความลึกลับ ราวกับว่าถ้าเดินลอดไปแล้วเราจะได้ไปโผล่ในอีกยุคยังไงยังงั้น  ข้างๆ ประตูเมืองมีประติมากรรมหญิงสาวอุ้มลูก และมีสามีนั่งคอตกอยู่ข้างๆ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดตำนานเมืองแม่ม่าย เมืองที่ห้ามพูดโกหก โดยเป็นเรื่องราวในตอนที่ลูกร้องไห้หาแม่ไม่ยอมหยุด พ่อจึงหลอกว่าแม่มาแล้ว เท่ากับเป็นการพูดเท็จ จึงต้องออกจากหมู่บ้านไป และเมื่อออกไปแล้ว จะหาทางกลับมาเมืองลับแล เส้นทางก็วกวนจนกลับไม่ถูก เป็นที่มาความลึกลับของเมืองลับแลนั่นเอง มาเที่ยวเมืองลับแลครั้งนี้ แอดจะพาไปปั่นจักรยานเที่ยวกันค่ะ นักท่องเที่ยวสามารถมายืมจักรยานได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งอยู่ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล เพียงนำบัตรประชาชนไปแลก ก็จะได้จักรยานมาปั่นแบบฟรีๆ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์ประชาสัมพันธ์เทศบาลศรีพนมมาศ โทร. 055 431 076 พิพิธภัณฑ์เมืองลับแลก่อนจะไปปั่นเรามาทำความรู้จักอำเภอลับแลที่พิพิธภัณฑ์ฯ กันก่อนดีกว่า พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล เป็นสถานที่รวบรวมเรื่องราวประวัติของเมือง วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองลับแล โดยจำลองผ่านเรือนแต่ละหลัง ยกตัวอย่างห้องจัดแสดง เช่น เรือนการทำอาหาร ชาวลับแลหรือคนไทยภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมทำอาหารบนเรือน และอาหารที่ขึ้นชื่อของเมืองลับแล คือ หมี่พัน  พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล (เข้าชมฟรี)ที่ตั้ง : ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์เปิดทุกวัน เวลา 09.00 – 16.00 น.โทร : 055 431 078 กด 0 อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศพระศรีพนมมาศเป็นบุคคลสำคัญของเมืองลับแล เดิมชื่อ ทองอิน เป็นนายอากรสุรา เชื้อสายจีน ผู้มีความรักในท้องถิ่นจึงได้พัฒนาเมืองลับแลมาโดยตลอด เช่น สร้างถนน สร้างฝายกั้นน้ำ และเป็นผู้นำชุมชนที่ชาวเมืองลับแลเคารพรัก ป้าหว่าง หมี่พันแวะเติมพลังกันสักหน่อย มาถึงอุตรดิตถ์ทั้งทีต้องมาทานอาหารท้องถิ่นขึ้นชื่อของที่นี่ นั่นก็คือ “ข้าวแคบ” เป็นข้าวที่ทำจากแป้งหมัก นำไปละเลงเป็นแผ่นบนผ้าขาวบางเหมือนข้าวเกรียบปากหม้อ จากนั้นนำไปตากให้แห้ง สามารถทานเล่นเปล่าๆ ได้ หรือนำแป้งไปแช่น้ำ แล้วไปห่อเส้นหมี่ก็จะกลายเป็น “หมี่พัน”  แอดขอแนะนำร้านป้าหว่างหมี่พัน ร้านเก่าแก่เปิดมา 30 ปี เส้นหมี่สด สะอาด ปรุงรสกลมกล่อมที่ตั้ง : ถนนราษฎร์อุทิศ ซอย 5 ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์พิกัด : https://goo.gl/maps/iVaPL2kNFVE2เปิดทุกวัน เวลา 10.00 – 17.00 น.โทร. 084 045 2407 อาหารขึ้นชื่ออีกอย่างคือ “ข้าวพันผัก” วิธีการทำการทำแป้งเหมือนทำข้าวแคบ แต่ไม่ต้องนำแป้งไปตากแห้ง ให้นำแป้งสดมาห่อผักและเครื่องต่างๆ แทน ใครอยากทานข้าวพันผัก แอดแนะนำร้านกิ๊ก ข้าวพันผักพื้นบ้าน ที่มีเมนูให้เลือกหลากหลาย ทั้งข้าวพันผัก ไข่ม้วน และส้มตำรสแซ่บ ข้าวพันผักพื้นบ้าน ที่ตั้ง : ถนนราษฎร์อุทิศ ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ (ใกล้ร้านป้าหว่าง หมี่พัน) พิกัด : https://goo.gl/maps/CGKM14wpjYS2เปิดวันอังคาร – อาทิตย์ เวลา 09.30 -16.30 น.โทร. 099 235 6373 ขอบคุณรูปภาพจาก : facebook ร้านข้าวพันผักพื้นบ้าน จบจากร้านข้าวพันผัก หมี่พัน ใครยังมีพื้นที่ในกระเพาะเหลือก็มาต่อที่ร้านนี้ได้ ร้าน”ลำลำลับแล” ร้านก๋วยเตี๋ยวสูตรน้ำพริกเผาลับแลโบราณอายุกว่า 200 ปี เมนูเด็ดของทางร้าน ได้แก่ เล้งแซ่บ ผัดกระเพราไข่ลวกชีส ก๋วยเตี๋ยวต้มยำใส่ชีสและเครื่องชนิดต่างๆ ร้านลำลำ ลับแลที่ตั้ง : 448/1 ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์พิกัด : https://goo.gl/maps/k1ckgzSxC3E2เปิดวันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 10.00 – 16.00 น.โทร. 088 805 0210 ขอบคุณรูปภาพจาก facebook ร้านลำลำ ลับแล อิ่มกันแล้วก็ไปปั่นกันต่อ เราไปกันที่กลุ่มทำไม้กวาดบ้านท้องลับแล อยู่ห่างจากโซนร้านอาหารไปอีก 4 กิโลเมตร เพื่อไปดูวิธีการทำไม้กวาดตองกง หนึ่งในสินค้าขึ้นชื่อของเมืองลับแลเอกลักษณ์ของไม้กวาดตองกงคือ จะถักตรงปลายให้โค้งงอเป็นตะขอ ปลายด้ามจับจะมีริบบิ้นสีแดงผูกอยู่ ถ้ามีเวลาเยอะไปลองนั่งถักไม้กวาดได้นะคะ คุณป้าใจดียินดีสอนให้ค่ะ กลุ่มทำไม้กวาดบ้านท้องลับแลที่ตั้ง : 43/3 หมู่ 7 ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์เปิดทุกวัน เวลา 09.00 – 17.00 น.พิกัด : https://goo.gl/maps/tmHS5JY2aKtโทร. 089 839 2683 เที่ยวเหนื่อยมาทั้งวัน ปิดท้ายทริปด้วยการหาอะไรเย็นๆ ดื่มสักหน่อยที่ร้าน “ลับแล คลับ” Wifi Cafe ร้านนี้มีทั้งเครื่องดื่มและอาหารพร้อมบริการ ทางร้านใช้กาแฟอาราบิก้าแท้100% เครื่องดื่มแนะนำ คือ เมนูลาเต้อาร์ต ส่วนอาหารแนะนำ ได้แก่ เส้นใหญ่ผัดขี้เมา ยำหมูยอ ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ หอยทอด และออส่วน ลับแล คลับที่ตั้ง : ถนนอินใจมี ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัด (ก่อนถึงซุ้มประตูเมืองลับแล ตรงข้ามศึกษาภัณฑ์พานิชย์ อุตรดิตถ์)พิกัด : https://goo.gl/maps/4cBgb1VfTQvเปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 06.30 – 20.00 น.โทร. 062 296 4922 ขอบคุณภาพจาก ร้านลับแลคลับ

ยิ่งปั่น ยิ่งหลง…รักลับแล อ่านเพิ่มเติม

เพื่อนร่วมทางพา Go Local : บ้านหนังตะลุง อ.สุชาติ ทรัพย์สิน จ.นครศรีธรรมราช

เพื่อนร่วมทางพา Go Local : บ้านหนังตะลุง อ.สุชาติ ทรัพย์สิน จ.นครศรีธรรมราช พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นโดย อ.สุชาติ ทรัพย์สิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน) เป็นพิพิธภัณฑ์หนังตะลุงแห่งแรกของไทย และถือเป็นแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญของประเทศ ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงรูปและตัวหนังตะลุงโบราณ รวมทั้งหนังตะลุงนานาชาติอายุกว่า 100 ปี นอกจากนี้ยังมีห้องจัดแสดงเครื่องดนตรีพื้นบ้านของภาคใต้ รวมไปถึงการสาธิตการแกะตัวหนังและการเชิดหนังตะลุงด้วย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยถึง 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมและโบราณสถาน พ.ศ.2539 และรางวัลยอดเยี่ยมประเภทแหล่งท่องเที่ยวนันทนาการเพื่อการเรียนรู้ พ.ศ.2553 หนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบทการสนทนาและการเชิดตัวหนังตะลุงนี้ นายหนังตะลุงจะเป็นคนแสดงเองทั้งหมด ตัวหนังตะลุงทำมาจากหนังวัวและหนังควาย เพราะมีความหนาพอเหมาะ มีความเหนียวทนทานต่อการแกะลาย และมีความโปร่งแสงพอสมควร  อีกหนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญของหนังวัวและหนังควายคือ ตัวหนังจะไม่บิดงอหรือพับง่ายๆ เมื่อทำการเชิดจะสามารถบังคับการเคลื่อนไหวได้ดี ทำให้ตัวหนังแสดงอิริยาบถได้สมจริง  สำหรับหนังสัตว์อื่นๆ ก็ใช้แกะรูปหนังได้เหมือนกัน แต่ส่วนมากจะมีลักษณะค่อนข้างจะทึบแสง ทำให้เวลาแสดงจะเห็นลวยลายได้ไม่ชัดเจน ก่อนจะทำการแกะลาย ช่างจะต้องร่างภาพของตัวละครแต่ละตัวลงบนหนังก่อน ซึ่งลวดลายตัวละครของหนังตะลุงจะไม่ซับซ้อนเหมือนหนังใหญ่ ช่างแกะตัวหนังตะลุงจะใช้เหล็กปลายแหลมที่เรียกว่า “เหล็กจาร” ร่างภาพลงไปในแผ่นหนังเลยทีเดียว เนื่องจากรอยเหล็กจารที่ร่างลงไปสามารถลบได้ เพียงใช้นิ้วมือแตะน้ำหรือน้ำลายลูบเบาๆ  แต่สำหรับตัวละครที่มีลวดลายละเอียดซับซ้อน ช่างจะร่างภาพลงในกระดาษก่อน แล้วจึงใช้เหล็กจารทับบนแผ่นหนังอีกที ขั้นตอนการฉลุลายลงบนตัวหนัง ต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างมาก โดยเครื่องมือที่ใช้ทำการฉลุลายจะมีเขียงสำหรับรองแกะฉลุหนัง มีดขุดปลายแหลมเล็ก และปลายแหลมมน ตุ๊ดตู่หรือมุกชนิดต่างๆ เช่น มุกกลม มุกเหลี่ยม มุกโค้ง มุกตา มุกดอก มุกวงรี มุกปากแบน ฯลฯ ค้อนตอกมุก และเทียนไขหรือสบู่สำหรับจิ้มปลายมีดขุดหรือปลายมุก ขั้นตอนสุดท้ายคือนำตัวหนังไปลงสีและลงน้ำมันชักเงา เมื่อลงสีรูปตัวหนังเสร็จแล้ว จะลงน้ำมันชักเงาหรือไม่ก็ได้ แต่โดยทั่วไปถ้าเป็นรูปตัวหนังที่ใช้เชิดมักจะลงน้ำมันชักเงาด้วย เพราะจะช่วยขับให้ตัวหนังเป็นมันงาม เมื่อออกจอผ้าขาวจะดูสวยขึ้น ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงเป็นหนึ่งในมหรสพและความบันเทิงสำหรับชาวบ้านซึ่งจะแสดงกันทั้งในงานบุญ งานวัด งานเฉลิมฉลองที่สำคัญๆ หรือแม้กระทั่งงานศพ อาจารย์สุชาติ ทรัพย์สิน มีความสนใจในการวาดรูปตั้งแต่เด็กๆ จนมีโอกาสได้เรียนวาดลายหนังตะลุงกับอาจารย์ทอง หนูขาว ช่างแกะรูปหนังตะลุงฝีมือดีของจังหวัดนครศรีธรรมราช จนกลายเป็นศิลปินหนังตะลุงและช่างทำรูปหนังตะลุงฝีมือเยี่ยม ผู้ริเริ่มและสืบทอดการทำตัวหนังตะลุง รวมไปถึงการเชิดหนังตะลุงจนที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ  แม้ปัจจุบันอาจารย์สุชาติจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ลูกหลานก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์และสืบสานเพื่อให้หนังตะลุงยังคงอยู่ต่อไป บ้านหนังตะลุง อ.สุชาติ ทรัพย์สิน ที่ตั้ง : 10/18 ถนนศรีธรรมโศก ซอย 3 อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชโทร : 075 346 394เปิดทุกวันเวลา 08.30 – 17.00 น. การเดินทาง จากสนามหน้าเมือง ไปตามถนนราชดำเนิน มุ่งหน้าไปทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ผ่านศาลากลางจังหวัด หอนาฬิกา ถึงแยกพานยม ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยพานยม จากนั้นเลี้ยวขวาไปตามถนนศรีธรรมโศก เข้าสู่ซอยศรีธรรมโศก 3 บ้านหนังตะลุงจะอยู่ขวามือ

เพื่อนร่วมทางพา Go Local : บ้านหนังตะลุง อ.สุชาติ ทรัพย์สิน จ.นครศรีธรรมราช อ่านเพิ่มเติม

ย้อนเวลา ค้นหาอดีต ณ บ้านคูบัว ราชบุรี

เรื่องราวของราชบุรีที่ยังมีอีกมากมายความเป็นเมืองเก่าของราชบุรีที่ปรากฏหลักฐานจากโบราณสถานในยุคทวารวดี และงานผ้าทอที่บ้านคูบัว จึงยังคงมีเรื่องราวเมืองราชบุรีในอดีตให้เรียนรู้กันต่อไป เพราะวันนี้โบราณสถาน โบราณวัตถุ ไม่ได้เป็นเพียงหน้าประวัติศาสตร์ของสถานที่และวัตถุที่ถูกมองผ่าน แต่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มีการติดตาม สืบสาวราวเรื่องชนิดพลาดตกกระแสกันไม่ได้ทีเดียว ความเป็นเมืองเก่าสมัยทวารวดี โบราณสถานบ้านคูบัว ตำบลคูบัว ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดีว่าดินแดนแห่งนี้เคยเป็นเมืองท่าที่เจริญรุ่งเรืองในยุคทวารวดี โดยสถาปัตยกรรมเมืองโบราณบ้านคูบัวได้รับอิทธิพลด้านศิลปะจากช่างสมัยคุปตะ ประเทศอินเดีย ปรากฏเป็นหลักฐานที่แสดงถึงพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่ในประเทศไทยมากกว่า ๑,๐๐๐ ปี ทั้งโบราณวัตถุ เช่น เศียรพระพุทธรูป และโบราณสถาน เช่น โบราณสถานวัดโขลงสุวรรณคีรี และโบราณสถานที่อยู่ด้านหลังโรงเรียนวัดคูบัว โดยโบราณสถานเป็นฐานเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวโค้ง ด้านบนเป็นลานประทักษิณ ชั้นที่สองเป็นฐานองค์เจดีย์ มีฐานบัวโค้งรองรับ บริเวณโบราณสถานร่มรื่นด้วยพรรณไม้ บรรยากาศสงบเย็น ยิ่งเมื่อได้อ่านเรื่องราวความเป็นมาของสถานที่มาก่อน จะชวนให้การเดินชมโบราณสถานสามารถจินตนาการย้อนสู่อดีตเมื่อครั้งที่นี่เคยรุ่งเรือง นอกจากโบราณสถาน สามารถมาชมผ้าทอโบราณบ้านคูบัวที่ จิปาถะภัณฑสถานบ้านคูบัว ตำบลคูบัว ในบริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรี เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชน จัดห้องแสดงในเรื่องต่าง ๆ ๑๐ ห้อง เช่น ห้องศิลปวัตถุโบราณสมัยยุคทวารวดี ห้องหุ่นขี้ผึ้งจำลองการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ห้องจัดแสดงวิถีชีวิตชุมชนไท-ยวนที่เคลื่อนย้ายจากเมืองเชียงแสน เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๗ มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองราชบุรี มีการจำลองลักษณะบ้านเรือนที่อาศัย เช่น ครัว หุ่นขี้ผึ้งหญิงกำลังคลอดและหมอตำแย หุ่นขี้ผึ้งหญิงหลังคลอดอยู่ไฟพร้อมลูกน้อย จัดแสดงการอยู่แบบครอบครัวใกล้ชิดและสั่งสอนลูกหลาน ห้องภูมิปัญญาการทอผ้าจกไท-ยวนเชียงแสน และผ้าจกไท-ยวน ที่มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี ผ้าจกไท-ยวนมึถึง ๘ ลาย ลักษณะลวดลายคล้ายเส้นสายของเรขาคณิต และการให้สีสันของเส้นด้าย ผ้าจึงประณีตงดงามด้วยฝีมือ ห้องจัดแสดงการแต่งกายของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในจังหวัดราชบุรี เช่น ยวน ลาวโซ่ง ลาวเวียง มอญ กะเหรี่ยง จีน ไทยพื้นถิ่น การจัดแสดงทุกห้องมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เดินดูแต่ละห้องได้อย่างเพลิดเพลิน  จิปาถะภัณฑ์สถานเป็นสถานที่หนึ่งในราชบุรีที่ไม่ควรพลาดเข้าไปชม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

ย้อนเวลา ค้นหาอดีต ณ บ้านคูบัว ราชบุรี อ่านเพิ่มเติม

เพื่อนร่วมทาง พา Go Local : “เถ้าฮงไถ่”

จากโรงงานทำโอ่งมังกร สู่โรงงานเซรามิคร่วมสมัย “เถ้าฮงไถ่”  กระเบื้องเซรามิคลวดลายต่างๆ สำหรับใช้ตกแต่งอาคารบ้านเรือน ในส่วนของโรงงาน บางจุดได้เปิดให้ผู้ที่มาซื้อผลิตภัณฑ์และผู้ที่สนใจงานศิลปะเข้าเยี่ยมชมวิธีการทำและขั้นตอนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการนวดดิน การปั้นขึ้นรูป การเขียนลายโดยช่างผู้เชียวชาญ พร้อมกับมีงานนิทรรศการหมุนเวียนจัดแสดงผลงานให้ได้ชมกันฟรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ภายในโรงงานมีร้านกาแฟเล็กๆ เก๋ๆ น่ารักๆ ทั้งภายนอกและด้านในตกแต่งด้วยสีสันของงานเซรามิค พามาชมข้างในโรงงานกันบ้าง หลังจากเตรียมดินสำหรับการปั้นเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำดินมาปั้นเพื่อขึ้นเป็นรูปทรงต่างๆ ตามที่ต้องการ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ก่อนลงลวดลายและสีสัน ขั้นตอนการลงสีและลวดลาย พาไปชมรอบนอกของโรงงาน ซึ่งมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์เซรามิคของที่โรงงานทำไว้ และเตรียมจัดส่งให้กับลูกค้า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของที่โรงงานจะทำส่งตามบ้านหรือตามโรงแรมต่างๆ เพื่อประดับตกแต่งและบางอย่างก็ใช้งานได้จริงด้วย สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูตัวอย่างผลิตภัณฑ์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  เว็ปไซด์ http://www.thtceramic.com/อีเมล: info@thtceramic.comโทรศัพท์ : 032-337574, 032- 323630

เพื่อนร่วมทาง พา Go Local : “เถ้าฮงไถ่” อ่านเพิ่มเติม

ลังกาจิว เกาะจิ๋วปะการังแจ๋ว

เกาะแห่งนี้เต็มไปด้วยความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ปะการัง สัตว์น้ำ และท้องทะเล สามารถไปดำน้ำดูปะการังได้ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม ถึงตุลาคมของปี การเดินทาง1.โดยรถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ใช้เวลาประมาณ 6-7 ชั่วโมง โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) มุ่งหน้าสู่ จังหวัด ชุมพร เมื่อถึงสี่แยกปฐมพร เลี้ยวซ้ายเข้ามาประมาณ 8 กิโลเมตร ก็จะถึงตัวเมืองจังหวัดชุมพร จากตัวเมือง จังหวัดชุมพร ไปตามทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4001 ระหว่างอำเภอเมืองกับปากน้ำชุมพร ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร ก่อนจะถึงปากน้ำชุมพร จะพบสามแยกทางไปหาดทรายรี ให้เลี้ยวขวา เมื่อเลี้ยวขวาเข้ามาอีก 20 เมตร จะพบทางแยกให้เลี้ยวขวาอีกครั้งไปตามถนน รพช. สายบ้านมัทรี – หาดทรายรี ประมาณ 9 กิโลเมตร เลี้ยวขวา ประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร 2 โดยรถประจำทางจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ โดยสารรถสายกรุงเทพฯ – ชุมพร ระยะทาง 500 กิโลเมตร ถึงจังหวัดชุมพร และจาก จังหวัดชุมพร โดยสารรถสองแถวมายังอุทยานแห่งชาติ ระยะทาง 23 กิโลเมตร  3. การเดินทางโดยรถไฟ ใช้เวลา เดินทางประมาณ 8 – 9 ชั่วโมง แล้วแต่ประเภทของขบวนรถสามารถเลือกการเดินทางได้ ทั้งในเวลา กลางวัน และกลางคืน เนื่องจากมีขบวนรถหลายขบวนในแต่ละวัน โดยขึ้นรถไฟได้ที่สถานีกรุงเทพฯ และสถานี ธนบุรี 4.โดยเครื่องบินปัจจุบันจังหวัดชุมพรมีท่าอากาศยาน เพื่อรองรับการเดินทางทางอากาศโดยตั้งอยู่ที่อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เกาะลังกาจิว เป็นเกาะขนาดปานกลาง หนึ่งในหมู่เกาะทะเลชุมพร และยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประภาสเพื่อทอดพระเนตรการเก็บรังนกบนเกาะนี้ จำนวน 3 ครั้ง และได้ทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ของพระองค์ไว้บนผนังหินปากถ้ำทางด้านใต้ ซึ่งยังคงปรากฏเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบัน เกาะลังกาจิวมีชายหาดสวยงาม ทรายขาวละเอียด ส่วนแนวปะการังจะอยู่ด้านตะวันตกของเกาะ เป็นแนวปะการังที่ยังคงสมบูรณ์ตามธรรมชาติ สวยงามมากๆ น้ำใสสะอาด สามารถมองเห็นปะการัง และฝูงปลาได้ชัดเจน ยิ่งในวันที่แดดสวย ฟ้าใส จะทำให้น้ำทะเลเปล่งประกายวิบวับ สวยงามจับใจมากจริงๆ ส่วนด้านอื่นๆ รอบเกาะเป็นโขดหิน พบปะการังได้บ้างเล็กน้อย แต่ยังสามารถพายเรือ ชมความสวยงามของโขดหินได้นะ น้ำใสสะอาด สวยงามจับใจมากจริงๆ บนเกาะไม่มีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว แต่จะมีบ้านของชาวเกาะ สร้างขึ้นอย่างง่ายๆ เกาะนี้เป็นหนึ่งในเกาะที่มีสัมปทานรังนกนางแอ่น คนที่อยู่เกาะก็จะเป็นคนเฝ้ารังนกนางแอ่นด้วย เกาะลังกาจิว เปิดขึ้นไปเที่ยวบนเกาะ เวลา 08.00 – 17.00 น.  หลังจากนั้นจะไม่อนุญาตให้ขึ้นโดยเด็ดขาด และบางเดือนเป็นฤดูที่นกนางแอ่นกำลังทำรังหรืออยู่ในระหว่างการเก็บรังนก จะไม่อนุญาตให้ขึ้นไปเที่ยวบนเกาะ เพราะจะทำให้นกนางแอ่นตกใจ สนใจล่องเรือชมหมู่เกาะทะเลชุมพร ติดต่อบริษัท สยาม คาตามารัน จำกัด โทร. 077 553 123บริษัท ต้นปาล์ม โวยาจ จำกัด โทร. 098 321 6335บริษัท ชาวเกาะไดฟ์วิ่ง จำกัด โทร 089 091 6277บริษัท ชุมพรไดฟ์วิ่ง จำกัด โทร 081 895 4527

ลังกาจิว เกาะจิ๋วปะการังแจ๋ว อ่านเพิ่มเติม

ธาตุพนม … อำเภอเล็กๆ หากไม่มาเยือน จะเหมือนมาไม่ถึงนครพนม

ธาตุพนม … อำเภอเล็ก ๆ หากไม่มาเยือน จะเหมือนมาไม่ถึงนครพนม ถนนเลียบริมแม่น้ำโขงของอำเภอธาตุพนม ถือเป็นถนนที่สวยงามอีกแห่ง เป็นแหล่งรวมที่พักและร้านอาหารบรรยากาศดี ๆ หลายแห่ง บริเวณริมตลิ่งทำเป็นเขื่อนคอนกรีต สำหรับนั่งเล่นพักผ่อน หรือชมการแข่งเรือยาวที่มักจัดขึ้นในช่วงปลายฝนต้นหนาว ของทุกปี สัญลักษณ์กลางเมืองซึ่งตั้งโดดเด่นในภาพนี้ คือ “ซุ้มประตูเรืองอร่ามรัษฎากร” (ซุ้มประตูโขง) ตั้งชื่อตาม ท่านขุนอร่ามรัษฎากร ซึ่งเป็นผู้สร้างถนนจากหน้าวัดตรงมายังแม่น้ำโขง รวมถึงซุ้มประตูหลังนี้ด้วย จุดเด่นอยู่ที่สถาปัตยกรรมเก่าสวยงาม มียักษ์สองตนยืนเฝ้าอยู่ที่ซุ้มประตู ทิศตะวันตกของซุ้มประตูคือ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร และทิศตะวันออกคือ ถนนทางลงแม่น้ำโขง “พระธาตุพนม” ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ถนนชยางกูร อำเภอธาตุพนม เป็นพระธาตุประจำวันของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์และเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีวอก เชื่อกันว่าผู้ที่ไปนมัสการจะได้รับอานิสงส์มีบุญบารมีและผู้คนให้ความเคารพนับถือ องค์พระธาตุพนม มีความงดงามทั้งในเวลากลางวันและยามค่ำคืน ในวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี จะมีการจัดงานนมัสการองค์พระธาตุพนม กิจกรรมหลัก ๆ คือ การทำบุญตักบาตร การสวดมนต์ข้ามคืน และสุดท้ายหากมาเที่ยวอำเภอนี้ ต้องไม่ลืมอุดหนุนของฝากของดีของที่นี่ คือ กาละแมโบราณ กาละแมโบราณของอำเภอธาตุพนม มีการผลิตและจำหน่ายกันหลายเจ้า แต่เอกลักษณ์ที่ทุก ๆ เจ้าจะมีเหมือนกัน คือ เนื้อกาละแมจะเป็นสีดำเหนียวนุ่ม หวานมัน ห่อใบตองรีดด้วยเตาถ่านแบบโบราณ กลัดด้วยไม้กลัดทำจากไม้ไผ่อันเล็ก ๆ  นักท่องเที่ยวสามารถซื้อหากาละแมได้ตามร้านขายของฝาก ซึ่งจะมีอยู่หลายร้านบริเวณซอยข้างซุ้มประตูเรืองอร่ามรัษฎากรเชื่อมกับถนนริมโขง หากมาเที่ยวนครพนม อยากให้ลองมาพักที่อำเภอธาตุพนมสักหนึ่งคืน เป็นอำเภอที่ค่อนข้างเงียบสงบ ไม่หวือหวา บรรยากาศดีถึงดีมาก คงทำให้ผู้มาเยือนหลงรักอำเภอเล็ก ๆ นี้ได้ไม่ยาก

ธาตุพนม … อำเภอเล็กๆ หากไม่มาเยือน จะเหมือนมาไม่ถึงนครพนม อ่านเพิ่มเติม

ยอดเขาเทวดา…ที่ไม่ธรรมดา

ยอดเขาเทวดา ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติพุเตย อ.ด่านช้าง เป็นอุทยานแห่งเดียวในจ.สุพรรณบุรี ทริปนี้แนะนำเป็น 2 วัน 1 คืน เดินทางออกจากกรุงเทพฯช่วงเช้าๆ ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯประมาณ 3 ชั่วโมงโดยรถยนต์ที่พร้อมลุยทางชันและทางลูกรัง เนื่องจากการเดินทางนั้นจะต้องขึ้นไปที่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ พุเตยที่ 3 ตะเพินคี่ก่อนจะเดินเท้าขึ้นไปชมแสงแรกของพระอาทิตย์ขึ้นบนยอดเขาเทวดาค่ะ หากว่าใครเดินทางมาถึงแล้วก็แนะนำให้ไปติดต่อทางที่ทำการอุทยาน(หน่วยหลัก) ก่อนมีบริการอาหารและจำหน่ายของจำเป็นด้านล่างสามารถติดต่อได้เลยค่ะ บริการเช่าเต็นท์และอุปกรณ์เครื่องนอนต่างๆ กรณีที่นำรถยนต์มาแต่ไม่สามารถนำขึ้นไปได้ก็สามารถเช่ารถขึ้นเขาไปที่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ พุเตยที่ 3 ได้ค่ะ พร้อมแล้วก็ขึ้นไปกันเลยค่ะ  ติดต่อที่ทำการฯ อุทยาน โทร.035 960 240, 081 934 2240  อุทยานแห่งชาติพุเตย ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์แอดมินชอบในความที่เป็น”ธรรมชาติยังคงเป็นธรรมชาติ” เพราะสมบูรณ์ทั้งพืชไม้ สัตว์ป่า ลักษณะของป่าเป็นดิบชื้น มีพรรณไม้ที่สำคัญและมีสนสองใบให้ได้เห็นกัน เมื่อขึ้นมาถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ พุเตยที่ 3 ตะเพินคี่ ประหนึ่งว่าเป็นที่พัก 5 ดาวสำหรับผู้ชอบผจญภัยและการนอนเต๊นท์เพราะไม่มีบ้านพัก เต๊นท์อย่างเดียวค่ะ นั่งชมวิวภูเขา ทุ่งหญ้ากว้างๆ ที่มีพร้อมทั้งไฟฟ้าในส่วนของห้องน้ำ แต่ไม่มีปลั๊กไฟให้บริการ ห้องน้ำที่ถูกจัดทำโดยใช้สิ่งจากธรรมชาติเป็นประโยชน์ เก๋ๆค่ะ มีเต็นท์ตัวเองก็กางโลด ไม่มีมาที่นี่ก็มีให้เช่านะคะ หลังจากจัดแจงกางเต็นท์เป็นที่เรียบร้อย ก็พักร่างนอนชมพระอาทิตย์ตกกันเลยค่ะ หมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพินคี่ ตั้งอยู่บนสันเขาเป็นทางผ่านที่เราจะต้องเดินทางขึ้นไปที่ยอดเขา เราจะได้เห็นความเป็นอยู่ วิถีชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมด้วย โอ้โห เอ็นจอยเด้อ ^^  น้ำตกตะเพินคี่น้อย อีกหนึ่งสถานที่ต้องแวะเข้าไปชมอยู่บริเวณของหมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพินคี่ ชมได้ตลอดปีค่ะ มีกิจกรรมให้ปีนหน้าผาโรยตัวที่น้ำตกด้วย สามารถติดต่อกับที่ทำการฯ ได้เลย โอ้โห เอ็นจอยอีกแล้ว ตื่นแต่เช้ามืดไปพิชิตยอดเขาเทวดา ที่ไม่ธรรมดาจากจุดกางเต๊นท์จะต้องเดินไปยังตีนเขาประมาณ 1 กิโลเมตรไปถึงตีนเขาและเริ่มเดินขึ้นเขาทางชันโดยระยะทาง 800 เมตรซึ่งไม่ได้ไกลมากนัก ระหว่างทางจะมีเชือกเพื่อเป็นตัวช่วยในการเดิน แต่ก็ต้องระมัดระวังการเดินเพราะค่อนข้างชันและลื่นเป็นบางจุด มีจุดพักเป็นระยะควรสวมรองเท้าสำหรับเดินป่าและอุปกรณ์ไฟฉายพร้อมนะคะ Go Go Go ” กายพร้อม ใจพร้อม เราทำได้ ” ชมหมอก ชมความสวยงามของแสงพระอาทิตย์ พักจากงานมาหาธรรมชาติที่แท้จริง เที่ยวในสุพรรณบุรีก็มีเขาให้ขึ้น ไม่ต้องไปถึงภาคเหนือ ที่พักหลักร้อย วิวหลักล้านเด้ออออ

ยอดเขาเทวดา…ที่ไม่ธรรมดา อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top