สถานที่ท่องเที่ยว

เที่ยวย้อมใจ ไปสกลนคร: ครามรุณณี ย้อมครามด้วยใจ ตอนที่ 1

มีคนบอกว่าเที่ยวอีสานให้ลองมาหน้าฝน จะได้ชุ่มฉ่ำกับสายฝน ทุ่งนา กลิ่นดิน และสายหมอก จะว่าไปฉันก็กำลังอยากเปลี่ยนที่หย่อนตัว นอนเล่นซักคืนสองคืนพอดี แต่จะไปที่ไหนดีน้าาา… ตัดสินใจได้ เช้าตรู่วันนั้น ฉันเลยเช็คอินขึ้นเครื่อง มุ่งหน้าสู่ จังหวัดสกลนคร ถึงจะเคยมาเยือนถิ่นผ้าย้อมครามหลายครั้ง แต่คราวนี้ตั้งใจจะมากินนอนข้างหม้อย้อมให้ฟินแบบลึกซึ้ง กันไปเลย หม้อครามในตำนาน ฉันแบกเป้ลงจากเครื่องมาไม่นาน พี่รุณณี เจ้าของแบรนด์ “ครามรุณณี” ก็ยิ้มกว้าง โบกมือให้กระโดดขึ้นรถไปด้วยกัน แรกๆ เราก็ทักทายกันเขินๆ แต่ด้วยอัธยาศัยที่เป็นกันเองสุดๆของพี่รุณณี ทำให้ฉันรู้สึกสบายใจมากๆ พร้อมกับความตื่นเต้นที่จะได้ค้นพบพื้นที่เรียนรู้แห่งใหม่รออยู่ไม่ไกลที่บ้านหนองไผ่ อ.พรรณานิคม ระหว่างทาง พี่รุณณีพาเลี้ยวเข้าหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ บ้านตอเรือ เพื่อพาไปทำความรู้จักกับคุณยายวารี หนึ่งในตำนานหม้อครามยุคแรกๆ ของจ.สกลนคร ซึ่งป้าวารีก็เล่าให้ฟังว่าแกเริ่มตั้งหม้อครามมาตั้งแต่อายุ 15 ถึงวันนี้อายุ 75 ปี ก็ต้องเรียกว่าเกินครึ่งศตวรรษเข้าไปแล้วที่ป้าวารียังคงย้อมครามและทอผ้าจำหน่ายเป็นอาชีพในชื่อแบรนด์ โฮมครามวารี ป้าเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนชาวบ้านนิยมใส่ผ้าย้อมครามออกไปทำไร่ทำนา เพราะนอกจากสีเข้มเกือบดำที่ดูไม่เลอะเทอะง่ายแล้ว ยังช่วยกันแดด ใส่แล้วไม่ร้อน ส่วนต้นครามและฝ้ายก็ปลูกกันอยู่หัวไร่ปลายนา เรียกว่าย้อมแจกกันมากกว่าขาย ยุคแรกที่เริ่มย้อมขายก็ไม่ได้มีมูลค่าสูงเหมือนในปัจจุบัน คุณยายวารียังพาไปชมห้องทำงานที่เรียงรายไปด้วยหม้อคราม ราวตากเส้นฝ้ายที่ย้อมครามเอาไว้ และกี่ทอผ้าที่คุณยายนั่งลงพุ่งเส้นฝ้าย สาธิตทอผ้าให้ชมอย่างชำนาญพร้อมบอกว่า “ยายออกแบบลายเอง ผืนนี้เอาไปตัดกางเกงสวยเลยนะ” ส่วนฉันแอบมองมือคุณยายที่ทุกนิ้วเคลือบด้วยสีครามจางๆ นี่สินะมือหม้อครามในตำนาน สู่บ้านคราม ฝนยังปรอยปรายลงมาไม่หยุดเมื่อเรามาถึงบ้านพี่รุณณี ไม่ต้องมีพิธีรีตรอง พี่รุณณีจัดการปูเสื่อกับพื้นบ้านพร้อมจัดสำรับกับข้าวง่ายๆ มีปลาทอด ไข่เจียว และน้ำจิ้มแจ่วปลาร้า ขาดไม่ได้คือกระติ๊บข้าวเหนียวใบใหญ่ อัดแน่นด้วยข้าวเหนียวหอมๆ คนกำลังหิวเลยได้ปั้นข้าวเหนียวกินเพลินเลย หลังกินมื้อเช้าแล้วพี่รุณณีเลยปล่อยให้ฉันพักซักครู่ในบ้านพักโฮมสเตย์ที่สร้างแยกออกมาจากบ้านของครอบครัวเพื่อความเป็นส่วนตัว ซึ่งพี่รุณณีมีบ้านพักให้บริการอยู่ 3 หลัง รวม 4 ห้องพัก บ้านแต่ละหลังสร้างด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงจาก หลังเล็กๆ น่ารักมาก ด้านในมีเตียงปูผ้าย้อมครามเข้าบรรยากาศ และถึงแม้จะเป็นห้องพัดลม แต่อากาศที่นี่ก็เย็นสบายจนไม่ต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศใดๆ ส่วนห้องน้ำมีเครื่องทำน้ำอุ่นพร้อม เท่านี้ก็เกินพอแล้วกับความต้องการเรียบง่ายของฉัน ฝ้ายเข็นมือ “คุณยายมาแล้ว” พี่รุณณีบอกฉันเมื่อจักรยานคุณยายทั้งสองท่านเข้ามาจอดข้างโรงย้อมคราม วันนี้พี่รุณณีชวนคุณยายผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเข็นฝ้ายและทอผ้ามาสาธิตให้ฉันชมแบบละเอียดยิบกันเลยทีเดียว และหนึ่งในนั้นคือคุณแม่ของพี่รุณณีนั่นเอง ในพื้นที่หมู่บ้านพี่รุณณีเหลือแต่เพียงผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังคงทอผ้ากันอยู่ ส่วนพี่รุณณีเองถือว่าเป็นรุ่นปัจจุบันที่นำเอาวิถีย้อมครามเข้ามาผสานกับเส้นฝ้ายเข็นมือของคนรุ่นก่อน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ “ครามรุณณี” คือใช้ฝ้ายเข็นมือและย้อมสีธรรมชาติมาทอมือทั้งเส้นตั้งและยืน และตัดเย็บเป็นเสื้อ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าซิ่น ฯลฯ เนื้อผ้าจึงมีความหนานุ่ม เส้นฝ้ายมีเนื้อสัมผัสไม่เรียบ และมีเอกลักษณ์การตัดเย็บกับโทนสีสไตล์พี่รุณณี เรียกว่าตั้งแต่เก็บฝ้าย จนจบออกมาเป็นชุด ครามรุณณีทำด้วยมือทั้งกระบวนการเลย น่าทึ่งมากๆ พี่รุณณีส่งชุดผู้ไทให้ฉันหลบไปแต่งในห้อง มีทั้งเสื้อแขนกระบอก ซิ่นย้อมครามทอลายพื้นถิ่น และผ้าเบี่ยง แถมยังได้พี่สาวพี่รุณณีช่วยเกล้ามวยผม จัดเต็มจนเห็นตัวเองในกระจกก็แอบแปลกตาจนเขินๆเหมือนกันนะเนี่ย กลับมาคุณยายก็นั่งลงเข็นฝ้ายเป็นเส้นอย่างชำนิชำนาญกันแล้ว ดีที่พี่รุณณีช่วยอธิบายให้ฟังแบบละเอียดอีกที เริ่มจากอิ้วฝ้าย หรือรีดเอาเมล็ดออก ดีดฝ้ายในกะเพด เป็นการทำให้ฝ้ายฟูละเอียด จากนั้นแบ่งเอามาม้วนบนแผ่นไม้เป็นหลอดๆ ขั้นตอนสำคัญคือการเข็นฝ้าย ที่คุณยายนำอุปกรณ์เรียกว่า หลา หน้าตาเป็นวงล้อมีมือจับไว้หมุน จากนั้นคุณยายก็เอาหลอดฝ้ายมาดึงกับเข็มพร้อมหมุนวงล้อ ฝ้ายในหลอดก็ค่อยๆ ไหลออกมาเป็นเส้นไปม้วนที่เข็มอย่างน่าทึ่ง มองดูเหมือนง่าย แต่น้ำหนักการดึงสำคัญมาก หลังจากคุณยายเข็นฝ้ายจนได้ปริมาณที่พอแล้ว ก็เอาแกนไม้ที่เรียกว่า เปีย มาม้วนเส้นฝ้ายเพื่อให้กลายเป็นใจฝ้ายสำหรับกระบวนการที่น่าสนุกต่อไปนั่นคือ ย้อมคราม พอยายชวนให้ฉันลองทำเอง ก็นั่นแหละ เส้นฝ้ายขาดแล้วขาดอีก พี่รุณณีเลยให้กำลังใจว่าฝึกอีกหน่อยก็คล่อง ซึ่งฉันว่า “อีกหน่อย” นี่คงจะนานอยู่เหมือนกัน หลังจากผ่านขั้นตอนการเข็นฝ้ายไปแล้ว คุณยายจะพาไปทำอะไรต่อ ติดตามกันได้ในตอนต่อไปค่ะ

เที่ยวย้อมใจ ไปสกลนคร: ครามรุณณี ย้อมครามด้วยใจ ตอนที่ 1 อ่านเพิ่มเติม

รู้เขา รู้เรา รู้พะเยา ตอนที่ 2

สายบุญ – สักการะวัดงามสายพม่า ที่วัดนันตาราม.ใครมาพะเยา แนะนำให้ขับรถมาไม่ไกลจากอำเภอเมือง ก็จะเจอกับอำเภอใหญ่ที่ชื่อว่าอำเภอเชียงคำ ซึ่งมีวัดอันโด่งดังที่มีสถาปัตยกรรมคล้ายวัดชาวไทใหญ่แห่งนี้เป็นแลนด์มาร์กสำคัญ.จุดเด่นที่เห็นได้จากไกลๆ คือเป็นวัดที่ใช้ศิลปะแบบไทใหญ่ สร้างจากไม้สักทั้งหลัง แต่ถ้าเข้าไปมองใกล้ๆ ข้างในก็จะเจอกับศิลปะจากกระจกสีบนเพดานที่วิจิตรงดงามไม่แพ้กัน ส่วนพระประธานด้านในก็เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่แกะสลักจากไม้สักทองทั้งต้น ความงดงามที่ต่างจากที่อื่นนี่แหละที่ทำให้นักเที่ยวสายบุญส่วนใหญ่ที่มาพะเยาต้องแวะมาสักการะ สายธรรมชาติ – แช่น้ำอุ่น ปูเสื่อปิกนิก ที่น้ำตกภูซาง .แม้จะเป็นน้ำตกที่ไม่ได้เด่นเรื่องความอลังการงานสร้าง แต่น้ำตกภูซางพิเศษตรงที่เป็นน้ำตกน้ำอุ่นเพียงแห่งเดียวในไทย เกิดจากสายน้ำอุ่นที่ไหลจากผาหินปูน อุณหภูมิราวๆ 35-36 องศาเซลเซียสกำลังดี เหมาะแก่การแช่น้ำผ่อนคลาย ซึ่งชาวบ้านที่นี่ก็มาพักผ่อนเล่นน้ำกันเป็นประจำ และด้วยบรรยากาศรอบๆ ที่ร่มรื่นสวยงาม ก็ทำให้เราได้เห็นวัฒนธรรมปูเสื่อปิกนิกกินข้าวกันรอบๆ ซึ่งเป็นภาพที่น่ารัก.สำหรับนักเที่ยวที่อยากผจญภัยอีกหน่อย รอให้พ้นช่วงโควิดไปก่อน อุทยานก็จะเปิดให้เข้าไปเดินในเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีพันธุ์ไม้หายาก มีบ่อน้ำซับอุ่นที่เป็นต้นน้ำอุ่นของน้ำตกนี้ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้เวลาแค่หนึ่งชั่วโมงก็น่าจะอิ่มใจแล้วล่ะ!  สายชิลล์ – ขับรถลัดเลาะไปนั่งจิบกาแฟชมวิวที่ภูลังกา.กาแฟหลักร้อย วิวหลักล้านจริงๆ เพราะ Magic Mountain คือร้านกาแฟยอดฮิตที่ใครๆ ก็บึ่งไปแต่เช้ามืด เพื่อไปกินกาแฟยามเช้าแล้วถ่ายรูปท่ามกลางบรรยากาศทะเลหมอกหน้าหนาวเป็นที่สุด ซึ่งเราทำสิ่งนี้ได้โดยไม่ต้องขับรถขึ้นเขาแล้วเดินต่อขึ้นไปบนวนอุทยานอีกต่อไป แต่เพียงแค่ยอมขับเลี้ยวลัดตัดผ่านเส้นทางต้นไม้สวยๆ ห่างมาจาก อำเภอเมืองพะเยาราวๆ 2 ชั่วโมง ร้านนี้จะอยู่ติดริมถนนใกล้ภูลังการีสอร์ทเลยล่ะ.ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะเห็นทะเลหมอกคือยามเช้าก่อนเก้าโมง ที่จะมีแสงสีทองสาดส่องสายหมอก ท่ามกลางภูเขาหินปูนน้อยใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ แต่ถ้าพลาดไปไม่ทันแบบเรา เอาแค่วิวก็ถือว่าสุดยอดมากๆ แล้ว สายชิลล์ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง  สายแฟ – ช้อปปิ้งผ้าทอไทลื้อ ที่บ้านฮวก.คนรักแฟชั่น ถ้าได้เจอกับผ้าทอไทลื้อและงานหัตถกรรมของชาวบ้านฮวก อาจจะต้องช้อปปิ้งกลับไปแบบเต็มไม้เต็มมือไม่รู้ตัว เพียงขับรถมาไม่ไกลจากอำเภอเชียงคำ มาตรงหมู่บ้านที่ติดกับดินแดนของประเทศลาว ก็จะเจอร้านค้าของชาวบ้านฮวกที่ขายสินค้าที่ทำขึ้นด้วยมือและมีความประณีต มีทั้งผ้าซิ่นทอไทลื้อซึ่งเป็นจุดเด่นประจำจังหวัดให้เลือกจนตาลาย เสื้อผ้าจากผ้าทอที่ตัดประยุกต์มาให้ดูร่วมสมัย และยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากผ้าไทลื้อและงานฝีมือชุมชนมาขายในราคาไม่แพงด้วยนะ สายคาเฟ่ฮอปปิ้ง – กินกาแฟในคาเฟ่เก๋ Blacksmith.ปิดท้ายแบบตอบใจนักเที่ยวสายคาเฟ่ฮอปปิ้ง ด้วยร้านกาแฟสุดเก๋แห่งอำเภอเชียงคำ ซึ่งเป็นบ้านสีเทาที่โดดเด่นอยู่ในซอย เข้าไปข้างในก็เจอกับการตกแต่งสไตล์ Industrial Loft พร้อมเมนูกาแฟน่าทานหลากหลาย และมุมถ่ายรูปสุดชิกที่ดูเผินๆ เหมือนไม่ต่างจากคาเฟ่เก๋ในกรุงเทพฯ แต่วิวนอกหน้าต่างและบรรยากาศโดยรอบยังคงความน่ารักสไตล์เมืองเล็กๆ อยู่ ใครไปเชียงคำก็อย่าลืมแวะไปอุดหนุนและถ่ายรูปชิคๆ กลับมา บอกให้โลกรู้ว่าแม้แต่ในอำเภอเล็กๆ ในเมืองรอง ก็ยังมีคาเฟ่ดีๆ ซ่อนอยู่นะ!

รู้เขา รู้เรา รู้พะเยา ตอนที่ 2 อ่านเพิ่มเติม

รู้เขา รู้เรา รู้พะเยา ตอนที่ 1

สาย Unseen – นั่งเรือพายไปไหว้พระโบราณ กลางกว๊านพะเยา.บางคนอาจไม่เคยรู้ว่ากว๊านพะเยามีวัดเก่าแก่ตั้งอยู่กลางน้ำ ซึ่งเป็นอันซีนติดอันดับต้นๆ ของประเทศ! ชื่อของวัดกลางน้ำแห่งนี้ก็คือวัดติโลกอาราม วัดแห่งนี้ถูกค้นพบซากและหลักฐานจากการสำรวจน้ำในปี พ.ศ. 2550 ทางจังหวัดจึงอัญเชิญพระพุทธรูปหินทราย หลวงพ่อศิลากว๊านพะเยา ซึ่งเป็นพระพุทธโบราณปางมารวิชัยที่ถูกค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 มาประดิษฐานไว้คู่กัน.ความสนุกของการไปไหว้พระที่วัดติโลกอาราม คือต้องข้ามเรือแจวกับคุณลุง ราคาคนละ 30 บาท ชมวิวกว๊านแบบใกล้ชิดไปพลาง ฟังประวัติเมืองจากลุงไปพลาง ไปถึงตรงกลางก็จะได้สักการะ ได้ปล่อยปลา และพอหันกลับมาจากเกาะเล็กๆ แห่งนี้จะเจอกับวิวเมืองพะเยาจากอีกด้านหนึ่งที่ได้อารมณ์น่ารักไปอีกแบบ.กระซิบก่อนว่าถ้าอยากไปตอนโฮไลต์ ให้ไปช่วงวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะจะมีการเวียนเทียนทางน้ำ (พายเรือเวียนเทียน) ที่เดียวในโลกด้วยนะ สายความเชื่อ – ไปสักการะพญานาค ที่กว๊านพะเยา.กว๊านพะเยาอาจจะเป็นแลนด์มาร์กชื่อดังในสายตาของนักท่องเที่ยว แต่สำหรับคนพะเยาเองนั้นผูกพันกับกว๊านแห่งนี้ เพราะเป็นทั้งแหล่งน้ำสำคัญ เป็นพื้นที่หย่อนใจ และยังมีความเชื่อเรื่องพญานาคอันศักดิ์สิทธิ์ โดยเชื่อกันว่าที่กว๊านแห่งนี้เดิมเป็นที่อยู่ของพญานาคจอมกร่างตนหนึ่งชื่อว่า พญาธุมะสิกขี ซึ่งภายหลังยอมกำราบลงเมื่อได้เห็นอิทธิฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า จึงกลายมาเป็นผู้มอบทองคำให้สร้างพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งก็คือ ‘พระเจ้าตนหลวง’ ในวัดศรีโคมคำ ที่อยู่ไม่ไกลจากกว๊านพะเยานั่นเอง ด้วยตำนานความเชื่อนี้ทำให้มีการสร้างรูปปั้นพญานาคขนาดใหญ่เป็นจุดเด่นกลางกว๊านพะเยาอย่างที่เราเห็น และก็มีการทำพิธีสืบชะตากว๊านพะเยา (พิธีแบบล้านนา) ทุกปีเพราะเชื่อว่าพญานาคเป็นผู้ปกปักรักษากว๊าน.สำหรับนักท่องเที่ยวสายความเชื่อ การได้ไปสักการะและถ่ายภาพพญานาคกลางกว๊านพะเยานั้นเป็นอะไรที่คุ้มค่า หรือจะลองขอโชคกับปู่พญานาคตามชาวบ้านที่นี่ดู โดยเฉพาะในช่วงใกล้หวยออก ชาวบ้านก็จะพากันไปขอโชคกับปู่พญานาคที่ตั้งอยู่ตรงท่าเรือโบราณไม่ไกลจากรูปปั้น โชคดีอาจเป็นของคุณก็ได้นะ สายลองของ – ลองกินกุ้งเต้น ริมกว๊านพะเยา.ถ้ามากว๊านพะเยาแล้วไม่ได้กิน ‘กุ้งเต้น’ ก็เท่ากับมาไม่ถึง!.กุ้งเต้น คือเมนูที่ต้องมีของเหล่าแม่ค้าพ่อค้าไปจนถึงร้านอาหารริมกว๊าน จุดเริ่มต้นน่าจะมาจากเดิมที่ผู้คนรอบกว๊านทำการประมงเพื่อเลี้ยงปากท้องและค้าขาย จับปลาจับกุ้ง รวมไปถึงกุ้งฝอยตัวจิ๋วๆ ซึ่งกลายมาเป็นเมนูประจำกว๊าน แม้ปัจจุบันจะไม่มีการจับกุ้งฝอยจากกว๊านแล้ว เปลี่ยนไปรับจากแหล่งน้ำจืดไหลนิ่งในละแวกแทน แต่ก็ยังเป็นเมนูฮิตที่ไปถึงยังไงก็ต้องเจอ และต้องลองให้ได้สักครั้งในชีวิต.ความพีคของเมนูนี้ คือการเอากุ้งเป็นๆ มาปรุงด้วยพริกป่น มะนาว ข้าวคั่ว น้ำปลา คลุกเคล้ากับผักสมุนไพร แล้วปิดฝาเสิร์ฟเลยทันที นั่นแปลว่ากุ้งที่มาในชามนั้นยังกระโดดอยู่ เวลาจะกินเข้าไปก็ต้องรีบตักใส่ปากให้ทันก่อนกุ้งน้อยจะกระโดดหนี ใครเป็นนักเที่ยวสายลองของ ถ้าไปทั้งทีก็ต้องไปลองให้รู้! สายศิลป์ – ไปชมศิลปะวิถีพุทธบนเขา ที่วัดอนาลโย.เวลาเข้าวัดเมืองเหนือ เรามักนึกภาพวัดแบบล้านนา แต่ที่วัดอนาลโยแห่งนี้กลับแตกต่างไป เพราะเป็นวัดที่มีพระพุทธรูปยุคสุโขทัยที่งดงาม รวมถึงพระพุทธรูปอีกหลากหลายปาง และยังเป็นสำนักสงฆ์ที่ร่มรื่น บวกกับการที่ตัววัดตั้งอยู่บนดอยบุษราคัม ระหว่างทางเดินขึ้นไปมีจุดให้แวะชมและสักการะท่ามกลางบรรยากาศที่โอบล้อมด้วยต้นไม้และแสงแดดส่องเป็นระยะ ยิ่งทำให้เกิดความสงบใจอย่างประหลาด.ด้านบนสุดเป็นหอพระแก้วมรกตจำลองและยังมีจุดชมวิวของเมืองพะเยาที่สวยงาม เรียกว่างานนี้นักเที่ยวสายศิลป์ถ้าเดินขึ้นไปถึงยอดก็จะได้ชมความงามถึงสองต่อ ขอบอกว่าฟินแน่นอน  สายเขียว – เก็บผักกิน+นอนโฮมสเตย์ชุมชน ที่บ้านต้นเต๊า .มองเผินๆ บ้านต้นเต๊าอาจจะเหมือนคาเฟ่น่ารักทั่วไป แต่ที่จริงแล้วที่นี่เป็นทั้งร้านอาหารและโฮมสเตย์ที่มีแนวคิดดีๆ แฝงอยู่ จุดเริ่มต้นจากการที่เจ้าของบ้านเป็นสถาปนิกชาวพะเยาที่สนใจชุมชนบ้านบัว ซึ่งปลูกข้าวอินทรีย์และมีวิถีพอเพียงเป็นทุนเดิม พอได้เข้าไปอยู่อาศัยและทำโฮมสเตย์จึงอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบ้านบัว วัตถุดิบในคาเฟ่จึงเป็นการนำผลิตผลในหมู่บ้านมาปรุงอาหาร แถมยังสนับสนุนให้เข้าไปสัมผัสวิถีการทำเกษตรพอเพียงของชุมชนอีกด้วย ทุกวันนี้บ้านต้นเต๊าจึงเปรียบเสมือนห้องรับแขกของชุมชนบ้านบัวไปโดยปริยาย.ใครที่เป็นนักเที่ยวสายออร์แกนิกและวิถีชุมชน ต้องไม่พลาดการมาพักที่โฮมสเตย์แห่งนี้ แม้จะมีห้องพักมีอยู่ 2 ห้อง แต่ที่นี่ก็ยินดีแนะนำโฮมสเตย์อื่นๆ ในชุมชนจริงๆ ให้เราได้เข้าพัก หรือจะแวะมาสนับสนุนอาหารอร่อยจากวัตถุดิบชุมชนก็เชื่อว่าจะได้ความสุขกลับไปไม่แพ้กัน 

รู้เขา รู้เรา รู้พะเยา ตอนที่ 1 อ่านเพิ่มเติม

Enjoy Eating for 1 Day @ ตลาดพลู

สวัสดีเพื่อน ๆ ช่วงที่ผ่านมาระหว่างที่ Work From Home แอดเห็นหลายคนบ่นใน Social Media ว่าอยากออกไปหาที่กิน ที่เที่ยว เพราะอยู่บ้านจนเบื่อแล้ว วันนี้แอดมีย่านของอร่อยมานำเสนอ นั่นก็คือ ตลาดพลู ย่านตลาดพลูเป็นย่านร้านอาหารทั้งคาวหวานที่เปิดขายกันมายาวนาน ชาวฝั่งธนฯรู้จักกันดี มีร้านอร่อยขึ้นชื่อไม่แพ้เยาวราช มีทั้งร้านกลางวันกลางคืน รับรองเลยว่ามาเมื่อไหร่ก็ได้อิ่มอร่อยแน่นอนนน เอาล่ะ ตามไปกิน เอ้ย!! ตามไปอ่านกันได้เลย Enjoy Eating for 1 Day @ ตลาดพลู .1.กระเพาะปลาขันโค้ก2.สุณีข้าวหมูแดง3.หมวยหลี ไอติมไข่แข็ง4. สุริยา กาแฟ 100 ปี5. เจ๊บิ เปาะเปี๊ยะสด ตลาดพลู6. ยายใฝ ขนมเบื้องญวณ7. เจ๊อ้อย หมี่กระเฉดตลาดพลู8. LYNX Specialty Coffee แอดเดินทางด้วย BTS มาลงที่สถานี ตลาดพลู ใช้ทางออกที่ 2 จากนั้นใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้าง (20 บาท) มาลงที่ตลาดพลู หรือถ้าจะเดินก็ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ร้านอาหารคาวหวานย่านนี้ แต่ละร้านอยู่ใกล้กันมาก สามารถเดินถึงกันได้สบาย ๆ คล้ายกับย่านเยาวราช ร้านแรกที่แอดจะมาแนะนำนั่นก็คือ “กระเพาะปลาขันโค้ก” ร้านนี้เป็นร้านเก่าแก่ที่เปิดมากว่า 50 ปี อยู่ข้างรางรถไฟเลย คุณลุงคุณป้าเจ้าของร้านใจดี ชวนคุยเป็นกันเองน่ารักมาก แอดสั่งกระเพาะปลาแบบธรรมดา 1 ถ้วย เพราะต้องเผื่อท้องไว้กินร้านอื่น ๆ ด้วย ต้องบอกก่อนว่าร้านใช้หนังหมูแทนกระเพาะปลา จะได้ไม่มองหากระเพาะปลากัน เห็นถ้วยแค่นี้ก็อิ่มใช้ได้เลยนะ น้ำซุปกลมกล่อมแบบที่แอดชอบเลย ไม่ข้นมาก พอเกาะเส้นเกาะเครื่องให้มีรสชาติเวลากิน แต่ซดได้คล่องคอ ที่สำคัญเครื่องเยอะด้วยนะ ร้านเปิด 10.00 น. แต่อย่าชะล่าใจ เพราะของจะหมดไวมาก มาแล้วอย่าพลาดร้านนี้เชียว.ที่ตั้ง สถานนีรถไฟตลาดพลู เกือบปลายสถานี ติดริมทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย 1087 ถนน เทอดไท แขวง ตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600เวลาเปิด-ปิด 10:00 – 14:00 น. (หยุดวันอาทิตย์)โทร. 08 7078 8238 ร้านที่สองคือร้าน “สุณีข้าวหมูแดง” ที่แอดแอบหมายตาไว้อยู่แล้ว มีที่นั่งพอดี…จะรออะไรล่ะ สั่งเลย!!.แอดสั่งข้าวหมูแดง อร่อยทีเดียว สมกับขายมานานกว่า 60 ปี หมูแดงมีกลิ่นย่างเตาถ่าน เนื้อฉ่ำ น้ำราดมีรสหวานนำ เจือเค็มนิด ๆ ทานง่ายดีนะ ที่สำคัญนั่งกินข้างรางรถไฟแบบนี้ แปลกใหม่สำหรับแอดมาก ๆ (แต่แอดชอบนะ อยากกลับไปกินอีก).ที่ตั้ง 854/8 ซอย เทอดไท 25 แขวง ตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600เปิดทุกวัน 06:00 – 20:30 น.โทร. 0 2466 3173 หมวยหลี ไอติมไข่แข็ง.กินคาวแล้วก็กินหวานต่อ ร้านนี้เดินจากร้านสุณีข้าวหมูแดงแค่ 3-4 ก้าวก็ถึงแล้ว บอกตามตรงว่าทั้งแอดและเพื่อนไม่เคยกิน ไอติมไข่แข็งมาก่อน ทางร้านเล่าให้ฟังว่าเปิดมากว่า 60 ปีแล้ว เปิดมาก่อนร้านสุณีข้าวหมูแดงซะอีก มา…เรามาลองรสชาติของ ประวัติศาสตร์ไอติม 60 ปีพร้อม ๆ กัน.เมนูที่ทางร้านแนะนำมาก็คือ ไอติมไข่แข็ง(โป๊ก) เป็นไอศกรีมกะทิ เนื้อสัมผัสไม่ได้เหนียวมาก รสชาติหวานนำ พอตักโดนไข่ก็มีความมัน ๆ นัว ๆ กินคู่กับท็อปปิ้งก็ยิ่งให้รสชาติที่หลากหลาย ไม่น่าเบื่อ ยิ่งทับทิมกรอบของร้านนี้นะ ถูกใจแอดมาก เผลอแป๊บเดียวก็หมดแล้ว เหมาะกับช่วงกลางวันที่อากาศร้อนมาก ๆ เลยยย.ที่ตั้ง : 10600 854/8-01 แขวง ตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600เปิดทุกวัน 09:00 – 20:30 น.โทร. 08 1409 2484, 09 4324 0324 สุริยา กาแฟ 100 ปี.หากใครขาดคาเฟอีนไม่ได้ ที่ตลาดพลูก็มีร้านกาแฟให้เพื่อน ๆ ได้เติมคาเฟอีน “สุริยากาแฟ 100 ปี” สาขานี้อยู่ใต้สะพาน บรรยากาศเหมือนสภากาแฟในหนังที่ตัวละครชอบมานั่งเสวนากัน.เจ้าของร้านอัธยาศัยดีมาก ต้อนรับขับสู้ชวนคุยระหว่างรอกาแฟ จากบทสนทนาเล็กน้อยนี้ ทำให้ทราบมาว่าปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 3 แล้ว โดยร้านนี้พี่น้อง 3 คนจะสลับกันมาชงกาแฟ แอดสั่งโอเลี้ยงใส่ถุงมาลอง (ความอยากย้อนวัยส่วนตัว) หรือใครจะสั่งใส่แก้วก็ได้นะ รสชาติคือใช่มาก ย้อนวันวานมากเลย ส่วนใครอยากดื่มชา ที่ร้านก็มีเช่นกัน ทางร้านตั้งใจเลือกใช้ใบชาคุณภาพดีราคาแพงมาขายในราคาที่ถูก ให้ลูกค้าได้ลิ้มลองกัน ซึ่งหากแอดแวะไปอีกครั้ง รับรองไม่พลาดแน่.ที่ตั้ง : เลขที่ 1 ถนน เทอดไท ตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600เปิดทุกวัน 06:00 – 21:30 น.โทร. 08 6321 6296 เจ๊บิ เปาะเปี๊ยะสด ตลาดพลู.หันหน้าเข้าหาร้านกาแฟ แล้วเดินตามทางเท้ามาทางขวา เพื่อน ๆ จะพบกับร้านรถเข็นเล็ก ๆ ที่ขายเปาะเปี๊ยะสดมากว่า 60

Enjoy Eating for 1 Day @ ตลาดพลู อ่านเพิ่มเติม

ล้ง 1919 ตำนานท่าเรือกลไฟ 171 ปี

เพื่อน ๆ หลายคนน่าจะรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิตอย่าง ล้ง 1919 กันอย่างดี ล้งถือเป็น community space ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ให้บรรยากาศสไตล์จีนย้อนยุค มีตึกเก่า ศาลเจ้า ร้านอาหาร ร้านขายของ และมุมถ่ายรูปสวย ๆ เยอะมาก แต่ก่อนจะกลายมาเป็น ล้ง 1919 เพื่อน ๆ ทราบไหมว่าบริเวณนี้เคยเป็นท่าเรือสำคัญมาก่อน ก่อนจะมาเป็น ล้ง 1919 ท่าเรือแห่งนี้ชื่อว่า ฮวย จุ่ง ล้ง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2393 ช่วงปลายรัชกาลที่ 3 เจ้าของคือ พระยาพิศาลศุภผล ต้นตระกูลพิศาลบุตร ท่าเรือฮวย จุ่ง ล้ง เป็นท่าเรือกลไฟและโกดังเก็บสินค้าที่เจริญรุ่งเรืองมาก โดยชาวจีนในอดีตที่เดินเรือมาทำการค้าหรือย้ายถิ่นฐานมาอยู่เมืองไทยจะต้องมาเทียบเรือและลงทะเบียนชาวต่างชาติที่ท่าเรือนี้ บริเวณท่าเรือยังมีร้านค้าและโกดังเก็บสินค้านำเข้าจากหลายประเทศ เช่น จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) พระยาพิศาลศุภผลได้ขายกิจการให้นายตัน ลิบ บ๊วย แห่งตระกูลหวั่งหลี ในตอนนั้นเศรษฐกิจซบเซาเพราะผลกระทบจากสงครามโลก รวมถึงมีการก่อตั้งการท่าเรือแห่งประเทศไทยขึ้น จึงทำให้ท่าเรือฮวยจุ่ง ล้ง ลดความนิยมลง ตระกูลหวั่งหลีจึงปรับท่าเรือให้เป็นอาคารสำนักงานและโกดังสำหรับเก็บสินค้าทางการเกษตรของครอบครัว ส่วนอาคารที่เคยเป็นร้านค้าก็กลายเป็นที่พักคนงาน กาลเวลาผ่านไปอาคารทรุดโทรมลงมากและถูกทิ้งร้างอยู่หลายปี จนในที่สุด ทายาทของตระกูลหวั่งหลีเห็นว่าอาคารแห่งนี้มีความสำคัญทั้งทางด้านสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ จึงบูรณะซ่อมแซมให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนรุ่นหลังจะได้มาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทย เมื่อเดินเข้าไปในล้ง 1919 เพื่อน ๆ จะได้พบกับหมู่อาคารทรงจีนโบราณ ให้ความรู้สึกเหมือนได้ย้อนเวลากลับไปในอดีต จุดเด่นของล้ง คือ หมู่อาคารแบบ ซาน เหอ หยวน เป็นลักษณะอาคาร 3 หลังเชื่อมต่อกันเป็นทรงตัว U ภายในอาคารแบ่งเป็นห้องหลายห้อง และถูกปรับให้เป็นร้านขายของสุดเก๋และสถานที่ทำ workshop ต่าง ๆ ส่วนหนึ่งของอาคารเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแม่หม่าโจ้วที่อยู่มายาวนาน ตั้งแต่เริ่มสร้างท่าเรือ ซึ่งเจ้าแม่หม่าโจ้วทั้ง 3 ปางนี้ ชาวจีนได้นำข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากเมืองจีน โดยเชื่อว่าท่านให้โชคเรื่องเงินทองและการค้าขาย นอกจากจะได้ชมความสวยงามของตัวอาคารโบราณ อีกสิ่งที่ต้องห้ามพลาดคือ ภาพจิตกรรมฝาผนังเก่าแก่ ที่บังเอิญพบตอนล้างสีอาคารเพื่อทำการบูรณะ และภาพจิตกรรมสมัยใหม่ที่รังสรรค์ขึ้นมาได้อย่างกลมกลืนกับบรรยากาศเก่า ๆ ล้ง 1919 ถนนเชียงใหม่ (ซอยวัดทองธรรมชาติ) แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานครเปิดทุกวัน เวลา 10.00-18.00 น.โทร. 09 1187 1919 วิธีเดินทางไปชมความสวยงามของท่าเรือประวัติศาสตร์แห่งนี้ รถไฟฟ้า BTS : ลงที่สถานีกรงุธนบุรี จากนั้นต่อรถไฟฟ้าสายสีทองไปลงที่สถานีคลองสาน เดินเข้าซอยวัดทองธรรมชาติ สุดซอยจะเจอ ล้ง 1919 เรือด่วนเจ้าพระยา : ลงที่ท่าเรือสี่พระยา แล้วนั่งเรือข้ามฟากมายังท่าเรือคลองสาน จากนั้นเดินไปซอยวัดทองธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร

ล้ง 1919 ตำนานท่าเรือกลไฟ 171 ปี อ่านเพิ่มเติม

4 ลานสเก็ตกรุงเทพฯ

ในช่วงนี้กระแสกีฬาที่กำลังมาแรงมากๆ คงหนีไม่พ้น Surfskate ที่เป็นที่นิยมในหมู่มวลทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ จะเป็นวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือวัยใกล้เกษียณก็ยังสามารถเล่นกันได้ ถือเป็นไลฟสไตล์ใหม่ของคนยุคนี้จริงๆ จะพาเซิร์ฟสเก็ตไปออกกำลังกายด้วย พาไปถ่ายรูปด้วย หรือพาไปเที่ยวด้วยก็ได้ ทำให้เกิดลานสเก็ตเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ ขนาดห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ก็ยังเปิดพื้นที่ให้กับผู้ที่สนใจมาใช้บริการ เราก็จะมาแนะนำให้รู้จักกันแบบพอประมาณ ว่ามีที่ไหนบ้าง ที่อยู่ในกรุงเทพฯ และเดินทางไปเล่นกันได้สะดวก ตามมา ตามมา Central World เปิดลานสเก็ตบอร์ดพื้นที่กว่า 1,000 ตร.ม. ให้ชาว Surfskate, Skateboard, Rollerblades และ Longboard ได้เล่นฟรี โดยได้มีงานเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 26-28 ก.พ. 64 ที่ผ่านมา และยังเปิดพื้นที่ให้เล่นกันต่อจนถึง 31 มี.ค. 64 นี้ ทุก ๆ วันเสาร์จะมีการแนะนำการเล่นสำหรับมือใหม่โดย Pro Skate นักกีฬาจากสมาคมกีฬาเอ็กซ์ตรีมแห่งประเทศไทย ใครสนใจอยากรู้จัก อยากลองก็ไปที่สนามนี้กันได้ แล้วยังแวะเที่ยว แวะช็อปปิ้ง หรือจะแวะขอพรหาคู่ก็ได้ด้วยนะ Never Wave ลานสเก็ตพร้อมคาเฟ่ตึกสีขาวสุดชิค Wawa cafe and Bar at Never Normal ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ลาดพร้าวซอย 18 เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อไม่นานกับลานสเก็ตแห่งนี้ โดยได้เริ่มเปิดให้ใช้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมานี่เอง ลานสเก็ตที่นี่จะเหมาะกับนัก Surfskate ที่มีประสบการณ์การเล่นมาในระดับหนึ่งแล้ว เพราะอุปกรณ์การเล่นของสนามค่อนข้างที่จะต้องใช้ทักษะที่มากกว่าสกิลพื้นฐานในการเล่น ลานนี้โดดเด่นตรงที่มีคาเฟ่อยู่ด้วย เล่นเสร็จหิวก็เข้าคาเฟ่มานั่งดื่มน้ำ กินขนม กินอาหารกันได้ หรือจะอยากมาแค่คาเฟ่ก็มีวิวคนเล่นสเก็ตให้ดูไปด้วย ชิค ๆ ไปอีกแบบ  Wave Bank และ Wave Ramp ของลานนี้ ไม่ถึงกับเล่นยากมากนักแล้วไม่ง่ายมากนัก องศากำลังดีสำหรับสาย Wave ก็ลองมาฝึกกันที่นี่ได้นะ ลานสเก็ตบอร์ด @ สวนรถไฟ ลานสเก็ตแห่งนี้ได้เปิดให้ใช้บริการมาแล้วหลายเดือน ถ้าอยากจะเข้าไปเล่นที่นี่ ก็ให้ไปสมัครสมาชิกกับศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศกันก่อน เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท เล่นได้ทั้งปี สมัครแล้วก็เอาบัตรสมาชิกมาลงทะเบียนก่อนเข้าสนามกันด้วยนะ ใครที่ไม่มีแผ่นก็สามารถขอยืมเล่นได้ ทางชมรม SRC เขานำบอร์ดมาให้ยืมเล่นได้แต่ก็ต้องติดต่อกับทางสตาฟชมรมกันก่อนนะ Sky Park (พระราม 9) Sky Park ลานสเก็ตบนดาดฟ้า หลังคาฟอร์จูนทาวน์ พระราม 9 ลานสเก็ตที่เกิดจากการรวมตัวของชาวเอ็กซ์ตรีมที่อยากให้มีพื้นที่สำหรับคนรักกีฬาเอ็กซ์ตรีม ไม่ว่าจะเป็น สตรีทสเก็ต เซิร์ฟสเก็ต ลองบอร์ดสเก็ต โรลเลอร์เบรด หรือแม้กระทั่งจักรยาน บีเอ็มเอ็กซ์ ซึ่งอนาคตอาจจะได้เห็นอีเวนท์ของลานนี้อีกมากมาย ลานสเก็ตนี้ก็ได้เปิดพื้นที่และอุปกรณ์สำหรับชาวสเก็ตให้ได้ลองเล่นกันหลายอย่างมากมาย และอยู่ใจกลางเมือง เดินทางได้สะดวก อยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้า อาหาร การกินก็มีครบ หรือจะเดินแวะเที่ยวก่อนก็ยังได้ เขามีสเก็ตให้เช่าด้วยนะ และถ้าใครอยากที่จะเรียนก็สามารถติดต่อกันเข้าไปได้เลย มีครูที่มีประสบการณ์คอยสอนกันแบบตัวต่อตัวเลย อุปกรณ์ก็มีให้เล่นหลายแบบ จะปั๊มแทร็ค แรมพ์ หรือเวฟแบงค์ก็มี มี Skate Shop ด้วย เผื่อใครสนใจอยากได้แผ่นใหม่ ตอนเย็นพระอาทิตย์ตก ก็จะได้แสงสวย บรรยากาศดีกันไปอีกแบบ

4 ลานสเก็ตกรุงเทพฯ อ่านเพิ่มเติม

คำแนะนำการใช้เรือโดยสาร

คำแนะนำการใช้เรือโดยสาร.แม้ว่าทุกวันนี้การเดินทางไปไหนมาไหน เราจะใช้รถเป็นพาหนะหลัก แต่ก็มีบางโอกาสเหมือนกันที่เราต้องเดินทางด้วยเรือ เช่น ล่องแม่น้ำ ล่องทะเล ข้ามฟาก ข้ามเกาะ ฯลฯ วันนี้แอดรวบรวมคำแนะนำในการโดยสารเรือมาฝาก ปรับใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสัญจรในแม่น้ำ ลำคลอง หรือทะเล.– ก่อนเดินทางควรเช็คสภาพอากาศ หากมีการพยากรณ์อากาศว่าจะมีพายุเข้า เรืออาจงดออกเดินทาง– ทุกครั้งที่โดยสารเรือ ควรสวมเสื้อชูชีพไว้ตลอดเวลา– ขณะรอเรือเทียบท่า ควรยืนรอบนท่าเรือ ไม่ยืนรอที่โป๊ะเรือ รอจนเรือจอดสนิท ผู้โดยสารขึ้นจากเรือหมดแล้ว จึงค่อยลงเรือ– ก่อนลงเรือ ควรสังเกตป้ายบอกจำนวนคนและปริมาณการรับน้ำหนัก ถ้าเห็นว่าเกินกำหนด ไม่ควรฝืน ควรรอเรือลำต่อไป– ไม่นั่งบนกราบเรือ หรือวางมือไว้บนกราบเรือ อาจเกิดอันตรายได้– ถ้าต้องโดยสารเรือเป็นประจำ ควรฝึกว่ายน้ำให้เป็น– ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เมื่อต้องโดยสารเรือ เพื่อป้องกันอันตรายอันอาจเกิดจากการขาดสติ รวมทั้งเพื่อสามารถช่วยเหลือตัวเองได้หากเกิดอุบัติเหตุ.นอกจากคำแนะนำและข้อห้ามต่าง ๆ แล้ว แอดมีข้อแนะนำแถมให้อีกด้วยว่าหากเกิดเหตุเรือล่ม ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง.– หากว่ายน้ำไม่เป็น ให้ควบคุมสติ แล้วปล่อยตัวลอยน้ำรอการช่วยเหลือ– มองหาอุปกรณ์ที่ช่วยให้ลอยตัวได้ เช่น ขวดน้ำพลาสติก ถังแกลลอน ไม้กระดาน– ว่ายน้ำให้ห่างจากเรือ เพราะของแข็งบนเรืออาจจะล้มใส่ ทำให้บาดเจ็บ– ถอดสิ่งของติดตัวที่จะเป็นเครื่องถ่วงทิ้ง เพื่อให้ตัวมีน้ำหนักเบาที่สุด

คำแนะนำการใช้เรือโดยสาร อ่านเพิ่มเติม

ชิม ‘เชียงคํา’ ทีละคําสองคํา ตอนที่ 2

ที่ตลาดสดเทศบาล 1 คือตลาดสดหลักของ อ.เชียงคํา ที่ไม่ได้คึกคักแค่ในตัวตลาดสดที่อยู่ในร่มเท่านั้น แต่บนถนนข้างๆ ตลาดก็ยังกลายเป็นถนนคนเดินที่มีพ่อค้าแม่ขายมาปูเสื่อ กางร่ม เข็นรถเข็นมาขายอาหารเช้าแบบสุดแสนจะน่ากินราวกับว่าไม่มีใครยอมแพ้ใครเลยทีเดียว เราเริ่มจากการเข้าไปกินอาหารเช้าในร้านดังประจําตลาดที่ปูโต๊ะให้คนนั่งกินรอบคูหาก่อนจะเดินช้อปของกิ๋นถูกใจกลับมากินต่อในมื้อกลางวัน โดยวางแผนไว้ว่าจะเอาอาหารไปปูเสื่อกินกันที่นํ้าตกดังประจําถิ่น ว่าแล้วก็ไปลุยหาอาหารกัน! เมนูที่ 1 – ก๋วยเตี๋ยวนํ้าเงี้ยว.ร้านคําเอ้ย คือร้านขนมจีนนํ้าเงี้ยวเจ้าเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในตลาด ความคลาสสิกคือมีคุณป้ายืนเด่นทําอาหารอยู่ตรงกลางเหมือนเป็นบาร์ แล้วรอบๆ คูหาก็เป็นทีนั่งกิน ซึ่งจุคนได้ราวๆ รอบละ 4-5 คนเท่านั้นจนต้องรอคิว ซึ่ง ไม่ใช่แค่บรรยากาศของร้านที่คึกคักชวนอร่อยนะ แต่คุณแม่สามีกระซิบบอกว่า ความเด็ดของร้านป้าคือเมนูก๋วยเตี๋ยวนํ้าเงี้ยว ที่เปลี่ยนจากเส้นขนมจีนมาใส่เส้นใหญ่แทน แต่เส้นใหญ่ของที่นี่หน้าตาเหมือนเส้นเล็กนะ.พอได้ที่นั่ง เราก็สั่งเมนูเด็ดที่แม่ว่ามากิน ซึ่งคอนเฟิร์มว่ามันเด็ดจริง ไม่เพียงนํ้าซุปนํ้าเงี้ยวที่อร่อยกลมกล่อม ถั่วงอกหัวโตที่ให้เติมได้เองไม่อั้น พริกคั่วหอมๆ ที่ใส่แล้วเพิ่มความอร่อยจัดจ้าน แต่ทีเด็ดจริงๆ คือเส้นใหญ่ที่เหนียวนุ่ม กลิ่นดี ซอยมาบางๆ ให้พอซึมซับเข้ากับนํ้าซุป เป็นเมนูยามเช้าที่บอกเลยว่าฟิน ถ้ามาที่นี่ต้องแวะมากิน  เมนูที่ 2 – ข้าวเกรียบปากหม้อเวอร์ชั่นพะเยา.ฟังชื่อเหมือนจะธรรมดา หากินง่ายในกรุงเทพฯ ใช่ไหม แต่ข้าวเกรียบปากหม้อของที่นี่มันไม่ใช่อย่างนั้นเลย สําหรับเราเมนูนี้คือส่วนผสมของอาหารคาวและขนมหวานแบบที่เข้ากันได้ดีสุดๆ โดยในตลาดจะมีให้เลือกสองแบบคือแบบคาวกับหวาน เราเลือกแบบคาวกลับมาลองกิน สิ่งที่แปลกคือข้าวเกรียบปากหม้อที่นี่เปนไส้หน่อไม้ผัดหมูสับ ห่อด้วยแป้งบางเฉียบ โรยด้วยตั้งไฉ่ที่มีรสเค็มนิดๆ แต่ดันราดด้วยนํ้ากะทิ! พอชิมเข้าไปแล้วกลับกลายเป็นความเค็มหน่อยๆ มันนิดๆ ราดลงไปบนเท็กซ์เจอร์นุ่มนิ่ม และไส้แสนอร่อยกรุบๆ ที่สุดจะลงตัว สรุปว่าชอบจริงจังจนอยากให้มีแบบนี้ขายที่กรุงเทพฯ บ้าง  เมนูที่ 3 – แกงกระด้าง.เคยได้ยินเมนูแกงกระด้างมาบ้างเวลาไปเที่ยวเชียงใหม่ แต่ก็ไม่มีโอกาสได้ชิมเพราะฟังชื่อแล้วดูไม่น่าอร่อย พอมาเที่ยวพะเยาเราได้เจอขายอยู่ในตลาดแทบทุกวัน บวกกับคิดว่าวันนี้อยากได้อาหารเที่ยงที่พกพาง่ายไปกินที่นํ้าตก ก็เลยสบโอกาสได้ลองดูสักตั้ง.ความรู้ใหม่ที่เราได้เรียนรู้คือ แกงกระด้างแบบออริจินอลมันจะต้องจับตัวกันเป็นก้อนได้ด้วยไขมันจากขาหมู (ไม่ได้ใส่ผงวุ้นอย่างที่เคยคิด) แถมเป็นอาหารประจําฤดูหนาวเพราะต้องใช้ลมหนาวเป็นอาวุธในการปรุงให้มันเย็นตัวจนจับกันเป็นก้อนอย่างที่เห็น ซึ่งลองกินแล้วพบว่ากินง่ายเพราะรสชาติเหมือนแกงใส่พริกแห้ง แต่แค่เย็นกว่าและจิ้มด้วยมือเอามากินกับข้าวเหนียวได้ง่าย เป็นแกงที่กินแล้วสดชื่นเฉยเลย เมนูที่ 4 – จิ๊นงัวนึ่ง นํ้าพริกข่า.จิ๊นคือคําเรียกเมนูอาหารเหนือที่เป็นเนื้อสัตว์ แต่เป็นที่รู้กันดีว่าถ้าพูดถึงจิ๊นนึ่ง มันก็คือเนื้อควายหรือวัวนึ่ง ซึ่งวิธีการทําจิ๊นนึ่งเป็นอะไรที่ค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานาน ต้องนําไปหมักเครื่องเทศก่อนแล้วค่อยนํามานึ่งกับใบมะกรูดจนกว่าเนื้อจะเปื่อยนุ่มจนได้ที่ จิ๊นนึ่งเจ้านี้ที่เราไปเจอในตลาดถึงได้ราคาสูงกว่าเมนูอื่นๆ เป็นพิเศษ คือขีดละราวๆ 60 บาท.ความอร่อยของจิ๊นนึ่งคือรสชาติของเนื้อวัวที่หมักกับเครื่องเทศจนหอม กลิ่นชัด และต้องกินคู่กับนํ้าพริกข่าที่คั่วจนแห้งได้ที่ มันคือการผสมกันอย่างลงตัวของกลิ่นเนื้อวัวที่ย่างจนหอมและเปื่อยนุ่มกับสมุนไพรกลิ่นชัดอย่างข่า ที่หาคําอธิบายไม่ถูกแต่ควรไปลองเอง เมนูที่ 5 – หน่อยัดไส้ เมนูนี้คล้ายๆ กับคั่วหน่อไม้เวอร์ชั่นกลับมาเกิดใหม่ ในรูปลักษณ์ที่พกพาง่ายกว่า เปลี่ยนจากการผัดเป็นการยัดหมูสับหมักลงไปในหน่อไม้ แล้วปิดหน่อให้เรียบร้อยก่อนจะเอาไปชุบไข่แล้วทอดจนสุกเหลือง ตอนซื้อแม่ค้าเขาก็จะห่อใส่ใบตองมาให้เป็นแท่งยาวๆ ถ้าเอาไปกินที่บ้านจะหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ก็ได้ แต่ถ้าพกไปกินข้างนอกแล้วไม่สะดวกหั่นก็ใช้ช้อนตักกินกันพอไหว รสชาติก็เป็นมิตรคล้ายๆ กับคั่วหน่อเลย เมนูที่ 6 – ข้าวเหลือง.ถ้าให้รีวิวเมนูนี้แบบสั้นง่าย ก็บอกได้เลยว่ามันคือข้าวหมกไก่ที่เปลี่ยนจากข้าวสวยมาใช้ข้าวเหนียวแทนนั่นเอง เมนูนี้เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวไทใหญ่ และเดาว่าพะเยาน่าจะได้รับต่อมาจากเชียงรายอีกที แบบดั้งเดิมชาวไทใหญ่เขาจะใช้ดอกไม้สีเหลืองที่ชื่อดอกกู้ดในการให้สีเหลือง แต่ปัจจุบันเข้าใจว่าน่าจะปรับมาใช้ขมิ้น เหมือนกับข้าวหมกไก่.ในมุมของรสชาติที่ลองกิน เรารู้สึกว่ามันอร่อยและไม่เหมือนข้าวหมกตรงที่รสชาติของข้าวเหนียวที่ปรุงมาแบบติดเค็มนิดๆ กินกับเนื้อไก่ที่โปะมาให้แล้วเข้ากันดี จนแทบไม่ต้องปรุงหรือจิ้มอะไรเพิ่มเลยล่ะ เมนูที่ 7 – ข้าวแรมฟืน.เมนูสุดท้ายที่ต้องเก็บไว้เป็นไฮไลต์ คือข้าวแรมฟืน ซึ่งเป็นอาหารไทลื้อที่หาทานยากและเราทําการบ้านมานานแล้วว่าถ้ามาพะเยาจะต้องมาชิมให้ได้ เพราะที่ อ.เชียงคํา มีร้านดังอยู่เจ้าหนึ่งนั่นก็คือข้าวแรมฟืนปาจิ่ง ซึ่งขายมานานกว่า 60 ปี แต่พอถึงวันที่ได้มาเที่ยว เรากลับพบว่าร้านป้าจิ่งหยุดในช่วงที่เราไปพอดี เลยต้องปลอบใจตัวเองด้วยการลองกินข้าวแรมฟืนเวอร์ชั่นร้านในตลาดเทศบาล 1 แทน.ความไม่เหมือนใครของข้าวแรมฟืน คือส่วนผสมหลักที่เป็นแป้งก้อนๆ ทําจากแป้งที่เอาไปโม่และเคี่ยว หมักทิ้งไว้ข้ามคืนจนกลายเป็นก้อน แล้วเอามาหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าราดด้วยนํ้าที่คล้ายๆ นํ้ายําถึง 5 อย่าง ทั้งนํ้าเต้าหู้ยี้เคี่ยวนํ้าอ้อย นํ้าผักกาดดอง ตามด้วยนํ้าขิง ถั่วป่น และพริกแห้งตําที่คั่วจนหอม ชิมแล้วเหมือนได้กินก๋วยเตี๋ยวที่มีรสเปรี้ยวหวานเค็ม สดชื่นจนเข้าใจแล้วว่าทําไมถึงเป็นเมนูที่ชาวบ้านแถวนี้โปรดปรานกันมาอย่างยาวนาน ถึงแม้มาคราวนี้จะไม่ได้กินร้านดัง ก็ตั้งใจไว้ว่าถ้าได้กลับมาเที่ยวอีก ก็จะขอมาชิมฝีมือป้าจิ่งที่ร้านให้จงได้!  ปิดท้ายการรีวิว อ.เชียงคํา หลังจากที่ลงแต่รูปอาหารแบบไม่มีที่เที่ยวเลยสักนิด เลยขออวดภาพของฉันตอนพกพาอาหารพื้นถิ่นไปนั่งกินที่นํ้าตกภูซาง นํ้าตกยอดฮิตของผู้คนที่นี่ ฉันคิดว่าอาหารพื้นถิ่นนี่แหละคือเสน่ห์ของการท่องเที่ยวเมืองรองอย่างพะเยา โดยเฉพาะในอําเภอเล็กๆ ที่อาจจะไม่ได้มีแลนด์มาร์กดังๆ อย่างใครเขา เพราะฉันเชื่อว่าวัฒนธรรมอาหารที่แตกต่าง คือสะพานเชื่อมโยงตัวเราเข้ากับชุมชนที่เราไม่เคยรู้จักประสบการณ์การกินอาหารพื้นถิ่นของที่นี่ ทําให้ได้เห็นความน่ารักของชุมชน ความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบ ไปจนถึงวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังหลงเหลือ และทั้งหมดนี้คือรสชาติแปลกใหม่ที่การเดินทางมักมอบให้เราเสมอ

ชิม ‘เชียงคํา’ ทีละคําสองคํา ตอนที่ 2 อ่านเพิ่มเติม

ชิม ‘เชียงคํา’ ทีละคําสองคํา ตอนที่ 1

ทําความรู้จักพะเยา ผ่าน 12 เมนูของกิ๋นบ้านเฮาชื่อแปลก ถ้าขอสามคําทีแทนความประทับใจในการไปเที่ยวจังหวัดพะเยา สําหรับฉันคงจะไม่ได้มีคําว่ากว๊านพะเยาอยู่ในนั้น เพราะสามคํานั้นมันต้องเป็น แอ๊บอ่องออ หน่อยัดไส้ แกงกระด้าง! ใช่แล้วค่ะ นั่นคือบางส่วนของอาหารท้องถิ่นชื่อแปลกที่ฉันได้ชิมจากการไปเที่ยวพะเยาครั้งแรกในชีวิต โดยหมุดหมายที่เลือกไปพักคือ อ.เชียงคํา อําเภอที่ถือว่าดังเปนอันดับสองของ จ.พะเยา เหตุผลส่วนตัวก็คือแฟนของฉันมีบ้านเกิดอยู่ที่อําเภอนี้ มาเที่ยวทั้งทีเลยถือโอกาสทําความรู้จักพะเยาแบบอินไซต์ ผ่านอาหารถิ่นที่คนเชียงคําเขากินกันจริงๆ ว่าแล้วก็ตั้งเป้าหมายแน่วแน่ว่าจะตามแม่สามีไปเดินตลาดทุกวัน ตลาดเช้าบ้าง ตลาดเย็นบ้าง ถ้าเจออาหารหน้าตาไม่คุ้นหรือชื่อแปลกๆ จะซื้อมาลองกินให้หมด! เดินหาอาหารไทลื้อชื่อไม่คุ้น ที่กาดบ้านธาตุสบแวน ความพิเศษของเชียงคํา คือเป็นอําเภอที่ชาวไทลื้อหรือชาวสิบสองปันนาอพยพมาตั้งหลักแหล่งมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 1 โดยชาวชุมชนไทลื้อในเชียงคําได้อาศัยอยู่แถวบ้านหย่วนแห่งนี้และมีวัดพระธาตุสบแวนเป็นศูนย์รวมจิตใจ ดังนั้น ตลาดสดยามเย็นที่ตั้งอยู่ใกล้วัดพระธาตุสบแวนก็เลยเป็นแหล่งที่ยังมีอาหารไทลื้อแบบปรุงสําเร็จขายปะปนอยู่กับของกิ๋นจาวเหนือสไตล์คนเชียงคํา และที่สําคัญ แต่ละเมนูราคาเป็นมิตรมากๆ อยู่ที่ราวๆ ซาวบาท (หรือ 20 บาทถ้วน) เท่านั้นเอง หลังจากสนุกกับการอ่านและถามชื่อเมนูแปลกๆ เราก็คัดเลือกที่ชอบใจและชอบชื่อจากตลาดไทลื้อมาได้ 5 เมนูถ้วน เลยจัดแจงให้แม่ค้าจัดใส่ใบตองห่อกลับมาใส่จานกินที่บ้าน .เอาล่ะ ลองไปชิมกันว่ามันคืออะไร รสชาติเป็นยังไง แล้วชาวกรุงลูกคนจีนอย่างเราจะสู้ไหวหรือเปล่า เมนูที่ 1 – แอ๊บอ่องออ เมนูนี้เลือกมาชิมเพราะชื่อมันดูน่ารักบ้องแบ๊ว แต่ชีวิตจริงไม่แบ๊วอย่างชื่อ นิยามคําว่า ‘แอ๊บ’ ของคนเหนือ หมายถึงการเอาอาหารมาปรุงแล้วห่อใบตอง ก่อนจะนําไปปิ้งจนสุก พูดง่ายๆ ก็คืออาหารสไตล์ห่อหมก ตอนเดินตลาดที่นี่เราเจออาหารที่นําหน้าว่าแอ๊บเต็มไปหมดไม่ว่าจะเป็น แอ๊บปลานิล แอ๊บปลาดุก แอ๊บข้าวโพด แต่ที่พีกที่สุดคือแอ๊บอ่องออ เพราะมันคือแอ๊บที่ทำจากสมองหมู! จะชิมละนะ…อํ้า! คนที่คิดจะกินแอ๊บอ่องออ ด่านแรกที่ต้องผ่านไปให้ได้คือกลิ่นที่ค่อนข้างเฉพาะตัว เดาว่าน่าจะเป็นกลิ่นของสมองหมู แม้ว่าจะไม่ได้แรงขนาดที่โชยออกมาเตะจมูก แต่พอกินเข้าไปก็จะได้กลิ่นค่อนข้างชัดเจน แต่ถ้าคุณเป็นคนที่กินของขมอย่างพวกดีปลา ดีวัวได้อยู่แล้วก็น่าจะสบายมาก ซึ่งถ้าผ่านความยากไปได้แล้วก็จะได้เพลิดเพลินกับความอร่อยของมันที่ชาวบ้านที่นี่เขาชอบกัน นั่นก็คือรสชาติมันๆ ผสมความนัวจากเครื่องเทศ กินจิ้มกับข้าวเหนียวร้อนๆ ชาวบ้านเขาบอกว่าลําขนาด! สําหรับเรา ยอมรับว่าไม่ถนัดแนวนี้มาก แต่มาถึงที่นี่แล้วก็ต้องลองให้รู้จักและเข้าใจ ให้คะแนนความแปลกและหาทานยากไปเลยห้าดาว เมนูที่ 2 – นํ้าพริกนํ้าหน่อ นํ้าพริกนํ้าหน่อ คือเมนูนํ้าพริกพื้นบ้านเมืองเหนือที่หาทานได้ยากแล้ว จะยังหลงเหลืออยู่ในสังคมที่ยังมีความเป็นชนบท จึงถือว่าโชคดีมากที่เราได้เจอและได้ชิม ส่วนผสมหลักทําจากหน่อไม้ไผ่รวกดิบอ่อน (ซึ่งมีแค่ตอนหน้าฝนที่เราไปพอดี) เอาไปต้มแล้วขูดก่อนจะเอามาดองจนเกิดรสเปรี้ยว แล้วเคี่ยวกับพริกกระเทียมให้งวดจนกลายเป็นนํ้าพริกสีขาวๆ ที่มีเท็กซ์เจอร์ค่อนไปทางแห้งๆ สไตล์ขลุกขลิก ลองชิมแล้วรสชาติหนักไปทางเปรี้ยว เท็กซ์เจอร์หน่อไม้ดองมีความกรอบนิดๆ ซึ่งมีข้อดีคือพอเอาไปเคี่ยวแล้วก็แทบไม่เหลือกลิ่นดอง กลายเป็นความหอมหน่อยๆ แทน กินกับผักต้มหรือปลาเผาเราว่าเลิศ! เมนูที่ 3 – นํ้าพริกนํ้าผัก อีกหนึ่งนํ้าพริกทีเด็ดหากินยากที่ต่อยอดมาจาก ‘นํ้าผัก’ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารของชาวไทลื้อ โดยนํ้าผักนั้นเป็นการเอาผักสวนครัวหลายๆ อย่าง (ส่วนใหญ่เป็นผักกาดจ้อน ผักกาดเขียวปลี) มาสับหรือตําให้ละเอียดเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนจะเอามาดองด้วยนํ้า เกลือ และข้าวเหนียวเล็กน้อยจนได้ความเปรี้ยวที่ชอบ เอามากรองแล้วเคี่ยวไฟจนงวดแห้งจนคล้ายกากสีเขียวคลํ้า เก็บไว้ได้หลายเดือน เอามาโขลกกับพริกแห้ง เกลือ กระเทียม และมะแขว่น กลายเป็นนํ้าพริกนํ้าผักเอาไว้กินกับข้าวเหนียว ซึ่งพอชิมแล้วก็ยอมรับว่าเปรี้ยวกว่านํ้าพริกนํ้าหน่อซะอีก ถ้าไม่ใช่สายถนัดเปรี้ยวก็ไม่ควรกินเพียวๆ เลยล่ะ เมนูที่ 4 – น้ำพริกเห็ดด่าน.เห็ดด่าน หรือที่บางคนเรียกว่าเห็ดหล่ม เป็นเห็ดท้องถิ่น ทางภาคเหนือที่เก็บได้เฉพาะในฤดูฝน (โชคดีอีกแล้วเรา) เอามาจี่กับไฟแล้วหอมฉุย ปรุงอาหารได้หลายอย่าง แต่ที่นิยมกันมาก็คือเอามาทํานํ้าพริก โขลกกับพริกย่าง กะปิ หอมแดง กระเทียม หอมสุดๆ.ชิมแล้วขอให้คะแนนความอร่อยและกินง่ายไปเต็มร้อย เพราะรสชาติของนํ้าพริกเห็ดด่านที่ค่อนไปคล้ายๆ กับนํ้าพริกหนุ่ม อาหารเหนือที่เราคุ้นเคย (ส่วนผสมน่าจะคล้ายกัน) แต่เบิ้ลความอร่อยด้วยรสอูมามิของเห็ดที่เอาไปปิ้งหรือจี่กับไฟ ถือเป็นอาหารประจําฤดูฝนที่ลําขนาด! เมนูที่ 5 – คั่วหน่อ ตอนแรกก็เกือบจะเดินผ่านร้านนี้ไปมือเปล่า แต่พอได้ยินเสียงคุณป้ากําลังผัดๆ คั่วๆ และกลิ่นหอมอะไรไม่รู้ที่โชยมาจากเตา ก็ทําให้เราถอยกลับไปซื้อจนได้ ป้าบอกว่ากําลังคั่วหน่อไม้อยู่ ใกล้เสร็จแล้ว งั้นหนูขอห่อกลับเลยค่ะ เห็นหน้าตาคล้ายๆ ผัดหน่อไม้ตามร้านข้าวราดแกงในกรุงเทพฯ แต่คุณแม่สามีบอกว่า ไม่เหมือนจ้ะ เมนูนี้ก็อาหารพื้นเมืองเหมือนกันเจ้า พอได้ชิมแล้วก็เข้าใจว่ามันไม่เป็นเหมือนที่คิดจริงๆ แถมชอบกว่าด้วย เพราะมันเป็นการหน่อไม้ส้ม (ดอง) มาผัดเคี่ยวกับเครื่องแกงและหมูสับหรือหมูสามชั้น ไม่ได้เน้นรสเผ็ดจัดจ้านเหมือนตามร้านข้าวแกง แต่เน้นความหอม นัว กลมกล่อม และกินง่าย ถ้าเมนูอื่นๆ มันแปลกหรือกินยากไป แนะนําให้จานนี้เป็นคอมฟอร์ตฟู้ดประจํามื้อได้เลย  ผ่านมาแล้ว 5 เมนูชื่อแปลกของพะเยา เพื่อนๆ คนไหนคุ้นชื่อหรือเคยกินบ้างไหมคะ แอดขอชวนมาบอกต่อความอร่อยของเมนูเหล่านี้กัน สำหรับตอนต่อไป จะมีเมนูชื่อแปลกอะไรบ้าง ติดตามกันได้ในวันเสาร์หน้านะคะ

ชิม ‘เชียงคํา’ ทีละคําสองคํา ตอนที่ 1 อ่านเพิ่มเติม

เที่ยวแบบสายกรีนที่ปทุมธานี ตอนที่ 4

ท่องเที่ยวสไตล์ใหม่ ใส่ใจธรรมชาติ เรียนรู้การเกษตร อินเทรนด์กับร้านต้นไม้ เอนกายพักผ่อนโฮมสเตย์ริมคลอง ชิมของอร่อยที่ตลาดริมน้ำ อิ่มหนำกับเบเกอรี่และเครื่องดื่มที่คาเฟ่ดอกไม้ในสวน . หากขับรถมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร ราว 40 กว่ากิโลเมตร ใช้เวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง ก็เข้าสู่ จังหวัดปทุมธานี หนึ่งในห้าจังหวัดปริมณฑลที่ตั้งอยู่ชิดติดขอบเมืองกรุง บนพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม้ความศิวิไลซ์ได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ปทุมธานีกลายเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนาทาง เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพื้นที่สีเขียว เรือกสวนไร่นาของชาวบ้านอันหนาแน่นไปด้วย พืชผักผลไม้นานาชนิด และวิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งคลองที่สัมผัสได้ถึงท่วงทำนองของการดำเนินชีวิตอันเรียบง่าย ฉายให้เห็นเสน่ห์ที่ซุกซ่อนอยู่ในจังหวัดเล็กๆ แห่งนี้ ซึ่งผสานความเป็นเมืองและความเป็นชนบทเอาไว้ได้อย่างสมดุล . สำหรับสายเที่ยวรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ชื่นชอบธรรมชาติด้วยแล้ว เราเชื่อว่าปทุมธานีมีสิ่งดี ๆ ให้คุณแอบหลงรัก เราจึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับ 12 สถานที่ ดีต่อใจในจังหวัดปทุมธานี นอกจากจะได้ท่องเที่ยว อย่างสบายใจแล้ว ยังได้เก็บเกี่ยวความรู้มากมายระหว่างการเดินทางอีกด้วย จะเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับ หรืออยู่พักสัก 2 วัน 1 คืน ให้ชื่นมื่นหัวใจ ได้อ้อยอิ่งใช้ชีวิต ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ก็บอกได้เลยว่าเพลิดเพลินเกินคาดเลยทีเดียว Florista Café and Eatery จิบชาท่ามกลางมวลหมู่ดอกไม้ในสวนสวยสไตล์อังกฤษเอาใจสาวๆ ที่ชื่นชอบดอกไม้ หลงใหลการนั่งคาเฟ่ ด้วยบรรยากาศสวนที่รายล้อมไปด้วยดอกไม้นานาชนิด ตัวร้านตกแต่งสไตล์อังกฤษ ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐสีขาวหลังคาสีเทา มีห้องเล็กบนหลังคาสีฟ้าหม่น หน้าต่างเป็นกระจกบาน ใหญ่อยู่รอบตัวร้าน ด้านหน้ามีสนามหญ้าที่ตกแต่งด้วยน้ำพุ จัดวางด้วยรูปปั้นเจ้าหญิงน้อยๆ ไว้คอยต้อนรับลูกค้า เมื่อเข้ามาภายในร้าน เพดานที่สูงโปร่งกับตัวร้านที่กว้างขวางทำให้รู้สึกโล่งสบาย มีดอกไม้ประดับประดาเรียงรายอยู่บนชั้นวางกลางโถงร้านเลยทีเดียว มุมสุดฮิตที่ใครมาก็ต้องถ่ายรูปคือ กำแพงขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยดอกไม้ประดิษฐ์สีชมพูหวานละมุนละไม ส่วนโซนด้านนอกที่เป็นแบบโอเพ่นแอร์ ก็ได้บรรยากาศไปอีกแบบเหมาะสำหรับคนที่ชอบนั่งรับลมชิลๆ ในสวนกับต้นไม้เขียวๆ มีน้ำตกและธารน้ำไหลเล็กๆ ให้รู้สึกเย็นสบาย Florista Café and Eatery เป็นทั้งคาเฟ่และร้านอาหาร ที่มีเมนูให้เลือกมากมายหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งอาหารไทย อาหารฝรั่ง อาหารญี่ปุ่น สไตล์ฟิวชั่น น่าทานไปหมดทุกอย่างเลย ทางเรานั้นเลือกเป็นของทานเล่นอย่าง ชีสบอลมันม่วงชีสเยิ้มๆ กับมันม่วงเนื้อเนียนนุ่มละมุนละลายในปาก ตามมาด้วย ซีซาร์สลัด เฟตตูชินี่ขี้เมาทะเล รสชาติจัดจ้านกำลังดีมีปลาหมึก หอยแมลงภู่ กุ้งตัวใหญ่เบิ้ม ตบท้ายด้วยเมนูของหวานอย่าง เค้กช็อกโกแลตลาวา นมสดเรนโบว์สีพาสเทลหวานอร่อย และลาเวนเดอร์มะนาวโซดาเปรี้ยวซ่าตัดเลี่ยนได้ดีเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีเมนูอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้าวผัดฟลอริสต้า ผัดไทยกุ้งสดห่อไข่ สปาเก็ตตี้คาโบนาร่า พิซซ่า เบอร์เกอร์ไก่เทอริยากิ ปูอัดวาซาบิ เกี๊ยวซ่า ให้เลือกสั่งได้ตามสไตล์ที่ชอบ อิ่มท้องกันแล้ว ก็ออกมาเดินย่อยด้วยการถ่ายรูปกันหน่อย เดินลึกเข้าไปด้านหลังร้านยังมีโซนใหม่สไตล์บาหลี ที่ตกแต่งแบบป่าๆ มีดอกหญ้า กระโจมฟาง ต้นกระบองเพชร ทางเดินสะพานไม้ไผ่ ส่วนไฮไลท์ที่พลาดไม่ได้เลย คือ ชิงช้ารังนกบาหลี ที่นี่จัดมุมถ่ายรูปสวยๆ ไว้เยอะมากๆ ไม่ว่าจะสายแชะ สายกิน สายคาเฟ่ สายดอกไม้ ก็แวะมาเที่ยวได้ไม่ผิดหวังแน่นอน ที่ตั้ง: 63/1 หมู่ 1 ถ.รังสิต-นครนายก คลอง 7 ต.ลำผักกูด อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110วัน-เวลา: เปิดทุกวัน 9.00 – 21.00 น.ค่าเข้าชม: อาหารราคาเริ่มต้นที่ 40 – 400 บาทโทร: 09-8879—3954เว็บไซต์: Florista Cafe And Eatery Prem Café in the garden ธรรมชาติช่วยเยียวยาร่างกายของมนุษย์ เพราะการมองสีเขียวจะช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายหายเหนื่อย เปรมคาเฟ่ เป็นร้านที่ซ่อนตัวอยู่ในสวนป่า มีต้นไม้หลากหลายทั้งชนิดและสายพันธุ์ ด้วยความที่เจ้าของร้านเป็นนักออกแบบจัดสวนทำให้รักและเข้าใจในธรรมชาติของต้นไม้เป็นอย่างดี “เปรมคาเฟ่ อิน เดอะ การ์เด้น” แห่งนี้จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแบบของตัวเอง ความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใครคือสไตล์เท่ๆ ของการจัดสวนแบบ Tropical Mexican ใช้ไม้มีหนามและพืชโซนร้อน ไม่แปลกใจเลยทำไมเราเห็นเจ้าต้นกระบองเพชรเทรกตัวอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะต้นใหญ่ๆ ที่อยู่หน้าประตูทางเข้ารวมไปถึงต้นกล้วยและเฟิร์นหลากหลายสายพันธุ์ บรรยากาศตัวร้านเป็นบ้านสีขาวหลังเล็กๆ ภายในใช้สีสันสดใสอย่างสีฟ้าสด ปูพื้นด้วยกระเบื้องลายขาวสลับเขียว ตกแต่งด้วยถ้วยชามรามไหสไตล์เม็กซิกัน ด้านหน้าบ้านประดับด้วยกระถางต้นไม้สีบานเย็นจัดจ้านวางบนกระเบื้องลายขาวน้ำเงิน สร้างลูกเล่นโดยการใช้สีที่ตัดกัน หากเดินลึกเข้าไปด้านในสุดของร้านเป็นโซนริมน้ำ มีชุดโต๊ะเก้าอี้รายล้อมอยู่ทั่วบริเวณ มีชิงช้าให้นั่งเล่นแกว่งไกว รับลมเย็นจากแม่น้ำ มีต้นไม้ใหญ่ครึ้มช่วยให้ร่มรื่นมากๆ มีฟาร์มสัตว์เลี้ยงให้ชมด้วย อย่างน้องหมู น้องเป็ด น้องไก่ เป็นต้น อ้อ! ระหว่างทางที่เดินเข้าไปก่อนถึงริมน้ำมีจุดถ่ายรูปที่ถือว่าเป็นไฮไลท์เลยก็คือ ซุ้มประตูไม้เก่าๆ สีขาวอย่าลืมแวะถ่ายรูปกันนะ ในส่วนของเมนูอาหารที่นี่จะเน้นเป็นอาหารจานเดียวอย่าง ผัดมักกะโรนี สปาเกตตี ข้าวผัดพริกแกง ข้าวกะเพรา ราดหน้า สุกี้ หรือหากเป็นกับข้าวก็จะเป็นอาหารง่ายๆ อย่าง ต้มจืดเต้าหู้หมูสับ ผัดผักรวม ต้มยำน้ำข้นและน้ำใส เป็นต้น ส่วนเมนูขึ้นชื่อ คือ เสต็กที่อัดแน่นไปด้วยเครื่องเคียงทั้งผักและผลไม้ตามสไตล์เปรมคาเฟ่ ส่วนเครื่องดื่มมีทั้งชาไทย ชาเขียว ชาผลไม้ กาแฟ ช็อกโกแลต อิตาเลี่ยนโซดา น้ำผลไม้ปั่น และเบเกอร์รี่อย่าง เค้กมะพร้าว เค้กชาเขียว บลูเบอร์รี่ชีสเค้ก และอีกมากมายให้เลือกทาน ที่ตั้ง: 51/1 ม.6 ซ.วัดเสด็จ ต.สวนพริกไทย อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000วัน-เวลา: วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 – 18.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขุตฤกษ์ เวลา 8.00 – 18.00 น.ค่าเข้าชม: อาหารราคาเริ่มต้นที่ 50 – 300 บาทโทร: 08-4563-9292, 09-4563-9924เว็บไซต์: www.facebook.com/Prem-Cafe-In-the-Garden

เที่ยวแบบสายกรีนที่ปทุมธานี ตอนที่ 4 อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top